สายตาช่วงอายุ 11-25 ปี

วัย นี้เป็นวัยแห่งการศึกษาเล่าเรียน จึงมีกิจกรรมที่ต้องใช้สายตามาก เช่น การเรียนหนังสือ อ่านหนังสือเตรียมสอบ ทำการบ้าน เล่นเกมส์ เล่นคอมพิวเตอร์ ฯลฯ คนในวัยนี้ต้องใช้สายตาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง ต่อวัน ดังนั้นเมื่อการมองเห็นมีปัญหาจึงส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆอย่างหนีไม่พ้น ทำให้การเรียนรู้ถูกจำกัด ดังนั้นคนในวัยนี้จึงควรได้รับการตรวจสายและแก้ไขให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและสบายตาอยู่เสมอ
           
Myopic shift & Myopic control(สายตาสั้น และการควบคุมสายตาสั้น)
            วัย นี้เป็นวัยแห่งการเจริญเติบโต ในทางร่างกายจะมีความสูงเพิ่มขึ้น โครงสร้างร่างกายเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น นอกจากการเจริญเติบโตทางร่างกายแล้ว สายตาก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน โดยเด็กวัยนี้ค่าสายตามีแนวโน้มที่จะสายตาสั้นเพิ่มขึ้น (หรือสายตายาวน้อยลง) สาเหตุ ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยปัจจัยที่น่าจะเกี่ยวข้องกับสายตาสั้นเพิ่มเช่น พันธุกรรม กระบอกตาที่ยาวขึ้น การใช้สายตาระยะใกล้เป็นเวลานาน การมีกิจกรรมกลางแจ้งน้อย ฯลฯ อนึ่งค่าสายตาที่สั้นเพิ่มขึ้น ส่งผลเสียหลายอย่างเช่น
l        เลนส์แว่นตาหนาขึ้น-แว่น ที่หนาขึ้น มีผลทั้งทางด้านความสวยงาม และความสบายตา เนื่องจากยิ่งเลนส์หนาขึ้น ยิ่งทำให้แว่นมีน้ำหนักมากขึ้น และยังทำให้เกิดความไม่สบายตาเมื่อเหลือบมองด้านข้าง เนื่องจากผลของปริซึม (Prismatic Effect) และความบิดเบือนของภาพเมื่อมองผ่านเลนส์ด้านข้าง (Aberration)
l        แก้ไขสายตาได้ไม่หมดถ้าต้องการทำเลสิก-สายตาที่สั้นมาก จะไม่สามารถแก้ได้หมดด้วยเลสิก โดยเฉลี่ย การแก้สายตาสั้นโดยเลสิกมักจะแก้ไขได้ไม่เกิน -8.00 D  (ขึ้นกับความหนาของกระจกตาในแต่ละคนด้วย)
l        จอตาบางลง-สายตาที่สั้นมากขึ้น ถ้าเกิดเนื่องจากกระบอกตาที่ยาวขึ้น จะทำให้จอตาบางลง(คล้ายการเป่าลูกโป่ง ถ้าเป่าลูกโป่งให้ใหญ่ขึ้น เนื้อลูกโป่งก็จะบางลง) ถ้ากระบอกตายาวขึ้นมาก(สายตาสั้นเกิน -6.00D) จะมีความเสี่ยงต่อจอตาหลุดลอกและโรคที่เกี่ยวกับจอตามากขึ้นด้วย
l        ชีวิตลำบากถ้าขาดแว่น-ผู้ มีสายตาสั้นน้อย อาจยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติแม้ไม่มีแว่นตา แต่ผู้ที่มีสายตาสั้นมากส่วนใหญ่มักต้องใส่แว่นทั้งวันยกเว้นตอนนอน ดังนั้นเมื่อแว่นตาหายหรือชำรุด จะเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการดำเนินชีวิต
l        มีข้อจำกัดในบางกิจกรรม-ในบางกิจกรรม การมีค่าสายตาสูงอาจเป็นอุปสรรคกับการทำกิจกรรมเช่น การดำน้ำ ชกมวย เล่นฟุตบอลฯลฯ
l        เสียค่าใช้จ่ายในการตัดแว่นเพิ่มขึ้น-เนื่องจากสายตาสั้นขึ้นจะต้องใส่เลนส์ที่หนาตามไปด้วย  ผู้ใส่ที่เน้นความสวยงามจึงต้องจ่ายเงินเพิ่มถ้าต้องการใช้เลนส์ย่อบาง(High Index) ซึ่งทำให้เลนส์แว่นตาบางลง  และถ้าต้องการคุณภาพของการมองเห็นมากขึ้น อาจต้องใช้เลนส์ที่แก้ไขการบิดเบือนของภาพซึ่งมีราคาแพงกว่าเลนส์ปกติ 
l        มีข้อจำกัดในการเลือกกรอบแว่นตา-เนื่อง จากถ้ากรอบแว่นตามีขนาดใหญ่ จะยิ่งทำให้ขอบเลนส์ดูหนา ส่วนใหญ่จึงต้องใช้แว่นตาที่มีกรอบขนาดเล็ก และมักต้องใช้กรอบพลาสติกหนา เพื่อปกปิดความหนาของขอบเลนส์

            ดัง ที่กล่าวมาจะเห็นว่าสายตาที่สั้นมากทำให้มีข้อเสียตามมามากมาย โดยในปัจจุบันมีนักวิจัยจำนวนไม่น้อยที่พยายามค้นหาวิธีที่จะหยุดหรือชลอสาย ตาไม่ให้สั้นเพิ่ม โดยงานวิจัยบางชิ้นรายงานถึงความสำเร็จในการชลอให้สายตาสั้นช้าลงได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ยาหยอดตาลดการเพ่ง การใช้แว่นตาและเลน์โปรเกรสซีฟเพื่อควบคุมสายตาสั้น การใช้คอนแทคเลนส์ การมีกิจกรรมกลางแจ้งมากขึ้น การลดกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาระยะใกล้ลง ฯลฯ อย่างไรก็ดี คาดว่าต้องมีการวิจัยอีกหลายปีเพื่อหาข้อสรุปถึงผลของวิธีต่างๆ อย่างไรก็ดีผู้ปกครองบางท่านก็ยินดีให้ใช้เลนส์ควบคุมสายตาสั้นกับบุตรหลาน ของตนเพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่ไม่อันตรายและดีกว่าไม่ทำอะไร อนึ่ง ถ้ามีวิธีที่สามารถชลอหรือหยุดสายตาสั้นได้ จะเป็นผลดีต่อคนจำนวนมาก เนื่องจากจะทำให้ผู้ที่มีสายตาสั้นใส่แว่นที่มีเลนส์บางลงไปตลอดชีวิต
            กระบวน การที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสายตามนุษย์ มีความซับซ้อนและมีตัวแปรมากมาย แต่จากการเก็บข้อมูลเชิงสถิติได้ผลว่า ในช่วงอายุระหว่าง 4-30 ปี สายตามีแนวโน้มที่จะสั้นเพิ่มขึ้น และหลังจากนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในทางสั้นน้อยลง(ยาวเพิ่มขึ้น) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากอายุ 55  ปีไปแล้ว (Grosvenor) ทั้งนี้ สายตายาวดังกล่าว(Hyperopia)เป็นคนละชนิดกับตายาวสูงอายุ(Presbyopia) ซึ่งมักเริ่มเกิดเมื่ออายุย่างเข้า 40 ปี

ข้อควรปฏิบัติ
l        ตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี-วัย นี้เป็นวัยที่ต้องใช้สายตามาก และมีการเปลี่ยนแปลงของสายตาอยู่ตลอดเวลา การมองเห็นได้ไม่ชัดเจนจะทำให้การเรียนรู้ถูกจำกัด ทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง
l        ปกป้องดวงตาจากสิ่งแวดล้อม-ใช้แว่นตาที่ป้องกันรังสีUV เมื่อ ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง และใช้เลนส์เหนียวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางตา ถ้าต้องทำกิจกรรมที่ใช้ความเร็ว มีความเสี่ยงต่อการกระทบกระแทกหรือสิ่งของกระเด็นเข้าสู่ดวงตา
l        ในผู้ที่มีสายตาสั้นมาก-พยายามลดกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาระยะใกล้(เช่น เล่นเกมส์ เล่นคอมพิวเตอร์) และ เพิ่มกิจกรรมกลางแจ้งเช่น เล่นฟุตบอล วิ่งออกกำลังกาย ฯลฯ จากงานวิจัยระบุว่า เด็กที่อยู่ในเมือง มีกิจกรรมกลางแจ้งน้อยและต้องใช้สายตาระยะใกล้มาก มีอัตราส่วนของผู้ที่เป็นสายตาสั้นสูงกว่ามาก เมื่อเทียบกับเด็กในชนบท ที่มีกิจกรรมการใช้สายตาระยะใกล้น้อยกว่า และมีกิจกรรมกลางแจ้งมากกว่า
l        สำหรับ ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจตา เนื่องจากต้อหินมีลักษณะติดต่อทางพันธุกรรม มีโอกาสเกิดตั้งแต่อายุยังน้อย

ความเชื่อผิดๆ
l        การใส่แว่นทำให้สายตาสั้นเร็วขึ้น
�       ที่ถูกต้อง งานวิจัยระบุว่า การใส่แว่นไม่ทำให้สายตาสั้นเร็วขึ้น
l        ผู้ที่มีสายตาสั้นน้อยๆ อาจไม่ต้องใส่แว่นเพื่อทำงานระยะใกล้ก็ได้
�       ที่ ถูกต้อง ในการทำงานระยะใกล้เป็นครั้งคราว หรือทำงานเป็นระยะเวลาสั้นๆ อาจไม่ต้องใส่แว่นก็ได้ แต่ถ้าจะทำงานเป็นระยะเวลานานๆ เช่น โปรแกรมเมอร์ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์วันละ 4 ชั่วโมง ขึ้นไป ควรใส่แว่นตลอดเวลาแม้จะสามารถมองเห็นได้ชัดโดยไม่ต้องใส่แว่น เนื่องจากการไม่ใส่แว่นเพื่อทำงานระยะใกล้เป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้สมดุลของระบบ Binocular Vision เสียไป (Accommodation, Vergence) ทำให้มีแนวโน้มการเกิดปัญหาทาง Binocular Vision เมื่ออายุมากขึ้น(เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับผู้สายตาสั้นน้อยๆ ที่ไม่ใส่แว่นและต้องใช้คอมพิวเตอร์วันละเกิน 8ชั่วโมง)

สิ่งที่ควรรู้
l        อาการของสายตาสั้น(Myopia)-มองไกลไม่ชัด แต่มองใกล้ชัด
l        อาการของสายตายาว(Hyperopia)-มอง ไกลชัดกว่ามองใกล้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังการเพ่งและขนาดของสายตายาวด้วย โดยถ้ากำลังการเพ่งยังดีอยุ่และมีสายตายาวไม่มาก อาจมองเห็นได้ชัดทั้งที่ไกลและใกล้
l        สายตาเอียง(Astigmatism)-มองไม่ชัดทั้งไกลและใกล้ อาจสังเกตเห็นตัวหนังสือซ้อนหรือมีเงา
l        สายตายาวสูงอายุ(Presbyopia)-เกิดเมื่ออายุเรื่มเข้า 40 ปี ทำให้เมื่อใส่แว่นที่มองไกลชัด จะทำให้เวลามองใกล้ไม่ค่อยชัด และจะชัดขึ้นเมื่อระยะของสิ่งที่มองไกลจากตามากขึ้น

สังเกตบุตรหลานของท่านสักนิด
            เด็กที่มีปัญหาทางสายตา มักไม่รู้ตัวเองว่ามีปัญหาทั้งๆที่เห็นไม่ชัด เนื่องจากเขาคิดว่าคนทุกคนก็เห็นอย่างที่เขาเห็น  ดัง นั้นผู้ปกครองและครูจึงมีหน้าที่ในการสังเกตเด็กว่ามีปัญหาทางสายตาหรือไม่ การแสดงออกบางอย่างของเด็กอาจเกิดจากปัญหาสายตาของเด็กก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเช่น
l        เด็กหยีตามอง ขมวดคิ้วหรือชอบขยี้ตา
l        เมื่อให้จดงานบนกระดาน มักจะต้องลอกจากเพื่อนคนข้างๆ
l        ไม่สนใจสิ่งที่ครูสอน
l        ไม่ชอบไปวิ่งเล่นกับเพื่อน ชอบทำกิจกรรมที่ไม่เคลื่อนไหว

อนึ่งปัญหาทางสายตาของเด็ก ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการแก้ไข อาจส่งผลเสียทั้งต่อตัวเด็กและต่อสังคม ยกตัวอย่างเช่น
l        ผลการเรียนไม่ดี เพราะเรียนตามเพื่อนไม่ทัน
l        ไม่ตั้งใจเรียน เพราะเรียนไม่ทัน
l        ไม่สนใจที่ครูสอน เพราะมองกระดานดำไม่เห็น
l        ขาดความมั่นใจ เนื่องจากคนอื่นเรียนได้แต่ตนทำไม่ได้
l        เด็กอาจไม่อยากเรียน หรือหนีเรียนในที่สุด เนื่องจากตัวเองเรียนได้ไม่ดี

นอกจากปัญหาทางสายตาแล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆที่เกิดจากความบกพร่องของการประมวลผลการมองเห็น(Visual Information Processing) หรือความบกพร่องในการเรียนรู้(Learning Disability) ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาดังตัวอย่างเช่น
l        ความบกพร่องทาง Visual Information Processing(VIP) (การประมวลผลจากสิ่งที่เห็นเพื่อไปทำกิจกรรมอื่นๆต่อ)
�       ตัวอย่าง เช่น จำคำศัพท์ได้ช้า ลำบากกับการอ่านแผนที่ ลายมืออ่านยาก อ่านหนังสือได้ช้า คิดสิ่งที่ซับซ้อนไม่ได้ ลำบากในการเดินในบ้านตัวเองในที่มึด ความจำสั้น กะระยะไม่ค่อยได้ สับสนด้านซ้ายขวา จดงานตามอาจารย์ไม่ทัน คิดช้า ไม่ค่อยทันเพื่อน ขาดทักษะทางด้านกีฬา ฯลฯ
l        ความบกพร่องทางการอ่าน(Dyslexia)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘