0374: Carl Icahn, the corporate raider

Carl Icahn
Carl Icahn, เป็นนักลงทุนที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 5 ของโลก ตามการจัดอันดับของ Forbes เขามีสินทรัพย์รวม $10.5 billions
อาชีพหลักของเขาคือ การบริหาร Private Equity ซึ่งเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินของเขาเอง (นักลงทุนที่จะร่วมหุ้นกับเขาได้ จะต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ $25 millions, ค่าบริหาร 2.5% ต่อปี และ profit sharing 25% ของกำไร)
เป้าหมายของกองทุนของเขาคือ บริษัทที่บริหารงานยอดแย่ แต่ว่ามีสินทรัพย์ในบริษัทที่มีมูลค่าตลาดที่ค่อนข้างชัดเจนเยอะ (ถ้าเป็นเงินสดยิ่งดี) จนทำให้ราคาหุ้นในตลาด เทรดอยู่ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์อย่างมาก โดยเขาจะเข้าไปถือหุ้น ขอที่นั่งกรรมการ และกดดันให้มีการเปลี่ยนผู้บริหาร เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการบริหารงาน และ/หรือ ขายสินทรัพย์ที่มีค่าออกมา  และจะทำให้เขาได้กำไรจากการลงทุนในหุ้นของบริษัทนั้นอย่างงดงาม อาจกล่าวได้ว่าเป็นการลงทุนแนว Asset Play ก็ได้ แต่แทนที่จะลงทุนแล้วสวดมนต์ (invest and pray) ให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เขาจะเข้าไปกดดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเอง ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เขาได้เข้าไปเปลี่ยนแปลงบริษัทดังๆ มากมาย จนทำให้เขามียี่ห้อของ Corporate Raider ที่กัดไม่ปล่อย ยี่ห้ออันนี้มีส่วนช่วยสร้างผลตอบแทนให้เขาได้อย่างมากในเวลาต่อมา เพราะเมื่อไรที่เขาเข้าไปซื้อหุ้นบริษัทไหน ตลาดหุ้นจะรีบตอบรับทันที (aka “The Icahn Lift”)
แม้ว่าเขาจะทำไปเพื่อให้ตัวเอง แต่สิ่งที่เขาทำก็ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยพลอยได้ประโยชน์ไปด้วย รูปแบบของบริษัทในปัจจุบันที่คณะกรรมการบริษัทเป็นใหญ่เป็นโครงสร้างที่แย่ กับผู้ถือหุ้น เพราะกรรมการส่วนใหญ่ไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มความสามารถเลย ในขณะที่ได้รับค่าตอบแทนกันสูงมาก ผู้ถือหุ้นก็ทำอะไรผู้บริหารได้ยากมาก อาชีพอย่างเขาจึงมีส่วนช่วยกำจัดความไร้ประสิทธิภาพออกไปจากองค์กรธุรกิจใน สหรัฐฯ
เดี๋ยวนี้แทนที่เขาจะต้องลงทุนเองมากๆ เพื่อให้สิทธิ์ที่มากพอ เขาจะเข้าไปถือหุ้นเพียงส่วนน้อย แล้วปลุกระดมให้นักลงทุนรายย่อยร่วมมือกับเขามอบฉันทะให้เขาในการโหวตเพื่อ เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร (Proxy Fight) ทำให้เขาเสี่ยงน้อยลงด้วย
Icahn จบจาก Princeton ด้วยเงินที่เขาหามาได้เองจากการเล่นโป๊กเกอร์สมัยที่เป็นนักเรียน ส่วนชีวิตการทำงานของเขานั้นจะคุยโทรศัพท์แทบทั้งวัน เขามีมือขวาสองคนที่ช่วยเขาขุดหาบริษัทที่มีลักษณะตรงกับเป้าหมายของกองทุน จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีลูกมืออีก 26 คนที่คอยช่วยงานเข้า ซึ่งจำนวนหนึ่งพวกเป็นนักกฏหมาย
ดีลที่เริ่มทำให้ Icahn มีชื่อเสียงระดับประเทศคือ การเข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของสายการบิน TWA ซึ่งเขาได้ปรับโครงสร้างและปลดคนงานจำนวนมากในเวลาต่อมา บางคนอาจมองว่าเขาโหด แต่เขาบอกว่า TWA ขาดทุนมานานนับสิบปี และจะต้องปรับองค์กรอยู่แล้ว เพียงแต่คนที่เขามาปรับองค์กรได้สำเร็จคือเขานั่นเอง
หลังจากนั้น Icahn ก็เข้าไปพัวพันกับดีลใหญ่ๆ ในประวัติศาสตร์อีกมากมาย อาทิ Oracle to takeover BEA systems (กวาดกำไรไป $300 millions), Motorola breakup, Time Warner breakup (เขาแพ้ Takeover Bid แต่ก็กำไร $300 millions), Casinos in Neveda (ได้กำไรไปกว่า $1billions), Microsoft to buy Yahoo!, Liongate Takeover, Sale of Dynegy against Blackstone เป็นต้น กองทุนของเขาสามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ถึง 50% ต่อปีตั้งแต่ปี 1990 ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็น the Corporate Raider ที่รวยที่สุดในโลก

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘