Venture Capitalists ประเมินโอกาสในการลงทุนอย่างไร

เมื่อเอ่ยถึงการลงทุนในบริษัทเกิดใหม่ เราต่างก็นึกถึงความเสี่ยงที่สูงที่สุดคือการที่บริษัทเกิดใหม่นั้นมักจะไปไม่รอดในช่วง 3-5 ปีแรกของการดำเนินงาน แต่ก็มีบริษัทไม่น้อยที่ผ่านช่วงยากลำบากมาได้ และกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ติดอันดับโลก
บริษัทเกิดใหม่เหล่านี้ หากเป็นบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจที่น่าสนใจ และอาจเตะตาเหล่ากองทุนที่ยอมเสี่ยงไปกับบริษัทด้วย (Venture Capital) บริษัทเล็กๆที่เกิดใหม่นั้นอาจกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงได้ สิ่งที่ผมอยากนำมาเล่ากันในครั้งนี้คือ เหล่าผู้จัดการกองทุนที่บริษัทกองทุนร่วมเสี่ยง (Venture Capitalists) มีหลักการและเหตุผลอย่างไรในการเลือกที่จะทุ่มเงินลงทุนไปในบริษัทที่เกิด ใหม่ และมีความเสี่ยงที่สูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การผลิต การตลาด และเรื่องบุคลากร ผมเชื่อว่าหลักการเดียวกันนี้สามารถนำมาใช้ได้กลับบริษัทที่มีอยู่แล้วใน บ้านเราได้เช่นกัน
จากการสัมภาษณ์ผู้จัดการกองทุน Venture Capital 4 คนโดย Harvard Business School ด้วยคำถามเดียวกัน สาม สี่ข้อ เรามาดูกันว่า ผู้จัดการกองทุนแต่ละกองจะมีคำตอบอย่างไรกับคำถามเหล่านั้น
คนแรกคือ Russell Siegelman: Partner, Kleiner Perkins Caufield & Byers ตอบคำถามข้อแรก ที่ถามว่า “คุณประเมินโอกาสในการลงทุนอย่างไร?” Siegelmam ตอบว่า สิ่งที่เขาพิจารณานั้นมีหลายประเด็น และประเด็นสำคัญประการ แรกคือ บริษัทนั้นจะต้องมีโอกาสทางธุรกิจในตลาดที่ใหญ่ และโตเร็ว ประการต่อมาบริษัทจะต้องมีความสามารถในการแข่งขันที่คงทน เช่นมีเครือข่ายทางธุรกิจที่ใหญ่ เช่น e-Bay หรือไม่ก็สามารถล็อคลูกค้าให้อยู่กับบริษัทได้ เช่น Microsoft หรือเป็นธุรกิจที่ผลิตสินค้า บริการที่เข้ามาแก้ปัญหาที่ไม่เคยมีใครแก้ได้ และจะต้องเป็นปัญหาที่แก้ยาก ปัญหานั้นมักจะเป็นปัญหาพื้นๆที่ยังไม่ถูกแก้ไข เขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีสิทธิบัตรมากนักเพราะผู้คนมักจะต่อต้าน ประการที่สาม เขาจะเลือกลงทุนในบริษัทที่มีทีมงานที่ผู้ก่อตั้งเป็นผู้ร่วมในทีมงาน และเป็นทีมงานที่เอาจริงเอาจัง เขาไม่ชอบลงทุนในบริษัทเกิดใหม่ที่มีผู้บริหารจากภายนอก เพราะผู้ก่อตั้ง(เจ้าของ)กับมืออาชีพมักมีเป้าหมายในการบริหารธุรกิจไม่ เหมือนกัน คือผู้ก่อตั้งจะมีเป้าหมายในการมองหาโอกาสในการสร้างให้บริษัทเติบโตแข่ง แกร่ง เขาจึงยอมที่จะเสี่ยงกับผู้ก่อตั้งเสมอ
คำถามต่อไปคือ “คุณประเมินรูปแบบธุรกิจอย่างไร”เขาตอบว่า มีหลักใหญ่ๆอยู่สองประการ คือ หนึ่งคือสินค้าหรือตลาดนั้นๆเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย เช่นการปรับปรุงสินค้าหรือบริการเดิมให้ดีขึ้น และแน่นอนว่าเขาจะลงทุนในบริษัทที่มีรูปแบบธุรกิจ(Business Model) ที่เข้าใจได้จริงๆ ต่อมาหากเป็นสินค้าหรือตลาดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน หรืออาจจะเรียกได้ว่ารูปแบบธุรกิจไม่มีความชัดเจน เขาจะดูว่าธุรกิจนั้นๆมีตลาดที่ใหญ่พอไหม และมีอัตราการเติบโตของธุรกิจที่สูงเพียงพอที่จะเสี่ยงไหม สิ่ง ที่จะต้องพิจารณาต่อมาคือเรื่องของช่วงเวลาในการลงทุน ในบางครั้งธุรกิจมีรูปแบบที่ชัดเจน แต่ยังไม่ใช่เวลาที่จะทำให้ธุรกิจนั้นเกิดได้ เขาจะยังไม่ร่วมลงทุน
คำถามที่ว่า “คุณตรวจสอบอะไรของบริษัทบ้างก่อนการตัดสินใจลงทุน” เขาตอบว่า สิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจสอบ คือการตรวจสอบทางเทคนิค ต้องดูให้แน่ใจว่าสินค้าและบริการนั้นๆเป็นได้จริงในเชิงเทคนิค และเชิงพานิช สิ่งที่ต้องตรวจสอบต่อไปคือ ลูกค้า เรื่อง นี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากบริษัทกำหนดลูกค้าเป้าหมายไม่ถูกต้อง บริษัทจะไม่มีหนทางในการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงความต้องการของลูกค้า หรือลูกค้าไม่มีความต้องการที่จะจ่าย (เห็นว่าไม่คุ้มที่จะจ่าย) ค่าสินค้าหรือบริการ ส่วนนี้เขาจะพิจารณาอย่างละเอียดและเคร่งครัดมาก
คำถามที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางการเงิน “คุณมีขบวนการวิเคราะห์ทางการเงินอะไรบ้าง” คำตอบในส่วนนี้น่าสนใจมาก เขาตอบว่า สิ่งที่เขาทำไม่ใช่การประมาณการยอดขาย ต้นทุนหรือกำไรเป็นอย่างแรก สิ่งที่เขาทำคือ วิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งมูลค่า (Value Chain Analysis) หรืออธิบายง่ายๆคือขบวนการทำงานของบริษัทตั้งแต่สั่งซื้อวัตถุดิบจนกระทั่งการบริการหลังการขาย เขา จะวิเคราะห์ขบวนการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับต้นทุนและยอดขายที่จะเกิดในแต่ ละขั้นตอนอย่างรอบครอบ เพื่อให้เห็นว่าบริษัทจะสามารถทำได้จริงตามที่ประมาณการเอาไว้หรือไม่
จะเห็นว่า แม้Venture capital ที่มักจะเป็นแหล่งเงินให้กับบริษัทที่เกิดใหม่และมีความเสี่ยงที่สูงนั้น สิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญมากเป็นอันดับต้นๆคือ คุณภาพ ของกิจการ ความสามารถในการแข่งขันระยะยาว มีตลาดและลูกค้าที่พร้อมจะจ่าย หลักการเหล่านี้เราเองก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนของเราได้เช่นกัน เพียงแต่เราให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลักเท่านั้นเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘