Torpark

นักท่องเว็บที่กลัวว่าจะถูกขโมยข้อมูลใน คอมพิวเตอร์ของตัวเองขณะออนไลน์ เว็บเบราเซอร์น้องใหม่นาม "ทอร์พาร์ค (Torpark)" คือตัวช่วยล่าสุดที่ถูกตั้งความหวังไว้อย่างท่วมท้น เนื่องจากทอร์พาร์คสามารถปิดบังตัวตนของผู้ใช้ขณะท่องเว็บได้ ความปลอดภัยจึงมีสูงมาก ขณะเดียวกันผู้ใช้ยังสามารถบันทึกโปรแกรมทอร์พาร์คลงในแฟลชไดร์ฟเพื่อพกพาไป ใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้
     
       ทอร์พาร์ ถือได้ว่าเป็นไฟร์ฟ็อกซ์ (Firefox) เวอร์ชันใหม่ เนื่องจากเป็นเว็บเบราเซอร์ที่รวมเอาไฟร์ฟ็อกซ์เวอร์ชันพกพา (Portable Firefox) เข้ากับเครือข่ายข้อมูลนามว่าทอร์ (Tor) เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถเก็บโปรแกรมทอร์พาร์คไว้ในสื่อเก็บข้อมูลพกพาอย่างเช่นยู เอสบีแฟลชไดร์ฟได้ (USB flash drive) เนื่องจากมีขนาดเล็ก ไม่กินทรัพยากร ขณะเดียวกันก็สามารถเก็บไว้ในฮาร์ดไดร์ฟเช่นเดียวกับเว็บเบราเซอร์ทั่วไปได้
     
       สาเหตุที่ทอร์พาร์คสามารถปิดบังตัวตนของนักท่องเน็ตได้ คือทอร์พาร์คจะใช้เราท์เตอร์และเครือข่ายทอร์ในการเชื่อมต่อผู้ใช้เข้าสู่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะเข้ารหัสทราฟฟิกระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้และเครือข่ายเราท์เตอร์ ทอร์ ทำให้ผู้บุกรุกไม่สามารถตรวจสอบว่าทราฟฟิกนี้เป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด
     
       เครือ ข่ายทอร์จะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ไม่จำกัด และจะลบข้อมูลทุกอย่างที่ทอร์พาร์คสร้างขึ้นในแฟลชไดร์ฟอย่างหมดจดเมื่อผู้ ใช้ออกจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว แปลว่าปัญหาสปายแวร์และแอดแวร์จะหมดไป
     
     ทอร์พาร์ คถูกพัฒนาขึ้นโดย Steve Topletz ได้รับความร่วมมือจาก John T. Haller ผู้พัฒนา Portable Firefox ทอร์พาร์คเวอร์ชันปัจจุบันคือ 1.5.0.7
     
       ที่ ผ่านมา โปรแกรมซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยสำหรับใช้งานร่วมกับเว็บเบราเซอร์นั้นมี วางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมประเภท Anonymizer, SafeSharing, InvisibleIP หรือ SecretSurfer ฯลฯ. ที่จะช่วยให้นักท่องเว็บสามารถปิดบังตัวตนเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยของ ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเหล่านี้ล้วนมีค่าบริการ แต่สำหรับทอร์พาร์คนั้นเปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรี
     
       เครื่อง มือที่มีในทอร์พาร์คนั้นพัฒนาโดยกลุ่ม Hacktivismo เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ฝ่ายดีนานาชาติ (แฮกเกอร์ที่พยายามเจาะระบบเพื่อนำจุดอ่อนมาแก้ไข) ที่มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและกลุ่มศิลปินเป็นสมาชิกด้วย เราท์เตอร์และเครือข่ายทอร์ที่ทอร์พาร์คใช้นั้นได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม Electronic Frontier Foundation กลุ่มรักษาสิทธิสื่อดิจิตอล โดยรายงานจากบีบีซีระบุว่า ขณะนี้ผู้ใช้งานทอร์พาร์คทั่วโลกที่เป็นผู้บริโภคทั่วไปนั้นมีหลายหมื่นคน แล้ว
     
       "ยุคนี้คือยุคแห่งการเก็บดอกผลจากควบรวม เทคโนโลยีหลากหลาย และเป็นยุคที่เราต้องทนกับการสอดแนมชีวิตออนไลน์ทุกก้าว" Oxblood Ruffin หนึ่งในผู้ก่อตั้งสมาคม Hacktivismo กล่าวในงานเปิดตัวทอร์พาร์คอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
     
       อย่าง ไรก็ตาม Ruffin ระบุว่าความสามารถในการปิดบังตัวตนของทอร์พาร์คนั้นมีขีดจำกัด ทอร์พาร์คจะไม่สามารถปิดบังตัวตนได้หากข้อมูลที่วิ่งระหว่างเว็บไซต์ที่ผู้ ใช้เข้างานกับเครือข่ายทอร์ไม่ถูกเข้ารหัส เมื่อนั้นจะมีทางเป็นไปได้ว่าผู้ใช้จะสามารถถูกระบุตัวตนได้
     
       ก่อน หน้านี้ผู้ใช้ไฟร์ฟ็อกซ์สามารถตั้งค่าเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถปิดบังตัวตนขณะใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ไม่ต่างจากทอร์พาร์ค แต่ทอร์พาร์คนั้นรวมเอาไฟร์ฟ็อกซ์กับเครือข่ายทอร์ไว้ในตัวเดียวกัน ทำให้ผู้ใช้ทอร์พาร์คไม่จำเป็นต้องตั้งค่าใดๆเพิ่มเติมอีก
     
       Hacktivisimo ระบุว่า ผู้ใช้ทอร์พาร์คจะสามารถสังเกตถึงความเร็วในการเรียกดูเว็บไซต์อย่างชัดเจน โดยในทอร์พาร์คจะมีไอคอนสำหรับให้ผู้ใช้คลิกเลือกว่าต้องการออนไลน์แบบปิด บังหรือแบบเปิดเผยตัวตนได้
     
       แน่นอนว่าทอร์พาร์ คอาจจะกำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ "net address" หรือระบบเลขหมายไอพีแอดเดรสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ขนานใหญ่ และอาจจะทำให้การเก็บสถิติในเว็บไซต์ผิดพลาดได้ เพราะเว็บไซต์จะเข้าใจผิดว่าเป็นยูเซอร์รายใหม่ ซึ่งหากเว็บไซต์เข้าใจว่าเป็นยูเซอร์รายใหม่ตลอดเวลาก็จะเกิดปัญหาในการใช้ งานอื่นๆอีก เช่นการถามรหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าระบบเกินกว่าหนึ่งครั้ง เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘