ฟิลลิป ฟิชเชอร์ (PHILIP A. FISHER)

“ในหมู่นักลงทุนที่ขึ้นชื่อของโลก นั้นมีหลายท่านด้วยกัน ในแต่ละท่านนั้นก็จะมีแนวทางและวิธีการลงทุนที่คล้ายคลึงกันบ้างแตกต่างกัน บ้าง หากเราได้เรียนรู้และเลือกใช้แนวทางและวิธีการลงทุนของแต่ละท่านให้เหมาะสม กับตัวเรานั้นจะเป็นการดีหรือไม่ Thai Value Investor.com จึงได้นำเสนอประวัติ แนวคิดและวิธีการของนักลงทุนแต่ละท่านเป็นลำดับไป”
Warren Buffett เคยพูดอยู่เสมอว่าวิธีการลงทุนของเขานั้น 70% มาจาก Benjamin Graham อีก 30%มาจาก Phil Fisher เขาผู้นี้เป็นใคร ทำไม่นักลงทุนระดับ Warren Buffett ถึงได้กล่าวไว้เช่นนั้น เราลองมามาดูประวัติ และแนวทางการลงทุนของเขากัน
ฟิลิป อาร์เธอร์ ฟิชเชอร์( 8 กันยายน 1907 - 11 มีนาคม 2004) เป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดจากหนังสือที่เขาแต่งชื่อ คอมมอนด์ สต๊อกส์ แอนด์ อันคอมมอนด์ โปรฟิตส์ (ISBN 0-47111-927 - X) ซึ่งเป็นคู่มือการลงทุนที่ยังคงพิมพ์ออกจำหน่ายเรื่อยมานับตั้งแต่ปี 1958 จวบจนปัจจุบัน

การลงทุนที่สร้างชื่อเสียงแก่ฟิชเชอร์มากที่สุด คือ การลงทุนซื้อหุ้นบริษัทมอโตรอล่า ซื่งเป็นบริษัทผลิตวิทยุที่เขาซื้อเมื่อปี 1955 และถือไว้ตราบจนกระทั่งตัวเองถึงแก่กรรมในเดือน มีนาคม 2004 รวมอายุขัย 96 ปี

ผู้ที่เป็นสาวกทำตามแบบอย่างของฟิชเชอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ วอร์เร็น บัฟเฟตต์
ลักษณะงาน
ที่ปรึกษาการลงทุนในบริษัทของเขาเอง
รูปแบบการลงทุน
เป็นนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีโดยการซื้อและถือยาวมาก
ประวัติ
หลัง จากผ่านการอบรบนักวิเคราะห์ ที่ธนาคาร ซานฟานซิสโก เขาก็เริ่มเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในบริษัทของเขาเองเมื่อปี 1931 เขาจะเชี่ยวชาญในการลงทุนในธุรกิจที่เขารู้จักดี ซึ่งมักจะเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆที่ได้จากการวิจัยและ พัฒนาของบริษัท เขาเริ่มใช้กลยุทธ์การลงทุนนี้ก่อนการเกิดของ Silicon Valley ถึง 40 ปี.
บริษัทที่เขามักแนะนำให้ลูกค้าซื้อมักเป็นบริษัท Low-tech เช่นบริษัทเคมีภัณฑ์ใหญ่ๆ หรือบริษัทผลิตเครื่องจักรอาหาร หลังจากนั้นเขาก็ได้ชื่อว่าเป็นนักลงทุนที่เห็นถึงคุณค่าของหุ้นในกลุ่ม Hi-techอย่าง Motorola และ Texas Instruments
ขณะที่เขามีอายุได้ 90ปี เขายังคงทำงานในลักษณะเดิมอย่างที่เคยทำ เขาเป็นคนที่ใช้เหตุผล และยึดหลักปฎิบัติอย่างเข้มงวด เขาเป็นคนเดียวที่จะเลือกลงทุนในบริษัทที่เขาได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดรอบ ครอบ โดยศึกษาจากแหล่งความรู้ต่างๆ การสัมภาษณ์ผู้บริหารและคู่แข่งของบริษัท และสิ่งนี้ทำให้เขาเข้าถึงมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทได้ก่อนใคร
ความสำเร็จที่สำคัญ
ฟิชเชอร์ ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท เท็กซัส อินสทรูเม้นต์ ในปี 1956 นานมากก่อนที่บริษัทนี้จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี1970 ราคาเมื่อเริ่มซื้อขายที่ 2.7 เหรียล และหลังจากนั้นราคาก็ขึ้นไปถึง 200 เหรียล เพิ่มขึ้น 7400% โดยที่ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เขาได้รับผลตอบแทนที่สูงมากจากการลงทุนในบริษัทนี้
วิธีการ และแนวทางในการลงทุน Methods and guidelines
ให้ความสนใจในหุ้นบริษัทใหม่ที่มีการเติบโต (Young growth stock)
เพื่อให้ได้มาซึ่งความชัดเจน นักลงทุนควร
- อ่านข้อมูลทุกอย่างที่หาได้ ทั้งจากวารสาร รายงานของบริษัทหลักทรัพย์
- สนทนากับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นผู้จัดการ พนักงาน โดยเฉพาะกับผู้ป้อนวัตถุดิบ ลูกค้า คู่แข่ง
- เยี่ยมชม สถานที่ทำงานในจุดต่างๆของบริษัทเช่นโรงงาน สาขา ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรไปแค่สำนักงานใหญ่
- ก่อนที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆ จะต้องแน่ใจว่าสามารถตอบคำถามทั้ง15ข้อดังต่อไปนี้ได้

1.บริษัทนี้มีสินค้า หรือบริการที่มีศักยภาพทางการตลาด ที่สามารถทำยอดขายให้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในอีกหลายๆปีข้างหน้าได้หรือไม่?
2.ผู้ บริหารของบริษัทมีแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่ หรือขบวนการใหม่ๆที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการขายสินค้า ในขณะที่สิ้นค้าชนิดเดิมก็ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง
3.การวิจัยและพัฒนาของบริษัทมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัท?
4.บริษัทนี้มีหน่วยงานขายที่อยู่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่?
5.บริษัทนี้มีกำไรขั้นต้นสูงหรือไม่ ?
6.บริษัทมีกลยุทธ์อะไรในการรักษาหรือเพิ่มกำไรขั้นต้นให้สูงขึ้น?
7.บริษัทมีหน่วยงานแรงงานสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่?
8.ผู้บริหารภายในบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่
9.การจัดการของบริษัทมีความซับซ้อนหรือไม่
10.บริษัทมีการวิเคราะห์และควบคุมต้นทุน และบัญชีดีแค่ไหน
11.บริษัทมีแนวทางในการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันอย่างไร
12.บริษัทมีทัศนะทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการทำกำไรของบริษัทอย่างไร?
13.ใน อนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้นั้น หากบริษัทต้องการเงินทุนด้วนการระดมทุนเพิ่มเพิ่มเพื่อสร้างการเติบโตให้สูง ขึ้น การที่มีหุ้นเพิ่มสูงขึ้นจะกระทบผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นมากน้อยอย่างไร?
14.ให้สังเกตว่า เมื่อยามที่กิจการไปได้ดีผู้บริหารของบริษัทยินดีที่จะพูดคุยอย่างตรงไปตรง มากับนักลงทุน แต่ในยามที่มีเหตูการเลวร้ายผู้บริหารจะหายตัวไปหรือไม่?
15.บริษัทมีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์หรือไม่
ที่มา : Common Stocks and Uncommon Profits, P Fisher, 1958


สิ่งสำคัญที่นักลงทุนทั้งหลายไม่พึงกระทำ


ในการลงทุนนั้น การหยุดการสั่งซื้อมีความสำคัญพอๆกับการสั่งซื้อ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ ในเรื่องที่คุณไม่พึงกระทำ
1.อย่าเน้นในเรื่องการกระจายความเสี่ยงมากจนเกินเหตุ
ที่ ปรึกษาการลงทุนหลายๆคนและสื่อสารด้านการลงทุนได้อธิบายความถึงข้อดีของการ กระจายตวามเสี่ยงโดยยกเอาประโยคที่น่าสนใจจดจำง่ายนี้ขึ้นมาพูดอยู่เสมอๆ ” อย่าใส่ไข่หลายๆฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบเดียว” อย่างไรก็ตาม ฟิชเชอร์ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านใส่ไข่หลายฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบโน้นบ้างใบนี้บ้าง ก็ไม่แน่เสมอไปว่าไข่ทั้งหมดทุกฟองจะอยู่ในที่ปลอดภัยดี อีกทั้งยังยากต่อการเฝ้าติดตามดูไข่ทุกฟองนั้น

ฟิชเชอร์,เป็นผู้ซึ่ง ถือหุ้นไม่เกิน 30 ตัวเป็นอย่างมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของอาชีพ,มีคำตอบที่ดีกว่าดัง นี้คือ ให้เสียสละเวลาค้นคว้าและทำความเข้าใจบริษัทหนึ่งๆอย่างถ้วนถี่และถ้าหาก เป็นที่แน่ชัดว่าบริษัทดังกล่าวเข้าเกณฑ์ 15 ข้อที่เขาตั้งเป็นเกณฑ์กำหนดไว้ครบถ้วน คุณควรที่จะลงทุนในปริมาณมากๆ ฟิชเชอร์ เห็นด้วยกับคำพูดของ มาร์ค ทเวน ที่ว่า “ใส่ไข่ทั้งหมดทุกฟองของคุณไว้ในตระกร้าใบเดียว และเฝ้าดูแลตระกร้านั้นให้ดี”
2. อย่าแห่ตามฝูงชน
การเฮโลไปกับฝูงชน โดยลงทุนในหุ้นที่กำลังอยู่ในความนิยม อย่างเช่น หุ้นกลุ่ม”นิฟตี้ ฟิฟตี้”(หุ้น 50 ตัวที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน)ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 หรือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี่ ในช่วงปลายทศวรรษปี 1990 เป็นอันตรายต่อสุขภาพการเงินของคุณได้ ในทางตรงกันข้าม การค้นคว้าหาข้อมูลในกลุ่มที่ฝูงชนละเลยไม่ให้ความสนใจก็สามารถสร้างผลกำไร ให้สูงมากๆได้ ครั้งหนึ่ง เซอร์ ไอแซ๊ค นิวตัน เคยพูดยอมรับอย่างเศร้าใจว่า เขาสามารถที่จะคำนวณการเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆที่ตกมาจากท้องฟ้าได้ แต่กับความบ้าคลั่งของฝูงชนเขาไม่อาจจะทำได้ ฟิชเชอร์ต้องเห็นด้วยอย่างจริงใจกับคำกล่าวนี้
3. อย่าคิดเล็กคิดน้อย
หลัง จากได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง และคุณได้พบบริษัทที่คุณมั่นใจว่าจะเจริญเติบโตอย่างแน่นอนในช่วง 10 ปีข้างหน้า และราคาหุ้นปัจจุบันเสนอขายในราคาเหมาะสม คุณควรจะรอหรือละเว้นการลงทุนของคุณเพื่อให้ราคาลงมาต่ำกว่าที่เป็นอยู่ขณะ นั้นอีกซักไม่กี่เพนนีดีกว่า?

ฟิชเชอร์ได้เล่าให้ฟังเรื่องนักลงทุน ที่ชำนิชำนาญคนหนึ่งที่ต้องการจะซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งซึ่งในวันนั้นราคา หุ้นปิดที่ 35.5 เหรียญต่อหุ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนผู้นี้ตั้งใจว่าจะไม่ซื้อหุ้นตัวนั้นจนกว่าราคาจะลดลง มาอยู่ที่ 35 เหรียญ หุ้นตัวนี้ไม่เคยมีราคาต่ำกว่า 35 เหรียญอีกเลยหลังจากนั้น และต่อมาอีก25 ปีมูลค่าของหุ้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 เหรียญต่อหุ้น นักลงทุนผู้นี้พลาดโอกาสที่จะได้ส่วนต่างราคาที่มากมายมหาศาลไปอย่างน่า เสียดายเพียงแค่ต้องการประหยัดต้นทุนอีก 50 เซนต์ต่อหุ้น

แม้แต่ วอร์เร็น บัฟเฟตต์เองก็มักจะปล่อยให้เกิดความผิดพลาดทางจิตใจในแบบนี้เช่นกัน บัฟเฟตต์ เคยเริ่มซื้อวอลมาร์ท เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น แต่ก็หยุดซื้อเมื่อราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย บัฟเฟตต์ยอมรับว่าความผิดพลาดอันนี้ทำให้เบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์สูญเสียกำไรที่ควรจะเป็นไปราว 1 หมื่นล้านเหรียญ แม้แต่นักทำนายผู้ปราดเปรื่องแห่งโอมาฮา ยังน่าได้รับประโยชน์จากข้อแนะนำของฟิชเชอร์ข้อนี้ที่ว่าอย่าคิดเล็กคิดน้อย

- เขามีเหตุผลเพียงสามประการที่จะตัดสินใจขายหุ้นออก
- เกิดความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการวิเคราะห์หุ้นที่ซื้อมาแล้ว
- บริษัทนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถผ่านหลักเกณฑ์ทั้ง15ข้างต้นได้เหมือนที่เคยเป็น
- สามารที่จะนำเงินลงทุนในบริษัทเดิมไปลงทุนในบริษัทอื่นที่สามารถสร้างผลตอบ แทนได้สูงกว่ามากๆ และก่อนจะตัดสินใจลงไปต้องแน่ใจว่ามีเหตุผลที่หนักแน่นพอ
ประโยคทอง Key sayings
“ผมไม่ต้องการการลงทุนที่ดีจำนวนมากๆ แต่ผมต้องการบริษัทที่ดีที่สุดจำนวนไม่มากนัก”
“I don’t want a lot of good investments; I want a few outstanding ones.”
“รางวัล อันยิ่งใหญ่จากการลงทุน นั้นมาจากบุคคลที่โชค หรือมีความรู้สึกพิเศษในการเลือกลงทุนในบริษัทที่สามารถสร้างการเติบโตของ ยอดขายและกำไรได้อย่างยาวนาน และเหนือกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมทั้งหมด”
“The greatest investment reward comes to those who by good luck or good sense find the occasional company that over the years can grow in sales and profits far more than industry as a whole.”
“The business ‘grapevine’ is a remarkable thing. It is amazing what an accurate picture of the relative points of strength and weakness of each company in an industry can be obtained from a representative cross-section of the opinions of those who in one way or another are concerned with any particular company.”
“ถ้าหากการวิเคราะห์บริษัทได้ทำลงไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เวลาที่จะขายหุ้นนั้นคือ ไม่มีระยะเวลา”
“If the job has been correctly done when a common stock is purchased, the time to sell it is – almost never."

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘