โอฬาร ภัทรกอบกิตติ์ NEW KID INVESTOR อีกหนึ่งแฟนพันธุ์แท้หุ้น

จากนายช่างวิศวกรรมโยธา มาเป็นคนเขียนหนังสือคอมพิวเตอร์ และในที่สุดบทชีวิตหันเหกลายมาเป็นเซียนหุ้น  มีการวางแผนงานก่อนไว้แล้ว งานทุกอย่างก็จบไว้ การสั่งซื้อสั่งขายจบ ก็คือจบ ไม่คิดอะไรแล้ว คือ วางแผนตอนออกกำลังกายนี่แหละว่า พรุ่งนี้จะเก็บจะขายตัวไหน ซึ่งมันคือ กิจวัตรประจำวันที่ต้องทำทุกวันจนกลายเป็นนิสัย   


นอน 4 ชั่วโมงเท่านั้น


     วันนี้มาถึงรอบคนที่ 2 บ้าง นั่นคือโอฬาร ภัทรกอบกิตติ์ เขากล่าวถึง ความเป็นมาก่อนที่จะเข้ามาในวงการหุ้นว่า หลังจากเรียบจบทางด้านวิศวกรรมโยธา ได้ทำงานในช่วงที่เศรษฐกิจบูมสุดๆ เป็นยุคก่อนที่ฟองสบู่จะแตก เขากล่าวว่าในตอนนั้นทำงานหนักมาก มีเวลานอนเพียงแค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น งานที่ทำนั้น คือ กาารคุมงานก่อสร้างแถวสุขุมวิท ซึ่งในตอนนั้นมีการก่อสร้างกันมากเรียกว่า โครงการต่างผุดเป็นดอกเห็ดเลยก็ว่าได้ ต้องทำงานถึงตี 4 และกลับบ้านไปอาบน้ำ เมื่อถึงเวลา 8 โมงเช้าก็ต้องมาทำงานต่อ บางครั้งต้องนอนในไซส์งาน เรียกว่าทำงานจนบางครั้งลืมทานข้าวไปเลยก็มี แต่ผลตอบแทนก็สูง ค่าล่วงเวลาสูงกว่าเงินเดือนมากหลายเท่า





เขียนหนังสือขาย รายได้ดีกว่า


     เมื่อทำไปสักระยะหนึ่งเกิดความคิดว่า มันไม่ใช่ชีวิตเรา เราควรจะกลับไปหาตัวตนของตัวเอง นั่นคือคอมพิวเตอร์ซึ่งชอบมานาน แต่ไม่ได้เรียนโดยตรงเพราะไปทางวิศวกรรมโยธาแทน ต่อมาจึงได้เขียนเกี่ยวกับหนังสือคอมพิวเตอร์  ซึ่งขายดีมากจนกระทั่งติดอันดับ 2 ของประเทศไทย โดยเขียนเองทั้งหมดใช้ชื่อว่า กลเม็ดเคล็ดลับวินโดว์ 3.1  ทำให้รายได้เข้ามามากพอสมควร แต่เนื่องจากตัวเองเป็นคนที่บริหารเงินไม่เป็น คือได้มาก็ใช้ไปไม่ได้ทำการบันทึกไว้ว่าเงินที่ได้มาใช้ไปทางใดบ้าง ไม่รู้วิธีที่จะทำให้มันงอกเงยขึ้นมา


     เขากล่าวว่า หนังสือที่ออกมาล้วนแล้วแต่ขายดีทุกเล่ม เพราะคนที่เขียนเรื่องคอมพิวเตอร์มีน้อยมาก และตอนนั้นคอมพิวเตอร์กำลังเป็นที่แพร่หลาย แต่ก็มาสะดุดตรงที่ฟองสบู่แตก ถึงแม้ว่าคนจะชอบหนังสือ แต่ก็ไม่ซื้อเพราะต้องเก็บเงินไว้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นก่อน ทำให้หนังสือที่วางขาย 10  กว่าเล่มยอดขายวูบลงทันที มันมีจุดที่รู้ ก็คือว่า เงินที่เคยได้มันไม่ได้เท่าที่เคยได้ มันลดลงเกือบ 10 เท่าตอนนั้นสับสนอยู่พอสมควร แต่ฉุกใจคิดว่า เราคงต้องทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่หนังสือ เพราะการทำหนังสือน่าจะเป็นอาชีพที่ไม่ยั่งยืน


     ดังนั้นจึงหันกลับไปศึกษาเรื่องการเงิน เพราะต้องการที่จะรู้ว่า การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจมันเป็นเพราะอะไร ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์ต่างๆ กับประเทศไทยได้ จากการที่ไม่เคยมีความสนใจในเรื่องนี้เลย เพราะเงินหาง่ายมากแค่เขียนหนังสือเงินก็วิ่งเข้ามาหาแล้ว ก่อนเกิดวิกฤติ 2 ปีหนังสือขายดีมาก   


SET CITY  เปลี่ยนชีวิตอีกครั้ง


      หลังจากที่ได้เข้าสู่วงการน้ำหมึกเมื่อปี 2537  เมื่อปลายปี 2539-2540 เจอวิกฤติแทบตั้งตัวไม่ทัน และโดนแรง แต่ก็นับว่ายังโชคดีกว่าคนอื่นตรงที่ว่า รายได้จากการขายหนังสือจะเข้ามาหลังจากที่ขายออกไป 3 เดือนผ่านไป ปรากฏว่า มันมีสัญญาณคือยอดขายหนังสือทุกประเภทตกต่ำหมด ทางร้านค้าได้เตือนมาล่วงหน้าให้ระวังเพราะตอนนี้มันขายไม่ออก ดังนั้นให้หยุดการเขียนหนังสือไปก่อน


     เขากล่าวว่า ถือว่า เป็นโชคดีที่ได้เข้ามาสู่วงการเงิน โดยการได้อ่านหนังสือของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวากร จากการที่ได้ไปเดินที่งานตลาดหลักทรัพย์ฯจัดจำนวน 4 เล่ม ซึ่งเป็นปีแรกถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นงาน SET IN THE CITY  เมื่อกลับจากงานก็เปิดอ่านดู เมื่ออ่านดูก็พบว่า หนังสือนี้ไม่ธรรมดาแล้ว และอ่านไปเรื่อยๆ จนครบ 4 เล่มจึงบอกได้เลยว่าหนังสือทั้ง 4 เล่มเป็นอาจารย์ที่ดีที่สุดของเขา ถ้าเป็นไปได้ในตอนนั้น ถ้าพบกับคนเขียนต้องวิ่งไปขอลายเซ็นแน่นอน





ซื้อหุ้น  เงินธนาคารซื้อหุ้นธนาคาร


     สำหรับการเข้ามาในวงการหุ้นนั้น โอฬารกล่าวว่า ไม่เคยใช้เงินตัวเองซื้อหุ้น ใช้แต่เงินธนาคารซื้อ เพราะเขามีกระบวนการใช้เงินว่า จะใช้ทรัพย์สินทำงานเสมอ โดยการซื้อบ้านไว้หนึ่งหลัง และได้ผ่อนไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ต้องการเป็นเจ้าของ คือไม่ได้ตั้งใจว่าจะผ่อนให้หมด ดังนั้นเวลาผ่อนบ้านก็จะมองว่า สามารถขอเงินจากธนาคารได้เท่าไร เนื่องจากอยู่ในวงการก่อสร้าง จึงรู้ว่าควรจะซื้อบ้านที่ใดอย่างไหนจึงจะได้ในราคาถูก เขากล่าวว่าได้บ้านมาในราคาที่ถูกมาก


     เมื่อไปขอกู้กับธนาคา รก็ได้เงินมาเป็นจำนวนมาก เงินที่เหลือ คือ ส่วนต่างที่ได้นำมาซื้อหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ เพราะได้ประเมินแล้วว่า หุ้นตัวนี้มีปันผลแน่นอน ซึ่งมากกว่าที่จะต้องจ่ายให้ธนาคาร สรุปก็คือเอาเงินธนาคารซื้อธนาคาร ตอนนั้นได้วางแผนว่า ซื้อหุ้นไทยพาณิชย์เดือนตุลาคม เพราะว่ามีปันผล 2 รอบและตั้งใจว่าจะขายให้หมด ก็คือจ่ายดอกเบี้ยธนาคาร 24 เดือน แต่ถือหุ้นในธนาคารไม่ถึง 16 เดือน ก็ได้ปันผล 2 ครั้ง




พบอาจารย์เล่นหุ้น

กฎของผมเงินลงทุนต้องเป็นเงินเย็น แต่ต้องเย็นแบบที่เย็นจริงๆ เป็นเงินที่เราไม่ได้ใช้แล้ว ผมจะกันเงินแค่ 10% จากรายได้มาลงทุน ผมไม่ลงทุนมากกว่านี้ แต่เงินลงทุนทั้งหมดของผมอยู่ในหุ้น

แฟนพันธุ์ แท้ตลาดหุ้นไทย ไม่ได้มีเพียงคนเดียว แต่มีด้วยกัน 2 คน และ 'โอฬาร ภัทรกอบกิตติ์' กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอซีแอนด์เอฟ จำกัด เป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ตลาดหุ้นไทยอีกคนหนึ่ง เขาเป็นคนที่มองการลงทุนในหุ้นเสมือนหนึ่งการทำร้านค้าสักร้าน ที่ในร้านของเขาจะต้องมีสินค้าที่ดีและอยู่ในความต้องการของตลาดเสมอ แต่เขาก็มีการบริหารจัดการเรื่องการออมและการลงทุนที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

โอฬาร บอกว่า ในความเป็นจริงเราต้องแบ่งทั้งเรื่องการออมและการลงทุนแยกจากกัน เงินออมอย่างแรกเลยต้องให้หลักประกันชีวิตและครอบครัว เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุขึ้นเมื่อไร ดังนั้น เมื่อเรามีรายได้จากการทำงานแล้ว ส่วนหนึ่งเขาแนะนำให้ทำประกันก่อน ทั้งประกันชีวิต และประกันสุขภาพ นั่นหมายถึงเรามั่นใจเรื่องสุขภาพแล้ว จากนั้นส่วนที่เหลือจากนี้เราค่อยเอามาลงทุน เพราะตราบใดก็ตามที่เราเอาเงินทั้งก้อนมาลงทุน ส่วนที่ควรจะเป็นเงินประกันทั้งประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุไปลงทุน แล้วเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา เงินก้อนนั้นจะกลายเป็นเงินร้อนขึ้นมาทันที

'กฎ ของผมเงินลงทุนต้องเป็นเงินเย็น แต่ต้องเย็นแบบที่เย็นจริงๆ เป็นเงินที่เราไม่ได้ใช้แล้ว ผมจะกันเงินแค่ 10% จากรายได้มาลงทุน ผมไม่ลงทุนมากกว่านี้ แต่เงินลงทุนทั้งหมดของผมอยู่ในหุ้น หลังจากนั้น เราก็จะมาเริ่มบริหารแล้วว่าเราใช้เงินเท่าไรบ้างในแต่ละเดือน จากก้อนที่เหลืออีก 90%'

โดยเขาให้เหตุผลว่า สมมติว่าวันหนึ่งต้นเดือนเจ้านายคุณบอกว่าจะให้เงินเดือนคุณเหลือแค่ 90% คุณจะมีชีวิตอยู่ได้มั้ย คำตอบคือเรามีชีวิตอยู่ได้ เพราะมันลดไปแค่เสี้ยวเดียวของเงิน เราก็ไม่รู้สึกอะไร ในเมื่อเรารู้แล้วว่า 10% ไม่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา อาจจะดูหนังน้อยลงไป เดือนหนึ่งเคยดู 4 ครั้ง อาจจะดู 2 ครั้ง มันไม่ได้เสียหายอะไรมากมายนัก เพราะว่ารายได้ส่วนใหญ่ของเราใช้จ่ายไปกับเรื่องฟุ่มเฟือย ถ้าวันหนึ่งเราถูกลดเงินเดือนลง 10% เราก็ลดความฟุ่มเฟือยลงไป 10% แล้วก็เอาความฟุ่มเฟือย 10% มาเป็นการลงทุน ก็เหมือนเราได้ใช้เงินก้อนนี้ไปแล้ว เหมือนซื้อของฟุ่มเฟือยไปแล้วหนึ่งอย่าง แต่แทนที่เราจะซื้อของฟุ่มเฟือยเราก็เอามาลงทุนแทน นี่คือสูตรที่เรียกว่า 'จ่ายให้ตัวเองก่อน' คือทันทีที่เราซื้อของ เราจ่ายให้คนอื่น แต่ทันทีที่เรานำมาลงทุนเราจ่ายให้ตัวเอง

'ส่วนเงินค่าใช้จ่ายอีก 90% ที่เหลือ ผมจะบันทึกค่าใช้จ่ายทุกอย่างเอาไว้ ใครก็ตามที่ลองทำอย่างผมจะพบว่าเราใช้เงินกินข้าว น้อยกว่ารายจ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเราสามารถลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นนี้ลงได้ โดยที่ชีวิตเราไม่เสียหายอะไรเลย ซึ่งจะทำให้เรามองเห็นว่าเราจะมีเงินออมเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร'

โอฬาร เป็นอีกคนที่ไม่นิยมเก็บเงินออมไว้ในแบงก์ แต่จะออมเงินเข้าไปในพอร์ตหุ้นตลอดเวลา ซึ่งในพอร์ตของเขาจะมีหุ้นอยู่ประมาณ 20 ตัว จากหุ้นในยูนิเวิร์สของเขาประมาณ 80 ตัว ซึ่งเป็นหุ้นอันดับต้นๆ ในแต่ละหมวดอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีการปรับพอร์ตการลงทุนเป็นระยะๆ คือพยายามซื้อแล้วก็ขายในจังหวะที่เหมาะสม

การลงทุนในหุ้นก็เหมือน กับการทำร้านกาแฟสักร้านหนึ่ง แต่แทนที่จะไปลงทุนทำร้านกาแฟด้วยตัวเอง ก็เข้าไปลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เปิดร้านกาแฟแทน โดยสนใจเพียงอย่างเดียวว่าทุกวันมีรายได้เท่าไร มีคนมาซื้อกาแฟในร้านเท่าไร มีกำไรต่อร้านเท่าไร และไม่สนใจเลยว่าราคาร้านกาแฟจะเป็นเท่าไร ขอแค่เพียงหุ้นร้านกาแฟสามารถทำรายได้ให้ได้ ก็พอใจแล้ว

ข้อดีของการ ลงทุนในหุ้นไม่เหมือนการลงทุนในธุรกิจ สมมติคุณเปิดร้านกาแฟร้านหนึ่ง พอจะขายทิ้ง ขายยากมากเลย เพราะว่ามีค่าไม้ ค่าตกแต่ง กลายเป็นต้นทุนไปแล้ว แต่การลงทุนในหุ้นนี้ คุณจะขายวันไหนก็ได้ อยากจะเปลี่ยนจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไปอยู่ธุรกิจสื่อสารสามารถทำได้ในไม่ กี่นาที ขายเสร็จคุณก็เปลี่ยนธุรกิจเลย มันง่ายมาก ไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในการเปลี่ยนธุรกิจเลย นี่คือสิ่งที่ทำให้โอฬารชื่นชอบการลงทุนในหุ้นเป็นอย่างมาก

'ผมกล้า พูดได้เลยว่าพอร์ตของผมสามารถสร้างรายได้ให้ผมได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน ไม่ว่าหุ้นจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง สูตรง่ายๆ คือพอร์ตการลงทุนจะต้องสร้างรายได้จากการลงทุนในหุ้นแค่ 10% ต่อเดือน เหมือนกับร้านกาแฟที่มีคนมากินทุกวัน คนทั่วไปเล่นหุ้นคือมีกำไรเมื่อขาย คุณซื้อมา ขายแล้วกำไร แต่ผมกำไรเมื่อผมซื้อ คือผมขายก่อน แล้วค่อยซื้อทีหลัง คือทันทีที่ซื้อผมจะรู้ว่าผมกำไร เพราะผมรู้ว่าผมขายไปที่เท่าไร ผมจะซื้อเมื่อราคาต่ำกว่าที่ผมเคยขายไป อันนี้ก็เลยง่ายที่จะประเมินว่าผมจะกำไรเท่าไรต่อการซื้อในแต่ละครั้ง แต่ว่าเป้าหมายของผมคือ ผมจะต้องซื้อคืนแล้วได้ปริมาณหุ้นเยอะขึ้นเรื่อยๆ นั่นทำให้ปริมาณหุ้นของผมจะเพิ่มขึ้นแบบกำลัง 2 ทุกปี โดยที่ไม่ใส่เงินเพิ่ม นี่คือกติกาของผม ใช้ส่วนต่างของราคามาซื้อหุ้นตัวเดิม'

โอฬารอธิบายเพิ่มเติมว่า ผลตอบแทน 10% สำหรับเดือนมกราคมปีนี้ ถ้าเทียบกับ 10% ในเดือนมกราคมปีหน้าก็จะเป็นผลตอบแทนที่เพิ่มทวีขึ้น เพราะพอร์ตใหญ่ขึ้น 2 เท่า พอปีที่ 3 พอร์ตก็จะโตขึ้นเป็น 4 เท่า มีลักษณะการเติบโตของพอร์ตการลงทุนแบบกำลัง 2 ทุกปี ซึ่งสูตรการลงทุนแบบนี้ใครก็สามารถทำได้ใช้เวลาลงทุนประมาณ 4 ปี คุณไม่ต้องทำงานแล้ว

'เป็นสูตรที่ง่าย ใครก็สามารถทำได้ ไม่ใช่เรื่องยาก ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจะทำมันด้วยวิธีนี้หรือเปล่าเท่านั้นเอง เพราะต้องลงทุนแบบนี้ติดต่อกัน 2 ปีถึงจะเห็นผล ปีที่ 3 รายได้จะเริ่มมาแล้ว พอปีที่ 4 เข้าที่เข้าทาง พอผ่านปีที่ 4 คุณจะรู้สึกเสียดายว่าทำไมปีแรกคุณใส่แค่พันเดียวเอง แต่ผมค่อนข้างโชคดีเพราะลงทุนด้วยวิธีนี้เพียง 2 ปี ผมก็พบอิสรภาพทางการเงินแล้ว'

แม้จะมีหุ้นในพอร์ตให้ต้องติดตามมาก ถึง 20 ตัว แต่โอฬารก็ใช้เวลาในการดูหุ้นในพอร์ตอย่างมากที่สุดวันละ 10 นาทีเท่านั้น แล้วก็ไม่ได้ดูทุกวันด้วย โอฬารยอมรับว่ากำไรระดับนี้ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่มากนักในสายตาของนักเก็ง กำไร แต่เขาก็มีความสุขมาก เพราะสามารถที่จะเอาเวลาที่เหลือไปทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องมานั่งเฝ้าหน้าจอทั้งวันเหมือนนักเก็งกำไร

เคล็ดลับสู่ความ สำเร็จในการลงทุนในหุ้นของโอฬาร อยู่ที่กระบวนการขายที่ถูก 'จังหวะ' และ 'เหมาะสม' ซึ่งทำให้เขาสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อเดือน ใครที่สนใจเขาก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์


แบบร้านเช่าหนังสือ


     แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่พอใจ เพราะการลงทุนแบบนี้มันได้เงินช้า มันต้องมีวิธีที่ต้องได้เร็วกว่านี้ ซึ่งก็ได้คำแนะนำที่ดีจากเพื่อนที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ทางอินเตอร์เน็ต ที่เล่นหุ้นอยู่และถือว่า เป็นอาจารย์อีกคนหนึ่ง เขาสอนวิธีการเล่นหุ้นแบบร้านให้เช่าหนังสือ ทำให้มีเทคนิคในการเล่นหุ้นมากขึ้น ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง โอฬาร กล่าวว่า เขามีกำไรได้ทุกวัน


     การใช้เทคนิคนี้จะมีกำไรจากหุ้นเดือนละ 10% จากในตอนแรกอาจจะมีกำไรแค่ 3% และการซื้อขายหุ้นแบบนี้มีความมสุข เพราะไม่ต้องคอยกังวลเรื่องหุ้นขึ้นหรือตก เขากล่าวว่า บริหารหุ้นแบบร้านหนังสือ และได้ทำประกันหุ้นตัวเองด้วย คือ เราสามารถประกันชีวิต ประกันรถได้ แต่หุ้นเรากลับประกันไม่ได้ แต่โอฬารนั้นสามารถสร้างระบบประกันหุ้นของตัวเองได้ เรียกว่า สร้างประกันความมั่นคงในพอร์ตของตัวเอง ถ้าหุ้นลงได้กำไร ถ้าหุ้นขึ้นได้อีก 2 เด้ง ไม่เคยมีการเสียเลย มีรายได้ประมาณ 10% ต่อเดือน


     การซื้อหุ้นคือการเป็นเถ้าแก่น้อยๆ


     โอฬาร บอกว่า เปิดเผยได้แต่ต้องยอมรับว่า ทำไม่ได้ทุกคน แต่คนที่ทำได้จนกลายเป็นเซียนหุ้นไปเลยก็มี เมื่อทำได้บางคนถึงกลับบอกว่าชีวิตนี้ไม่ห่วงอะไรแล้ว เพราะมีสภาพการเงินที่สมบูรณ์แล้ว เขาย้ำว่า จะมีการทดสอบก่อนว่าคนนี้ทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ก็จะบอกตามตรงว่าอย่าพยายามต่อไป เพราะมันทำไม่ได้จริงๆ ถ้ายังฝืนทำก็จะเครียดมาก เพราะวิธีนี้กว่าจะรู้ผลต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 เดือน


     ก่อนอื่นขอบอกกับนักลงทุนว่า การซื้อหุ้นให้มองว่ าเป็นการทำธุรกิจ อย่ามองว่า เป็นการพนัน การทำธุรกิจต้องใช้เวลา การที่เราไปลงทุนในหุ้นสัก 1 ตัวให้คิดว่า เราไปเปิดกิจการสักแห่งหนึ่ง ถ้ากิจการดี ผลประกอบการดี อะไรมันก็จะดีไปหมด แม้กระะทั่งราคาหุ้น สำหรับกฎของเขา ก็คือ จะเน้นหุ้นที่มีการแกว่งตัวมาก และหุ้นที่มีความมั่นคง จะมองหุ้นประมาณ 80 ตัวในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมองอันดับต้นๆของแต่ละกลุ่มเป็นหลัก มองหุ้นที่มีคนนิยม คิดง่ายๆ ดูจาก SET 50 ก่อน และดูจากความชอบด้วยเช่นเราอยากอยู่กับบริษัทนี้ เพราะพื้นฐานดี ผู้บริหารโปร่งใส




วางแผนตอนวิ่งออกกำลังกาย


     เมื่อมั่นใจ ก็ซื้อไม่ต้องไปซื้อตามใคร ไม่กังวลกับมัน ส่วนตัวเขานั้นใน 1 วันจะดูหุ้นเพียง 5 นาทีเท่านั้น เมื่อตื่นนอน ตอนไหนก็ดูตอนนั้น เพราะเขาจะวางแผนทุกครั้งเมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯปิด โดยจะไปวิ่งออกกำลังกายในขณะที่ออกกำลังกาย จะคิดว่าวันพรุ่งนี้จะทำอะไร เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่ร่างกายดีที่สุด สมองจะไม่มีความเครียด ความคิดสร้างสรรค์จะออกมาในตอนนี้มากที่สุด


     โอฬาร กล่าวถึงจุดหลักที่ทำให้ประสบความสำเร็จว่า การเลือกหุ้นที่จะเข้าไปลงทุน โดยมองว่าบริษัทที่เข้าไปนั้นเราเข้าไปในฐานะผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของ หรือถ้าอยากเป็นหุ้นส่วนกับนายกฯก็ซื้อหุ้นชินฯ เช่นเขาอยู่ในวงการก่อสร้างเขาก็ซื้อหุ้นในกลุ่มก่อสร้าง เพราะมีความชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และที่สำคัญเรามีพื้นฐานอยู่แล้ว


     วันนี้...ถ้าได้ดูข่าวเกี่ยวกับหุ้นที่เราซื้อ ก็จะมีความสุขด้วยเพราะมันเป็นบริษัทของเรา ถึงแม้จะเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆก็ตาม บางคนชอบเข้าเซเว่นอีเลฟเว่น ก็ควรซื้อหุ้นไปเลย เพราะไม่ว่าราคาหุ้นจะเป็นอย่างไรก็ต้องได้ปันผล…

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘