จอห์น เนฟฟ์ (JOHN NEFF)

“การ เพิ่มขึ้นของเงินปันผลเป็นผลตอบแทนที่ได้เพิ่ม การได้เพิ่มนี้คือผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับนอกเหนือจากผลตอบแทนที่คาดไว้ แต่แรก……..”
“โอกาสทำกำไรดีๆมักจะเกิดหลังจากการตื่นตระนก(Panic)ของตลาด”
-จอห์น เนฟฟ์ (JOHN NEFF)
ลักษณะงาน ผู้จัดการกองทุน Vanguard Windsor
รูปแบบการลงทุน เน้นหนักไปใน การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นการลงทุนในธุรกิจที่ดี มีการเจริญเติบโตต่อเนื่อง ปันผลสูง ขายเมื่อราคาเกินกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น

ประวัติเนฟฟ์ได้ชื่อว่า เป็นมืออาชีพของมืออาชีพทีเดียว ทั้งนี้เพราะผู้จัดการกองทุนหลายคนไว้วางใจให้เขาไปบริหารเพราะเชื่อว่าเขา สามารถบริหารมันได้ดีและปลอดภัย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะผลงานที่ผ่านมาของเขาตลอด30ปีที่ผ่านมา Windsor Fund สามารถครองอันดับสูงสุดห้าอันดับแรกมาตลอด
เนฟฟ์จบการศึกษาการตลาด อุตสาหกรรม และเข้าศึกษาวิชาการเงินการธนาคารภาคค่ำในปี1954 เขาเริ่มงานเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์กับ the National City Bank of Cleveland จากนั้นก็ทำงานกับ Wellington Management เขายึดหลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่าตามแบบของ Ben Grahamมาโดยตลอด
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เนฟฟ์ ลงทุนอย่างหนักในหุ้นFORDในปี1984 ในขณะที่ทุกคนกลัวว่าบริษัทกำลังจะไปไม่รอด ขณะนั้นP/Eของบริษัทเท่ากับ2.5 เขาซื้อหุ้นFORDในราคา 14เหรียลต่อหุ้น ภายในสามปีราคาหุ้นขึ้นไปสูงถึง 50เหรียลต่อหุ้น ทำผลตอบแทนได้สูงถึง500ล้านเหรียญให้กับกองทุนที่เขาบริหาร
วิธีการและแนวทางการลงทุน เนฟฟ์อธิบายว่าตัวเขาคือ”นักลงทุนที่เน้นในหุ้นที่มีP/Eต่ำ” เขาเข้าซื้อหุ้นที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของผลรวมของการเติบโตของราย ได้บวกกับผลตอบแทนจากเงินปันผล เขามักจะเรียกค่านี้ว่า the 'terminal relationship' or, more colloquially หรือ 'what you pay for what you get'. หรือเราสามารถเรียกค่านี้ได้ว่า อัตราส่วน GYP (Growth & Yield:P/E) ratio
GYP (Growth & Yield:P/E) ratio = (Earnings Growth + Dividend Yield) / P/E ratio
เนฟฟ์แนะนำให้เทียบอัตราส่วน GYPบนหุ้นของเราและทั้งPortของเรากับตลาด
ระวังการนำหุ้นใหม่เข้ามาในportแล้วจะทำให้ความน่าสนใจของportลดลง ควรกำหนดราคาที่เราจะเข้าซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำพอเพื่อที่จะทำให้GYPมีค่าที่ ดี ถ้ามีบริษัทให้เลือกสองบริษัท คือบริษัท ก มีการเติบโตของกำไร 14%ไม่มีการจ่ายปันผล แต่บริษัท ข มีการเติบโตของกำไร %จ่ายปันผล7% ให้เลือกบริษัท ข เพราะปันผลจะทำให้ผลตอบแทนมีความแน่นอนขึ้น
เนฟฟ์จะใช้หลักการง่ายๆเพื่อเลือกลงทุน 7 ประการดังนี้
1.อัตราส่วน P/E ต่ำ
2.อัตราการเติบโตของกำไรสูงกว่า 7% ขึ้นไป
3.มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ และเพิ่มขึ้นตลอด
4.ผลตอบแทนที่ได้รับจะต้องสูงกว่าอัตราส่วน P/E
5.ไม่เป็นธุรกิจที่ขึ้นลงตามรอบที่กำลังจะลง โดยปราศจากการลดลงของอัตราส่วน P/E ที่ต่ำพอจนน่าลงทุน
6. เป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งในการสร้างการเติบโต
7. เป็นบริษัทที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเหมาะกับการลงทุน
ที่มา: John Neff on Investing, J Neff, 1999
ที่ที่ดีที่สุดในการสรรหา หุ้นดีๆคือหุ้นที่กำลังทำจุดต่ำใหม่ ดูว่าที่มันลงนั้นลงเพราะข่าวร้ายหรือไม่ หากเราเห็นว่ามันเป็นบริษัทที่ดีที่บางครั้งราคาตกลง ให้เรานำหลักการทั้ง7ข้อมาประเมิน ถ้าใช่ก็เป็นโอกาสในการลงทุน
อย่าไล่ตามหุ้นที่มีการเติบโตสูงที่หลายคนสนใจ อัตราส่วนP/Eที่สูงขึ้นจะผลักดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นจนถึงระดับที่น่าตกใจ และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเอง
มีเหตุผลเบื้องต้น2ประการในการตัดสินใจขายหุ้น 1.พื้นฐานเริ่มเลวลง 2. ราคาขึ้นมาสูงถึงจุดที่ต้องการแล้ว
หลักในการตรวจสอบหุ้นที่ถืออยู่คือการตรวจสอบอัตราการเติบโต ควรจะเป็น5ปีเป็นอย่างน้อย หากว่าอัตราการเติบโตเริ่มถดถอยลงให้รีบขายออก
ให้ความสำคัญกับอัตราส่วนGYPในportของเรามากกว่าของตลาด หากตลาดขึ้นสูงมากจนราคาหุ้นที่ต้องการสูงจนเกินไปก็ควรจะถือเงินสดไว้ ประมาณ20%ของทุนทั้งหมดจนกว่าจะพบโอกาสดีอีกครั้ง
โอกาสทำกำไรดีๆมักจะเกิดหลังจากการตื่นตระนก(Panic)ของตลาด
ประโยคทอง"Absent stunning growth rates, low P/E stocks can capture the wonders of P/E expansion with less risk than skittish growth stocks."
"As a low P/E investor, you have to distinguish misunderstood and overlooked stocks selling at bargain prices from many more stocks with lackluster prospects."
"A dividend increase is one kind of 'free plus'. A free plus is the return investors enjoy over and above initial expectations. One of Ben Franklin's wise observations offers a parallel: 'He who waits upon Fortune is never sure of a dinner.' As I see it, a superior yield at least lets you snack on hors d'oeuvres while waiting for the main meal."
"An awful lot of people keep a stock too long because it gives them warm fuzzies - particularly when a contrarian stance has been vindicated. If they sell it, they lose bragging rights."

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘