แนะนำหนังสือหุ้น : How To Make Money In The Stocks


หนังสือหุ้น How to make money in Stocks
สมัย ที่ผมเริ่มต้นเล่นหุ้นได้ไม่นานนัก การขาดทุน และความสับสนในชีวิตของนักเล่นหุ้นหน้าใหม่ของผมทำให้ผมกลายเป็นคนไร้ที่ยึด เหนี่ยวทางจิตใจเป็นเวลาพอสมควรเลยทีเดียวครับ แต่แล้ววันหนึ่งในขณะที่ผมกำลังเดินเรื่อยเปื่อยตามชั้นหนังสือในร้าน หนังสือนอกแห่งนึง สายตาของผมก็ได้เหลือบไปเห็นหนังสือเล่มหนึ่ง ก็ไม่ทราบเพราะอะไรดลใจเหมือนกันที่ทำให้มันเป็นที่สนใจของผมครับ และเมื่อผมได้หยิบมันขึ้นมาพลิกๆดูสักพักผมก้อต้องประหลาดใจครับ มันดูแล้วเหมือนจะอ่นง่ายมาก แล้วก้อจัดระเบียบหนังสือมาอย่างดีด้วย หึหึ แน่นอนครับ ผมไม่พลาดที่จะเอามันติดมือกลับมาด้วยครับ ใครจะรู้ต่อมามันกลายเป็น หนังสือหุ้นดีๆ ในดวงใจอีกเล่มนึงของผมไปเลยครับ

ผมต้องบอกครับ ว่าผมวางมันไม่ลง …. อาจเนื่องด้วยจากที่ว่าคนเขียนหนังสือเล่มนี้เป็น เซียนหุ้นของตลาดหุ้น Wallstreet ชื่อคุณ William J.O’neil หรือด้วยความที่เขาเป็นผู้ซึ่งก่อตั้งและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่โด่งดัง Investor Business Daily ( IBD ) ทำให้สำนวนการเขียนของเขามันอ่านเพลินรึปล่าวก็ไม่ทราบได้ครับ ผมอ่านวันเดียวจบครับ จริงๆต้องบอกว่าไม่ถึงด้วยซ้ำ อ่านเสร็จแล้วก้อบอกกับตัวเองเลยว่าโชคดีจริงๆที่หยิบเล่มนี้ติดมาด้วย :)
หนังสือหุ้น How to make money in Stocks
หนังสือ เล่มนี้เป็นหนังสือที่ทำให้คนที่ไม่รู้เหนือรู้ไต้ว่าจะเอายังไงกับชีวิตใน การเริ่มเล่นหุ้นแบบผมในตอนนั้นมีพลังขึ้นมาครับ เหมือนเป็นขอนไม้ให้เกาะลอยคอเลยทีเดียว ! เพราะ เนื่องจากที่ทุกคนที่เล่นหุ้นน่าจะพอเข้าใจอยู่ว่า ความงูๆปลาๆว่าจะเล่นหุ้นยังไงแบบใหน อย่างไรขณะเพิ่งเริ่มเล่นหุ้นมันทำให้เราสับสนจริงๆครับ แต่หลักการในหนังสือเล่นหุ้นเล่มนี้ ผมคงจะเรียกว่ามันเป็นระบบการเล่นหุ้นได้อย่างไม่กลัวที่ะปล่อยไก่ซักเท่า ไหร่ เนื่องจากหนังสือหุ้นเล่มนี้มีครบทั้ง หลักวิธีการเลือกซื้อ-ขายหุ้น, วิธีการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค หรือแม้กระทั่งการจัดพอร์ทของเราให้เหมาะสมตามสถาณการณ์ครับเรียกได้ว่าเป็น Trading System เลยทีเดียว โดยหลักวิธีการเล่นหุ้นและวิเคราะหู้หุ้นทางเทคนิคที่ว่าก็คือหลัก CANSLIM ที่โด่งดังครับ ย่อมาจาก

หนังสือหุ้น How to make money in Stocks 3
หนึ่งใน Chart Pattern ของ CANSLIM
A = Annual Earnings
N = New High, New Management
S = Supply and Demand
L = Leader or Laggard
I = Institutional
M = Market

โดยการนำตัวค่าตัวแปรต่างของ ผลกำไรรายไตรมาศ, ผลกำไรรายปี, การที่หุ้นเกิดนิวไฮ์และเกิดการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ๆ, หลักของ Supply-Demand จากขนาดของหุ้น, การเป็นหุ้นนำตลาด, สัดส่วนการถือครองของนักลงทุนสถาบัน และสุดท้ายก็คือ สภาพตลาดในขณะนั้นๆ มาคาดคะเน Probability บวกกับการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ทำให้เรามีแต้มต่อในการเล่นหุ้นเพิ่มขึ้นอีกมากมายครับ
Flash movie
ที่เหลืออยากรู้ว่า จะ Can Slim ? ยังไงต้องลองหามาอ่านดูนะครับเพราะสาธยายไปจะยืดยาวครับ ข้อเสียเพียงประการเดียวของมันที่ผมติดใจก็คงจะเป็นว่า มันต้องนำมาประยุกต์ใช้ในตลาดหุ้นไทยอยู่เหมือนกันครับ เหมือนจะกินมาม่าแต่ต้องเติมหมูเติมไก่ ใส่ไปหน่อยนะครับ สุดท้ายผมได้นำตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์หุ้นด้วยระบบ CANSLIM มาแปะไว้ให้ดูนะครับเผื่อจะสนใจกว่าเดิม เจอกันใหม่ที่ แมงเม่าคลับ.คอม ครับผม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘