ทฤษฏีกระจกสะท้อนGorge Soros : Reflexivity and Market Reversal (2)

เรามาต่อกันถึงแนวคิดในการเก็งกำไร(เล่นหุ้น)ของ Gorge Soros ในตอนที่ 2 กันครับ ผมคิดว่าน่าจะมีคนอยากอ่านกันต่อพอสมควร เพื่อไม่ให้เสียอรรถรสเลยเอามาแปลต่อให้เลยครับ
ตลาดนั้นสมดุลอยู่เสมอจริงหรือ?
เราจะอธิบายเรื่องนี้โดยการยกตัวอย่างจากสิ่งที่เป็นกายภาพ แล้วจึงจะนำไปเปรียบเทียบกับแนวคิดทางด้านการเงินกันครับ ผมอยากให้คุณจินตนาการถึงลักษณะของถ้วยชามอย่างที่คุณเห็นในภาพที่ 1 กันครับ โดยหากว่าเรานั้นได้ปล่อยลูกแก้วลงไป มันจะวิ่งไหลไปตามแอ่งเว้าของชามและในที่สุดจะหยุดลงที่ก้นของชามใบนี้ และนี่คือลักษณะทางพลวัตรของระบบที่คงที่(Dynamic stable system) ใน ทางกลับกันนั้นให้คุณลองจินตนาการว่าหากคุณทำการพลิกถ้วยชามใบนี้ โดยมีลูกแก้ววางอยู่บนจุดศูยน์กลางของชามที่คว่ำอยู่ เมื่อเราปล่อยลูกแก้ว ลูกแก้วจะไหลลงไปสู่ด้านข้างของชาม และมันจะไม่วิ่งไหลกลับมาที่จุดเดิมอีกครั้ง ซึ่งนี่คือลักษณะทางพลวัตรของระบบแบบไม่คงที่(Dynamic unstable system) ซึ่งจะไม่วิ่งกลับมาที่จุดสมดุลเดิมของมันอีกครั้ง
ภาพที่ 1
clip_image001
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หลายๆทฤษฎีนั้นสันนิฐานว่า ตลาดนั้นคือระบบที่จะเคลื่อนที่ไปสู่จุดสมดุล(Dynamic stable) ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไหร่ที่ Profit Margin ของการอุตสาหกรรมไหนมีค่าที่สูงมากนั้น จะทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นมาซึ่งจะมีผลทำให้ราคาของมันลดลง และเช่นเดียวกัน นักลงทุนที่มีเหตุผลนั้น จะย้ายเงินทุนจากหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่มีราคาสูงกว่ามูลค่าของมัน ไปยังหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าของมันเป็นอย่างมาก ซึ่งนั่นจะทำให้ราคาของมันวิ่งขึ้นไปสู่จุดที่ใกล้เคียงกับมูลค่าที่แท้จริง ของมันนั่นเอง อย่างไรก็ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้น ก็ไม่ได้เป็นไปตามกฎง่ายๆของทฤษฏีนี้เสมอไป และนี่คือสิ่งที่ทฤษฎีกระจกสะท้อน(Reflexivity) ได้บอกกับเราเอาไว้ว่า ในบางครั้งนั้น ตลาดก็ไม่ได้คงที่เสมอไป.. เหมือนกับลูกแก้วที่กลิ้งออกไปนั่นเอง
วัฏจักรแห่งความดีงามและความชั่วร้าย
เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและราคาหุ้นของมัน ในช่วงเวลาที่เป็นปกติของอุตสาหกรรมนั้น สามัญสำนึกง่ายๆของเราก็คือ เมื่อพื้นฐานของธุรกิจนั้นดีขึ้น มันจะส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทนั้นวิ่งขึ้นตามมา อย่างไรก็ตาม มันจะดูมีเหตุบ้างไหม หากว่าการที่ราคาของหุ้นนั้น ในทางกลับกัน ก็อาจจะส่งผลต่อพื้นฐานของบริษัทด้วยเช่นกัน? ซึ่งในบางครั้งนั้น คำตอบก็คือ.. แน่นอน
ตัวอย่างที่เราสามารถเห็นได้ดี และเข้าใจได้ง่ายๆนั้นก็คือ ผลกระทบจากการเพิ่มหรือลดระดับของความน่าเชื่อถือของบริษัท(Credit Rating) โดยเมื่อไหร่ที่สถาบันจัดอันดับทางการเงินอย่าง Moody’s หรือ S&P ได้ทำการลดระดับความน่าเชื่อทางการเงิน(Downgrades) ของบริษัททางการเงินลง(ลองนึกถึงกรณีของ AIG) มันสามารถที่จะมีผลกระทบต่อเงินค้ำประกันที่บริษัทต้องนำมาสำรองเอาไว้เพิ่ม ตามข้อบังคับ โดยการ Downgrade นี้นั้นจะส่งผลกระทบซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทนั้นๆเพิ่มขึ้น นั่นเอง
ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว มุมมองของนักวิเคราะห์จากทาง S&P นั้นย่อมจะมีความเที่ยงตรงแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่โดยที่การคาดการณ์ถึงสภาวะทางการเงินของบริษัทในอนาคตนั้น มีผลอย่างใหญ่หลวงในการจัดอันดับและรายงานผลความน่าเชื่อถือทางการเงินของ บริษัท มันจึงส่งผลทำให้เกิดการร่วงหล่นของราคาหุ้นตามมา ซึ่งในที่สุดก็จะมีผลกระทบที่แย่ต่อความรู้สึกของนักลงทุนตามมาอีกเช่นกัน และวงจรการสะท้อนกลับทางลบ หรือ Negative Feedback ระหว่างความต้องการทางเงินทุนสำรองสำหรับ Capital Requirement (ซึ่งคือสิ่งที่เป็นตัวแปรทางพื้นฐานของบริษัท) กับราคาหุ้น และสถาบันการจัดอันดับทางการเงิน(ซึ่งเป็นมุมมองและการรับรู้)นี้เอง เป็นผลทำให้เกิดวัฏจักรอันชั่วร้าย หรือการล่มสลายของบริษัทตามมาในภายหลัง
วงจรแบบการสะท้อนกลับ ทางลบ หรือ Negative Feedback นี่เอง ที่ทำให้เกิดความไม่คงที่ขึ้นในตลาด(ทั้งขึ้นและลง) โดยในบางครั้งก็ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ถือหุ้นของบริษัท แต่ในบางครั้งมันก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมาได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในระหว่างที่เกิดภาวะฟองสบู่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์(ในอเมริกา)ขึ้นนั้น ราคาของบ้านที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก ได้ทำให้มูลค่าของบ้านนั้นเพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งได้ทำให้ธนาคารต่างๆกล้าที่จะลดดอกเบี้ยในการกู้ยืมจากเกณฑ์มาตรฐานลงมา จึงเป็นผลทำให้ผู้บริโภคนั้นมีแรงซื้อที่เพิ่มมากขึ้น และในที่สุดก็มีผลทำให้ของราคาบ้านนั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีกกว่าเดิม ซึ่งทำให้มูลค่าของบ้านนั้นเพิ่มขึ้นสูงตามมาอีก และมีผลกระทบลูกโซ่อย่างนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และนี่คือตัวอย่างของวงจรการป้อนกลับทางลบ(Negative Feedback Loops) ที่มีผลทำให้เกิดวัฏจักรที่ดีงาม หรือความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจที่ตามมานั่นเอง
สรุปก็คือ โดยทั่วไปแล้ว การสะท้อนกลับไปมานั้น เป็นผลจาก Negative Feedback Loops ระหว่างพื้นฐานของธุรกิจ และราคาของหุ้น ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้นมานั่นเอง ซึ่งผลของมันก็คือ การที่ราคาจะวิ่งไปสู่จุดสูงสุด(Extreme)ของมันนั่นเอง
และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม Gorge Soros ถึงได้ยกความดีความชอบของเขาในการลงทุนให้กับทฤษฎีกระจกสะท้อนนี้เป็นอย่าง มาก เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่เขานำมาช่วยในการบ่งชี้ถึงจุดสูงสุดของราคา ซึ่งทำให้เขากล้าที่จะวางเดิมพันในการวกกลับลงมาของมันนั่นเองครับ
ขอคั่นจบเพียงแค่นี้ก่อนในตอนที่ 2 นี้นะครับ เดี๋ยวจะเอามาลงต่อให้ครับ เรื่อง Reflexivity นี้ค่อยๆอ่านแล้วจะรู้สึกว่าสนุกดีเหมือนกัน แล้วแวะมาที่ แมงเม่าคลับ.คอม กันอีกนะครับ ขอบคุณครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘