DSM Concept หุ้น version 2
DSM Concept version 2
ได้รับการอนุญาตจาก คุณเด่นศรีแล้ว
คำนำ
นัก ลงทุนในตลาดหุ้น มี 2 จำพวก พวกเก็งกำไรกับพวกนักลงทุน แต่ในตลาดหุ้นมีนักเก็งกำไรเป็นจำนวนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับนักลงทุน แล้วคำว่านักลงทุน จะมีสักกี่คนที่เป็นนักลงทุนที่แท้จริงและรู้จักคำว่า “กระแสเงินสดแฝง” เล่นหุ้นเพื่อสร้างกระแสเงินสดแฝง ไม่ได้ต้องการส่วนต่างของราคา ได้มีนักลงทุนที่ออกมาเปิดเผยวิธีการและเคล็ดวิชา ในการลงทุนหุ้นเพื่อเป็นนักลงทุนที่แท้จริงมีนามว่า “เด่นศรี” ซึ่งเป็นคนมีความเมตตากรุณาต่อแมลงเม่าปีกอ่อนและปีกแก่ ซึ่งได้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ให้แมลงเม่าเหล่านี้เป็นแมลงเม่าปีกทองคำ
ขอ ขอบคุณ “เด่นศรี” อย่างสุดซึ้งมา ณ ที่นี้ด้วย ขอให้ได้กระแสเงินสดแฝงวันละ สิบล้านบาทเพื่อมีอิสรภาพทางการเงิน จิตใจ และเวลา โดยเร็ววันตามที่ต้องการดังใจหมายด้วยเทอญ
ขอขอบคุณซ้อสี่ค่ะ(คิมิเอะ-จัง) ผู้สงสัยว่าทำไม Rich Dad Poor Dad ของ
คุณโรเบิร์ต ที คิโยซากิถึงเป็นนักลงทุนที่ดีที่สุดจึงได้เกิดกระทู้ประวัติศาสตร์ขึ้น
ขอขอบคุณคลายเครียด(Endophine) เป็นผู้ตั้งชื่อว่า DSM
ขอขอบคุณMacroArt ผู้เสนอการก่อตั้งคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินซึ่งถือได้ว่าเป็นการตั้งสำนักDSMอย่างเป็นทางการ
ขอขอบคุณTeerasae และคุณงำงำ มีดบินในการจัดการสร้างบัญชีDSM สำหรับเพื่อนสมาชิก
ขอ ขอบคุณคนชื่อนินจา ที่มาเติมเต็มความรู้ในด้านต่างๆ ของการลงทุน เสมือนเป็นเครื่องยนต์ที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้คลับเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ขอขอบคุณItaly ที่จัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับDSMและเอกสารอื่นๆ
ขอ ขอบคุณคุณ Coyote ที่ได้อนุญาตให้นำเอาDSM concept ของที่คุณ Coyote ได้จัดทำ นำมาปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม จึงได้เป็นที่มาของDSMฉบับกำลังปรับปรุงนี้
ขอขอบคุณ ทรงกฤษฎิ์ เจ้าของที่มาของบทความบทที่ 15, 16, 17 ตามลำดับ, ขอขอบคุณ Ii’8N (ณรงค์) เจ้าของที่มาของบทความบทที่ 19 และคุณปลาดาว เจ้าของที่มาของบทความกระแสเงินสดแฝงในอนาคต บทที่ 25
ขอขอบคุณสุมา เต๊กโชผู้แปลและเรียบเรียง The richesman in babylon for today, ขอขอบคุณกาเยผู้แปลหนังสือ Wink and Grow Rich, ขอขอบคุณคนล่าห่านสำหรับบทความเรื่องเสี่ยอ๋า, ขอขอบคุณนักลงทุนท่านอื่น ๆอีกมากมายเช่น นกเพนกวิน, x-philes, Nymph bee, ซีเค, เต่าหยวนเปียว, luckyinter, Livestock, zARKa, PITnap no.3, กบในฟ้ากว้าง, กุ้งไร้สาร, แมลงเม่าทนไฟและคู่หู, เลขสาม, v-port, อยากเชือก, ยมก, ลำชี, ชราร่า, patt, wonderchoice, หนุ่มน้อย ณ บาบิโลน, มือใหม่DSM, ตะเชา, CHINN, ปิงป่องแชะ, Vprawat, Minibar, libra, nanolim, ไร้แก่นสาร, Gain, SANG-JANTRA, pattarav, Dalglish, monocryl, มารขาว, KoKoman, savia(ยง), ทัดชา, ToonCoolMan, ง้วนป้อ, smokerfield, กระเจี๊ยบน้อย, วิถีพุทธ, atuca, กระบี่ไร้เงา, ไม่เก่งแต่อย่างตอบ(mix), ครูนางฟ้า, ขวัญชัย, ก้าว กอปรกัลป์ปการ, nattaphon, hot oil, การบรูหอม, นกแคปหมู, cpiya, มาร์แก่ , เศษธุลี, kkop, ravberry, อ๋อออ, Freedom world, e-man, กระต่ายกะเต่า, buffet lyn, ballito, windi, kc00, BeSmile, จรัสฯ, krit587, -กร-, S40, freeMind, Littlebigman, kae_numtan, OhLunLa(ลูกหมู), loaw, kwangroong, jasmine rice, Nuatja, DerDen, red comet II(rcII), jenjen, marumaru, พูห์ชี้ฟ้า, Mr_BooDoo, PD_city, มรรค8, cocool, TingSanPern, กุ๊กเป็ด, ซวงซวง, Think of me, violetorchid, noopiglet, น้องเบลล์กินขนุน, DYL, จูล่ง – สุภาพบุรุษจากเสียงสาน, Groundhog, captain-shampoo, morefunthai, b_wealth, Methee B.,ลุงเอิญ, iroiro, nongtutor และสมาชิกอีกมากมายที่ไม่ได้เอ่ยชื่อ ขอบคุณทุกท่านร่วมสร้างสรรค์คลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินแห่งนี้ ให้สมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
บทความนี้ได้รวบรวมจากที่ท่านอาจารย์เด่น ศรีได้สั่งสอน และแนะนำในกระทู้ต่างๆ ได้รวบรวมเอาอันที่เห็นว่ามีสาระสำคัญ บางบทได้เขียนเพิ่มขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มเติมให้มีความสมบูรณ์มากยิ่ง ขึ้น
บุคคลที่ขาดไม่ได้คือคุณ Robert T. Kiyosaki ที่ได้แต่งหนังสือ Rich Dad Poor Dad ทุก ๆ เล่ม ขอขอบคุณที่ทำให้ชีวิตของนักลงทุนคนอื่น ๆ ง่ายขึ้นทางด้านการลงทุนแบบต่าง ๆ และหุ้นเป็นหนึ่งในยานพาหนะสำหรับการลงทุนอย่างหนึ่งซึ่งนำไปสู่อิสรภาพทาง การเงิน
และขอขอบคุณ Pantip.com ที่ให้พื้นที่เป็นอยู่อาศัยของคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ในห้องสินธร ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริง ๆ เหมือนบ้านที่ขาดหลังคาไม่ได้เลย ซึ่งเป็นที่ซุกหัวนอนอันอบอุ่น ขอขอบพระคุณอย่างสูง
การนำไปใช้หรือ นำประยุกต์ใช้ ขึ้นกับดุลยพินิจของแต่ละบุคคล ผู้ที่นำไปใช้จะต้องยอมรับผลประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการลง ทุนของตัวเอง ผู้รวบรวมไม่ขอรับผิดชอบความเสียหายจากการลงทุนของทุก ๆ ท่านที่เกิดจากบทความแห่งนี้
Create Date : 29 กรกฎาคม 2548
Last Update : 29 กรกฎาคม 2548 16:14:32 น. 8 comments
Counter : Pageviews. Add to Share/Save/Bookmark Share/Save/Bookmark Share/Save/Bookmark
สารบัญ
1. DSM (1) – จุดกำเนิด DSM
2. DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM
3. DSM (3) – คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM
4. DSM (4) – ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปี
5. DSM (5) – ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน
6. DSM (6) – การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธี DSM
7. DSM (7) – เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM
8. DSM (8) – กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง
9. DSM (9) – DSM วัวเนื้อหรือวัวนม
10. DSM (10) – Warren Buffett ลงทุนวิธี DSM ด้วยหรือไม่
11. DSM (11) – ระบบการซื้อ - ขายหุ้น DSM
12. DSM (12) – หลักการซื้อคืน 3 แบบ
13. DSM (13) – ช่องว่างและการแปลงร่างคืออะไร
14. DSM (14) – หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน
15. DSM (15) – สิ่งที่ควรคิดเมื่อรักจะเป็น DSMers
16. DSM (16) – 7 ข้อ DSM ดั่งแก้วสารพัดนึก
17. DSM (17) – Q&A DSM จากใจถึงใจ
18. DSM (18) – DSM ความเหมือนที่แตกต่าง
19. DSM (19) – เปรียบเทียบ VI กับ DSM ถึงลูกถึงหุ้น
20. DSM (20) – เมื่อหุ้นเป็นเทวดาตกสวรรค์จะทำอย่างไร
21. DSM (21) – DSM บุญหรือบาป
22. DSM (22) – 10 คำถามที่ดี ย่อมได้คำตอบที่ดี
23. DSM (23) – DSM รับประกันเงินต้นคืน100%
24. DSM (24) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร
25. DSM (25) – กระแสเงินสดแฝงในอนาคตคืออะไร
26. DSM (26) – หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว
27. DSM (27) – เคล็ดลับของความสำเร็จลงทุนหุ้นวิธี DSM
28. DSM (28) – สูตร 3-0-2-8 คืออะไร
29. DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร
30. DSM (30) – วิธีเล่นหุ้นDSM Double Theory คืออะไร
31. DSM (31) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XD ทำอย่างไร
32. DSM (32) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:11:59:03 น.
DSM (1) – จุดกำเนิด DSM
คำย่อ DSM มาจากอะไร
DSM ย่อมาจาก DenSri Method มาจากชื่อนักลงทุนที่ชื่อเด่นศรี (ชื่อลูกสุนัขที่ตายไป) เป็นคนคิดค้นวิธีการเล่นหุ้นเพื่อการลงทุนด้วยวิธี Short Against Portเป็นคนแรกที่กล้าเปิดเผยวิธีการลงทุนเช่นนี้ และคนตั้งชื่อ DSM คือนักลงทุนชื่อ คลายเครียด (Endophine) เจ้าของ คลายเครียดเรโช อันโด่งดัง ในวันที่ 6 ส.ค.2547 ได้ตั้งชื่อ DSM=DenSri Method หรืออีกความหมายหนึ่งคือ DSM= Descending Sell Method และเพื่อเป็นเกียรติแก่คุณเด่นศรีที่ได้เปิดเผยเคล็ดลับสู่อิสรภาพทางการ เงิน หลังจากนั้นชื่อ DSM ได้ถูกเรียกขานจากนักลงทุนเมื่อพูดถึงแนวทางการเล่นหุ้นเพื่อลงทุนสร้างหุ้น และกระแสเงินสดแฝง
แล้ววันที่ 18 ส.ค. 2547 คุณ MacroArt ได้ เสนอชื่อคลับว่า คลับนักเล่นหุ้นเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ซึ่งมีความหมายถึงหนังสือ Rich Dad Poor Dad และสุดท้ายก็ได้เปลี่ยนเป็น ชื่อคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน วันที่ก่อตั้งคลับแห่งนี้วันที่ 25 ส.ค. 2547 เป็นวันแรกที่มีอยู่อย่างเป็นทางการของนักลงทุนด้วยวิธีDSM ด้วยประการนี้เอ่ย
DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM
หัวใจ ของการลงทุนหุ้น DSM คือ แผนการลงทุนและระบบบัญชี และเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนหุ้น DSM คือ การเพิ่มสะสมหุ้น, และกระแสเงินสดแฝง ตามลำดับ
ถ้าลงทุนหุ้นตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้ อย่างเคร่งครัดแล้วไม่ต้องสนว่าตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น(Uptrend) หรือขาลง (Downtrend) ถ้าได้ถึงระดับนี้ ท่านได้เป็นถึงระดับ Master ซึ่งได้เลื่อนขึ้นมาจากระดับ Basic แล้วนั้นเอง และเมื่อเราทำตามแผนการดีเยี่ยมนี้แล้วจะค้นพบว่าวิธีDSM ตอนเล่นหุ้นขาขึ้นได้ดีกว่าตอนเล่นหุ้นขาลง (ต้องศึกษา สูตร 3-0-2-8 อย่างละเอียดแล้วจะได้คำตอบที่ต้องการ)
แนวคิดของ DSM
“สะสม จำนวนหุ้นให้เพิ่มมากขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนเงินเพิ่ม” เหมือนกับแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์การใช้ทรัพย์กร (เงิน) ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ ลองนึกว่า ถ้าคุณมีบ้านให้เช่า ทุกเดือนจะได้ค่าเช่า ค่าเช่าที่ได้นี้ให้สะสมเก็บไว้ เมื่อได้มากพอก็นำไปลงทุนเพิ่ม จากบ้าน 1 หลัง กลายเป็น 2 หลัง จาก 2 หลังกลายเป็น 4 หลัง จาก 4 หลังกลายเป็นโรงแรม (แนวคิดดั้งเดิมจากเกมเศรษฐี ที่คุณโรเบิร์ต ที คิโยซากินำมาประยุกต์และเพิ่มเติมกลายเป็นเกม cash flow)
ทำไมไม่ ควรลงทุนเงินเพิ่ม เพราะสิ่งที่เราลงทุน สิ่งนั้นมันต้องสร้างตัวมันเอง เหมือนกับการให้เงินแต่ละเหรียญทำงานให้ท่าน เพื่อให้มันออกลูกออกหลานเฉกเช่นฝูงปศุสัตว์ในทุ่งหญ้าซึ่งจะช่วยนำรายได้มา สู่ท่าน เป็นกระแสความมั่งคั่งที่หลั่งไหลเข้าสู่ถุงเงินของท่านอย่างไม่ขาดสาย(จาก หนังสือเศรษฐีชี้ทางรวย)
แนวคิดวิธีDSMนี้ คาดว่านักลงทุนต่างชาติทำคล้าย ๆ กัน ให้ลองสังเกตดู วันไหนเค้าขายวันนั้นหุ้นตก เพราะเค้าคงดูภาวะตลาดเหมือนกัน ถ้าหุ้นลง เค้าก็ขายตาม ไม่ฝืนตลาด โดยเฉพาะขายแล้วต้องลง เพราะเค้าจะได้ซื้อคืนในราคาถูกกว่าที่ขาย ถ้าวันไหนเค้าซื้อ หุ้นก็ขึ้น เพราะเค้าคิดว่า ถ้าซื้อแล้วหุ้นต้องขึ้น อีกอย่างหนึ่งถ้าซื้อหุ้นมาไว้ในมือ ใครๆก็ต้องอยากให้ราคามันขึ้นไปเรื่อย ๆ แม้จะมีแค่เพียง 100 หุ้น ก็ยังอยากให้ราคามันขึ้น จะได้ขายเอากำไร ยิ่งมีเป็นล้านหุ้น ยิ่งต้องอยากให้หุ้นขึ้น แต่ทำไมนักลงทุนต่างชาติที่มีหุ้นในมือมหาศาล ทำไมไม่ชอบให้หุ้นขึ้น แต่ชอบให้ขึ้น ๆ ลง ๆ และ ลงหนัก ๆ ทำให้คิดว่าหุ้นขาลงมันต้องมีอะไรดีกว่าหุ้นขาขึ้นแน่ ๆ ถ้าหุ้นขาขึ้นได้กำไร แสดงว่าหุ้นขาลงมันน่าจะอภิมหากำไรเลย และด้วยวิธีนี้ทำให้นักลงทุนต่างชาติจริงมีหุ้นเอามาขายได้เรื่อยๆ ไม่มีวันหมดสิ้นสักที
เรานักลงทุนหุ้นวิธีDSM ทำตามแนวทางเดียวกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งต่อไปจะมีหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ นับจำนวนไม่ได้เลย
DSM (3) – คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM
คุณสมบัติของนักลงทุนผู้ที่จะใช้วิธี DSM
1. ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว ระยะยาวในที่นี้คือ ตลอดชีวิต เงินลงทุนนี้จะต้องเป็นเงินเก็บจากเงินที่ต้องจ่ายให้ตัวเองอย่างน้อย 10% จากรายได้แต่ละครั้งและรวมส่วนเหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้วและ เก็บมาจากรายจ่ายฟุ่มเฟือย (เช่น สุรา เบียร์ บุหรี่ เป็นต้น) และห้ามถอนเงินนี้มาใช้เป็นอันขาด เพราะถือว่าเป็นเงินลงทุนตลอดชีวิต ถ้าจะถอนได้ตามสัดส่วนกระแสเงินสดแฝงที่ได้รับเท่านั้น และสามารถให้ทรัพย์สินเป็นมรดกให้กับลูกหลานได้ หรือจะกล่าวว่าวิธี DSM ดีถึงชั่วลูกชั่วหลานก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
2. ต้องมีแนวคิดในการสร้างรายได้จากพอร์ต ไม่ใช่กำไรจากพอร์ต โดยที่ไม่สนใจ มูลค่าพอร์ตที่ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงและสิ่งแรกที่ต้องทำคือแยกให้ออกก่อนว่า ความแตกต่างระหว่างทำกำไรส่วนต่างกับลงทุนเพื่อสร้างรายได้ ถ้าแยกได้แล้วจะลงทุนตามแนวทางนี้ได้สำเร็จ
3. อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายถึงความร่ำรวยมีเงินหลายร้อยล้านพันล้านบาท แต่หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มีอิสระที่จะทำสิ่งที่ต้องการทำ อิสรภาพทางการเงินไม่ได้วัดที่จำนวนเงินที่มี แต่วัดกันที่ "ใครมีเวลาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่ตนเองต้องการมากกว่ากัน"
4. ต้องมีวินัยในการลงทุน การตัดสินใจลงทุนด้วยวิธี DSM ถ้าหากเลิกกลางคัน จะเกิดความเสียหายมาก ถ้าเลิกก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ปี
5. ต้องมีเป้าหมายในอนาคต เป้าหมายนี้ไม่ใช่เงินจำนวนเท่าใด แต่เป้าหมายที่ต้องตั้งคือ "ฉันจะต้องได้รับเงินปันผลเท่าใดจึงจะพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน" เพื่อจะมีอิสรภาพทางการเงินในแบบที่ต้องการ
6. จิตใจต้องหนักแน่น มั่นคง ไม่วอกแวกกับเสียงทักของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน
7. ต้องมีเวลาดูแลพอร์ตอย่างเอาใจใส่
8. ต้องมีความสมัครใจด้วยตัวของนักลงทุนเอง ที่จะเลือกใช้แนวคิดDSM นี้ซึ่งไม่มีใครสามารถบังคับได้และถ้าพร้อมแล้วหลังจากศึกษาแนวคิดเข้าใจดี แล้วให้เริ่มสร้าง Model Trade ของแต่ละนักลงทุนเองได้เลย พร้อมกับสร้างหลักการตัววัดผลของความสำเร็จของแต่ละนักลงทุนเองโดยนำเอา ตัวอย่างเบื้องต้นจากบทความแห่งนี้เป็นต้นแบบ
9.การลงทุนหุ้นวิธีDSM เสี่ยงหรือไม่ แต่ความเสี่ยงไม่ได้อยู่ที่การลงทุน แต่อยู่ที่การขาดความเข้าใจในแนวคิดของการลงทุนด้วยวิธีนี้ต่างหาก ซึ่งถ้าไม่เข้าใจถือว่าเสี่ยงมากที่สุดแทนต่างหาก แต่อย่างไรไม่มีอะไรในชีวิตที่ไม่มีความเสี่ยง แต่การลงทุนควรเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำเสมอดังนั้นการลงทุนหุ้นวิธีDSM จึงเป็นคำตอบ
สิ่งที่คุณจะได้จาก DSM และไปสู่อิสรภาพทางการเงิน
1. สามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับเจ้าของบริษัทที่คุณชื่นชอบตลอดไป
2. สามารถที่จะสร้างรายได้จากหุ้นแล้วได้รับกระแสเงินสดแฝงจากหุ้นทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี และตลอดไป
3. สามารถที่จะมีเงินปันผลที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตามจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องลงเงินเพิ่ม
4. สามารถที่จะมีเวลาว่างอย่างเหลือเฟือที่จะอยู่กับครอบครัว และทำประโยชน์ให้สังคม
5. สามารถที่จะมีสุขภาพจิตสดใส หุ้นขึ้นก็สุขใจ หุ้นตกก็ยิ้มแย้มแจ่มใส
ทำไมต้องมีอิสรภาพทางการเงินเพราะ
“ชีวิต คนเราไม่ได้มีเวลามากมายนัก ทำไมจึงต้องเสียเวลาทั้งชีวิตทำงานเพื่อเงิน ทำไมไม่เรียนรู้วิธีใช้เงินและให้คนอื่นทำงานให้เราจะได้มีเวลาไปทำอย่าง อื่นที่มีความสำคัญกว่า”
สิ่งที่สำคัญของชีวิตคือ
1. มีเวลาสำหรับครอบครัว
2. มีเงินสำหรับอุทิศเพื่อการกุศลและโครงการที่สนับสนุน
3. มีโอกาสสร้างงานและความมั่นคงให้ชุมชน
4. มีเวลาและเงินเพื่อดูแลสุขภาพ
5. มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวรอบโลกกับครอบครัว
ผู้ที่ห้ามลงทุนแบบ DSM
1. นักเก็งกำไรหรือนักพนัน
2. นักลงทุนระยะสั้น
3. ผู้ปล่อยปะละเลย ไม่ดูแลพอร์ต
4. นักลงทุนที่ไม่เข้าใจแนวคิดDSM
ไม่มีเงิน ไม่มีเวลา ลงทุนแบบ DSM ได้หรือไม่
1. เงินที่ต้องใช้ในการลงทุนแบบ DSM อาจจะเริ่มต้นด้วยเงินเพียง 10,000 บาท (ถ้ายังไม่มีเงิน 10,000 บาทในเวลานี้ ให้ตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือยให้ได้เดือนละ 1,000 บาท ครบ 1 ปีก็มีเงินลงทุนแล้ว) ระหว่างที่เก็บออมอยู่นี้ ควรทดลองเทรดหุ้นในกระดาษ (หรือใน Excel) เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะลงทุนด้วยเงินจริง
2. ไม่มีเวลาดูหุ้นทั้งวัน - ดูแค่วันละครั้งอย่างน้อย แล้วตอนเย็นวางแผนสำหรับในวันรุ่งขึ้น หรือคุณจะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเวลาที่คุณมีได้ เช่น อาจดูหุ้นเป็นช่วงเวลาโดยให้มาร์เก็ตติ้ง โทรมารายงานหุ้นตามเวลา ดังนี้เป็นต้น 10.15-10.30, 12.15-12.30, 14.30-14.45, 16.15-16.30 น. วันละ 4 ครั้ง ก็น่าจะมากเพียงพอ หรือ อาจวันละ 2 หรือ 1 ครั้งก็ได้ โดยให้คิดว่าแต่ละครั้งที่ได้เห็นเป็นราคา ณ ตอนนั้น ถ้าช่วงเวลาต่อมาราคาต่ำว่า ก็ให้ถือว่าเป็นหุ้นแดง แต่ถ้าราคาสูงกว่าถึงว่าเป็นหุ้นเขียว แนะนำถ้าให้ดีจดราคาแต่ละครั้งด้วย ถ้าราคาต่ำกว่าช่วงเวลาก่อนหน้านี้ให้เขียนด้วยปากกาแดง แต่ถ้าราคาสูงกว่าก็เขียนด้วยปากกาน้ำเงินหรือเขียวก็ยิ่งดี
3. การลงทุนในหุ้นก็เหมือนคุณร่วมลงทุนกับกิจการของบริษัท ดังนั้นคุณจึงควรมีเวลาบ้างเพื่อที่จะดูว่าบริษัทของคุณมีพัฒนาการเป็นอย่าง ไร วันนี้ยังไม่มีเวลา แต่ถ้าตั้งใจจริง ใช้เวลาวันละครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว
4. ถ้าอย่างนั้นออกจากการทำงานประจำเลยดีไหม ขอแนะนำว่าให้ทำงานประจำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น พร้อมกับนำเงินออมมาเริ่มต้นการลงทุน อย่าเบื่องานประจำ แต่ให้แบ่งเวลามาเพื่อศึกษาเรื่องการลงทุนหุ้นวิธีDSM อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการดีกว่าและอย่างน้อยก็ควรมีรายได้ที่แน่นอนจากรายได้ประจำจาก อาชีพหลักเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว เพราะถ้าทุ่มเทให้กับการเล่นหุ้นมากเกินไปจนงานหลักเสียหาย ขณะเดียวกันท่านก็ไม่สามารถสร้างรายได้จากหุ้น (กระแสเงินสดแฝง) ได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมด ท่านก็จะเสียหายถึงสองทาง
5. ถ้ามีเงิน แต่มีไม่มากพอ ขอลงทุนหุ้นด้วยเงินกู้Margin ดีหรือเปล่า ไม่ควรที่จะใช้เงินกู้ Margin เพราะต้องระวังเงื่อนไขของ Maintenance Margin ซึ่งจะถูกบังคับCall Margin เพื่อเพิ่มเงินค้ำประกันและอาจจะถูกบังคับForce Sale ได้อีกด้วย เมื่อตอนที่หุ้นตกตอนเป็นขาลง ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเองไม่มีเงินซื้อหุ้นกับที่ราคาต่ำว่าที่ขายไป ซึ่งไม่ควรเล่นเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้านักลงทุนท่านได้เป็นถึงระดับMaster แล้วสามารถบริหารเงินได้ดีและมีวิธีจัดการที่ดี ก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งเฉพาะนักลงทุนท่านนั้นเท่านั้น แต่ของเน้นย้ำว่านักลงทุนระดับ Basic ไม่ควรลงทุนหุ้นด้วยเงินกู้Margin ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตามที
6. เมื่อมั่นใจแล้วว่าจะลงทุนในวิธี DSM สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เลือกหุ้นที่จะลงทุนและต้องอยู่กับหุ้นตัวนี้อย่างน้อย 2 ปี
DSM (4) – ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปี
ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปีด้วย
เพราะ จากผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นแบบ DSM จะได้กระแสเงินสดแฝงโดยเฉลี่ยขั้นต่ำอย่างน้อย 3% อาจได้มากกว่านี้ได้ เพราะบางเดือนได้มาก บางเดือนได้น้อยกว่านี้
จากสูตรคำนวณ 72 จำกันได้หรือเปล่า ถ้าเอาเลข 72 ตั้งหารด้วยจำนวน % ต่อปีผลลัพธ์จะได้เท่ากับจำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็น 2 เท่า
ผลลัพธ์ จำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็นสอง = 72/ (3%x12) = 2 ปี ดังนี้ภายในสองปีจะได้เงินเริ่มต้นเป็นทุกสองเท่า นั้นย่อมแสดงว่า เราสามารถทำให้ได้กระแสเงินสดแฝงเท่ากับจำนวนเงินต้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมต้องอยู่กับหุ้นตัวนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี และที่สำคัญตลาดหุ้นเมืองไทยสามารถทำให้คืนเงินต้นได้เร็วยิ่งขึ้นเพราะเป็น ตลาดที่มีความผันผวนสูง
DSM (5) – ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน
บรรดาผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์แบ่งได้ 2 ประเภท
1. นักลงทุน
2. นักเก็งกำไร
ลองถามตัวเองก่อนว่า ฉันเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไร
ตลาด ทุกชนิดบนโลกต้องมีคนทั้ง 2 ประเภท ถ้ามีแต่นักลงทุน ราคาหุ้นก็จะอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับไปไหน ถ้ามีแต่นักลงทุนที่ลงทุนเพื่อรับเงินปันผล ข่าวที่เราได้ยินอาจจะบอกว่า วันนี้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลง 0.5 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติใดๆ ถ้าผมหรือคุณจะเป็นนักเก็งกำไร แต่วิธีลงทุนวิธีDSM เน้นให้เป็นนักลงทุนที่แท้จริง
ข้อแตกต่างระหว่างนักลงทุนกับนักเก็งกำไร
นัก เก็งกำไร : ต้องการกำไรเป็นเงินสดในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 นาที, 1 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน ขึ้นอยู่กับความอดทนของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน
นักลงทุน : ต้องการรายได้จากกระแสเงินสดแฝงจากหุ้นและเงินปันผล
วิธีดูแบบง่ายสุดดูแบบนี้
ถ้าคุณซื้อหุ้นเพราะหวังว่า ราคาหุ้นจะขึ้นและขายเพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง คุณเป็นนักเก็งกำไร
ถ้าคุณซื้อหุ้นแล้วรอรับเงินปันผล พร้อมกับได้กระแสเงินสดแฝงนั้นแสดงว่าคุณเป็นนักลงทุน
นักลงทุนหรือนักเก็งกำไร ใครเหมาะที่จะใช้วิธี DSM
ถ้า คุณหวั่นไหวกับราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ใครๆ ก็เป็นกัน แต่สำหรับValue Investor (VI) แล้ว เมื่อลงทุนหุ้นใดไปแล้ว จะไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมั่นใจว่าบริษัทนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะดำเนินงานต่อไปได้ไม่ดี VI จึงจะเปลี่ยนไปลงทุนในบริษัทอื่น แต่ถ้าราคาหุ้นตกลงมามากเท่าใด ตราบใดที่บริษัทนั้นยังมีผลประกอบการที่ดี VI ก็ยังคงลงทุนต่อไป และอาจจะซื้อเพิ่มอีกด้วย วิธี DSM จึงเหมาะกับนักลงทุนแบบ VI ที่ใช้เงินลงทุนก้อนเดิมที่มีอยู่มาเพิ่มจำนวนหุ้น VI หลายๆ คนที่ผมรู้จักก็ไม่อยากใช้ DSM เพราะไม่ถนัด ส่วนนักเก็งกำไรส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิธี DSM ช้า ไม่ทันใจ แถมได้กำไรน้อยอีกด้วย
ดังนั้น DSM จึงเป็นส่วนผสมระหว่างนักลงทุนที่เป็น VI ในสายเลือด แต่เพิ่มทักษะในการซื้อขายหุ้นแบบนักเก็งกำไรเข้าไป เพื่อเพิ่มจำนวนหุ้นให้มากขึ้น โดยใช้การทำงานเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน ใครที่คิดจะใช้วิธี DSM เพียงเพราะหวังว่าจะช่วยทำให้เงินที่หายไปจากการซื้อขายหุ้นได้คืนมาล่ะก็ ลองคิดดูอีกครั้งนะว่าคุณมีจิตวิญญาณของนักลงทุนแบบ VI หรือไม่ เพราะถ้าคุณเลิกกลางคัน คุณจะสูญเสียมากกว่าการเก็งกำไรก็เป็นได้ และที่สำคัญวิธี DSM นี้ใช้เวลานานอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะคุ้มต้นทุนตอนเริ่มต้น
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:01:15 น.
DSM (6) – การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธี DSM
คุณสมบัติของหุ้นที่จะเลือกลงทุนด้วยวิธี DSM
1. ต้องเป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล โดยดูจากประวัติย้อนหลังของบริษัทหลาย ๆ ปี
2. ต้องเป็นหุ้นที่มีคนนิยม และมีจำนวนหุ้นซื้อขายในตลาดมากพอสมควร เพราะเราจะสร้างหุ้นเพิ่มจากส่วนต่างของราคา จากการแกว่งตัวของราคาจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นตัวนั้นเป็นที่นิยม ให้ดูมูลค่าการซื้อขายมาก แสดงว่าหุ้นตัวนั้นได้รับความนิยมมาก
3. ต้องเป็นหุ้นเสาหลักของเศรษฐกิจของประเทศ ประเภทว่าถ้าหุ้นตัวนี้แย่หรือล้มหายจากตลาด หุ้นตัวอื่นๆก็คงโดนฝังหรือออกจากตลาดไปก่อนหน้านี้แล้ว
4. ต้องเป็นบริษัทที่คุณอยากเป็นเจ้าของ
การที่จะหาหุ้นที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ สำหรับแต่ละคน อาจจะเป็นเรื่องยาก คุณจึงต้องยอมตัดคุณสมบัติบางประการออกไปบ้าง เช่น
- สำหรับคนที่มีเวลาซื้อขายหุ้น อาจจะเลือกหุ้นที่ราคาแกว่งตัวมาก โดยที่หุ้นนั้นอาจจะจ่ายปันผลไม่ดีนัก เพื่อที่จะสร้างจำนวนหุ้นให้เพิ่มในอัตราที่มากพอ เมื่อได้หุ้นมากพอแล้วจึงเปลี่ยนตัวไปยังหุ้นที่หมายตาที่จ่ายเงินปันผลที่ ดี อย่างพวกหุ้น Warrant ต่าง ๆ ต้องมีแผนตั้งแต่เริ่มแรกในการเล่นWarrant ตัวนั้นๆ เช่นต้องการดึงกระแสเงินสดแฝงออกจาก Warrant ให้เร็วและเน้นสร้างกระแสเงินสดแฝง ไม่ต้องการเพิ่มหุ้นแต่อย่างใด หรือเล่น Warrant ต้องการเพิ่มหุ้น และเก็บกระแสเงินสดแฝงตามสัดส่วนที่ได้ เอาไว้แปลงร่างจากหุ้น Warrant เป็นหุ้นตัวแม่ ตัวอย่างเช่น CPF-W2 ต้องการแปลงเป็น CPF หรือ ZMICO-W3 ต้องการแปลงเป็น ZMICO แต่มีข้อแม้อีกอย่างนึ่งว่า ตัว Warrant นั้นต้องมีอายุอย่างน้อย 2 ปีก่อนหมดอายุ แต่ถ้าได้มากกว่า 2 ปี ยิ่งดีซึ่งจะทำให้เราได้สร้างกระแสเงินสดแฝงได้เป็นจำนวนมากตามอายุที่ยาว นานของ Warrant ตัวนั้น ๆ
- สำหรับคนที่ไม่มีเวลาซื้อขายหุ้น ถ้าเลือกหุ้นที่มีการแกว่งตัวมากอาจจะกระตุกหัวใจ แบบนี้ควรเลือกหุ้นพื้นฐานดี จ่ายปันผลสม่ำเสมอ ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมาก คุณเพียงแค่ใช้เวลาดูแลเพียงวันละครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว
5. ถ้าใครมีประสบการณ์กับหุ้นบริษัทเงินทุน ตอนที่ปิดบริษัทเงินทุน 56 แห่ง ก็ควรหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่ม Finance แต่ก็ยังสามารถลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ได้ แต่ต้องมีกฎทางออกเตรียมพร้อมไว้เสมอ
6. เมื่อใดควรไล่หุ้นตัวนั้นออกจากพอร์ต มี 2 กรณี
6.1 หุ้นนั้นไม่มีการเคลื่อนไหวเลย
6.2 หุ้นที่มีราคาไหลลงมามากกว่า 50% จากราคาที่ซื้อมาสูงสุด แต่ยกเว้นว่า หุ้นตัวนั้นคืนทุนให้เรียบร้อยแล้ว จะเก็บไว้สร้างกระแสเงินสดแฝงต่อไป
7. หุ้นเป็นเพียงหนึ่งในยานพาหนะสำหรับการลงทุน (Investment Vehicles) ซึ่งนำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน ดังนั้นก็ไม่ควรยึดติดที่ตัวหุ้นใด ๆ เช่นกันและสามารถเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นได้ตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้ เพราะการยึดติดตัวหุ้นนั้นคือความทุกข์อย่างหนึ่ง จงปล่อยวางไม่อย่างนั้นท่านจะสูญเสียทุกอย่าง แต่ให้ยึดแนวทาง DSM แทนการยึดติดที่ตัวหุ้นแทน
เริ่มต้นด้วยจำนวนหุ้นเท่าใด
จำนวน หุ้นที่เหมาะสมสำหรับวิธี DSM คือ 10,000 หุ้น ดังนั้นถ้าหุ้นที่คุณหมายตาไว้มีราคาหุ้นละ 100 บาท คุณจะต้องมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท การเลือกหุ้นในระดับราคาที่เหมาะสมจะทำให้การซื้อขายหุ้นตามแผนการลงทุนทำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าคุณรักและอยากลงทุนในหุ้นราคา 100 บาทจริงๆ มี 2 วิธี
1. หาเงินล้านจากการทำงานมาลงทุน
2. เริ่มจากหุ้นตัวละ 10 บาท ใช้เงินลงทุน 1 แสน ลงทุนด้วยวิธี DSM อย่างมีวินัย ไม่เกิน 7 ปี คุณก็จะก้าวไปลงทุนในหุ้นระดับราคา 100 บาท ได้อย่างสง่าผ่าเผย (อัตราเฉลี่ย3%ต่อเดือน)
DSM (7) – เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM
เมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนในแบบ DSM ได้แล้ว คราวนี้ก็มาถึงเวลาเข้าซื้อหุ้น
กฎการลงทุนหุ้นวิธี DSM
1. ซื้อให้ถูกกว่าขาย
2. เวลาไม่จำกัดในการซื้อคืน (มิติของเวลาเป็นInfinity)
ตอน เริ่มต้นถ้าสามารถซื้อหุ้นได้ราคาที่ต่ำ แล้วหุ้นขึ้นยอมมีกำลังใจในการลงทุนหุ้นDSMได้มาก แล้วจะทำอย่างไร โดยการเขียวซื้อ แดงขาย หรือ กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง (DenSri Indicator=DSI) ซึ่งวิธีง่ายๆ แบบนี้เมื่อซื้อหุ้นแล้วหุ้นขึ้น (กอดหุ้นวิ่ง) แต่ถ้าลงก็ทำตามวิธี DSM ที่มีวิธีรับมือกับขาลง (ทิ้งหุ้นแดง) ดังนั้นการเข้าซื้อในจังหวะที่เหมาะสมก็มีความสำคัญมากแต่ก็ไม่ได้จำเป็น ต้องซื้อได้ต่ำที่สุดของราคาเช่นกัน (เพราะไม่มีใครซื้อได้จุดต่ำสุด และขายได้จุดสูงสุดของราคาหุ้นได้)
จะรู้ได้อย่างไรว่า เวลาไหนควรซื้อ
ประสบการณ์ จะบอกคุณเองว่า ซื้อตอนนี้ ตอนนั้น ราคาหุ้นจะขึ้น ไม่มีกฎตายตัวว่าจะดูอย่างไร เพราะถ้ามีกฎแบบนี้แล้ว ทุกๆ คนคงรวยกันหมดทั้งโลกแน่ๆ
ดังนั้น เมื่อเราไม่สามารถหาจุดซื้อที่ประกันได้แน่นอนว่าหุ้นจะขึ้น เราก็อย่าไปกังวล ให้เราหาจุดซื้อในช่วงที่หุ้นมีทีท่าขยับตัวขึ้นหุ้นเขียวอ่อนเริ่มซื้อได้ (เขียวซื้อ แดงขาย หรือ กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง ) ถ้าซื้อผิดจังหวะ ก็รับมือด้วยวิธี DSM ห้ามซื้อในเวลาที่หุ้นกำลังมีราคาลดลงเด็ดขาด จำไว้ว่า ถึงแม้ราคาหุ้นจะถูกแล้ว แต่ก็ยังมีถูกกว่า และยังมีถูกที่สุดอีกด้วย (นรกยังมีนรก สวรรค์ยังมีสวรรค์) อาจจะฝืนความรู้สึกสำหรับบางคน แต่ถ้าเคยบาดเจ็บจากการซื้อหุ้นราคาถูกแล้วอีกแป๊บเดียวราคาก็ถูกกว่าที่ ซื้อมา ก็จะเข้าใจเองว่าเป็นอย่างไร
ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่จุดเริ่ม ต้นเหมือนกับการเดินทางหมื่นลี้ สำคัญที่ก้าวแรก ที่เดิน จงเดินด้วยความมุ่งมั่น แต่ละก้าวที่เดินดูรอยเท้าที่ก้าวมาและก้าวต่อไปก้าวด้วยจิตใจที่นิ่งรู้ว่า ก้าวซ้ายหรือขวา เมื่อทำไปก็จะรู้ควรก้าวทางไหน และนักลงทุนแต่ละท่านก็จะสามารถสร้าง Model trade ของแต่ละบุคคลขึ้นมาได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างอัตโนมัติเหมือนกับการฝึก ขี่จักรยาน ตอนแรกต้องมีล้ม แล้วเราก็ลุกขึ้นมาขี่จักรยานอีก จนขี่จักรยานเป็น หลังจากนั้นเราก็สามารถขี่จักรยานได้อย่างอัตโนมัติโดนที่ไม่ต้องไปเริ่มฝึก ขี่จักรยานอีก ถึงแม้นไม่ได้ขี่จักรยานมาเป็นเวลานาน เพราะว่าเป็นเป็นไปโดยอัตโนมัตินั้นเอง
DSM (8) – กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง
ซื้อหุ้นแล้ว ไม่มีใครรับประกันได้ว่าราคาหุ้นจะขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีกลยุทธ์เพื่อรับมือในเวลาหุ้นลง
สมมุติว่าคุณซื้อหุ้นราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น
บนหน้าจอจะเป็นแบบนี้
Vol. Bid Offer Vol.
100,000 9.95 10.00 50,000
จำไว้ว่า ขายที่ Bid ซื้อที่ Offer อย่าไปเสียเวลาต่อรองราคาเหมือนเดินเป็นอันขาด
วิธี คือ ถ้าราคาหุ้นต่ำกว่าที่ซื้อ 2 ช่อง ให้ขาย 10% (คงพอจะได้คำตอบแล้วนะว่า ทำไมขายครั้งแรกต้อง 2 ช่อง เพราะจะได้รู้ว่าหุ้นลงจริง ไม่ได้ลงหลอกๆ จะได้ไม่เสียหุ้นง่ายเกินไป) และอย่ากลัวการขายเมื่อหุ้นลง (แดง) อย่ากลัวว่าจะซื้อหุ้นคืนไม่ได้เพราะว่าอย่างไรก็สามารถซื้อหุ้นคืนได้ตลอด เวลาที่ต้องการ ด้วยแผนการลงทุนที่ทำเอาไว้
ถ้าราคาลงมาเป็นแบบนี้
Vol. Bid Offer Vol.
200,000 9.90 9.95 170,000
ลงมา 2 ช่องแล้ว ขายเลยดีไหม ยัง ๆ อย่าใจร้อนรออีกนิด
ก่อน อื่นต้องรู้ว่าเราจะขายกี่หุ้น กรณีนี้เราจะขาย 1,000 หุ้น ให้ดูวอลุ่มที่ช่อง Bid ว่ามีมากแค่ไหน และดูด้วยว่ามีใครขายที่ราคา 9.90 หรือยัง
อย่าขายเป็นคนแรก เพราะอาจโดน กลต. เพ่งเล็งได้ว่ามีเจตนาทุบราคา (โดยเฉพาะขาย 100 หุ้น)
ถ้าสักพัก ราคาเป็นแบบนี้
Vol. Bid Offer Vol.
50,000 9.90 9.95 120,000
ถึง ตรงนี้ต้องจับตาดู ถ้าเห็นว่ามีขายครั้งละหลายๆ หมื่นหุ้น ก็อย่ารอช้ารีบขาย 1,000 หุ้นของเราได้เลย ตรงนี้แหละสำหรับมือใหม่ที่จะทำได้ยาก มัวแต่ลังเลว่าจะขายดีหรือไม่ อย่าลังเลครับ ถ้าคุณลังเลขายช้า แทนที่จะขายได้ที่ 9.90 กลับต้องไปขายที่ 9.85 คุณทำเงินหล่นหายไปแล้ว 0.05 บาทต่อหุ้น จากความลังเลในครั้งนี้ แต่สามารถลดความเก็งและกลัวได้ เมื่อเห็นราคาที่ Bid ต่ำกว่า 2 ช่องแล้ว ให้ขายเลย จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลานั่งเฝ้าเพื่อต่อรองเล็กๆ น้อยๆ
จบการขายครั้งแรก ให้กำหนดจุดซื้อคืนไว้ที่ 3 ช่องจากราคาขาย นั่นก็คือ 9.75 ราคานี้ให้มองฝั่ง Offer ถ้ามาถึงซื้อทันทีอย่ารีรอ
ถ้าสักพัก ราคาเป็นแบบนี้
Vol. Bid Offer Vol.
60,000 9.85 9.90 50,000
วิธี DSM คือรอ ไม่ต้องทำอะไร เพราะราคายังลงมาไม่ถึง 2 ช่องจากจุดเดิมที่เราเคยขายไปแล้ว
แต่ แบบของผมถ้าเห็นแนวโน้มแล้วว่ามีแรงขายเข้ามาตลอด ผมจะขายที่ราคา 9.85 อีก 5% แล้วไปขายที่ 9.80 อีก 5% รวมแล้วก็ 10% พอดี ถึงตรงนี้แล้ว ใครที่ยังไม่เข้าใจให้ลองทำดูนะ
มีคำถามปิดท้ายนิดนึ่งว่า ผมใช้กองหลังแค่ 20% ในเวลาปกติ
เฉลย คือ ขายทุก 2 ช่อง รับคืนทุก 3 ช่อง ถ้าเป็นขาลงในขาลงจริง ต้อง ขายให้เร็ว ขายให้ % มากที่สุด บ้างครั้งอาจถึง 10%, 20%, 25%, 50%, 100% ในไม้เดียวก็ได้ แต่ขอเน้นย้ำ ว่าห้ามเดาตลาด
จากที่ผ่านมาข้างต้นจะ เห็นได้ว่าขายทุก 2 ช่องและซื้อหุ้นคืนกลับทุก 3 ช่อง แต่ก็สามารถขยายช่องเหล่านี้ได้ อาจเป็นขายทุก 3 ช่องและซื้อหุ้นคืนกลับทุก 5 ช่อง แต่ถ้าขายไม่ทันตามช่องที่กำหนดไว้ไม่เป็นไรก็ให้ขายราคาที่เห็นตอนนั้นถึง แม้ว่าจะลงมาเป็น 4 หรือ 5 ช่องก็ตามเพราะอย่างนี้แสดงว่าหุ้นลงเร็วมาก และยังไม่ควรรีบเข้าไปรับหุ้นกลับตามแผนที่วางไว้รับที่ต่ำกว่า 3 ช่องหรือ 5 ช่อง
DSM (9) – DSM วัวเนื้อหรือวัวนม
เปรียบเทียบแนวคิดของ DSM กับการขุนวัวเนื้อและรีดนมวัว
DSM ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ทำแล้วจะรวย แต่เป็นกระบวนการที่ทำให้คุณไปถึงอิสรภาพทางการเงินในระยะเวลาที่คุณกำหนด ได้ โดยในระหว่างเดินทางในเส้นทางนี้ ร่างกายและจิตใจของคุณจะสดชื่นเบิกบาน เปรียบเสมือนมีอิสรภาพทางเวลา และ จิตใจ ไปพร้อมกับการมีอิสรภาพทางการเงิน
การ ซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไร ก็เหมือนการขุนวัวเนื้อให้อ้วนแล้วก็จับไปชำแหละ ส่วนการเก็บหุ้นปันผลไว้ก็เหมือนกับการเลี้ยงวัวนมเพื่อรีดนมวัว
การขายวัวเนื้อแต่ละครั้งได้เงินมากมาย ต่างจากการรีดนมวัวแต่ละวันที่ได้เงินทีละนิด แต่ได้สม่ำเสมอทุกวัน และได้ลูกวัวเป็นของแถมด้วย ลูกวัวที่ได้นี้ ถ้าเป็นแม่วัวนมเมื่อเลี้ยงให้โตก็จะได้แม่วัวไว้รีดนมวัวเพิ่ม ถ้าเป็นวัวตัวผู้จะเก็บไว้เป็นพ่อพันธุ์หรือขายเป็นวัวเนื้อก็ได้ทั้งนั้น การที่เลี้ยงวัวนมและรีดนมทุกวันวันละนิดวันละหน่อยนั้นคือการได้กระแสเงิน สดแฝงทุกวัน และเลี้ยงวัวนมต่อมาก็จะได้ลูกวัวตามมาอีกนั้นคือได้หุ้นฟรีจากกระแสเงินสด แฝงที่จะสะสมทุก ๆวันและจากเงินปันผลอีก ไม่ว่าคุณจะใช้ DSM กับหุ้นตัวไหน ถ้ายังคงแนวคิดและเป้าหมายในการเป็นเจ้าของวัวนมล่ะก็ คุณยังอยู่ในทางของ DSM ระหว่างทางจะขายลูกวัวตัวผู้ไปบ้างก็ไม่เป็นไร เงินที่ได้ถ้ายังนำกลับมาซื้อแม่วัวก็ยังอยู่ในแนวทางของ DSM
DSM มีข้อดีคือมีกระบวนการที่จะป้องกันไม่ให้ใครมาทำร้ายรังแกหุ้นของเรา นอกจากนั้น DSM ยังช่วยให้คุณสดชื่นเบิกบานกับหุ้นของคุณได้ทุกวัน ตรงนี้ล่ะคือความสุขที่แท้จริงที่เงินซื้อไม่ได้ และอย่าลืมตั้งเป้าหมายในอนาคตของคุณด้วยว่า เมื่อมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว จะทำอะไรบางคนมีเป้าหมายชัดเจนว่า จะใช้เวลาอบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี ไม่อยากให้เป็นเหมือนพ่อแม่สมัยนี้ที่ต้องทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน๊อตโดย ไม่มีเวลาสั่งสอนและให้ความอบอุ่นกับลูก เป้าหมายที่แน่ชัดนี้จะช่วยส่งให้คุณมีวินัยที่จะทำต่อไปจนถึงจุดหมาย คิดว่าเราต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเองในอนาคต ไม่ควรซื่อสัตย์ต่อตัวเองในอดีตที่ผ่านมา
DSM (10) – Warren Buffett ลงทุนวิธี DSM ด้วยหรือไม่
“My favorite time frame for holding a stock is forever” หมายถึง“เวลาที่ผมชอบที่สุดคือเวลาที่ผมได้ถือหุ้นไว้ตลอดไป” คำประโยคนี้คือหัวใจที่ทำให้ Warren Buffett ทำกำไรจากหุ้นได้มากที่สุด นั่นคือ Warren Buffett คิดและลงทุนในแนวทางของคนรีดนมวัว และจะเลือกหุ้นที่มีอนาคตดี ชนิดที่เรียกว่า ต่อให้เขาตายไปแล้วบริษัทนั้นก็ยังคงอยู่ต่อไป เช่น โค้ก ยิลเล๊ต และกอดหุ้นเหล่านั้นไว้ตลอดไป ซึ่งเป็นแนวคิดเช่นเดียวกับ DSM ถึงแม้ว่าวิธีการจะแตกต่างกันแต่จุดมุ่งหมายเป็นไปตามแนวทางเดียวกันและที่ สำคัญวิธีDSM น่าจะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าวิธีการของ Warren Buffett ที่ทำไว้ได้หรือไม่ คงต้องรอให้ได้รับการพิสูจน์กันต่อไปในอนาคตเหมือนคำกล่าวที่ว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” ดังนั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี เป็นเครื่องพิสูจน์วิธีDSM ทำให้มีคำกล่าวโดยเฉพาะว่า “My favorite time frame for trading on DSM is forever” สำหรับชาวDSMer ทุกท่าน
จะใช้ DSM ให้ประสบความสำเร็จ ต้องลืมเรื่องเวลา ต้องลืมเรื่องกำไรขาดทุน นักเล่นหุ้นที่มีราคาหุ้นติดสูงอยู่ ลองถามตัวเองสักนิดว่า กังวลใจเพราะอะไร เพราะราคาหรือเวลา ถ้าซื้อหุ้นแล้วรีบร้อนอยากขาย ขายถูกขายแพงก็เป็นทุกข์ ดังนั้นถ้าตั้งใจจะลงทุนตามแนวทาง DSM แล้วห้ามเลิกกลางคันเป็นอันขาด และต้องลงทุนตลอดชีวิตหรือว่าลงทุนระยะยาว ๆ มาก ต้องเลือกหุ้นที่อยู่กับเราไปจนวันตายเมื่อดังที่ Warren Buffett ได้ทำการเลือกหุ้นแล้วอยู่กับหุ้นตัวไหนตลอดชีวิต
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:03:09 น.
DSM (11) – ระบบการซื้อ - ขายหุ้น DSM
ระบบการซื้อ - ขายที่ดี คือส่วนสำคัญของ DSM
เมื่อ กระโจนเข้าสู่สมรภูมิหุ้น บ่อยครั้งที่อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้บ่อยๆ หลายๆ ครั้งที่เรามักไม่กล้าขายหุ้นเมื่อหุ้นลง จนหุ้นลงมาก ก็ยิ่งตัดใจขายลำบากยิ่งขึ้น วิธี DSM ช่วยสร้างระบบป้องกันตัวไว้อย่างแยบยล การตัดขายเพียง 10% นอกจากจะช่วยสร้างกระแสเงินสดแฝงแล้ว ยังเหมือนกับการประกันเพื่อลดความเสี่ยงของหุ้นและยังมีหุ้นที่เหลืออีก 90% ที่เราถือไว้อีกด้วย ซึ่งต้องปฏิบัติไปตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้และอย่าลังเล เมื่อถึงเวลาที่ต้องขาย ถึงเวลาซื้อก็ต้องซื้อ เรื่องง่าย ๆ แค่นี้จริง ๆ
ถึง ต้องเน้นว่าต้องมีการวางแผนการก่อนเทรดหุ้น ว่าถ้าหุ้นลงจะทำอย่างไร ถ้าหุ้นขึ้นจะทำอย่างไร เพื่อที่จะได้จำกัดและลดอารมณ์ร่วมตามอารมณ์ตลาดหุ้น แล้วจะประสบความสำเร็จการลงทุนตามแนวทางนี้ได้
การลงทุนควรจะเป็นไป แบบอัตโนมัติ คือไม่ต้องใช้ความคิดเลย มันจะเป็นไปตามระบบ ตามแผน ตาม step ของมัน ถ้าสร้างแผน สร้างระบบ มันจะทำหน้าที่แทนเรา ตัดสินใจแทนเราและแทนการใช้อารมณ์
ให้จำไว้ว่า ลงทุนด้วยวิธีDSM ไม่มีทุนเดิม ซื้อมาแล้วก็ให้ลบราคาซื้อออกไป และราคาขายขึ้นอยู่กับราคาในแต่ละวัน ในแต่ละเวลา ส่วนราคาซื้อคืน คือราคาที่ซื้อแล้วได้กำไรจากราคาที่ขายไป ซึ่งเป็นไปตามแผนการที่วางเอาไว้ว่าขายกี่ช่อง รับคืนกี่ช่อง
DSM (12) – หลักการซื้อคืน 3 แบบ
หลักการซื้อคืนดังนี้ 3 แบบ ดังต่อไปนี้
1. ซื้อคืนเมื่อราคาต่ำกว่าที่ขาย ประมาณ 5 ช่อง
2. ซื้อคืนเมื่อซื้อกลับมาได้รวดเดียว 3 ราคาที่ขายไป
3. ซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดขึ้นมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้อ
สมมุติว่าคุณซื้อหุ้นราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น ทีละ 10% เท่ากับ 1,000 หุ้น
กรณีที่ 1. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปหุ้นไปที่ราคา 9.90 บาท และสามารถรับหุ้นกลับได้ที่ 9.65 บาท ให้เคาะซื้อด้าน offer
กรณี ที่ 2. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปตามแผนที่วางไว้ ขาย ทุก 2 ช่อง รับหุ้นกับคืนทุก 3 ช่อง เช่น ขายไปที่ 9.90, 9.80, 9.70, 9.60, 9.50 บาทแล้วราคาหุ้นมานิ่งที่ 9.55 บาท ซึ่งสามารถรับกลับได้ที่ 9.90, 9.80, 9.70 ซึ่งสามารถซื้อกลับได้ 3 ไม้ที่ขายไป
กรณีที่ 3. หมายถึงว่าได้ทำการขายหุ้นไปตามแผนที่วางไว้ แล้วมีแรงขายออกมาจากหุ้นอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งไม่ควรรีบไปรับหุ้นกลับต้องรอให้หุ้นลงจนสุดและนิ่งแล้วราคาเริ่มขึ้นมา ได้ 4 ช่อง แล้วค่อยซื้อคืน เช่น ขายที่ 9.90, 9.80, 9.70, 9.60, 9.50, 9.40, 9.30, 9.20, 9.10, 9.00 บาท แล้วราคาก็ไหลลงไปอีกเรื่อย ๆ หลังจากที่เราขายหมดมือไปแล้ว สมมุติว่า ราคาลงไปถึง 8.50 บาท แล้วเริ่มนิ่งๆ มีแรงซื้อกลับเข้ามาอยู่ที่ 8.70 บาท ก็สามารถซื้อคืนทั้งหมดที่เราขายไปได้ทั้งสิบไม้ ถ้าหลังจากรับกลับแล้วขึ้นวิ่งขึ้นมาที่ 9.20 บาท ก็ยิ้ม แต่ถ้าซื้อแล้วหุ้นลงต่อทำอย่างไรดี ไม่ต้องกลัวก็ขายใหม่โดยเอาจุดที่เราซื้อคืน 8.70 บาท เป็นฐาน ถ้าลงมาที่8.60 บาท ขายตามแผนการลงทุนที่วางไว้
ข้อสังเกตเพิ่มเติม ว่าถ้าหุ้นไหลลงอย่างแรงอย่างมาก อาจมีการลงต่ออีกหลายวันต้องพิจารณาแต่ละเหตุการณ์ไป หรือรอให้ราคาหุ้นตกจนสุดหรือเรียกว่าสะเด็ดน้ำหรือมีดตกถึงเขียงแล้วค่อย เข้าไปซื้อคืนตอนที่หุ้นเขียวอ่อน ๆ และขึ้นมาจากจุดสุดท้าย 4 ช่อง เพื่อรับประกันว่าขึ้นจริง แต่อย่าลืมที่บอกไปนะว่าถ้าลง ก็ขายตามแผนต่อ อยากจะบอกและเน้นย้ำว่า DSM เป็นแนวคิดไม่ใช่วิธีการใด ๆ ไม่มีวิธีการใดดีที่สุดสำหรับนักลงทุนแต่ละท่าน ต้องค้นหาวิธีการที่เหมาะสมกับตัวนักลงทุนแต่ละท่านเอง
DSM (13) – ช่องว่างและการแปลงร่างคืออะไร
ช่อง ว่างของตลาดหุ้น ต้องใช้ให้ถูกจังหวะอย่าไปเร่งพอร์ต ควบคุมการใช้ช่องว่างด้วยระบบบัญชี โดยให้หุ้นสมดุลด้วยช่องว่างและให้ช่องว่างสมดุลด้วยระบบบัญชี
การ แปลงร่าง จะแปลงไปเป็นหุ้นกลุ่มใดตัวใดก็ได้ ขอเพียงให้มีราคาต่ำกว่าและอยู่ในช่อง Spread หุ้นเดียวกัน และเงินที่เหลือจากการแปลงร่าง ให้ถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงแต่มันเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม ซึ่งไม่ควรแปลงร่างมากเกินไปโดยไม่จำเป็น
การแปลงร่างใช้กับหุ้นขา ขึ้นเท่านั้น ถ้าหุ้นขาลงจะไม่แปลงร่าง(ยกเว้นกรณีที่ต้องการเปลี่ยนตัวเพราะต้องการไล่ หุ้นตัวเดิมออกจากพอร์ต) ปกติแล้วจะใช้การแปลงร่างเมื่อ หุ้นตัวนั้นเหลือในมือแค่ 10-20%
การแปลงร่างมี 2 แบบคือ แปลงร่างเป็นตัวมันเอง (ที่เหลือน้อย) กับ แปลงร่างไปเป็นหุ้นตัวอื่นๆ และหุ้นตัวอื่นๆ แปลงร่างมาเป็นตัวมัน นั่นคือการแปลงร่างอย่างสมดุลซึ่งกันและกัน
การแปลงร่างจะไม่ใช่การ เปลี่ยนตัวหุ้น แต่การแปลงร่างเป็นเหมือนการขยายการลงทุนในจังหวะที่ต้องขยาย นั่นคือ เมื่อแปลงจากหุ้น A ไปเป็นหุ้น B แล้ว เราต้องดูแลทั้ง Aและ B เราจะไม่ทิ้ง เมื่อใดที่มีจังหวะ เก็บหุ้น A คืนได้ ก็ควรเก็บกลับคืนมามันจะทำให้พอร์ตของเราค่อยๆ ขยายตัวอย่างเหมาะสม ไม่แนะนำให้แปลงร่างบ่อยเกินไป ทุกครั้งในการแปลงร่างต้องมีเหตุมีผลรองรับเสมอ และห้ามทำตามใจ
การ จะเข้าซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาที่แพงโดยอาศัยกระแสเงินสดแฝง จะซื้อเมื่อหุ้นตัวเดิมนั้นเป็นขาขึ้น และเหลือหุ้นในมือเพียง 10-20% (จากปริมาณที่เริ่มต้นมา) เพราะหากซื้อแล้วขึ้นต่อ ทรัพย์สินเราก็มีมูลค่าสูงขึ้นไปด้วยและเหลือ 10-20% อีก ก็จะเข้าไปซื้อเพิ่มอีก แต่หากซื้อแล้วลง จะทยอยเก็บคืนที่เคยขายไป ซึ่งการทำอย่างนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อเงินสดที่เหลือในพอร์ต เพราะจะควบคุมได้ แต่เกิดการสะดุดยังมีเงินสำรองหนี้ (เงินต้นทุนที่ดึงออกมาแล้ว) ไว้รองรับ
จากนั้นทำตามขั้นตอนตามแผน การขายและซื้อ จะได้กระแสเงินสดแฝง จากทั้งหุ้นเดิม และหุ้นใหม่(ที่ซื้อเดิมและที่ซื้อใหม่) ได้เงินกระแสเงินสดแฝงมาโปะกับเงินสำรองหนี้ได้เองอย่างอัตโนมัติ
และระบบบัญชีจะต้องรัดกุมเพื่อคุมการขยายพอร์ตอย่างมีจังหวะด้วย แล้วรูปแบบหรือขบวนหุ้นจะปรับตัวเองตามจังหวะของมันอย่างอัตโนมัติ
ช่วง Spread แต่ละช่วงราคาของหุ้น
ช่วงของราคา ช่วง(บาท)
ต่ำกว่า 2 บาท 0.01
ตั้งแต่ 2 ถึง 5 บาท 0.02
ตั้งแต่ 5 ถึง 10 บาท 0.05
ตั้งแต่ 10 ถึง 25 บาท 0.10
ตั้งแต่ 25 ถึง 50 บาท 0.25
ตั้งแต่ 50 ถึง 100 บาท 0.50
ตั้งแต่ 100 ถึง 200 บาท 1.00
ตั้งแต่ 200 ถึง 600 บาท 2.00
ตั้งแต่ 600 ขึ้นไป 4.00
ตัวอย่าง การเอาหุ้นมาแปลงร่างเมื่อหุ้นที่ขายไปไม่สามารถซื้อกับได้ และราคาก็ขึ้นไปสูงมากพอสมควร และมองว่าไม่สามารถรับกับได้ในระยะเวลาอันใกล้ เช่น หุ้น A ราคา 9.20 จำนวน 1,000 หุ้น แปลงร่างมาเป็นหุ้น B ที่ราคา 8.20 บาท จำนวน 1,000 หุ้น ได้เงินกระแสเงินสดแฝง 1,000 บาท (ยังไม่ได้หักค่าคอมมิชชั่น) แต่ก็ยังถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม
แต่หลังจากได้ทำการลงทุนด้วย วิธี DSM สามารถเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี ให้ติดตามได้ในบท DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร และสามารถได้รับกระแสเงินสดแฝงที่แท้จริง ไม่เหมือนกันวิธีการแปลงร่างที่ได้กระแสเงินสดแฝงเทียม
DSM (14) – หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน
นัก ลงทุนหุ้นวิธีDSM เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ...การเล่นหุ้นทั้งขาลงและขาขึ้น...หุ้นขึ้นได้เงิน หุ้นลงได้หุ้น... เป็นคำกล่าวที่เสี่ยงอย่างมาก ๆ ที่จริงแล้วต้องเป็น “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เป็นอย่างไร
ทำไมต้องพูดว่า “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เพราะเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น เสมือนทำกิจการให้เช่าหุ้น ดังนั้นหลักการคิดคือ กิจการที่เราทำอยู่กำลังดี กำลังเติบโต เราต้องเพิ่มการลงทุน หรือ ขยายกิจการออกไป แต่ถ้า เมื่อไรที่กิจการกำลังก้ำกึ่งระหว่างจะดีหรือไม่ดีไม่ควรเพิ่มการลงทุนหรือ ขยายกิจการเป็นอันขาด
ต้องแยกคำ “ซื้อหุ้นคืน” กับ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”(เงินจากกระแสเงินสดแฝง) เมื่อเราทำตามแผนการที่วางไว้ ของการลงทุนด้วยวิธี DSM เมื่อหุ้นเป็นขาลงเริ่มแดง ขายออกทุก 2 ช่อง ช่องละ10% ไปเรื่อย ๆ จะจนกว่าหุ้นเริ่มขึ้นจะซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้ออันนี้หมายถึงการ “ซื้อหุ้นคืน” แต่เมื่อไรที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม คือการเอาเงินจากกระแสเงินสดแฝงมาซื้อหุ้นเพิ่มเติม แต่อย่าลืมนะ ต้องซื้อหุ้นตัวที่เหลือน้อย หมายความว่าหุ้นตัวนี้ขายดี หรือขึ้นมามาก เปรียบเทียบได้กับเป็นกิจการที่ดี กำลังเจริญเติบโต ต้องมีการขยายงาน ถึงจะเริ่มมีการ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”จากเงินกระแสเงินสดแฝง ถ้าให้ดีการซื้อหุ้นเพิ่มต้องซื้อหุ้นอย่างน้อย 1,000 หุ้น หรือ 200,000 บาท ซึ่งซื้อแล้วสามารถทำงานได้ทันทีจากหุ้นที่ซื้อเพิ่มขึ้นมา
แล้ว เมื่อไร ถึงจะ “ซื้อหุ้นเพิ่ม” ใช้เงินจากกระแสเงินสดแฝงซื้อ มาถึงตอนนี้ทุกท่าน ต้องสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่ม อาจเป็นหุ้นตัวเดิม หรือ หุ้นตัวใหม่ อย่างไรดี
การสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่ม นั้นนักลงทุนแต่ละท่าน อาจไม่เหมือนกันก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น หุ้น A ราคา เริ่มแรก 10.00 บาทต่อหุ้น เมื่อหุ้นเริ่มลงหรือเริ่มแดง ก็ขาย ออกตามที่วางแผนเอาไว้ นั้นคือ 9.80, 9.70, 9.60, 9.50, 9.40, 9.30, 9.20, 9.10, 9.00, 8.90…, จนลงไปเรื่อยๆ ไปถึง และเริ่มนิ่งๆ ที่ 7.00 บาท(ช่วงขาลงช่วงหนึ่ง ๆ ) แล้วมีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นเริ่มกับตัวมาที่ 7.20 ก็เริ่มซื้อหุ้นคืนทั้งหมดที่ขายไป ที่ราคา7.20 บาท อันนี้เป็นการซื้อหุ้นคืน หลังจากนี้เงินที่ได้การกระแสเงินสดแฝงจากการขายและซื้อกับหุ้นตัวนี้และ ต้องการซื้อตัวเดิมกลับด้วย จะซื้อตรงไหนดี ให้แน่ใจว่าซื้อแล้วหุ้นขึ้นจริงๆ เปรียบเสมือนกับกิจการกำลังเจริญเติบโต และจะขยายงาน ถ้าพูดถึงของแผนการเดิมต่ออีกหน่อย หลังจากนี้เราจะตั้งจุด short หุ้นใหม่อีก 15 ช่อง นั้นก็คือที่ราคา 7.95 บาท จะเป็นราคาที่เราจะ short หุ้นใหม่สำหรับกองหลัง แล้วเราจะตั้งกฎตั้งเกณฑ์อย่างไรดีกว่ามันขึ้นจริงๆ จะได้ซื้อหุ้นเพิ่มสักทีเพราะต้องการขยายกิจการ แล้วแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่นตัวอย่าง จะซื้อหุ้นเพิ่มที่ขึ้นมาจากจุดที่ซื้อกับคืนมา 5 ช่อง นั้นคือ ราคา 7.45 บาท จะเป็นราคาที่เราจะ ซื้อหุ้นเพิ่ม แล้วคิดว่าหุ้นจะขึ้นต่อไป หรืออาจตั้งที่ 10 ช่อง , 15 ช่อง หรือ 20 ช่องไปเลย ก็ยังได้ เพื่อให้แน่ใจกว่า หุ้นขึ้นจริงๆ หรือกิจการกำลังดีจริงแล้วควรขยายงานต่อไป
ในการเริ่มลงทุนหุ้นวิธี DSM ลงเงินก้อนแรกไป ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนในพอร์ตหรือในกิจการให้เช่าหุ้น แต่อันนี้สำหรับนักลงทุนผู้ที่เริ่มต้นการลงทุนด้วยวิธีนี้เพราะเหมือนกับ เราทำกิจการอะไรสักอย่างในที่นี้คือกิจการให้เช่าหุ้น ยังไม่รู้ว่ากิจการจะดีหรือเปล่า จะรอดหรือเปล่า ยังไม่ควรลงเงินเพื่อเพิ่มการลงทุนใดๆ แต่เมื่อใด ที่เราทำกิจการได้ดี มีผลตอบแทนที่ดี สามารถเพิ่มการลงทุนเพื่อขยายงานหรือกิจการได้
เพราะ การลงทุนด้วยวิธี DSM เหมือนการลงทุนทั่วไป ไม่มีข้อห้ามในการเพิ่มเงินลงทุน แต่จะเพิ่มเงินลงทุนเพราะอะไร ถ้าเพิ่มเงินลงทุนเพื่อขยายกิจการ เพราะกิจการ DSM ที่ผ่านมาทำยอดได้ตามเป้า แบบนี้เพิ่มได้เลย แต่ถ้าเพิ่มเงินลงทุนเพื่ออุดปัญหาของกิจการ แบบนี้ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุน ต้องเน้นย้ำว่าให้เพิ่มเงินลงทุนในกิจการที่กำลังเจริญเติบโตหรือเพื่อขยาย กิจการเท่านั้น
DSM (15) – สิ่งที่ควรคิดเมื่อรักจะเป็น DSMers
นักลงทุนหุ้นวิธี DSM จะเรียกตัวเองว่าเป็น DSMers
1. DSMers ต้องมีเป้าหมายชีวิต อย่างน้อยที่สุด เราควรจะรู้ว่า ความฝันของเราคืออะไร แล้วมันเกี่ยวข้องกับการลงทุนแบบไหน อย่างไร ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ ๆเข้าไว้ หาความสัมพันธ์ระหว่างความฝันกับการลงทุนให้เจอ แล้วพยายามไปให้ถึง
2. ศึกษาวิธี DSM ให้ถ่องแท้ แล้วค่อยๆทดลองปรับใช้จนลงตัว แล้วกำหนดมันเป็นแผนการอันนำไปสู่เป้าหมายชีวิตที่กำหนดไว้ หรือความฝันที่ตั้งใจ DSM เป็นเพียงวิธีการหนึ่งของการลงทุน การลงทุนที่แท้จริงคือแผนการที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม นั่นเอง
3. ใช้เงินทำงานให้เรา ไม่ใช่ใช้ตัวเราทำงานเพื่อเงิน ในDSM ตัวเงินไม่ใช่สิ่งที่เราจะมองเรามองรายได้ที่เกิดขึ้น มองจำนวนหุ้นเพิ่มมากขึ้น ควรมีหักค่าบริหารพอร์ตออกมาทุกระยะเป็นค่าใช้จ่ายด้วยเพื่อเป็นกำลังใจใน การลงทุน กำไรไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจเลย เราต้องการหารายได้จากพอร์ตการลงทุนของเรา
เงินค่าของมันเป็นเพียงสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้ามันผลิตตัวมันเองไม่ได้ สิ่งที่ผลิตเงินได้ คือ พอร์ตของเราต่างหาก กระแสเงินสดแฝงที่เกิดขึ้น ควรนำมาขยายพอร์ตการลงทุนหลังจากหักค่าบริหารพอร์ตแล้ว ใช้เงินซื้อหลักทรัพย์ที่ดี แล้ววันหนึ่งมันก็จะกลายเป็นสินทรัพย์อย่างถาวรที่ผลิตเงินให้เราเปรียบ เสมือนตู้ATM ที่กดเอาเงินจากตลาดหลักทรัพย์ไม่มีวันหมด ตราบนานเท่านานที่ตลาดหลักทรัพย์ยังไม่ปิดทำการ หรือพังทลายไปเสียก่อน
4. สิ่งที่สำคัญสำหรับDSMers คือเวลา เพราะมันเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด
ใน ชีวิตหนึ่งๆ คนเรามีเวลา24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ละคนใช้ไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ดี เรามีเวลาให้ใช้จำกัดเพียงเท่านี้ ไม่มีวันใด ที่เราจะมี 25 ชั่วโมงไปได้ เนื่องจากเวลา คือสิ่งที่เราถูกจำกัดอยู่ และในแต่ละช่วงชีวิตของเรา จะมีสิ่งที่เราทำได้ กับทำไม่ได้อยู่ ในบางช่วงชีวิต ถ้าเราไม่ได้ทำสิ่งนั้นแล้ว เราก็จะไม่ได้ทำสิ่งนั้นอีกต่อไป
แบ่ง เวลาในแต่ละช่วงชีวิตอย่างสมดุล และใช้เวลาให้มีค่าที่สุดสำหรับตัวเอง และห่วงใยคนที่คุณรักด้วย เพราะการลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต
5. ค้นหาอิสรภาพทางใจให้พบ
ใน ระหว่างทาง เราอาจจะเหนื่อยล้า สับสน กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่ในความผิดพลาดมักจะมีโอกาสแฝงเร้นอยู่ด้วยเสมอ เหมือนกับเหรียญที่มีสองด้าน มีคนซื้อก็ต้องมีคนขาย แต่สิ่งหนึ่งที่จะคอยฉุดรั้งเราให้เดินทางต่อไป ไม่ยอมแพ้ ก็คือจิตใจของเรานี่เอง เราจะต้องค้นพบให้ได้ ว่าใจของเราต้องการอะไร ถ้าทำได้ เราจะมีความสุขมากกว่าที่เคยเป็นอยู่
DSM (16) – 7 ข้อ DSM ดั่งแก้วสารพัดนึก
ดั่งแก้วสารพัดนึกแบ่งได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. DSMers ต้องเข้าใจว่า เป้าหมายของเราคือ การเก็บสะสมหุ้นให้ได้มากขึ้น โดยไม่ต้องใช้เงินเพิ่ม
2. DSMers ต้องไม่สนมูลค่าพอร์ตหุ้นไม่ว่าจะมีมูลค่าเพิ่มหรือลดลง
3. DSMers สนแต่กระแสเงินสดแฝงเพราะกระแสเงินสดแฝง คือรายได้ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการเพิ่มจำนวนหุ้น การเร่งเพิ่มกระแสเงินสดแฝง โดยยังไม่เข้าใจดีพอ เป็นอันตรายพอควร เช่น การใช้ กระแสเงินสดแฝงในอนาคตนั้น ปลอดภัยดีจริง แต่หากยังไม่ชำนาญอาจพอร์ตชอร์ตได้ จุดสำคัญที่สุดของการขยายพอร์ตคือ ต้องไม่เกิดกระแสเงินสดชอร์ต เมื่อใดก็ตามที่ท่านเพิ่มเงินเพราะภาวะเงินชอร์ต ท่านกำลังเข้าสู่การสูญเสียการควบคุมบัญชีของท่าน เหมือนกับการลงทุนขาดทุนแล้วเอาเงินลงไปอีกหรือเหมือนซื้อหุ้นเฉลี่ยขาลง ซึ่งไม่ควรทำที่สุดอย่างหนึ่ง
4. การเข้าซื้อยังคงมีความสำคัญมาก ส่วนจะเข้าซื้ออย่างไร เช่นไร ล้วนแล้วแต่การฝึกฝนในแนวทางของตน หากเข้าซื้อ แล้วหุ้นลง เช่นเดิมได้กระแสเงินสดแฝง แล้วหุ้นขึ้น มูลค่าเพิ่ม(ไว้ไปได้กระแสเงินสดแฝงที่มากขึ้น) ล้วนแล้วแต่ดีทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าไม่ได้ดูที่มูลค่าพอร์ตที่เพิ่มขึ้น
5. DSMers ยิ้มตลอดเวลา ไม่เครียด เพราะหุ้นขึ้นทำให้มูลค่าเพิ่มเพื่อได้กระแสเงินสดมากขึ้น เมื่อหุ้นลงจะเกิดรายได้จากหุ้นทันที ดังนั้น DSMers จึงยิ้มตลอด ก้าวเข้าสู่เส้นชัย อิสรภาพทางการเงินอย่างสบายอารมณ์
6. DSM ไม่มีวิธีการที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ โดยยึดหลักการและแนวคิดเหมือนเดิม
7. DSMers ต้องเตรียมการ เตรียมใจ รับมือได้ในสภาวการณ์หลัก ๆ ของหุ้นดังต่อไปนี้ คือ ขาขึ้น ขาลง และ ไซด์เวย์ คิดและปรับใช้ให้ตรงกับวิธีการบริหารพอร์ต และนิสัยหุ้นและตัวนักลงทุนเอง
อย่าง ไรก็ดี DSM ใช้ออกได้ดั่งใจนึกนั้น ไม่ได้มาจากทฤษฎี หรือการคำนวณในExcel เป็นแน่แท้ ท่านต้องลงทุนจริงตามแนวทางนี้ และเก็บข้อมูลของตัวท่าน พอร์ตของท่าน วิธีการเทรดของท่านอย่างต่อเนื่อง และปรับใช้ให้เหมาะกับนิสัยของท่านเอง
DSM (17) – Q&A DSM จากใจถึงใจ
Q. สิ่งที่สำคัญที่สุดใน DSM คืออะไร
A. แนวคิดและใจ (วิธีการมาทีหลัง พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา)
แนว คิดที่สำคัญจริงๆก็คือ เราต้องการหากระแสเงินสดแฝงจากการซื้อขายหุ้นในพอร์ตของเราเอง เพื่อมาเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ต มูลค่าของพอร์ตจะเป็นอย่างไรยังไม่ใช่ประเด็นหลัก
ถ้าใจโลเลของชาว DSMers แบบลูกครึ่งจะแสดงออกมาเวลาที่หุ้นขึ้น ๆ ลง ๆ แล้ว เราคาดเดาตลาด(สังเกตว่า เดาถูกเราดีใจ เดาผิดเราเสียดาย อะไรแบบนี้ เมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้ ให้รีบฉุกคิดว่า ตอนนี้กำลังเดาอยู่นะ ผิดวัตถุประสงค์แล้ว) โดยเฉพาะเวลาที่หุ้นขึ้น เราอยากจะขาย ตรงจุดที่คิดว่า Peak 100% เหมือนตอนเก็งกำไร ซึ่งเราก็รู้ว่า ทำไม่เคยได้ ก็เลยอยากจะหาวิธีที่ไม่ต้องเดาตลาด จึงมาเลือกวิธีนี้ พอมาเลือกแล้ว จะเดากันอีกทำไม ถ้าอย่างนั้น ก็มาเล่นเก็งกำไรกันให้สนุกสนานเหมือนเดิม แล้วก็ร้องไห้ขายหมู ซื้องูกันต่อไปดีกว่าไหม
ดังนั้น DSMer พันธุ์แท้ ต้องไม่เดาตลาดและไม่สนมูลค่าพอร์ต ถึงราคาขายต้องขายตาม step ถึงราคาซื้อ ต้องซื้อตาม step ระยะยาวแล้วเห็นผลเอง มองให้เป็นการลงทุนระยะยาว ๆ
Q. ขายไปแล้วซื้อคืนไม่ได้ทำอย่างไรดี
A. ทำไมซื้อคืนไม่ได้รู้ไหม คำตอบคือหุ้นขึ้นไปแล้วไง หุ้นขึ้นไปแล้ว ถึงจุดชอร์ตแล้ว(ต้องมีช่วงห่างของจุดชอร์ตพอควรด้วย)ก็ต้องขายไปอีกทีละ step สมมติว่าซื้อคืนไม่ได้อีก หุ้นไปต่อ ขายอีกทีละ step ซื้อคืนไม่ได้อีก หุ้นขึ้นต่อ เห็นไหมว่า เราขายหุ้นไปในขณะที่หุ้นขึ้น
การที่เราขายหุ้น ไปในขณะที่หุ้นขึ้นแสดงว่า เราได้เงินสดกลับมามากกว่ามูลค่าหุ้นตอนที่ซื้อ ภาษาเก็งกำไร เขาเรียกว่า ขายได้กำไร(เพิ่มมูลค่าหุ้น ขายไป ได้เงินสดมากกว่าเดิมกลับมา มีแต่เรื่องดี) ไม่เห็นต้องสนใจตัวที่ยังซื้อคืนไม่ได้เลย
ทีนี้มาถึงจุดที่เรา เหลือหุ้นในมืออีกสัก 10-20% ก็แสดงว่าราคาสูงขึ้นมามากแล้ว(สมมติอาจจะสูงกว่าราคาซื้อสัก50ช่องก็แล้ว กัน)แล้วถูกไหมครับ ก็แก้ไขโดยการใช้ช่องว่าง นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นของกองหลัง ซึ่งอีกนานกว่าจะซื้อคืนได้ ไปซื้อหุ้นตัวอื่น(ซึ่งเราเล็งไว้แล้วว่าราคาถูกแล้ว ตรงนี้แนะนำด้วยความเห็นส่วนตัวว่าให้หาหุ้นที่เราจับตาราคาของมันอยู่ว่า กำลังลงสู่จุดoversold จะได้ผลดีมาก)
Q. ทำไมนำเงินตรงนี้ไปซื้อหุ้นตัวอื่น
A. ก็เพราะว่า หุ้นขึ้นลง โดยเฉพาะหุ้นพื้นฐานดี จะวิ่งรวดเดียวลงมา50 ช่องนั้นเกิดค่อนข้างนาน ระหว่างนั้น ถ้าเราไม่ทำอะไรกับเงินสดในพอร์ต ก็คือการเสียโอกาสหารายได้(มีหุ้นคือใช้สร้างรายได้ รายได้คือกระแสเงินสดแฝง) ดังนั้นจึงนำเงินส่วนนี้ เข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้
Q.ทำไมการนำเงินส่วนนี้เข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้จะไม่ทำให้กระแสเงินสดเกิดการไม่สมดุล
A.เพราะ ว่า ตอนที่เราขายหุ้นตัวแรกไปนั้น เราได้เงินสดมากกว่าตอนที่เราซื้อมันเข้ามา ดังนั้นการทำบัญชีว่า กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นมีมากกว่าเดิมหรือไม่ จะทำให้เรากันเงินออกมาซื้อหุ้นตัวอื่นได้ในปริมาณที่เราสบายใจว่า กระแสเงินสดจะเกิดการชอร์ตได้น้อยมากครับ
Q. ระบบบัญชีไม่ทำได้หรือเปล่า
A. ได้ครับ แต่เจ๊งแน่นอน ดังนั้นต้องทำบัญชีเสมอ และบัญชีเป็นส่วนหนึ่งในการลงทุนแนวทางนี้ซึ่งสำคัญมาก ๆ
Q. ทำไมต้องมีการแบ่งส่วนกระแสเงินสดแฝง ก่อนการขยายพอร์ต (25%ใช้สำรอง, 25%ใช้จ่าย, 50%ใช้ขยายพอร์ต)
A. ป้องกันกระแสเงินสดชอร์ต ทำสักระยะจะรู้ว่าเมื่อเราขยายงานมากๆ และเร็วเกินไป จะทำให้กระแสเงินสดไม่พอบ่อยเลย อีกอย่าง เราต้องใช้จ่ายเงินถึงต้องมีการดึงส่วน25%ใช้จ่ายออกมา
Q. ควรซื้อเพิ่ม เวลาไหน
A. นี่สิ จุดสำคัญมากที่สุดของการเพิ่มมูลค่าและปริมาณหุ้นในพอร์ต คุณเด่นศรีบอกว่า ให้ซื้อตัวที่หุ้นในมือเหลือน้อยที่สุด ก็คือหุ้นที่แข็งกว่าตลาดนั่นเอง ถ้าทำตามวิธีของพี่เด่นก็คือว่า หุ้นที่ขึ้นมาเยอะแล้ว มีโอกาสที่จะลงมาก ถ้าลงมาแล้ว เราจะมีกระแสเงินสดแฝงมากมายเลย
แต่ผมขอเลือกทำอีกแบบหนึ่งนะ
ผมจะ เลือกซื้อตัวที่เข้าสู่จุด oversold เป็นหลัก เพราะหุ้นจะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าได้มากกว่า ซึ่งการขยายงานเพิ่มปริมาณหุ้นของพอร์ต อาจจะช้ากว่า แต่มูลค่าของหุ้นจะลดลงน้อยกว่า และเพิ่มขึ้นเข้าสู่จุดคุ้มทุนเร็วกว่า จะได้สบายใจเร็วๆ
Q. ไม่ขายขาขึ้นทีละน้อยๆดีกว่า หรือขายดีกว่ากัน
A. อันนี้แล้วแต่ความถนัด สำหรับผม ผมว่าไม่ขายดีกว่า ถ้าผมขายทีละ1% ล่ะก็ ผมแบ่งพอร์ตออกมาส่วนหนึ่ง เล่นเก็งกำไรไปเลยเต็มๆดีกว่า มันกว่าด้วย แต่ต้องเก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกันด้วย
Q. ไม่มีเวลาดูหุ้นทำอย่างไรดี
A. เปิดตลาดทั้งเช้า-บ่ายดูหนึ่งรอบ ใกล้ปิดตลาดทั้งเช้า- บ่ายดูอีกหนึ่งรอบ (เป็น 4 รอบ) ขายได้เท่าไร ขายไป ซื้อได้เท่าไรซื้อมา ถ้าระหว่างวัน ราคาปิด และเปิดห่างกันพอควร คุณได้กระแสเงินสดแฝงพอสมควร ดังนั้นต้องเลือกหุ้นราคาปิดเปิดที่วิ่งมีความห่างพอสมควร
Q. ฉันอยากรู้ว่า ฉันเหมาะเป็น DSMers หรือเปล่า
A. ก่อนทดสอบต้องทำดังต่อไปนี้ก่อน
-อ่าน หนังสือพ่อรวยเล่มต่าง ๆ เช่น พ่อรวยสอนลูก, พ่อรวยสอนลงทุน, เกษียณเร็วเกษียณรวย, และใครเอาเงินของฉันไป แล้วดูว่าเห็นด้วยกับแนวคิดอิสรภาพทางการเงินหรือไม่
-อ่านกระทู้หลักๆใน คลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินเสียก่อน และทดสอบความเข้าใจของตัวคุณเอง กับคนที่สนใจวิธีนี้อย่างจริงจัง และทดลองปรับใช้ดู
ถ้าคุณทำมาได้ถึงตอน นี้ และยังอยากทำต่อ คุณก็เป็นDSMers ในแนวคิดมาครึ่งตัวแล้ว(เพราะอ่านหนังสือมาเป็นเล่ม อ่านกระทู้มาเป็นหน้ายังอยากทำได้ แสดงว่ามีใจให้กันจริงๆ )
วิธีทดสอบคือ
แบ่ง พอร์ตของคุณเป็นสองส่วนจะด้านละกี่เปอร์เซ็นต์ก็ได้ ตามใจจะกล้าเสี่ยง หรือจะเปิดสองพอร์ตก็ได้ แล้วใช้เงินนั้น เข้าซื้อหุ้นตัวเดียวกัน ด้านหนึ่งใช้ DSM เต็มตัว(ทั้งใจ วิธีการและระบบบัญชี) อีกด้านหนึ่งเก็งกำไรเต็มตัว เก็บข้อมูลทั้งหมด ทำอย่างต่ำ 1 ปี แล้วเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าและการเติบโตของพอร์ตระหว่างกัน
ถ้า หุ้นเป็นขาขึ้นพอร์ตเล่นเก็งกำไรควรจะได้มากกว่า แต่อย่าเพิ่งได้ใจ หุ้นมีรอบของมัน เดี๋ยวก็ต้องลง ตอนนั้น เรายังสามารถทำกำไรจากมันได้อยู่หรือไม่ และวิธีDSM จะอยู่กับหุ้นตัวนั้นตลอดเวลา หุ้นขึ้นหรือลง เราอยู่กับมันตลอด มันเหมือนการเติมน้ำลงไปในแก้วหลายแก้วที่มีก้นเดียวกันครับ บางครั้งแก้วนี้เราเติมมาก(หุ้นขึ้น)หน่อย แก้วนั้นเราเติมน้อย(หุ้นลง)หน่อย พอถึงเวลามันก็จะไหลลงไปที่ก้นเดียวกัน จนปริมาณน้ำในแต่ละแก้วค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นพร้อมๆกัน ขออย่างเดียวอย่าให้แก้วแตก(หุ้นเจ๊ง) แต่ถ้าเก็งกำไร คุณเลือกแก้วมาหลายใบ น้ำแก้วนี้คุณเติมมาก แก้วนี้คุณเติมน้อย ถ้าคุณเติมน้อยมากกว่าเติมมาก สุดท้ายคุณจะมีน้ำน้อยลง(เก็งกำไร ถ้าเก่งจริง คุณรวยที่สุดอยู่แล้ว นั่นคือคุณต้องเติมน้ำได้มากกว่าเดิมตลอดเวลา)
วิธีทดสอบนี้ ระหว่างทาง อุปนิสัยของคุณ การมองโลกของคุณ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของคุณ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเทรดของคุณเอง และในไม่ช้า คุณอาจจะค้นพบวิธีที่ทำให้ทั้งสองด้าน มารวมกันเป็นเนื้อเดียวได้ก็เป็นได้
DSM (18) – DSM ความเหมือนที่แตกต่าง
เปรียบ เทียบความเหมือนที่แตกต่างกับการลงทุนชนิดอื่นๆเช่น ลงทุนระยะยาว(VI=Value Investor), ลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร (VS=Value Speculator), ลงทุนวิธี DSM โดยเปรียบเทียบกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ระยะเวลาการลงทุน
การลงทุนระยะยาว…ถือหุ้นระยะยาว
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ถือหุ้นระยะสั้น
การลงทุนวิธี DSM…ถือหุ้นตลอดชีวิต
2. การเลือกหุ้น
การลงทุนระยะยาว…ดูพื้นฐานอย่างรอบคอบ
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ดูหุ้นที่กำลังนิยมในขณะนั้นๆ
การลงทุนวิธี DSM…เลือกหุ้นที่ชอบและอยู่ได้นานในตลาดหุ้น
3. เป้าหมาย
การลงทุนระยะยาว…กำไรและเงินปันผล
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…กำไร
การลงทุนวิธี DSM…รายได้จากกระแสเงินสดแฝงและเงินปันผล
4. เมื่อหุ้นเป็นขาลง
การลงทุนระยะยาว…เพิ่มเงินลงทุน เพื่อซื้อหุ้นเพิ่ม
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ถือเงินสด แล้วรอสภาวะตลาดขาขึ้น
การลงทุนวิธี DSM…เพิ่มหุ้น โดยไม่เพิ่มเงินลงทุน
5. เมื่อหุ้นเป็นขาขึ้น
การลงทุนระยะยาว…ถือยาว รอจังหวะทำกำไรเมื่อสภาวะตลาดเปลี่ยนไป
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ทำกำไรเป็นรอบๆ
การลงทุนวิธี DSM…เพิ่มหุ้นโดยอาศัยกระแสเงินสดแฝงและช่องว่าง
6. เมื่อเกษียณ (เลิกเข้ามาซื้อขายหุ้น)
การลงทุนระยะยาว…รับเงินปันผล
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ไม่มีรายได้เพราะไม่ได้ซื้อขายหุ้น
การลงทุนวิธี DSM…รับเงินปันผล
7. หากหุ้นมีมูลค่าเหลือ เท่ากับ 0
การลงทุนระยะยาว…ขายตอนปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยนไป
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ขายหนีเอาตัวรอดไปแล้วตามปัจจัยทางเทคนิค
การลงทุนวิธี DSM…แปลงร่างหุ้นเปลี่ยนไปเป็นตัวหุ้นตัวอื่นที่ดีกว่า
8. หุ้นที่ถือ
การลงทุนระยะยาว…ยึดติดกับหุ้นที่ได้เลือกสรรแล้ว
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ไม่ยึดติดกับหุ้นตัวใดๆ
การลงทุนวิธี DSM…ไม่ยึดติดกับหุ้นตัวใดๆ
9. ค่าคอมมิชชั่น
การลงทุนระยะยาว…มาร์เก็ตติ้ง ไม่ชอบเพราะไม่ค่อยซื้อขาย
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…มาร์เก็ตติ้ง ชอบตอนตลาดกระทิง โดยเฉพาะ Daytrade เพราะซื้อ 100% ขาย 100%
การ ลงทุนวิธี DSM…มาร์เก็ตติ้งชอบตอนตลาดหมี เพราะถือซื้อขายทีละ10% แต่มาร์เก็ตติ้งชอบเพราะมีปริมาณการซื้อขาย และแนวทางนี้ยังได้บุญเพราะทำให้มาร์เก็ตติ้งมีรายได้ถึงแม้ว่าเป็นตลาดหมี ซึ่งไม่มีปริมาณการซื้อขายก็ตาม
10. จิตใจ (ความหนักแน่น)
การลงทุนระยะยาว…จิตใจต้องหนักแน่นสุดๆ ราวกับหินผา
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ใจต้องเด็ด ขาดทุนคือขาดทุน ต้อง stop loss ต้องไวและเร็ว
การลงทุนวิธี DSM…จิตใจเยือกเย็น สุขุม รู้จักยืดหยุ่น ทำใจเป็นกลาง
11. วินัย (ในการลงทุน)
การลงทุนระยะยาว…ไม่หวั่นไหว กับความผันผวนของตลาดไม่ซื้อหรือขาย ถ้าไม่ใช่ราคาที่เลือกไว้แล้ว
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…อย่าปล่อยให้กำไรเป็นขาดทุน ต้อง stop loss เมื่อถึงจุดที่กำหนด
การลงทุนวิธี DSM…เมื่อถึงราคาที่วางแผนไว้ ต้องซื้อหรือขาย อย่างเคร่งครัด อย่าโลภ อย่าเดาตลาด
12. เวลาที่ใช้ดูแลหุ้น
การลงทุนระยะยาว…เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการคัดสรรหุ้น แต่เมื่อซื้อแล้ว ไปเที่ยวรอบโลก แล้วค่อยกลับมาขายก็ยังได้
การ ลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ตอนตลาดกระทิง ถ้าปวดปัสสาวะ ต้องปัสสาวะใส่ขวดไว้ก่อน ห้ามกระพริบตาบ่อยๆ แต่ถ้าตอนหุ้นเป็นขาลง (ตลาดหมี) ต้องไปไกล ๆ ที่ไหนก็ได้ ห้ามนั่งหน้าจอเด็ดขาดไม่อย่างนั้นเสียเงินแน่นอน
การลงทุนวิธี DSM … นั่งเฝ้าหน้าจอดูหุ้นเป็นระยะ ด้วยความสม่ำเสมอ แล้วมีเวลานั่งอ่านหนังสือ ดูหนัง เล่นกับสุนัขได้
13. เวลานอน
การลงทุนระยะยาว … นอนเมื่อไรก็ได้และไม่ต้องกังวลใจเรื่องเวลาที่จะต้องตื่น หน้าตาสวย หน้าอิ่มเสมอ
การ ลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร … นอนไม่เป็นเวลา นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เพราะกังวลใจเรื่อง set วันรุ่งขึ้น ยิ่งรู้ว่าดาวตกหนัก ทำให้ตาลึกโบ๋ อารมณ์ไม่ดีได้
การลงทุนวิธี DSM … มีวินัยในการนอนและการตื่นเป็นเวลา ตอนตลาดเปิดจะได้มานั่งขายทีละ 2 ช่อง ทีละ 10% ได้ทันตอนตลาดเป็นลบ บางวันเป็น sideway ขายแล้ว นอนต่อได้เลย ท้ายตลาดค่อยตื่นมาซื้อคืน ถ้าซื้อคืนได้ เรียกได้ว่า นอนไปยิ้มไป แต่ถ้ายังเปรียบเทียบได้ไม่ถึงใจ พบกับตอนต่อไปที่ เปรียบเทียบ VI กับ DSM แบบถึงลูกถึงหุ้น
DSM (19) – เปรียบเทียบ VI กับ DSM แบบถึงลูกถึงหุ้น
บทนี้ได้เน้นการเปรียบเทียบ VI กับ DSM เจาะลึกถึงก้นขั้วหัวใจ แบบถึงลูกถึงหุ้นโดยเปรียบเทียบเป็นข้อๆไป ดังต่อไปนี้
1.การมองและวิธีคิด
VI… "ไม่เล่นหุ้น" ข่าวดีปล่อย ข่าวร้ายซื้อ เป็นการสวนกระแสแบบพิจารณารอบคอบ เพราะเข้าใจอย่างดีว่าหุ้นตก แค่เพียงราคาในตลาดตกชั่วคราว แต่ถ้าบริษัทนั้นๆ มีความสามารถในการแข่งขันเชิงยั่งยืน (ส่วนต่างกำไรดีและการหมุนเวียนสินค้าคงคลังมีสภาพคล่อง) หมายถึงเราได้ของดีราคาถูก เราหาประโยชน์จากตลาด ไม่ยอมให้อารมณ์ตลาดมาชักนำ ต่างจากคนทั่วไป ที่ดูราคาเฉพาะกราฟหุ้น เพราะราคาหุ้นที่ผันผวนส่วนใหญ่เกิดจากจินตนาการในทางผิดๆ โดยเฉพาะเน้นไปทางร้าย ไม่ใช่ปัญหาธุรกิจ
DSM… มองหุ้นที่ถือและครอบครองเสมือนเป็นทรัพย์สิน ซึ่งต้องการสร้างรายได้จากทรัพย์สินนั้นๆ โดยได้รับกระแสเงินสดแฝงเปรียบเสมือนเก็บค่าเช่าจากทรัพย์สินชิ้นนั้นๆ ต้องเริ่มจากความเข้าใจในการลงทุน จะทำให้เกิดความคิดในการลงทุนที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้การลงทุนในหุ้นตามแนวทางนี้ และก็จะได้รับผลของการลงทุนอย่างคุ้มค่า อย่างต่อเนื่องและระยะยาวตลอดไปเรื่อย ทำให้เห็นว่าหุ้นตกก็ยิ้มได้ และหุ้นขึ้นก็ยิ่งยิ้มได้ ดังนั้นยิ้มได้ทั้งสองทางไม่ว่าจะขึ้นหรือจะลง
2.ขาขึ้น
VI…ปล่อยให้ port โต ระยะยาว เก็บไปจนแก่ มีความสุขที่ทำได้
DSM…ปล่อยให้ port โต ขายตามแผนที่วางไว้ได้รับกระแสเงินสดแฝงมากขึ้น มีความสุขเช่นเดียวกัน
3. ขาลง
VI…เก็บให้เยอะที่สุด โดยเฉพาะเมื่อราคาตก รีบเข้าไปเก็บเพิ่มหุ้น เป็นโอกาสวิเศษ ที่จะรีบวิ่งไล่เก็บสะสมของดีไว้ใน port
DSM…ขาย short ทีละ step แล้วจับคู่ซื้อคืน ซื้อราคาถูกกว่าที่ขายเท่ากับได้กระแสเงินสดแฝง (Phantom cash flow) นำกลับมาซื้อสะสมจำนวนหุ้นเพิ่ม การไม่เอาเงินลงทุนมาใส่เพิ่ม แต่อาศัยเงินจากกระแสเงินสดแฝงเท่านั้น ทำให้พอร์ตโตขึ้นเรื่อยๆ แบบสะสมใจเย็น
4. การวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐาน
VI…
1.หุ้น เด่น เลือกพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เช่น P/E, P/B ต่ำ หนี้น้อย เงินสดมาก คงคลังลดลง กำไรดี ปันผลพอควร และเติบโตระยะยาว และถ้า Market Cap สูง เป็นตัวเด่นในอุตสาหกรรมนั้นๆ ถ้าผูกขาดได้ยิ่งดี
2. หุ้นที่ดูด้อย เลือกหุ้นตัวที่มีปัญหาปัจจุบัน แต่ยังมีสินทรัพย์และเงินสดเหลือเฟือ (พิจารณาจากงบการเงินและการหาข้อมูลรอบข้าง) ซึ่งหมายถึงจะได้หุ้นมีคุณภาพแต่ราคาถูก คนอื่นมองข้าม
3. ต้องเลี่ยงหุ้นที่ร้อนแรงและสินค้าเล่นราคากันหรือมีคู่แข่งมากเกินไปในตลาดรวมทั้งสินค้าฉาบฉวยอายุสั้น
DSM…แม้ ปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช่หัวใจของการสร้างกระแสเงินสดแฝง แต่ก็ต้องมองหาเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และเติบโตระยะยาว อย่างเช่น ใน SET 50 หรือ SET 100
เพราะพอหุ้นตก สุดท้ายยังไงก็ต้องดีดกลับมา และเราอยากถือยาวโดยไม่ขายทิ้งจึงควรพิจารณาหุ้นที่เด่นและแกร่งในวงการ (แต่ระวังพอควรพื้นฐานดี แต่หุ้นนิ่งเกินไปไม่สวิงเลย ก็จะทำกระแสเงินสดแฝงได้ช้ามาก) การวิเคราะห์งบการเงิน ไม่ได้เป็นประโยชน์เท่าใดนัก เพราะความเป็นจริง งบการเงินถูกตบแต่งหลอกตาชาวบ้านได้ง่าย
5. การวิเคราะห์ทางเทคนิค
VI…ไม่จำเป็น แต่ต้องการหาความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของกิจการและสินค้าของบริษัทนั้นๆ สำคัญกว่า
DSM…ไม่จำเป็น เพราะเป็นการเสียเวลา ที่เอาอดีตมาดูอนาคต
6. จุดเด่นของแต่ละวิธี
VI…ดู หุ้น ซื้อเหมือนหวังจะครอบครองกิจการ ดูอุตสาหกรรมและสินค้า รวมทั้งคู่แข่งรอบข้างด้วย และเป็นการเก็บ "ห่านทองคำ" ให้ "ออกไข่" ให้กินระยะยาว โดยเฉพาะมีเงินปันผล
สุดท้ายก็คืออิสรภาพทางการเงิน
DSM…อาจ มีหุ้นมากตัวได้ แต่การสวิงของหุ้นต้องสูง เพราะจะได้กระแสเงินสดแฝงมาก จาก step ของหุ้นที่ราคาตก ถ้ามีเงินปันผลก็ยิ่งดี และต้องมีการสะสมหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยจากกระแสเงินสดแฝงที่ได้ เป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ด้วย สุดท้ายก็คืออิสรภาพทางการเงิน
7. กระแสตลาดและความเป็นไปของสังคม กับการตัดสินใจลงทุน ซื้อขาย
VI…อย่าตื่นข่าวลือและระวังหุ้นที่ร้อนแรงเพราะปั่น แต่ก็ต้องอ่านหาความรู้รอบตัวมากพอควร
คอยตามเก็บหุ้นที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการ เมื่อราคาตก (ชั่วคราว) ไปตามตลาด
แต่ คุณค่าของหุ้นตัวนั้นๆ ยังเยี่ยมอยู่ รวมทั้งกวาดสายตามองหาหุ้นอื่นที่คนอื่นไม่สนใจ และวิเคราะห์กิจการที่ยังไปได้ไม่ค่อยดี แต่ยังเป็น "ของดี" ด้วย ระวังเรื่องอัตราดอกเบี้ย ถ้าเพิ่มมูลค่าธุรกิจจะลดลงเสมอและจะทำให้หุ้นราคาตก
DSM…ไม่ต้องใช้ความรู้รอบตัวของเหตุการณ์มาก อาจทำให้ไขว้เขวด้วยซ้ำ
เพราะอาจฉุดอารมณ์ให้ร้อนรนหรือซบเซาไปตามตลาด โดยให้ยึดทำตามแผนการอย่างสม่ำเสมอ
และการวิเคราะห์ทางการเงิน ความเชื่อถือไม่ค่อยมีประโยชน์ได้ได้มากนัก
และ พวกข่าวดีข่าวลับต่างๆ ทั้งหลาย นักลงทุนวงใน มักนำไปหาประโยชน์ก่อนหน้านี้แล้ว แต่การมุ่งใช้วินัยในการตามเก็บกระแสเงินสดแฝง และค้นหาอิสรภาพทางการเงิน แบบวิธีพอเพียง ทำให้สุขุม เยือกเย็น และเป็นสุขกว่า โดยเฉพาะช่วงหุ้นขาลงที่ผู้อื่นมักเป็นทุกข์
ยิ่งทำให้นักลงทุนโดยวิธีการนี้มีความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
8. การให้เวลา
VI…ไม่ต้องนั่งเฝ้ามากนัก แต่ก็ต้องดูแลเพื่อตัดสินใจ โดยเฉพาะสภาวะตลาดไม่น่าไว้วางใจ
ตลาดหมี มีโอกาสซื้อ ตลาดกระทิงสร้างผลกำไร
DSM…ต้อง คอยนั่งเฝ้าดูการตกของหุ้น...อย่างสบายใจ เพื่อจับคู่ “ขายเพื่อซื้อ” หรือ “ขายเพื่อสร้างโอกาสซื้อ” แต่ควรไปตามวิถีการดำเนินชีวิตปกติแต่ละคน
9. การใช้ชีวิต
VI & DSM…
เรียบ ง่าย สบายๆ แบบพระราชดำรัส อยู่แบบพอเพียง ไม่ยึดติด "รวยเพราะพอเพียง" และเหลือเฟือด้วยซ้ำ แบ่งรายได้ส่วนเกินไปทำบุญหรือช่วยเหลือสังคมบ้าง นำมาหาความสุขให้ตนเองบ้างพอควร เพราะเงินเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชี
วันนี้ พวกเราใช้ DSM กับหุ้นโดยเปรียบเหมือนว่ายังต้องการดูแลกิจการด้วยตัวเองอยู่ (ด้าน S ใน Rich Dad) จนวันนึ่งได้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ คงไม่ต้องมาคอยดูแลกิจการธุรกิจให้เช่าหุ้นด้วยตัวเอง ตอนนั้นผมก็คงเป็นนักลงทุนแบบ VI ได้เต็มตัว (B & I ใน Rich Dad)
DSM (20) – เมื่อหุ้นเป็นเทวดาตกสวรรค์จะทำอย่างไร
การ เลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธีDSM ควรที่เลือกหุ้นออกมาจาก SET50Index หรือ SET100Index ซึ่งเป็นตัวที่เป็น BIG CAPS และจะเสนอรายชื่อหุ้นที่เป็นBIG CAPS 60 ตัว มีมูลค่าตลาดหุ้นรวมกัน 81% ถ้าหุ้นพวกนี้ขึ้น SET ก็ขึ้น ถ้าหุ้นพวกนี้ตก SET ก็ลง
รายชื่อหุ้นมีดังต่อไปนี้
PTT, SCC, ADVANC, PTTEP, BBL, TOP, KBANK, SHIN, KTB, THAI, SCB, SCCC, LH, AOT, ATC, TOC, RATCH, SCIB, TMB, BANPU, ITD, EGCOMP, NPC, BAY, SSI, BEC, TRUE, PSL, BOA, TTA, CP7-11, RCL, TPIPL, DELTA, UCOM, TUF, CPF,BECL, SYNTEC, NFS, EWC, TPC, KEST, CPN, UBC, HANA, PICNI, BGH, ITV, BIGC, KK, MCOT, SATTEL, ASP, TT&T, CK, MAKRO, TISCO, TNX, AA ทั้งหมด 60 ตัว
แล้วถ้าเราไปเลือกหุ้นผิดตัวผิดจังหวะอย่างเช่น N-PARK จะทำอย่างไรดี
ถ้า ย้อนกลับไปดูเมื่อประมาณ ต.ค. 2546 ราคาสูงสุด 9.60 บาท แล้ววันที่ 17 พ.ย. 2547 ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 0.75 บาท ภายในระยะเวลาปีเศษ และราคาปัจจุบันวันที่ 25 เม.ย. 2548 ราคาปิดอยู่ที่ 0.93 บาท แล้วจะทำอย่างไร หุ้นตัวนี้จะเรียกว่า เทวดาตกสวรรค์
ดังนี้จึงมีหลักยึดง่าย ๆ คือ
1. กฎการออก
2. กฎการควบคุมหุ้น(ตัวปัญหา)ในมือ
3. กฎการเข้าซื้อหุ้น
เพราะ มันจะทำให้นักลงทุนต้องคิดและวางแผนไว้ล่วงหน้าเลยว่า ....ถ้าหุ้นตัวนั้น มันล้มหายไปจากตลาดหุ้น เราจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ควบคุมความเสี่ยงได้แค่ไหน
จึงได้มีการเน้นย้ำนักลงทุนทุกท่านว่า ...ให้ซื้อหุ้นที่ เหลือในมือน้อย ...
เพราะ หากหุ้นตัวใด ขายแล้วซื้อคืนได้ตลอด นั่นหมายความว่า หุ้นตัวนั้นราคาค่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ ซึ่งหากไม่กำหนดราคาสุดท้ายที่จะออกจากหุ้นตัวนั้น ก็ควรที่จะไม่เพิ่มจำนวนหุ้นนั้น
และมีคำกล่าวดังต่อไปนี้ฝากนักลงทุนทุกท่านว่า
“หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปสูงเท่าเดิม สร้างผลตอบแทนมากกว่า หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปต่ำเท่าเดิม”
“หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปสูงเท่าเดิม สร้างผลตอบแทนมากกว่า หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปต่ำเท่าเดิม”
“หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปสูงเท่าเดิม สร้างผลตอบแทนมากกว่า หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปต่ำเท่าเดิม”
ท่องสัก 3 รอบ แล้วจะค้นพบและความจริงบางอย่าง
แล้ว ถ้าลงทุนหุ้นบางตัวที่มีการเคลื่อนไหวมาก แต่เป็นกิจการที่ไม่ดีแล้วโดนขึ้นเครื่องหมาย SP จะทำอย่างไรดีก่อนอื่นต้องตอบคำถามเหล่านี้ก่อนว่า (หุ้น DTM)
คำถาม เราต้องการอยู่กับหุ้นตัวนั้นอยู่หรือเปล่า
1. ถ้าตอบว่า ยังต้องการอยู่กับหุ้นตัวนั้นต่อไปหลัง ปลดเครื่องหมาย SP ให้ทำตามแผนที่วางไว้
2. ถ้าตอบว่า ไม่ต้องการอยู่กับมันแล้ว ต้องลองตอบตัวเองก่อนว่า ไม่ได้ต้องการอยากอยู่กับหุ้นตัวนั้น ก็ไม่ต้องฝืนใจอยู่กับหุ้นตัวนั้น...เหมือนว่า ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่า ยังไงก็ต้องเลิกกับเพื่อนชายไม่หล่อคนนี้ แล้วทำไมไม่รีบเลิกซะตั้งแต่วินาทีนี้เลย แล้วเอาเวลาที่เหลือ ไปอยู่กับเพื่อนชายที่หล่อกว่านี้ ดีกว่านี้ และมั่นคงกว่านี้... (เปรียบเทียบกับหนุ่มหล่อกับไม่หล่อ)
แต่ถ้าเรารักชายหนุ่มคนนี้ก็ ต้องอดทน เค้าจะนิสัยจะเลวร้ายก็ต้องทน แล้วนอกจากต้องอดทนแล้ว ต้องพยายามทำให้เค้ากลายเป็นคนดีด้วย แล้วจะไม่เสียเวลาที่ทน...แต่ถ้าไม่รักเค้า ก็อย่าไปเสียเวลากับเค้า เอาเวลาไปใช้กับสิ่งที่เราหวังเราต้องการจะคุ้มค่าและดีกว่า สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับหุ้นได้ทุกตัว
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:07:13 น.
DSM (21) – DSM บุญหรือบาป
มี คำกล่าวว่า “คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น” หรือ “ตลาดหุ้นคืนบ่อนพนันที่ถูกต้องตามกฎหมาย” บุคคลภายในมองตลาดหุ้นเปรียบเสมือนบ่อนการพนัน ดังนั้นมีหลายคนหลายท่านบอกว่า การเล่นหุ้นมีคนได้มีคนที่เสียเงิน ดังนั้นน่าจะเป็นบาปกรรม เพราะคนที่ได้เงินบาปมีความโลภต้องการได้เพิ่มอีก ส่วนคนที่เสียเงินก็เสียใจ เศร้าใจ และอยากจะเอาคืนอีก บางคนหาเงินด้วยวิธีสุจริต หรือต้องกู้หนี้ยืมสินเพิ่มมาเล่นหุ้นเพียงเพื่อต้องการเองเงินคืนและคาด หวังว่าจะได้กำไรอีกด้วย เรื่องอย่างนี้ก็ย่อมเป็นธรรมดาสำหรับบุคคลที่จะคิดอย่างนี้ เพราะในตลาดหุ้นมีนักเก็งกำไรหรือนักพนันจำนวนมาก เหมือนคำกล่าวที่ว่า
การพนันไม่เคยทำให้ใครได้ดี
การพนันเป็นอุบายไปสู่ความยากจนอย่างแท้จริง
เมื่อชนะการพนัน ก็ลิงโลดใจ ใช้เงินอย่างไร้คุณค่า ขาดความยั้งคิด
เมื่อเสียพนัน ก็หม่นหมอง ร่างกายและจิตใจหดหู่ เกิดความแค้นที่จะเอาชนะ
ยิ่งตั้งใจจะเอาชนะ ก็ยิ่งติดการพนันลึกจนยากจะถอนตัว
แต่ ถ้าเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นด้วยวิธี DSMการลงทุนในหุ้นเพื่อสร้างรายได้จากทรัพย์สิน (หุ้น) เพื่อรับกระแสเงินสดแฝงกับเงินปันผล แล้ววิธีนี้ไม่เป็นบาปหรือนั้นเป็นคำถามที่ตามมา เราชาว DSMers มาวิเคราะห์กันซิว่าเป็นบาปหรือเปล่า หรือว่าได้บุญ ดังต่อไปนี้
1. ตอนขายหุ้นเราชาว DSMers ขายที่ Bid ทันทีโดยเฉพาะหุ้นกองหลังจะขายที่จุด Low สุดเสมอของวันของรอบเสมอ นั้นย่อมแสดงว่า คนที่ต้องการซื้อหุ้นและได้ตั้งรับซื้อหุ้น ก็ย่อมได้หุ้นในราคาที่ถูกกว่านักเก็งกำไรท่านอื่น ๆ หมายความว่ามีคนต้องการซื้อหุ้นให้ได้ราคาถูกเราชาว DSMers ยินดีให้ขายหุ้นราคาถูกกว่าให้ด้วยความเต็มใจ ดังนั้นได้บุญเพราะทำให้ผู้อื่นมีความสุขได้รับสิ่งที่เค้าต้องการคือหุ้น ราคาถูกที่สุด
2. ตอนซื้อหุ้นเราชาว DSMers ซื้อที่ Offer ทันที และจะซื้อที่ราคาจุด High สุดของวันของรอบเสมอ นั้นย่อมแสดงว่า คนที่ต้องการขายหุ้นและได้ตั้งขายหุ้น ก็ย่อมได้ขายหุ้นในราคาที่สูง ว่านักเก็งกำไรท่านอื่นๆ หมายความว่ามีคนต้องการขายหุ้นให้ได้ราคาสูงเราชาว DSMers ยินดีที่ซื้อหุ้นราคาที่สูงกว่าด้วยความเต็มใจ ดังนั้นได้บุญเพราะทำให้ผู้อื่นมีความสุขที่ได้รับสิ่งที่เค้าต้องการคือได้ ขายหุ้นราคาสูงที่สุด
จากการวิเคราะห์ทั้งตอนขายและซื้อหุ้นของชาว DSMers ได้รับผลบุญเพราะทำให้ผู้อื่นได้รับสิ่งที่เค้าต้องการมากที่สุดของนักเก็ง กำไร มันเลยส่งผลดีต่อชาว DSMers ทุกท่าน ในการลงทุนด้วยความสุข มีรอยยิ้มไม่ว่าหุ้นจะตกหรือว่าหุ้นจะขึ้น เพราะคงจากอานิสงค์ของการลงทุนวิธี DSM นั้นเองทำให้สบายอกสบายใจในการลงทุนหุ้น เราชาว DSMers ต้องช่วยกันเผยแผ่วิธีการลงทุนแบบนี้ออกไปมาก ๆ เพื่อคนอื่นที่ลงทุนด้วยวิธีนี้จะได้รับอานิสงค์ผลบุญนี้ ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ ด้วย
อันนี้เป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่ไม่ลับ คือ การขายจุด Low สุด ซื้อ High สุด หมายถึงว่าขายจุดlow สุดรอบนี้แต่เป็นราคาที่สุดกว่าอีกจุดที่จะซื้อในอนาคต ส่วนซื้อhigh สุด แต่เป็นราคาต่ำกว่าจุดที่เคยขายมาก่อนแล้ว นั้นเอง
DSM (22) – 10 คำถามที่ดี ย่อมได้คำตอบที่ดี
1.ทำอย่างไรจึงจะซื้อหุ้นคืนได้ทั้งหมด
ตอบ. ด้วยมิติของเวลาเป็นInfinity ไม่ต้องกลัวที่จะซื้อคืนไม่ได้ สามารถซื้อคืนได้เสมอและรอจนกว่าราคาจะต่ำกว่าที่ขาย ถ้าราคาไม่ขึ้นไม่ลงมาอาจรอการแตกพาร์ แล้วค่อยซื้อค่อย ขอให้ซื้อต่ำกว่าที่ขายเป็นใช้ได้
2. เมื่อซื้อคืนได้หมดแล้ว และหุ้นเปลี่ยนเป็นขาขึ้น จะทำอย่างไรกับหุ้นในมือ
ตอบ. ให้เอากระแสเงินสดแฝงเข้าซื้อเพิ่มหุ้น(หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน) แล้วก็ปล่อยเล่นเป็นกองกลาง และกองหน้าเล่นขาขึ้นตามลำดับ โดยการขึ้นของหุ้นจะมีหุ้นตกเรียกว่าขาลงในขาขึ้น แสดงว่ามีจังหวะทำเงินตลอดเวลาอยู่ที่ว่าเกณฑ์ที่ท่านตั้งไว้เป็นอะไร
3. การวัดผลของการดำเนินงาน (พอร์ตหุ้น) ใช้อะไรเป็นตัววัดบ้าง
ตอบ. ค้นหาคำตอบได้ที่DSM (26) - หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว
4. หน้าที่ของหุ้นในพอร์ต คืออะไร
ตอบ. สร้างรายได้กระแสเงินสดแฝงและเพิ่มหุ้นขึ้นเรื่อยๆเหมือนการออกลูกออกหลานของหุ้น
5. หน้าที่ของกองหลัง คืออะไร
ตอบ. ทำให้รู้ถึงจุดต่ำสุด และสิ่งที่สำคัญคือกองหลังนี้อย่ามองว่ามันเป็นหุ้นที่ปล่อยคุมพื้นที่ แต่มันเหมือน....เงินทุนสำรองสำหรับขยายงานในภาวะฉุกเฉินรวมทั้งเป็นแหล่ง เงินสำรองสำหรับรองรับความผิดพลาดจากการดำเนินงานได้ด้วย
6.หน้าที่ของกองกลางคืออะไร
ตอบ. ใช้ตอนที่ตลาด side way และไม่ทำให้เราเสียหุ้นในมือเร็วและมากเกินไป
7. หน้าที่ของกองหน้า คืออะไร
ตอบ. ใช้ตอนตลาดขาขึ้น ไว้บุกตะลุยขายในราคาที่สูง(โดยกำหนดราคาสูงกว่ากองหลังตัวบน ขึ้นไปอีก 15 ช่อง)
8. หน้าที่ของกระแสเงินสดแฝง คืออะไร
ตอบ. เพิ่มหุ้น ลดทุน สร้างรายได้ เป็นเงินสำรอง
9. หน้าที่ของเงินสำรองหนี้ 25 % คืออะไร
ตอบ. ค้นหาคำตอบได้ที่ DSM (24) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร
10. หน้าที่ของเงินลงทุนเพิ่ม (อีก 75% ที่เหลือของกระแสเงินสดแฝง) ใช้งานอย่างไร
ตอบ. ใช้เพิ่มการลงทุน ซื้อหุ้นตัวที่เหลือน้อยหรือขยายการลงทุน ซื้อหุ้นตัวที่อยากได้เพิ่มเติม
โดยที่ส่วน75% นี้ มาจากการรวมกัน 2 ส่วนของ เงินลงทุนเพิ่ม (50%) + ค่าใช้จ่ายค่าบริหารงาน (25%) (ถ้ามี)
DSM (23) – DSM รับประกันเงินต้นคืน100%
นัก ลงทุนทุกท่าน เคยได้ยินการรับประกันในแบบต่าง ๆ กันมาแล้ว อย่างพวกอสังหาริมทรัพย์ มีการประกันอัคคีภัย มีประกันแผ่นดินไหว หรือ พวกขนส่งต่าง ๆ ก็มีการประกันภัยสินค้าและอุบัติหรือ เมื่อเราไปรับประทานอาหารภัตตาคารที่มีชื่อเสียง ไม่พอใจในรสชาติของอาหารก็ยังมีประกันความพอใจ หรือไปซื้อสินค้าพวกเครื่องไฟฟ้า เสื้อผ้า ก็ยังมีการรับประกันความพอใจ แต่ทำไม นักลงทุนในหุ้นถึงไม่มีใครรับประกันคืนเงินต้น ทั้ง ๆ ที่มีแต่โบรกเกอร์ชื่อดังต่าง ๆ ออกบทวิเคราะห์ต่าง ๆ มากมายแล้ว ราคาหุ้นไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ให้ไว้กับนักลงทุนที่เป็นลูกค้าของโบรก นั้น ๆ ดังนั้นนักลงทุนหุ้นทุกท่านไม่มีโบรกไหนเลยที่จะรับประกันคืนเงินต้น แล้วอย่างนี้จะทำอย่างไรดี
ถ้าอย่างนี้ไม่มีโบรกไหนกล้ารับประกัน คืนเงิน แล้วเราซึ่งเป็นนักลงทุนเองทำไม ไม่รับประกันคืนเงินให้กันตัวของนักลงทุนเสียเอง ซึ่งจริง ๆ แล้วนักลงทุนผู้ชาญฉลาดจะรับประกันคืนเงินให้กับตัวเองเสมอ แต่ถ้านักลงทุนบางท่านไม่สามารถรับประกันคืนเงินให้กันตนเองได้ อย่างนี้ต้องเรียกว่าเป็นนักพนัน ไม่ใช่นักลงทุน แต่จริง ๆแล้วในโลกแห่งการลงทุน มีนักพนันจำนวนมากที่คิดว่าตนเองเป็นนักลงทุน แล้วอย่างนี้เราซึ่งเป็นนักลงทุนจะทำอย่างไรถึงจะรับประกันเงินให้กันตัวเอง ได้ และต้องการเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาดจะทำอย่างไร
แต่มีการลงทุนหุ้น วิธี DSM สามารถรับประกันคืนเงินต้นให้กับตัวนักลงทุนเอง และที่สำคัญรับประกันคืนเงินต้นถึง 100% ถึงแม้ว่าราคาหุ้นจะไม่สูงกว่าตอนที่เริ่มซื้อหุ้นตอนเริ่มแรกก็ตามที ดังนั้นการเล่นหุ้นด้วยวิธีDSM เป็นการสร้างรายได้ ให้ก่อเกิดกระแสเงินสดแฝง จากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น เมื่อได้กระแสเงินสดแฝงมา แบ่งเป็นตามสัดส่วนของเงิน และนำเอา25% เงินสำรองหนี้มีการดึงเงินต้นออกมาจากเงินต้นทุนที่เริ่มลงลงทุน จนครบตามจำนวนเงินเริ่มต้นทั้งหมดอย่างนี้ก็เรียกว่าได้ เป็นการรับประกันคืนเงินต้นถึง100% เลยที่เดียว
สรุปว่าการลงทุนหุ้น วิธีDSM เป็นการประกันคืนเงินต้น 100% และตัวนักลงทุนเองยังได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน (หุ้น) นั้น ๆ อยู่เหมือนเดิมแล้วยังได้ทรัพย์สิน (หุ้น) เพิ่มขึ้นมาอีกจำนวนมากเมื่อเทียบกับตอนเริ่มต้นของลงทุน ซึ่งเมื่อเปรียบวิธีการลงทุนหุ้นแบบอื่น ๆ ซึ่งไม่มีใครกล้ารับประกันคืนเงินต้นเลย สักบาท เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วทำไม ไม่เริ่มศึกษา แนวคิดการลงทุนวิธี DSM ตั้งแต่ตอนนี้ และยังทำให้เราได้เป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาด (Sophisticated Investor) อีกด้วยเช่นกัน
ที่กล้าบอกว่าเมื่อได้เงินต้นคืน 100% แล้วยังได้ทรัพย์สินเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก วิธีDSM ดึงเงิน 25% ซึ่งเป็นเงินสำรองหนี้ออกมาจากกระแสเงินสดแฝง สามารถดึงได้จนครบ 100% ซึ่งนั่นก็คือเป็นการรับประกันหุ้นของเราเอง 100% ด้วย เมื่อวันใด ที่เราได้เงินต้นครบ วันนั้นจะเป็นวันที่เรามีเงินในพอร์ตเป็น 4 เท่า จากการลงเงินทุนครั้งแรก เพราะว่า 3 เท่าจากกระแสเงินสดแฝง อีก 1 เท่าจากจำนวนเงินที่เริ่มต้น และเราได้รับเงินต้นคืนมาหมดแล้วอีกเช่นกัน และติดตาม DSM (24) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร ในตอนต่อไป
DSM (24) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร
กระแส เงินสดแฝง (Phantom cash flow) คือการลดค่าของทรัพย์สิน (หุ้น) ที่เราถือครอง และได้ กระแสเงินสดออกมาจากทรัพย์สิน (หุ้น) โดยที่ยังถือครองทรัพย์สินนั้นอยู่ เหมือนคำกล่าวว่า “กำไรเมื่อซื้อ ไม่ใช่กำไรเมื่อขาย” เพราะการรอให้ราคาหุ้นสูงขึ้นถือว่าช้ามากและเสี่ยงมาก
ถ้าเปรียบเทียบได้กับเรามีอสังหาริมทรัพย์(หุ้น)ให้เช่า แล้วเก็บค่าเช่าทุกเดือน(กระแสเงินสดแฝงเก็บค่าเช่าทุกวัน) โดยที่เรายังเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์(หุ้น)นั้นอยู่ จะเห็นได้ว่า อัตราความเร็วของหุ้นที่ให้เช่าสามารถเก็บค่าเช่าทุกวันย่อมได้เร็วกว่า อสังหาริมทรัพย์ที่เก็บได้ทุกเดือน ดังนั้นหุ้นให้ผลตอบแทนที่สูงมากว่าอสังหาริมทรัพย์ แต่อย่างไรเราก็ไม่สามารถที่จะมีแต่หุ้นได้อย่างเดียวแล้วจะทำอย่างไรดี ถ้าเราอยากได้อสังหาริมทรัพย์ อยากมีธุรกิจต่างๆ เพื่อจะได้สร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง และสิ่งของมีค่าอื่นที่เป็นทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดแฝงได้ แต่ก็มีค่าทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ดังต่อไปนี้
หลังจากได้กระแสเงินสดแฝงแล้วเอาไปทำอะไรดี แบ่งอย่างไรดี
แบ่ง ได้ เป็น % ตามสัดส่วนดังนี้
1. 50% นำไปลงทุนซื้อหุ้นตัวเดิมหรือหุ้นตัวใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มกระแสเงินสดแฝง
2. 25% นำไปเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนตัว แต่ละวัน แต่ละเดือน ถ้าได้มากพอหรือว่ามากกว่าเงินประจำเดือน ก็สามารถออกจากการทำงานประจำได้ แล้วออกมาทำธุรกิจให้เช่าหุ้น อย่างเต็มตัวได้เลย
3. 25% นำไปเป็นเงินสำรองหนี้ ส่วนนี้เรียกว่า สำคัญมาก ถึงมากที่สุดได้เลย เพราะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาล อย่างไม่มีขีดจำกัดใด ๆ จากเงินส่วนนี้ แบ่งเป็นประโยชน์ตามความสำคัญความจำเป็นดังนี้
3.1 ดึงเงินต้นที่ลงทุนออกจากพอร์ตหุ้น ถ้าได้ครบตามจำนวนเงินเริ่มต้นที่ลงทุน หมายความว่า พอร์ตหุ้นทั้งพอร์ตเป็นของฟรีทั้งหมด เน้นว่าของฟรีทั้งหมดหลังจากเอาเงินต้นออกหมดแล้ว
3.2 นำไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เช่น คอนโดให้เช่า บ้านให้เช่า อาคารพาณิชย์ให้เช่า หอพักให้เช่า เป็นต้น เพื่อสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง
3.3 นำไปลงทุนสร้างธุรกิจ เพื่อสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง
3.4 นำไปลงทุนในตราสารหนี้ เช่น ตั๋วคงคลัง พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เป็นต้น
3.5 นำไปลงทุนในตราสารทุน ในหุ้นที่มีเงินปันผลดี แต่ขาดสภาพแคล่ง และต้องการเป็นเจ้าของบริษัทนั้น เช่น ประกัน (AYUD, BKI, PHA, TIP) หรือ โรงพยาบาล (BGH, BH, AHC, KDH) เป็นต้น
3.6 นำไปลงทุนกองทุนรวมแบบต่าง ๆ เช่น RMF, LTF ซึ่งยังช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย ถ้ายังต้องเสียภาษีอยู่ แต่ถ้าไม่ต้องลดหย่อน ลงทุนกองทุนรวมแบบอื่นๆ ได้เช่นกัน
3.7 นำไปลงทุนในประกันชีวิตมี 4 ประเภท ดังนี้ แบบที่มีกำหนดระยะเวลา, ตลอดชีพ, ออมทรัพย์, รายได้ประจำ แต่ให้เน้นที่ออมทรัพย์ และยังได้ประโยชน์จากลดหย่อนภาษีเงินได้อีก ไม่เกิน 50,000 บาทต่อปี และต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป ถ้าต้องการลดหย่อนภาษีอยู่
3.8 นำไปลงทุนในสลากออมสิน ซึ่งต้องซื้ออย่างน้อย 10,000 เลข จะทำให้ได้รับรางวัล เลขท้าย 4 ตัว ทุกงวด ส่วนรางวัลอื่น ถือว่าเป็นของแถม ถ้าได้นะ
3.9 นำไปลงทุนฝากแบงก์ประจำทุก 3, 6, 12, 24 เดือนกินดอกเบี้ย (ถ้าได้ดอกเบี้ยสูงมากอัตราเงินเฟ้อ) ถ้าต่ำว่าเงินเฟ้อ ก็ให้พิจารณาฝากเท่าที่จำเป็นเพราะอย่างไรต้องมีเงินฝากธนาคารเพื่อความมั่ง คงและความสะดวกสบาย หรือ อาจเป็นเงินประกันตัวเวลาโดนตำรวจจับเวลากลางคืนหรือวันหยุดราชการ เพราะตอนนั้นคงไม่มีตำรวจที่ไหนรับใบหุ้นเป็นหลักค้ำประกันนะแน่นอน
3.10 นำไปลงทุนทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ เช่น ทองคำ อัญมณี (เพชร พลอย ฯลฯ) เครื่องประดับ ภาพเขียน พระเครื่อง โบราณวัตถุ แสตมป์ เป็นต้น ซึ่งมีคุณค่าด้านทางจิตใจและจิตวิญญาณเป็นหลักสำคัญ ถึงจะไม่ได้มีกระแสเงินสดหรือกระแสเงินสดแฝงก็ตามที
3.11 นำไปลงทุนสร้างบุญไว้ชาตินี้และชาติหน้า เช่น สร้างโรงเรียน สร้างมหาลัย สร้างห้องสมุด สร้างวัด สร้างโบสถ์ สร้างมูลนิธิเพื่อการศึกษา เพื่อเด็ก เพื่อคนชรา เพื่อคนป่วย เพื่อพระภิกษุป่วย เพื่อสัตว์ร่วมโลก เป็นต้น เพราะว่า คนเราตายไป ไม่สามารถนำทรัพย์สินติดตัวไปได้ แต่มี 2 สิ่งนี้ที่นำติดตัวไปได้คือ กรรมดี (บุญ) กรรมไม่ดี (บาป) เหมือนคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ว่า “เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ สู้เป็นคนที่มีคุณค่าไม่ได้” แต่ถ้าเราเป็นคนที่ประสบความสำเร็จและเป็นคนที่มีคุณค่าต่อตัวเอง, สังคม, ประเทศชาติ, ต่อโลก ย่อมเป็นสุดยอดปรานารถทางโลก ถ้าเราฝันให้ไกล ฝันให้กว้าง เพิ่มขนาดความฝัน ขยายกรอบความคิด ย่อมไปได้ไกลจนทำให้ฝันกลายเป็นจริง “ฝันให้สูงสุด แต่อย่าหยุดเมื่อผิดหวัง” และ “ผู้แพ้ใช้เหตุที่แพ้มาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะแพ้ต่อไป แต่ผู้ชนะใช้เหตุที่แพ้มาเป็นเหตุผลที่จะต้องชนะ” เหมือนกับ “ผู้แพ้ใช้วิกฤตเป็นข้อแก้ตัว ผู้ชนะใช้วิกฤตเป็นโอกาส” มีคำถามว่า ทำอย่างไร ถึงจะทำให้ทางราชการ ให้ชื่อถนนที่บ้านเราตั้งอยู่เป็นชื่อสกุลของเราได้อย่างไร
นักลงทุน มืออาชีพต้องรู้สามสิ่งคือ เมื่อใดที่จะเข้าสู่ตลาด เมื่อใดที่ควรออกจากตลาด และ จะเอาเงินของเขาออกไปจากตลาดได้อย่างไร มีคติของนักพนัน ว่า “อย่านับเงินของคุณเวลาที่คุณกำลังนั่งอยู่ที่โต๊ะพนัน” เป้าหมายของเกมคือนำเงินของคุณออกไปจากโต๊ะและยังคงอยู่ในเกมนักพนันและนัก ลงทุนมืออาชีพต้องการเล่นด้วยเงินของคนอื่น
ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบ กับเกมที่จะต้องเอาเงินออกจากตลาดและยังคงอยู่ในตลาดหุ้นโดยเล่นด้วยเงินของ คนอื่นหรือของตลาดหุ้น ในวิธีของ DSM นั้นคือ เงินกระแสเงินสดแฝง ส่วน 25% ของเงินสำรองหนี้ ซึ่งเป็นทางออกของการเอาเงินออกจากตลาดหุ้นแล้วยังคงอยู่ในตลาดหุ้นและยัง เล่นหุ้นด้วยเงินของคนอื่น ๆ โดยต้องอาศัยอัตราการหมุนเวียนของเงิน หรือพูดอีกอย่างว่า ยิ่งมีเงินของคุณอยู่ในการลงทุนมากเท่าไร ผลตอบแทนจากการลงทุนยิ่งต่ำลงเท่านั้น ยิ่งเงินของคุณอยู่ในการลงทุนน้อยเท่าไรและคุณใช้เงินของคนอื่นมากขึ้น ผลตอบแทนก็จะสูงตามไปด้วยเท่านั้น พวกเราชาว DSMers ขอให้เอาเงินของเราเองออกจากตลาดหุ้นให้เร็วที่สุด และยังคงเล่นหุ้นด้วยเงินคนอื่น ตอนนั้นจะเข้าใจว่าเล่นหุ้นด้วยเงินฟรีเป็นอย่างไร
DSM (25) – กระแสเงินสดแฝงในอนาคตคืออะไร
คำ ว่า “กระแสเงินสดแฝง” เกิดจากการลดค่าของทรัพย์สิน หรือขายหุ้น แล้วซื้อหุ้นให้ถูกกว่าที่ขายไป จะได้กระแสเงินสดแฝงขึ้นมาก แล้วคำว่า “กระแสเงินสดแฝงในอนาคต” นั้นคือการที่จะได้กระแสเงินสดแฝง ที่จะเกิดขึ้นภายในอนาคต หรือ ขายหุ้นตอนปัจจุบัน แล้วจะซื้อหุ้นให้ถูกกว่าที่ขายไปในอนาคต จะทำให้เกิดกระแสเงินสดแฝงภายในอนาคต จึงเป็นที่ของคำว่า “กระแสเงินแฝงในอนาคต” และเป็นการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์จากเงินที่เป็นกองหลัง ให้มากที่สุดนั้นเอง
จากตัวอย่างของหุ้น A ที่เป็นกองหลัง 3 กอง ที่ขายไว้ 9.00, 8.90, 8.80 บาท กองละ 1,000 หุ้น และ หุ้นได้ขึ้นไปอยู่ที่ราคา 9.75 บาท ซึ่งเป็นจุด short หุ้นจุดใหม่ รอบใหม่เพราะมีราคาสูงกว่าราคากองหลังตัวแรก ไป 15 ช่อง ดังนั้นราคากองหลัง 3 กอง ที่ทิ้งไว้ระวังหลัง เราจะทำประโยชน์สูงสุดจากกองหลังเหล่านี้อย่างไรดี ซึ่งทำให้เกิดการคิดคำนวณเอากระแสเงินสดแฝงในอนาคตมาใช้ ถ้าตามแผนของเรา สมมุตรับคืนที่ 5 ช่อง หรือกี่ช่องก็แล้วแต่แผนของแต่ละท่านของนักลงทุน DSM
มา คำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตกันดีกว่า ขายที่ 9.00 รับกับที่ 8.75 บาท, ขายที่ 8.90 รับกับที่ 8.65 บาท, ขายที่ 8.80 รับกับที่ 8.55 บาท จะได้กระแสเงินสดแฝงในอนาคต ทั้งหมด คือ 0.25x1000x3=750 บาท(ยังไม่ได้หักค่าคอมมิชชั่น) นี้คือกระแสเงินสดแฝงในอนาคต จากกองหลังของที่เราทิ้งระวังหลังเอาไว้และสามารถนำจำนวนเงิน 750 บาท แบ่งเป็น 50% เอาไปลงทุนต่อ, 25% เอาไว้สำรอง, 25% เอาไปใช้จ่ายได้ตามสัดส่วน แล้วส่วนเงินของกองหลังที่เหลือก็เก็บเอาไว้รับหุ้นเมื่อถึงจุดที่ต้องซื้อ คืน หรือเราสามารถกำหนดจุดซื้อคืน เป็น 10 , 20, หรือ 40 ช่อง ก็ย่อมได้ แล้ว ก็คำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตนำมาใช้เพื่อลงทุนต่อในปัจจุบันได้เลย และยังสามารถประยุกต์ได้อีกนิดคือทุก ๆ ครั้งที่เราขายหุ้นออกไป สามารถคำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตได้ทันที่ที่ขายหุ้นออกไปและนำไปใช้ ประโยชน์ได้ทันทีโดยที่ยังไม่ต้องรอรับซื้อหุ้นคืนกลับมา และไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะกองหลังเท่านั้น
แต่นักลงทุนวิธีDSM ที่เล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี หลังจากขายกองหลังแล้ว สามารถนำไปซื้อหุ้นตัวที่กำลังเขียวอ่อนได้เลย ซึ่งการเล่นแบบนี้ไม่ต้องคำนวณหากระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งการที่จะได้กระแสเงินสดในอนาคตนั้นต้องนักลงทุนวิธีDSM เล่นหุ้นแบบ BASIC และติดตามอ่านในการเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรีในตอนที่DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร
DSM (26) - หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว
เมื่อได้ ทำการลงทุนหุ้น DSM แล้วละได้ กระแสเงินสดแฝง นำมาทำการแบ่งเป็นสัดส่วนแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตัววัดผลการลงทุนในหุ้น DSM มีอะไร อย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้
1. เงินสำรองหนี้ 25% ต้องเพิ่มขึ้นทุกเดือน
2. จำนวนหุ้น ต้องเพิ่มขึ้นทุกเดือนเพิ่มทั้งปริมาณและชนิดของหุ้น
3. ปริมาณกระแสเงินสดแฝง ที่ได้รับแต่ละรอบของการซื้อคืน ต้องมากขึ้นหรืออย่างน้อยก็คงที่
4. ปริมาณกองหลังจะต้องลดลงเรื่อย ๆ เพราะสามารถซื้อคืนได้
5. ปริมาณอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
6. หนี้สินที่เลวต้องทยอยลดลงและหมดไป
7. แหล่งเงินทุนจะต้องเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ มีเงินลงทุนเสนอเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ
8. เงินปันผลเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะปริมาณหุ้นปันผลเพิ่มขึ้น
ถ้าเงินปันผลมีมากกว่าค่าใช้จ่ายต่อปี อาจไม่ต้องทำงานธุรกิจเช่าหุ้น หรืออาจขอหยุดพักร้อนปิดกิจการไปสักเดือนสองเดือนก็ย่อมได้เพื่อไปเที่ยวพัก ผ่อนในที่ๆ ต้องการได้ แต่ถ้าสามารถให้คนอื่นมาทำธุรกิจเช่าหุ้นแทนเราได้ถึงตอนนั้นอาจมีสร้าง ธุรกิจแบบเครือข่ายการทำธุรกิจเช่าหุ้นขึ้นมา ดังที่ว่าการใช้เงินคนอื่น และเวลาข้อคนอื่นทำงานให้เรา ซึ่งเราจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่มีความสำคัญกว่าสิ่งนี้
ความลับของคนรวย 2 ประการคือ
1. OPT – Other People’s Time (เวลาของคนอื่น)
2. OPM – Other People’s Money (เงินของคนอื่น)
เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรกับธุรกิจส่วนตัวให้เช่าหุ้น และสามารถใช้กฎของคนรวย 2 ข้อนี้ได้
แต่การลงทุนต้องคุมพอร์ตให้เหมาะสม มากเกินต้องรู้วิธีทำให้น้อยลง ถ้าน้อยเกินต้องรู้วิธีทำให้มากขึ้น
อย่า ลืมว่า ตัววัดทุกตัวต้องบอกผลงานไปทางเดียวกันและสอดคล้องกันจะมีตัวใดตัวหนึ่งผิด แปลกออกไป ถือว่ามีการเกิด Error ต้องหาสาเหตุและแก้ไขอย่างรีบด่วน
DSM (27) - เคล็ดลับของความสำเร็จลงทุนหุ้นวิธี DSM
แบ่งได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
1. เงินฟรี คิดว่าจะทำอย่างไรได้มันมา แต่ถ้าไม่ได้เงินฟรีก็ไม่เป็นไรทำตามวิธีการ สักวันจะรู้ว่าเงินฟรี คืออะไร
2. “เขียวซื้อ แดงขาย” หรือ “กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง” ซึ่งเป็นคือ DenSri Indicator=DSI
3. หุ้นเท่ากับหุ้น มองว่าหุ้นทุกตัวเป็นตัวเดียวกับหุ้นแต่ต่างกันที่ระดับราคาเท่านั้น
4. ระบบบัญชีซึ่งสำคัญมากในการจับคู่หุ้นที่ซื้อขาย และยังสร้างฐานข้อมูล (Data Base) ซึ่งมีประโยชน์อันมหาศาลต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้โดยระยะเริ่มในสองปีแรก เป็นเพียงระยะหว่านเมล็ดพันธุ์ หลังจากนั้น ก็จะเริ่มระยะเก็บเกี่ยว ถึงจะรู้จักคำว่า “ไม่ได้สร้างรายได้จากหุ้นในปัจจุบัน แต่เป็นการสร้างรายได้จากฐานข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา” เป็นอย่างไร
5. สูตร 3-0-2-8
6. ธรรมชาติของตลาดหุ้นนำไปสู่การเล่นหุ้นDSM แบบโน้ตดนตรี (DSM Music Theory) ซึ่งมีโน้ตเสียงสูง เสียงต่ำหรือมีราคาที่สูง ราคาที่ต่ำ และหุ้นที่เขียว หุ้นที่แดง ซึ่งจะเขียนบทต่อไป
7. การปฏิบัติตามแผน อย่างมีวินัยเท่ากับการลงทุน การมีจิตใจแน่วแน่ มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่คิดกำไรขาดทุน(ไม่นับเงินบนโต๊ะพนัน) พร้อมกับดึงเงินออกจากโต๊ะ(เงินสำรองและค่าบริหาร) และเล่นเกม(ตลาดหุ้น)ต่อ แล้วต้องลืมเรื่องเวลาด้วย จะได้สบายใจและปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ลองไปเรื่อย ๆ แล้วคุณจะพบ “วิธีการที่เหมาะสมกับตัวคุณ” คิดได้ จดไว้ ลงมือทำ ทบทวน “ความผิดพลาดไม่น่ากลัว ที่น่ากลัวคือกลัวผิดพลาด” และ “ไม่ยึดติดมูลค่า แต่สนใจการเปลี่ยนแปลงมูลค่า”
DSM (28) - สูตร 3-0-2-8 คืออะไร
เป็น วิธีที่คิดขึ้นมากเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล(ซึ่งเป็นกีฬาโปรดของพี่เด่น ศรี)ซึ่งได้แบ่งเป็นกองหลัง กองกลาง กองหน้าซึ่งแต่ละกองมีหน้าที่ต่างกันไป
3-0-2-8 คืออะไร
เดิมมี 1,000 หุ้น ทิ้งกองหลังไว้ 300
แล้วอาศัย 700 หุ้นที่เหลือ สร้าง 300 ที่ปล่อยไปให้กลับคืนมา(รวมทั้งหมด1,300 หุ้น )
อาจ มองเป็น 10,000 หุ้น ทิ้งกองหลัง 3,000 หุ้น และใช้7,000 หุ้นสร้างหุ้นขึ้นมาอีก 3,000 หุ้นเป็น 10,000 หุ้น(รวมทั้งหมด 13,000 หุ้น)แล้ว เอามาแบ่งเป็นกองกลาง 2,000 หุ้น กองหน้า 8,000 หุ้น ซึ่งวิธีนี้ต้องระดับ DSMระดับMaster ถึงจะทำได้อย่างง่ายดายก็คือพี่เด่นศรีใช้วิธีนี้อยู่
หรือ เริ่มจากมีหุ้น 1,300 หุ้น แล้วแบ่งกองหลัง 300 หุ้น กองกลาง 200 หุ้น กองหน้า 800 หุ้น หรืออาจเริ่มจากมีหุ้น 13,000 หุ้น จะได้แบ่งเป็นกองหลัง 3,000 หุ้น กองกลาง 2,000หุ้น กองหน้า 8,000 หุ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งขาย กองต่างๆ ได้อย่างละ 10% ได้ง่าย
หรือ เริ่มจากหุ้น 10,000 หุ้น แบ่งกองหลัง 3,000 หุ้น กองกลาง 1,400 หุ้น และกองหน้า5, 600 หุ้น ถ้ามองเป็น% จะได้ดังต่อไปนี้ หุ้น 100% แบ่งกองหลัง 30% แล้ว เอาที่เหลือ 70% คิดให้เป็น 100% แล้วจึงนำมาแบ่ง เป็นกองกลาง 20% (14%จากเริ่มต้น) และกองหน้า 80% (56%จากเริ่มต้น) และก่อนทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทุกรอบ ที่ห่างกองหลังไปอีก 15 ช่อง ถือว่าขึ้นรอบใหม่
หลังจากทราบว่า 3-0-2-8 แบ่งได้เป็นอย่างไรได้แล้วมาดูส่วนต่าง ๆ กองต่างๆทำงานกันอย่างไร
3 คือ กองหลัง ใช้เล่นทางลงอย่างเดียว ไม่โงหัวขึ้นมา จะไม่ซื้อกลับ
0 คือ ช่วงราคาที่หุ้นขึ้นมาจาก กองหลัง ซึ่งจะไม่ทำอะไรเลย ถ้าราคายังอยู่ในช่วงนี้ 4 ช่องขึ้นจากกองหลังตัวสุดท้ายก็หมายความว่ายังอยู่ในช่วงที่ขายกองหลังไป นั้นเอง
2 คือ กองกลาง หุ้นส่วนที่ใช้สำหรับตลาด side way จะปล่อยทีละนิดหน่อย (1%) โดยไม่สนใจอะไรทั้งนั้น และปิดตลาดจะต้องซื้อคืน เพื่อเอาไว้เล่นเกม side wayที่อาจจะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น ส่วนนี้จะเล่นก็ได้ไม่เล่นก็ได้เช่นกัน
8 คือ กองหน้า หุ้นส่วนที่จะไม่ปล่อยไป จนกว่าจะเลยช่วง side way(คือประมาณ 15 ช่อง จากหัวแถวของกองหลัง)
นั่นคือ มีทั้งเล่นหุ้นขึ้น เล่นหุ้นลง และเล่นหุ้นside way
ขยาย ความส่วนของกองกลางที่อยู่ช่วง side way อาจสร้างกระแสเงินสดแฝงได้น้อยแต่มีประโยชน์ในแง่ความสบายใจในการที่จะไม่ รีบร้อนปล่อยหุ้น ไม่ว่าจะกำลังขึ้นหรือกำลังลง
ดังนั้น1 % ที่ปล่อยไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะ เพราะมันทำให้ทุกอย่างอยู่ในแผนที่เราควบคุมได้อย่างสบายใจ และมันยังสร้างกระแสเงินสดแฝงเป็นค่าเทรดหุ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ด้วย
แต่ ถ้าต้องการแบ่งกองต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น อาจให้สูตร 3-0-2-5 หรือ 3-0-3-4 หรือ 2-0-2-6 ก็ย่อมได้ ให้เลือกเอาว่าจะใช้วิธีไหนตามสะดวก ตามแต่ที่ถนัดของแต่ละท่านไป
DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร
กฎธรรมชาติของตลาดหุ้นนำไปสู่การเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี (ซึ่งมีเสียงสูง เสียงต่ำ)
1. หุ้นตัวนึ่งไม่มีวันขึ้นตลอดไปหรือลงตลอดไป
2.ในวันที่ตลาดขึ้นหุ้นไม่ได้ขึ้นทุกตัว และวันในวันที่ตลาดลงหุ้นไม่ได้ลงทุกตัวเช่นกัน
นำไปสู่การเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี ซึ่งมีเสียงสูง เสียงต่ำหรือราคาสูง ราคาต่ำ และมีหุ้นที่เขียว หุ้นที่แดง ของแต่ละวัน
มีหลักการง่ายดังต่อไปนี้
1. เลือกหุ้นที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเป็นจำนวน 30 ตัว ตามที่เราต้องการแต่ยังไม่ต้องซื้อที่เดียวหมดนี้แต่ให้จับตามองไว้ว่าหุ้น แต่ละตัวคือโน้ตดนตรีของเรานั้นเอง
2. ให้เริ่มจากหุ้นตัวใดตัวหนึ่งก่อนหรืออาจหลายตัวก็ได้แต่เริ่มแรกควรตัว เดียวดีกว่าและควบคุมง่ายกว่าหลายตัวพร้อมกัน แต่ถ้าเก่งแล้วไม่ว่ากันที่จะเริ่มหลายตัวพร้อมกัน
3. หลังจากที่ขายหุ้นกองหลังออกไป แล้วสามารถเอาไปลงทุนหุ้นตัวใหม่ที่อยู่ในพอร์ตที่เราสนใจว่าตัวไหนกำลัง เขียวกำลังขึ้น ก็ให้เอาเงินที่ขายกองหลังไปซื้อตัวใหม่ได้เลย มีท่านอาจารย์ Coyote บอกว่าก่อนขายกองหลังหุ้นตัวนึ่งได้มองว่าจะไปซื้อหุ้นอีกตัวไว้ในใจแล้ว อย่างนี้เรียกว่าระดับ DSM ระดับ Master อีกเช่นเคย
แต่สำหรับมือใหม่หัด เริ่มต้น ควรรอว่าถ้ากองหลังซื้อคืนไม่ได้แล้วค่อยเอาซื้อเพิ่มการลงทุนหุ้นตัวใหม่ เป็นการสร้างวงดนตรีโดยการเพิ่มโน้ตที่ละตัวอย่างนี้ไปเรื่อย แต่จะบอกว่าที่ DSM ระดับMaster สามารถขายกองหลังแล้วไปลงทุนหุ้นตัวใหม่ได้เลยนะ ต้องมีการใช้ฐานข้อมูลที่เคยบอกว่าสำคัญอย่างไร แต่คงยังไม่จำเป็นต้องบอกตอนนี้รอให้นักลงทุนสร้างฐานข้อมูลไปได้ สองปีก่อน แล้วตอนนี้นักลงทุน DSM ระดับ Basic จะเปลี่ยนมาเป็นระดับ Master อย่างอัตโนมัติเลยที่เดียวแต่นักลงทุน DSM อยากรู้ต้องทำการลงทุนตามแนวทางนี้ไปสักสองปี จะรู้เองโดยไม่ต้องพูดไม่ต้องบอก แค่มองตาก็รู้ไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ DSM แล้ว
4.หุ้นเท่ากับหุ้น มองว่าหุ้นทุกตัวเป็นตัวเดียวกับหุ้นแต่ต่างกันที่ระดับราคาเท่านั้น ต้องใช้ข้อนี้ประกอบด้วย แล้วจะร้องว่า โถ โถ โถ มันเป็นอย่างนี้เอง
ทำให้เราได้สร้างวงดนตรีพอร์ตหุ้น DSM Music Theory ขึ้นมาอีกวงหนึ่ง ซึ่งรับรองได้ว่าได้รับกระแสเงินสดแฝงมากกว่าแบบระดับBasic
การ ทำตามสูตร3-0-2-8 และผสมผสานกับวิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory ทำให้นักลงทุนหลุดพ้นจากภาวะตลาดหุ้นไม่ว่าจะเป็นตอนตลาดหุ้นขาขึ้นหรือว่า ตลาดหุ้นขาลง และสามารถที่จะสร้างรายได้จากหุ้นแล้วได้รับกระแสเงินสดแฝงจากหุ้นทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี และตลอดไป ตราบใดที่วงดนตรีแห่งนี้ยังมีเสียงเพลงอยู่ตลอดเวลาและตลอดไป และถึงตอนนั้นจะเข้าใจประโยชน์ของฐานข้อมูลที่เก็บสะสมมาอย่างน้อยสองปีได้ เป็นดีที่สุด และทำให้ทราบประโยคที่ว่า “ไม่ได้สร้างรายได้จากหุ้นในปัจจุบัน แต่เป็นการสร้างรายได้จากฐานข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา” เป็นไปอย่างอัตโนมัตินั้นเอง
DSM (30) – วิธีเล่นหุ้นDSM Double Theory คืออะไร
อะไร คือ Double Theory ชาว DSMers บางท่านคงเคยได้ยินมาก่อน จากท่านอาจารย์ลำชี (หนึ่งในศิษย์เอก DSM) ได้เล่าให้ฟังว่า ได้คิดค้นวิธี Double โดยบังเอิญซึ่งตอนนั้น ท่านอาจารย์ลำชีได้พยายามคิดค้นคำว่าช่องว่างของตลาดหุ้นคืออะไร และเป็นความบังเอิญในระหว่างการเทรดหุ้น DSM เกิดขึ้นตอนซื้อหุ้นกลับหลังจากขายกองหลังไป แล้วได้ค้นพบวิธีนี้โดยบังเอิญ จะเล่าสู่กันฟังว่า เป็นอย่างไร
1. วิธีนี้เหมาะเล่นหุ้นตอน side way กับตอนหุ้นขาลงเริ่มใช้ตอนหุ้นกลับตัว (เขียวอ่อน)
2. วิธีนี้เป็นการผสมผสานระหว่างวิธี DSM กับการเก็งกำไร โดยการใช้ประโยชน์จากกองหลังที่ทิ้งเอาไว้จากวิธี DSM
3. วิธีนี้ต้องมีเงินลงทุนอีกหนึ่งก้อนเพื่อใช้เอาไว้เล่นเก็งกำไรอย่างเดียว ซึ่งไม่เกี่ยวกับบัญชีของวิธี DSM
4. วิธีนี้ทำให้เราเป็นนักเก็งกำไรหรือนักพนัน ซึ่งใช้ประโยชน์จากการเป็นนักลงทุนวิธี DSM
5. วิธีนี้สามารถประยุกต์เอามาใช้กับการเล่น Day Trade
DSM Double Theory ถือว่าเป็นการผสมผสานระหว่าง DSM กับ การเก็งกำไร ต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวประกอบในการเก็งกำไรอีกด้วย ดังนั้นเล่าให้ฟังเบื้องต้นว่ามีวิธีการเล่นหุ้นแบบนี้อยู่ แต่จะไม่ขอลงรายละเอียดในวิธีการ เพราะไม่ต้องการให้ชาว DSMers เกิดความสับสนในระหว่างการลงทุน และต้องการให้มุ่งมั่นเป็นนักลงทุนเพื่อสร้างรายได้จากกระแสเงินสดแฝงกับ เงินปันผล เพื่อร่วมกันเดินทางไปสู่อิสรภาพทางการเงิน เวลา จิตใจ พร้อมๆ กันของสมาชิกคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ของห้องสินธร จาก http://www.pantip.com
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:10:27 น.
DSM (31) – กลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XD ทำอย่างไร
การ ลงทุนหุ้นวิธี DSM เป็นไปตามแผนที่วางมา ไม่ว่าวันนี้หุ้นจะแดง หรือว่าจะเขียว ไม่ต้องคิดคาดเดาตลาด (กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง) ในภาวะตามปกติ แต่เมื่อไรเข้าช่วงเดือนมี.ค.ถึงพ.ค. ของแต่ละปี ยอมมีเงินปันผล สำหรับบริษัทที่เงินปันผล นักลงทุนสามารถทำตามแผนอย่างไม่หวั่นไหว วันที่ต้อง ขึ้น XD หลังวัน XD เราก็ทำตามแผน แต่ว่ามันเป็นแผนที่เรารู้ว่ามันต้องราคาลดลงเท่ากับที่ได้ปันผล แต่มีการตั้งคำถามว่า ถ้าไม่อยากได้เงินปันผลจะทำอย่างไรดี โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ไม่อยากรอรับเงินปันผลหลังจากวัน XD ไปอีก อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
2. เงินปันผลที่ได้รับโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ของเงินปันผล ยิ่งทุนน้อยยิ่งไม่ต้องการเสียเงินส่วนนี้
3. หุ้นบางตัวก็มีเครดิตภาษี บางตัวก็ไม่มีเครดิตภาษี ทำให้ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการขอรับเครดิตภาษีได้อย่างเต็มที
4. นักลงทุนบางคนไม่ต้องการได้เครดิตภาษี เพราะเสียภาษีที่ฐานภาษีสูงแล้วหรือไม่ต้องการโดนตรวจสอบอย่างละเอียดเมื่อ ขอรับเครดิตภาษี โดยมีเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ
5. เพราะต้องการรับเป็นกระแสเงินแฝงมากกว่ารับเงินปันผล
จึง มีที่มาของคำถามว่าการลงทุนหุ้น DSM แล้วจะขึ้น XD ทำอย่างไรดี ที่ไม่ผิดกฎ ซื้อให้ถูกกว่าขาย ไม่คาดเดาตลาด เพราะเดาอย่างไรก็ไม่ถูก ถ้าเดาตลาดถูกหรือรู้น่ารวยไปนานแล้ว จริงหรือเปล่า ท่านผู้อ่านทุกท่าน
อาจารย์ Vprewat(หนึ่งในศิษย์เอก DSM) ได้ลองทำกับหุ้น LOXLEY, LPN จึงเป็นที่มาของกลยุทธ์หุ้นDSMสู้ศึก XD ได้คาดเดาว่ามันน่าจะลงเท่าเงินปันผลหรือมากกว่า ได้ทำการขายหุ้นทั้งหมด 100% ก่อนขึ้นวัน XD แล้วผลออกมาอย่างไรกันบ้าง มันน่าจะได้รับกระแสเงินสดแฝงเท่ากับเงินปันผลหรือมากกว่า แต่อย่าลืมนะว่า ห้ามเดาตลาด คำนี้ใช้ได้ผลเสมอทั้งๆ ที่ว่ามันน่าจะลงเท่ากับเงินปันผลแต่ผลที่ตามมาไม่ใช่ แล้วอย่างไร ตัวอย่างนะ
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 48 มีหุ้น XD ทั้งหมด 45 ตัวมีหุ้นตัวใหญ่หลายตัว เช่น BANPU, SCC ซึ่งคิดเดาว่ามันน่าจะแดงทั้ง SET และทั้งตัวหุ้น ตามมาดูผลกัน
หุ้น BANPU ปันผล 3.25 บาทต่อหุ้น จ่ายเงินปันผลวันที่ 11 พ.ค. 48 และราคาหุ้นปิดวันที่ 31 มี.ค.48 อยู่ที่ราคา 162 บาท แล้ววันที่ขึ้น XD ราคาเปิด 161 บาท, สูงสุด 168 บาท, ต่ำสุด 161บาท, ราคาปิด 166 บาท ดังนี้วันนี้ ได้เงินปันผลฟรี และยังได้ผลต่างอีก 4 บาท ถ้ารวม จะได้เงินวันนี้ 7.25บาท แล้วหุ้นยังวิ่งต่อไปถึงวันที่12 เม.ย.48 ราคาปิด 170 บาท มากกว่าวันก่อนขึ้น XD ถึง 8 บาท ถ้าขายวันนี้ตอนปิดตลาดจะได้ทั้งเงินปันผลและผลต่างถึง 11.25 บาท แต่จะไม่ขอยกตัวอย่างของหุ้น LOXLEY, LPN นะให้ไปถามท่านอาจารย์ Vprewat โดยตรง
แต่มีหุ้นอีกจำนวนมากอีกหลายตัวที่ลงเท่าเงินปันผลหรือว่า มากกว่าเงินปันผล แต่ตัวอย่างนี้เป็นการบอกไม่ควรคาดเดาตลาด และจะทำให้เราเสียหุ้นที่ถืออยู่ให้มือหมดเลย ถึง 100% แล้ว แต่ถ้าเราจะคิดหลักการกลยุทธ์รับมือกับหุ้น XD โดยไม่เดาตลาดได้อย่างไร มีดังต่อไปนี้
นักลงทุนหุ้นDSM มีหุ้นในมือก่อนขึ้นวัน XD อย่างหนึ่งวัน ถ้าให้ดีควรขายทำประกันก่อน XD สัก 2-3 วันก่อนขึ้นวันเครื่องหมายจะได้ราคาที่ดี ให้ขายทำประกันเอาไว้ 30% ของพอร์ต แล้วถือรับเงินปันผล 70% ของพอร์ต
เหตุผลสนับสนุนดังนี้
1. ทำไมต้องขายทำประกัน 30% เพราะเท่ากับจำนวนหุ้นที่เรายินดีทิ้งไว้เป็นกองหลังนั้นเอง คงไม่ต้องสงสัยว่าตัวเลขนี้เอามาจากไหน
2. เงินปันผลสำหรับ DSMer ถือว่าเป็นเงินฟรี ดังนั้นจะได้มากหรือน้อย ก็ไม่สำคัญ
3. ถ้าหุ้นวิ่งขึ้นสวนแทนที่มันจะลงก็ยิ้ม เพราะเราได้รับเงินปันผล 70% ของพอร์ต แล้วหุ้นยังขึ้นต่อไปอีกด้วย
4. ถ้าหุ้นวิ่งต่ำว่าเงินปันผลก็ยิ้มเพราะได้รับปันผล 70% ของพอร์ต แล้วยังได้ขายทำประกันหุ้นตกต่ำว่าปันผลอีก 30% ซึ่งอย่างนี้ไม่ยิ้มได้อย่างไร สามารถที่จะขายตามแผนที่วางไว้ต่อได้
แต่ ถ้า DSMers ท่านใดไม่ต้องการทำตามกลยุทธ์นี้ก็ได้ครับถือหุ้นรับปันผล 100% เลยก็ได้ แต่กลยุทธ์ นี้สำหรับ DSMers บางท่านตามเหตุผลข้างบทที่ได้กล่าวมาแล้ว
ขอแนะนำและสังเกตกว่า หุ้นที่วิ่งสวนวันXD ส่วนมากจะเป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน และอีกตัวอย่างนึ่งช่วยสนับสนุนกลุ่มพลังงาน หุ้น RPC ขึ้น XD วันที่ 11 เม.ย.48 , ราคาปิดวันที่ 8 เม.ย.48 อยู่ที่ 8.20 บาท ปันผล 0.40 บาทต่อหุ้น จ่ายปันผลวันที่ 29 เม.ย.48 ตามคาดว่าวันที่ขึ้น XD วันที่ 11 เม.ย.48 ราคาน่าจะอยู่ที่ 7.80 บาท ตามดูผลกันนะ ณ วันที่ 11 เม.ย.48 ราคาเปิด อยู่ที่7.80 บาท(ตามคาด), สูงสุด 8.00 บาท, ต่ำสุด 7.8 บาท, ราคาปิด 7.95 บาท สรุปได้ว่า วันนี้ถือได้เงินปันฟรีและยังได้เพิ่มอีก 0.15 บาทรวมเป็น 0.55 บาท ดูต่ออีกวันซิ วันที่ 12 เม.ย. 48 ราคาเปิด 8.00 บาท, สูงสุด 8.10 บาท ต่ำสุด 7.90 บาท, ราคาปิด 7.95 บาท อันนี้เป็นตัวอย่างอีกตัวอย่างนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นวันที่ 1 เม.ย.48 แล้วมันก็ไม่ได้เป็นไปตามความคาดว่ามันจะลงเท่ากับหรือว่ามากกว่าปันผล ถ้า DSMers คิดจะคาดเดาตลาด ตามเหตุผลข้างบทที่ได้กล่าวมาแล้ว หรือหุ้นกลุ่มเดินเรือ อีกตัว TTA อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร หาข้อมูลแล้วจะรู้ว่าเป็นอีกตัวได้เงินปันผลฟรีพร้อมผลต่างอีกด้วย
ถ้า นึกย้อนไปประมาณ เดือนเดียวกันนี้ ปี พ.ศ. 2547 หุ้น PTTEP ก็วิ่งสวนปันผลใครถือก็ได้เงินปันผลฟรีพร้อมกับส่วนต่าง ขอจบเกร็ดกลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XD ไว้เท่านี้
หมายเหตุ
1.นัก ลงทุน DSM ควรคิดและพิจารณาพร้อมกับวางแผนการล่วงหน้ารับมือไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือว่าจะ ลง ขอให้ชาวDSMer เกาะติดคลื่นทะเลหุ้นไปตามกระแสน้ำรับรองว่าทุกท่านที่เป็นDSMer จะได้พบกับอิสรภาพทางการเงินในเร็ววันอย่างแน่นอน
2. XD = Excluding Dividend = ผู้ซื้อหุ้นในวันที่แขวนป้ายนี้ จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ตามที่บริษัทประกาศจ่ายในงวดนั้น หากต้องการรับเงินปันผลก็ต้องซื้อหุ้นก่อนหรือซื้อช่วงที่มีข่าวประกาศ XD แต่เมื่อข่าวออกมาแล้วหุ้นก็จะแพงขึ้นมารับข่าวนั้นด้วย
DSM (32) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร
การ เพิ่มทุนของหุ้นในการลงทุนหุ้น DSM จะทำอย่างไรดี หัวข้อนี้ได้แรงบันดาลใจจากท่านอาจารย์ Minibar(หนึ่งในศิษย์เอก DSM)ได้พูดคุยใน MSN ว่าได้ไปจ่ายเงินเพิ่มทุนให้กับหุ้นตัวหนึ่งในราคาหุ้นละ 1.71 บาท(รู้หรือยังว่าหุ้นอะไร ถ้ายังติดตามต่อนะ) เลยได้เกิดข้อคิดอะไรบ้างอย่างทำให้ต้องเขียนกลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XR จะทำอย่างไรดี เพราะหลักการข้อหนึ่งของการลงทุนDSM คือไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในพอร์ตอีก แล้วใช้กระแสเงินสดแฝงของหุ้นตัวเองสร้างและสะสมหุ้นให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้กระแสเงินสดแฝงมากขึ้น เหมือนเงาที่ติดตามตัว(หุ้นมากขึ้น กระแสเงินสดแฝงมากขึ้นเช่นกัน)
เดือนแห่งความรัก เช้าวันนึ่งก่อนตลาดหุ้นเปิดเวลาประมาณ 09.36 น. ของวันที่ 3 ก.พ.48 หุ้น THL ได้ขึ้นเครื่องหมาย H ห้ามการซื้อขาย และปลด H เวลา 13.36 น. ของวันเดียวกัน ราคาเปิดของหุ้น 2.78 บาทเปิดมาก็ติดลบลงไปถึง 0.14 บาท (ราคาปิดวันที่ 2 ก.พ.48 คือ 2.92 บาท) ราคาสูงสุด 2.85 บาท ต่ำสุด 2.74 บาท ราคาปิด 2.76 บาท ได้มีคำถามว่าเกิด อะไรขึ้นตั้งแต่ เห็น H ห้ามซื้อขาย ได้รู้คำตอบว่า มีการเพิ่มทุนอย่างไม่สมเหตุผล จึงเป็นที่มาของคำถามว่า เราชาว DSMers จะทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าหุ้นมีการเพิ่มทุน(XR) และหุ้นที่เราถือประวัติ หรือผลประกอบการก็ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และเราก็ไม่มีเงินจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเสียด้วย เพราะเงินมีจำกัดจะทำอย่างไรดี ยิ่งเป็นนักลงทุนหุ้น DSM เริ่มลงทุนใหม่ หรือพอร์ตเล็ก ๆ แต่ถ้ามีเงินจากกระแสเงินสดแฝงจากตัวหุ้นเองสามารถที่จะซื้อเพิ่มทุนได้ ก็ให้มองข้ามวิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ได้เลย
กลยุทธ์นี้เมื่อหุ้นประกาศเพิ่มทุน แต่ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทำได้ดังนี้
1. ทำการขายหุ้นตัวนั้นออก ให้มากและเร็วที่สุดในวันที่รู้ข่าวประกาศเพิ่มทุน โดยยังขายตามแผน อาจจะขาย 10%, 20% , 50%, 100% อย่างไรก็ได้แล้วแต่จังหวะ และรอจนกว่าหุ้นเพิ่มทุนตัวนั้น ได้เข้ามาทำการซื้อขายในตลาดแล้วหรือซื้อในราคาที่เหมาะสมหลังเพิ่มทุนตาม สัดส่วนแล้วน่าจะซื้อให้ต่ำว่าเราค่าเหมาะสมจะดีมากและรอจังหวะซื้อหุ้นคืน ตอนหุ้นกำลังเขียว ๆ เข้าสูตร กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง หรือ
2. ทำการซื้อขายหุ้นตัวนั้น ตามแผนที่วางเอาไว้อย่างไม่หวั่นไหว แต่ยังอยู่ในเงื่อนไขไม่มีเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนและก็ไม่สามารถที่จะทำการ หากระแสเงินสดแฝงจากหุ้นตัวมันเองในระยะเวลาก่อนขึ้นเครื่องหมาย XR ไม่มีเงินพอไปจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่ม แต่กรณีนี้มีความแตกต่างจากการเทรดหุ้นDSM ตามภาวะปกติ นั้นคือหลังจากที่เราได้ทำการตามแผนลงทุนหุ้น DSM แล้วได้หุ้นเพิ่มได้กระแสเงินสดแฝงเพิ่ม ให้ขายหุ้นออก 100%ของพอร์ต ก่อนวันที่ขึ้น XR เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มทุนหุ้น และไปรอรับหุ้นกลับหลังจากที่ลูกหุ้นได้เข้าทำการซื้อขายในตลาดแล้ว และซื้อตอนหุ้นเขียวจะขึ้น ให้เข้าซื้อหุ้นกลับ ก็จะได้กระเงินสดแฝง และจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น โดยที่ไม่ต้องใส่เงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ตหุ้นDSM สักบาท
ตามมาดูหุ้น THL กันนะ หลังจากประกาศเพิ่มทุนแล้วหุ้นตก ได้ข้อมูลว่า วันที่จะขึ้น XR วันที่ 9 มี.ค. 48 ในอัตราส่วน 4:1 @ 1.71 บาท หมายความว่า 4 หุ้นเดิมซื้อหุ้นใหม่ 1 หุ้นในราคา 1.71 บาท และวันจองจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่มวันที่ 24-30 มี.ค.48 ถ้าใครถือหุ้นถึงวันที่ 9 มี.ค.48 แต่ไม่จ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่ม ก็อดได้หุ้นใหม่ ตามสัดส่วนนะ
ดูราคา ปิดวันที่ 8 มี.ค.48 ราคา 2.42 บาท และราคาเปิดของวันที่ 9 มี.ค. 48 อยู่ที่ 2.44 บาท สูงสุด 2.56 บาท ต่ำสุด 2.40 บาท ราคาปิด 2.40 บาท
ลอง มาคำนวณหาราคาที่เหมาะสมหลังจากเพิ่มทุนกันดีกว่านะ 4 หุ้นต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคา 1.71 บาท จะได้ราคาเฉลี่ยเท่าไร (เอาราคาปิดของวันที่ 9 มี.ค.48 มาคิด 2.42 บาท) ได้ดังต่อไปนี้
ราคาหุ้นที่เหมาะสม= (4x2.42+1.71x1)/5=2.28 บาท ดังนั้นได้ราคาที่เหมาะสมที่ 2.28 บาท ถ้าเห็นราคาตลาดหลังขึ้นเครื่องหมาย XR แล้วราคาหุ้นได้เท่ากับ 2.28 บาทถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม แต่ถ้าได้ต่ำว่า 2.28 บาทก็ยิ่งดี
หลัง จากได้นั้นวันที่ลูกหุ้นเข้าทำการซื้อขาย เป็นจำนวน 151,387,893 หุ้น เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 48 มาดูผลของราคากันนะ ราคาเปิด 2.04 บาท สูงสุด 2.20 บาท ต่ำสุด 2.00 บาท ราคาปิด 2.10 บาท
มาลองเปรียบว่า ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.48 ราคาปิด 2.76 บาท ถึงวันที่ก่อนขึ้น XR ราคาปิดวันที่ 8 มี.ค.48 ผลต่าง 0.34 บาท (2.76 -2.42) ติดเป็น 12.31% ภายในระยะเวลาหนึ่ง เดือน (3 ก.พ.-8มี.ค.48) เราสามารถสร้างกระแสเงินสดแฝงเท่ากับ12.31 % ได้หรือไม่
มาลองเปรียบ ว่า ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.48 ราคาปิด 2.76 บาท ถึงวันที่ ลูกหุ้นใหม่เข้าเทรดในตลาดเป็นอย่างไรบ้าง ผลต่าง 0.66 บาท (2.76-2.10) ติดเป็น 23.91%
มาดูซิว่าถ้าเราทำตามวิธีการที่ 1 ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ภายใต้สมมุติฐานว่า ขายหุ้น 100% ราคาปิด 2.76 บาท และซื้อคืนวันแรกที่หุ้นเทรดในตลาด ที่ราคาปิด 2.10 บาทได้ผลต่าง 0.66 บาท คิดเป็น 23.91% จะได้กระแสเงินสดแฝงภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนครึ่งเท่านั้น
มา ดูวิธีการที่ 2 กันนะทำตามแผนจะได้กระแสเงินสดแฝงเท่าใด ไม่ทราบได้ ในระยะเวลาหนึ่งเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับการขายที่ราคาปิดของวันที่ 3 ก.พ.48 จนถึง ราคาปิด ของวันที่ 8 มี.ค. 48 ซึ่งได้ ผลต่าง 0.34 บาท ติดเป็น 12.31% ซึ่งไม่แน่ว่าการทำตามแผนการจะได้ผลตอบแทนเท่ากับหรือมากกว่า 12.31% ได้หรือไม่ และขายออกวันที่ 8 มี.ค.48 ณ ราคาปิดที่ 2.42 บาท มาซื้อหุ้นคืนที่ 20 เม.ย.48 ราคาปิด 2.10 บาท ผลต่าง 0.32 บาทคิดเป็น 13.22 % ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
ดังนี้ก็ให้ชาว DSMers ตัดสินใจว่าจะเลือกวิธีไหนดี อันนี้เป็นการยกตัวอย่างหุ้นตัวนี้นะครับ หุ้นตัวอื่นๆอาจไม่ได้เป็นแบบนี้ก็ได้
แต่ ถ้านักลงทุน DSMer มีเงินมากพอที่จะเพิ่มทุน ก็คงไม่มีปัญหาอะไรทำตามแผน แต่ก็อีก คนชั่งคิดไปเรื่อย ถ้าเราทำตามแผนการลงทุนในหุ้น DSM ไปเรื่อยๆจนวันที่ลูกหุ้นใหม่เข้าตลาด กับเมื่อเปรียบเทียบการที่เราทำตามแผนไปจะถึงวันที่ขึ้น XR วันที่ 9 มี.ค.48 แล้วขายหุ้น ณ ราคาปิด (2.40) ตลาดหมดและแล้วไปรับหุ้นกลับวันที่ลูกหุ้นเข้าเทรดอันไหนแบบไหนน่าจะได้ กระแสเงินสดแฝงมากกว่ากัน หรือ แบบไหนจะได้จำนวนหุ้นมากกว่ากัน ฝากเป็นการบ้าน
ก็ยังมีการเพิ่มทุน ทั้งลดพาร์ ของหุ้นบางตัวที่ชั่งแต่ต่างจากหุ้น THL เหลือเกิน และยังทั้งร้อนทั้งแรง ใครๆก็ต้องพูดถึง นั้นคือ หุ้น TPI นั้นเอง แต่สังเกตให้ดีถึงจะมีอะไรที่แต่ต่างกันอย่างกับสวรรค์ (TPI) กับนรก (THL), หรือมุมตกกระทบ (THL) กับมุมสะท้อน (TPI) แต่อย่างน้อยๆถ้าไม่มองข้ามไป ก็มีความเหมือนที่แตกต่างนะ ทายดูซิ ว่าคืออะไร เป็นหุ้นที่ขึ้นต้นด้วย T เหมือนกัน และเป็นหุ้นอยู่กลุ่ม Rehabilitation เหมือนกัน แต่TPI กำลังจะย้ายไปเทรดในกลุ่มพลังงานแล้วเหมือนขึ้นจากขุมนรกที่ 18 ไปสู่สวรรค์อย่างไรอย่างนั้นเลย
หุ้น TPI เพิ่มทุนพร้อมลดพาร์จาก 10 มาเป็นพาร์ 1 และ น่าจะ 1:3 ราคา 3.30 บาท คือ 1 หุ้นเดิมได้ 3 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 3.30 บาท
ตัวอย่างการคำนวณสมมุติ เอาราคาปิดวันที่ 20 เม.ย.48 ที่ 10.00 บาท
ราคา ที่เหมาะสมหลังเพิ่มทุน= (10 +3x3.5)/4=4.975 บาท แล้วอาจได้เห็น TPI กลายเป็น ATC ภาค 2 หรือ อาจได้เห็นราคายืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับ TOP ได้เช่นกัน แต่อย่าลืมว่าไม่คาดเดาตลาด
หมายเหตุ
1. หุ้น TPI ใครยังไม่มีควรหามาประดับพอร์ตได้ แต่ถ้าถามว่าไม่มีเงินเพิ่มทุนจะทำอย่างไร ก็ทำตามที่ได้นำเสนอไปตามข้างบน
2. XR = Excluding Right = ผู้ซื้อหุ้นในวันที่แขวนป้ายนี้ จะไม่มีสิทธิ์ในการจองซื้อหุ้นใหม่ ต้องซื้อก่อนหรือช่วงก่อนแขวนป้ายเช่นเดียวกัน
3. H = Halt Trade = เครื่องหมายแสดงให้นักลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ระหว่าง ห้ามซื้อขาย สำหรับช่วงเวลาซื้อขายรอบนั้น
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน - [ 31 พ.ค. 48 16:28:53 ]
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:11:38 น.
ข้อความการให้อนุญาต จากพี่เด่นศรี ทางหลังไมค์ครับ
เด่นศรี [29 กรกฎาคม 2548 08:39]
ได้เลยครับคุณหมากเขียว และหากมีข้อสงสัยใด ๆ ก็ลองคุยกับพี่ coyote ได้นะครับ
( ผมไม่ค่อยได้เข้ามาล็อกอินบ่อยครับ เลยเพิ่งเห็นข้อความหลังไมค์ )
( ยิ้มแย้ม )
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:16:02 น.
ลองอ่าน กลยุทธ์อีกแบบหนึ่ง คือ FTA (Fundamentally Technical Analysis) ซึ่งถือว่าเป็น DSM อีกแขนงหนึ่ง
คือแนวคิดเดียวกัน ต่างกันที่กฎการซื้อขาย โดยการนำการวิเคราะห์ทางเทคนิค มาผสมผสามเข้ากับวิธี DSM
อ่านได้ที่ วางหมาก...กระดานหุ้น ตอน เจาะลึกกลยุทธ์ FTA ครับ
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:16:13:56 น.
ได้รับการอนุญาตจาก คุณเด่นศรีแล้ว
คำนำ
นัก ลงทุนในตลาดหุ้น มี 2 จำพวก พวกเก็งกำไรกับพวกนักลงทุน แต่ในตลาดหุ้นมีนักเก็งกำไรเป็นจำนวนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับนักลงทุน แล้วคำว่านักลงทุน จะมีสักกี่คนที่เป็นนักลงทุนที่แท้จริงและรู้จักคำว่า “กระแสเงินสดแฝง” เล่นหุ้นเพื่อสร้างกระแสเงินสดแฝง ไม่ได้ต้องการส่วนต่างของราคา ได้มีนักลงทุนที่ออกมาเปิดเผยวิธีการและเคล็ดวิชา ในการลงทุนหุ้นเพื่อเป็นนักลงทุนที่แท้จริงมีนามว่า “เด่นศรี” ซึ่งเป็นคนมีความเมตตากรุณาต่อแมลงเม่าปีกอ่อนและปีกแก่ ซึ่งได้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ให้แมลงเม่าเหล่านี้เป็นแมลงเม่าปีกทองคำ
ขอ ขอบคุณ “เด่นศรี” อย่างสุดซึ้งมา ณ ที่นี้ด้วย ขอให้ได้กระแสเงินสดแฝงวันละ สิบล้านบาทเพื่อมีอิสรภาพทางการเงิน จิตใจ และเวลา โดยเร็ววันตามที่ต้องการดังใจหมายด้วยเทอญ
ขอขอบคุณซ้อสี่ค่ะ(คิมิเอะ-จัง) ผู้สงสัยว่าทำไม Rich Dad Poor Dad ของ
คุณโรเบิร์ต ที คิโยซากิถึงเป็นนักลงทุนที่ดีที่สุดจึงได้เกิดกระทู้ประวัติศาสตร์ขึ้น
ขอขอบคุณคลายเครียด(Endophine) เป็นผู้ตั้งชื่อว่า DSM
ขอขอบคุณMacroArt ผู้เสนอการก่อตั้งคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินซึ่งถือได้ว่าเป็นการตั้งสำนักDSMอย่างเป็นทางการ
ขอขอบคุณTeerasae และคุณงำงำ มีดบินในการจัดการสร้างบัญชีDSM สำหรับเพื่อนสมาชิก
ขอ ขอบคุณคนชื่อนินจา ที่มาเติมเต็มความรู้ในด้านต่างๆ ของการลงทุน เสมือนเป็นเครื่องยนต์ที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้คลับเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ขอขอบคุณItaly ที่จัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับDSMและเอกสารอื่นๆ
ขอ ขอบคุณคุณ Coyote ที่ได้อนุญาตให้นำเอาDSM concept ของที่คุณ Coyote ได้จัดทำ นำมาปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม จึงได้เป็นที่มาของDSMฉบับกำลังปรับปรุงนี้
ขอขอบคุณ ทรงกฤษฎิ์ เจ้าของที่มาของบทความบทที่ 15, 16, 17 ตามลำดับ, ขอขอบคุณ Ii’8N (ณรงค์) เจ้าของที่มาของบทความบทที่ 19 และคุณปลาดาว เจ้าของที่มาของบทความกระแสเงินสดแฝงในอนาคต บทที่ 25
ขอขอบคุณสุมา เต๊กโชผู้แปลและเรียบเรียง The richesman in babylon for today, ขอขอบคุณกาเยผู้แปลหนังสือ Wink and Grow Rich, ขอขอบคุณคนล่าห่านสำหรับบทความเรื่องเสี่ยอ๋า, ขอขอบคุณนักลงทุนท่านอื่น ๆอีกมากมายเช่น นกเพนกวิน, x-philes, Nymph bee, ซีเค, เต่าหยวนเปียว, luckyinter, Livestock, zARKa, PITnap no.3, กบในฟ้ากว้าง, กุ้งไร้สาร, แมลงเม่าทนไฟและคู่หู, เลขสาม, v-port, อยากเชือก, ยมก, ลำชี, ชราร่า, patt, wonderchoice, หนุ่มน้อย ณ บาบิโลน, มือใหม่DSM, ตะเชา, CHINN, ปิงป่องแชะ, Vprawat, Minibar, libra, nanolim, ไร้แก่นสาร, Gain, SANG-JANTRA, pattarav, Dalglish, monocryl, มารขาว, KoKoman, savia(ยง), ทัดชา, ToonCoolMan, ง้วนป้อ, smokerfield, กระเจี๊ยบน้อย, วิถีพุทธ, atuca, กระบี่ไร้เงา, ไม่เก่งแต่อย่างตอบ(mix), ครูนางฟ้า, ขวัญชัย, ก้าว กอปรกัลป์ปการ, nattaphon, hot oil, การบรูหอม, นกแคปหมู, cpiya, มาร์แก่ , เศษธุลี, kkop, ravberry, อ๋อออ, Freedom world, e-man, กระต่ายกะเต่า, buffet lyn, ballito, windi, kc00, BeSmile, จรัสฯ, krit587, -กร-, S40, freeMind, Littlebigman, kae_numtan, OhLunLa(ลูกหมู), loaw, kwangroong, jasmine rice, Nuatja, DerDen, red comet II(rcII), jenjen, marumaru, พูห์ชี้ฟ้า, Mr_BooDoo, PD_city, มรรค8, cocool, TingSanPern, กุ๊กเป็ด, ซวงซวง, Think of me, violetorchid, noopiglet, น้องเบลล์กินขนุน, DYL, จูล่ง – สุภาพบุรุษจากเสียงสาน, Groundhog, captain-shampoo, morefunthai, b_wealth, Methee B.,ลุงเอิญ, iroiro, nongtutor และสมาชิกอีกมากมายที่ไม่ได้เอ่ยชื่อ ขอบคุณทุกท่านร่วมสร้างสรรค์คลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินแห่งนี้ ให้สมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
บทความนี้ได้รวบรวมจากที่ท่านอาจารย์เด่น ศรีได้สั่งสอน และแนะนำในกระทู้ต่างๆ ได้รวบรวมเอาอันที่เห็นว่ามีสาระสำคัญ บางบทได้เขียนเพิ่มขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มเติมให้มีความสมบูรณ์มากยิ่ง ขึ้น
บุคคลที่ขาดไม่ได้คือคุณ Robert T. Kiyosaki ที่ได้แต่งหนังสือ Rich Dad Poor Dad ทุก ๆ เล่ม ขอขอบคุณที่ทำให้ชีวิตของนักลงทุนคนอื่น ๆ ง่ายขึ้นทางด้านการลงทุนแบบต่าง ๆ และหุ้นเป็นหนึ่งในยานพาหนะสำหรับการลงทุนอย่างหนึ่งซึ่งนำไปสู่อิสรภาพทาง การเงิน
และขอขอบคุณ Pantip.com ที่ให้พื้นที่เป็นอยู่อาศัยของคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ในห้องสินธร ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริง ๆ เหมือนบ้านที่ขาดหลังคาไม่ได้เลย ซึ่งเป็นที่ซุกหัวนอนอันอบอุ่น ขอขอบพระคุณอย่างสูง
การนำไปใช้หรือ นำประยุกต์ใช้ ขึ้นกับดุลยพินิจของแต่ละบุคคล ผู้ที่นำไปใช้จะต้องยอมรับผลประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการลง ทุนของตัวเอง ผู้รวบรวมไม่ขอรับผิดชอบความเสียหายจากการลงทุนของทุก ๆ ท่านที่เกิดจากบทความแห่งนี้
Create Date : 29 กรกฎาคม 2548
Last Update : 29 กรกฎาคม 2548 16:14:32 น. 8 comments
Counter : Pageviews. Add to Share/Save/Bookmark Share/Save/Bookmark Share/Save/Bookmark
สารบัญ
1. DSM (1) – จุดกำเนิด DSM
2. DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM
3. DSM (3) – คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM
4. DSM (4) – ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปี
5. DSM (5) – ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน
6. DSM (6) – การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธี DSM
7. DSM (7) – เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM
8. DSM (8) – กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง
9. DSM (9) – DSM วัวเนื้อหรือวัวนม
10. DSM (10) – Warren Buffett ลงทุนวิธี DSM ด้วยหรือไม่
11. DSM (11) – ระบบการซื้อ - ขายหุ้น DSM
12. DSM (12) – หลักการซื้อคืน 3 แบบ
13. DSM (13) – ช่องว่างและการแปลงร่างคืออะไร
14. DSM (14) – หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน
15. DSM (15) – สิ่งที่ควรคิดเมื่อรักจะเป็น DSMers
16. DSM (16) – 7 ข้อ DSM ดั่งแก้วสารพัดนึก
17. DSM (17) – Q&A DSM จากใจถึงใจ
18. DSM (18) – DSM ความเหมือนที่แตกต่าง
19. DSM (19) – เปรียบเทียบ VI กับ DSM ถึงลูกถึงหุ้น
20. DSM (20) – เมื่อหุ้นเป็นเทวดาตกสวรรค์จะทำอย่างไร
21. DSM (21) – DSM บุญหรือบาป
22. DSM (22) – 10 คำถามที่ดี ย่อมได้คำตอบที่ดี
23. DSM (23) – DSM รับประกันเงินต้นคืน100%
24. DSM (24) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร
25. DSM (25) – กระแสเงินสดแฝงในอนาคตคืออะไร
26. DSM (26) – หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว
27. DSM (27) – เคล็ดลับของความสำเร็จลงทุนหุ้นวิธี DSM
28. DSM (28) – สูตร 3-0-2-8 คืออะไร
29. DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร
30. DSM (30) – วิธีเล่นหุ้นDSM Double Theory คืออะไร
31. DSM (31) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XD ทำอย่างไร
32. DSM (32) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:11:59:03 น.
DSM (1) – จุดกำเนิด DSM
คำย่อ DSM มาจากอะไร
DSM ย่อมาจาก DenSri Method มาจากชื่อนักลงทุนที่ชื่อเด่นศรี (ชื่อลูกสุนัขที่ตายไป) เป็นคนคิดค้นวิธีการเล่นหุ้นเพื่อการลงทุนด้วยวิธี Short Against Portเป็นคนแรกที่กล้าเปิดเผยวิธีการลงทุนเช่นนี้ และคนตั้งชื่อ DSM คือนักลงทุนชื่อ คลายเครียด (Endophine) เจ้าของ คลายเครียดเรโช อันโด่งดัง ในวันที่ 6 ส.ค.2547 ได้ตั้งชื่อ DSM=DenSri Method หรืออีกความหมายหนึ่งคือ DSM= Descending Sell Method และเพื่อเป็นเกียรติแก่คุณเด่นศรีที่ได้เปิดเผยเคล็ดลับสู่อิสรภาพทางการ เงิน หลังจากนั้นชื่อ DSM ได้ถูกเรียกขานจากนักลงทุนเมื่อพูดถึงแนวทางการเล่นหุ้นเพื่อลงทุนสร้างหุ้น และกระแสเงินสดแฝง
แล้ววันที่ 18 ส.ค. 2547 คุณ MacroArt ได้ เสนอชื่อคลับว่า คลับนักเล่นหุ้นเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ซึ่งมีความหมายถึงหนังสือ Rich Dad Poor Dad และสุดท้ายก็ได้เปลี่ยนเป็น ชื่อคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน วันที่ก่อตั้งคลับแห่งนี้วันที่ 25 ส.ค. 2547 เป็นวันแรกที่มีอยู่อย่างเป็นทางการของนักลงทุนด้วยวิธีDSM ด้วยประการนี้เอ่ย
DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM
หัวใจ ของการลงทุนหุ้น DSM คือ แผนการลงทุนและระบบบัญชี และเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนหุ้น DSM คือ การเพิ่มสะสมหุ้น, และกระแสเงินสดแฝง ตามลำดับ
ถ้าลงทุนหุ้นตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้ อย่างเคร่งครัดแล้วไม่ต้องสนว่าตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น(Uptrend) หรือขาลง (Downtrend) ถ้าได้ถึงระดับนี้ ท่านได้เป็นถึงระดับ Master ซึ่งได้เลื่อนขึ้นมาจากระดับ Basic แล้วนั้นเอง และเมื่อเราทำตามแผนการดีเยี่ยมนี้แล้วจะค้นพบว่าวิธีDSM ตอนเล่นหุ้นขาขึ้นได้ดีกว่าตอนเล่นหุ้นขาลง (ต้องศึกษา สูตร 3-0-2-8 อย่างละเอียดแล้วจะได้คำตอบที่ต้องการ)
แนวคิดของ DSM
“สะสม จำนวนหุ้นให้เพิ่มมากขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนเงินเพิ่ม” เหมือนกับแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์การใช้ทรัพย์กร (เงิน) ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ ลองนึกว่า ถ้าคุณมีบ้านให้เช่า ทุกเดือนจะได้ค่าเช่า ค่าเช่าที่ได้นี้ให้สะสมเก็บไว้ เมื่อได้มากพอก็นำไปลงทุนเพิ่ม จากบ้าน 1 หลัง กลายเป็น 2 หลัง จาก 2 หลังกลายเป็น 4 หลัง จาก 4 หลังกลายเป็นโรงแรม (แนวคิดดั้งเดิมจากเกมเศรษฐี ที่คุณโรเบิร์ต ที คิโยซากินำมาประยุกต์และเพิ่มเติมกลายเป็นเกม cash flow)
ทำไมไม่ ควรลงทุนเงินเพิ่ม เพราะสิ่งที่เราลงทุน สิ่งนั้นมันต้องสร้างตัวมันเอง เหมือนกับการให้เงินแต่ละเหรียญทำงานให้ท่าน เพื่อให้มันออกลูกออกหลานเฉกเช่นฝูงปศุสัตว์ในทุ่งหญ้าซึ่งจะช่วยนำรายได้มา สู่ท่าน เป็นกระแสความมั่งคั่งที่หลั่งไหลเข้าสู่ถุงเงินของท่านอย่างไม่ขาดสาย(จาก หนังสือเศรษฐีชี้ทางรวย)
แนวคิดวิธีDSMนี้ คาดว่านักลงทุนต่างชาติทำคล้าย ๆ กัน ให้ลองสังเกตดู วันไหนเค้าขายวันนั้นหุ้นตก เพราะเค้าคงดูภาวะตลาดเหมือนกัน ถ้าหุ้นลง เค้าก็ขายตาม ไม่ฝืนตลาด โดยเฉพาะขายแล้วต้องลง เพราะเค้าจะได้ซื้อคืนในราคาถูกกว่าที่ขาย ถ้าวันไหนเค้าซื้อ หุ้นก็ขึ้น เพราะเค้าคิดว่า ถ้าซื้อแล้วหุ้นต้องขึ้น อีกอย่างหนึ่งถ้าซื้อหุ้นมาไว้ในมือ ใครๆก็ต้องอยากให้ราคามันขึ้นไปเรื่อย ๆ แม้จะมีแค่เพียง 100 หุ้น ก็ยังอยากให้ราคามันขึ้น จะได้ขายเอากำไร ยิ่งมีเป็นล้านหุ้น ยิ่งต้องอยากให้หุ้นขึ้น แต่ทำไมนักลงทุนต่างชาติที่มีหุ้นในมือมหาศาล ทำไมไม่ชอบให้หุ้นขึ้น แต่ชอบให้ขึ้น ๆ ลง ๆ และ ลงหนัก ๆ ทำให้คิดว่าหุ้นขาลงมันต้องมีอะไรดีกว่าหุ้นขาขึ้นแน่ ๆ ถ้าหุ้นขาขึ้นได้กำไร แสดงว่าหุ้นขาลงมันน่าจะอภิมหากำไรเลย และด้วยวิธีนี้ทำให้นักลงทุนต่างชาติจริงมีหุ้นเอามาขายได้เรื่อยๆ ไม่มีวันหมดสิ้นสักที
เรานักลงทุนหุ้นวิธีDSM ทำตามแนวทางเดียวกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งต่อไปจะมีหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ นับจำนวนไม่ได้เลย
DSM (3) – คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM
คุณสมบัติของนักลงทุนผู้ที่จะใช้วิธี DSM
1. ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว ระยะยาวในที่นี้คือ ตลอดชีวิต เงินลงทุนนี้จะต้องเป็นเงินเก็บจากเงินที่ต้องจ่ายให้ตัวเองอย่างน้อย 10% จากรายได้แต่ละครั้งและรวมส่วนเหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้วและ เก็บมาจากรายจ่ายฟุ่มเฟือย (เช่น สุรา เบียร์ บุหรี่ เป็นต้น) และห้ามถอนเงินนี้มาใช้เป็นอันขาด เพราะถือว่าเป็นเงินลงทุนตลอดชีวิต ถ้าจะถอนได้ตามสัดส่วนกระแสเงินสดแฝงที่ได้รับเท่านั้น และสามารถให้ทรัพย์สินเป็นมรดกให้กับลูกหลานได้ หรือจะกล่าวว่าวิธี DSM ดีถึงชั่วลูกชั่วหลานก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
2. ต้องมีแนวคิดในการสร้างรายได้จากพอร์ต ไม่ใช่กำไรจากพอร์ต โดยที่ไม่สนใจ มูลค่าพอร์ตที่ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงและสิ่งแรกที่ต้องทำคือแยกให้ออกก่อนว่า ความแตกต่างระหว่างทำกำไรส่วนต่างกับลงทุนเพื่อสร้างรายได้ ถ้าแยกได้แล้วจะลงทุนตามแนวทางนี้ได้สำเร็จ
3. อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายถึงความร่ำรวยมีเงินหลายร้อยล้านพันล้านบาท แต่หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มีอิสระที่จะทำสิ่งที่ต้องการทำ อิสรภาพทางการเงินไม่ได้วัดที่จำนวนเงินที่มี แต่วัดกันที่ "ใครมีเวลาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่ตนเองต้องการมากกว่ากัน"
4. ต้องมีวินัยในการลงทุน การตัดสินใจลงทุนด้วยวิธี DSM ถ้าหากเลิกกลางคัน จะเกิดความเสียหายมาก ถ้าเลิกก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ปี
5. ต้องมีเป้าหมายในอนาคต เป้าหมายนี้ไม่ใช่เงินจำนวนเท่าใด แต่เป้าหมายที่ต้องตั้งคือ "ฉันจะต้องได้รับเงินปันผลเท่าใดจึงจะพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน" เพื่อจะมีอิสรภาพทางการเงินในแบบที่ต้องการ
6. จิตใจต้องหนักแน่น มั่นคง ไม่วอกแวกกับเสียงทักของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน
7. ต้องมีเวลาดูแลพอร์ตอย่างเอาใจใส่
8. ต้องมีความสมัครใจด้วยตัวของนักลงทุนเอง ที่จะเลือกใช้แนวคิดDSM นี้ซึ่งไม่มีใครสามารถบังคับได้และถ้าพร้อมแล้วหลังจากศึกษาแนวคิดเข้าใจดี แล้วให้เริ่มสร้าง Model Trade ของแต่ละนักลงทุนเองได้เลย พร้อมกับสร้างหลักการตัววัดผลของความสำเร็จของแต่ละนักลงทุนเองโดยนำเอา ตัวอย่างเบื้องต้นจากบทความแห่งนี้เป็นต้นแบบ
9.การลงทุนหุ้นวิธีDSM เสี่ยงหรือไม่ แต่ความเสี่ยงไม่ได้อยู่ที่การลงทุน แต่อยู่ที่การขาดความเข้าใจในแนวคิดของการลงทุนด้วยวิธีนี้ต่างหาก ซึ่งถ้าไม่เข้าใจถือว่าเสี่ยงมากที่สุดแทนต่างหาก แต่อย่างไรไม่มีอะไรในชีวิตที่ไม่มีความเสี่ยง แต่การลงทุนควรเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำเสมอดังนั้นการลงทุนหุ้นวิธีDSM จึงเป็นคำตอบ
สิ่งที่คุณจะได้จาก DSM และไปสู่อิสรภาพทางการเงิน
1. สามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับเจ้าของบริษัทที่คุณชื่นชอบตลอดไป
2. สามารถที่จะสร้างรายได้จากหุ้นแล้วได้รับกระแสเงินสดแฝงจากหุ้นทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี และตลอดไป
3. สามารถที่จะมีเงินปันผลที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตามจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องลงเงินเพิ่ม
4. สามารถที่จะมีเวลาว่างอย่างเหลือเฟือที่จะอยู่กับครอบครัว และทำประโยชน์ให้สังคม
5. สามารถที่จะมีสุขภาพจิตสดใส หุ้นขึ้นก็สุขใจ หุ้นตกก็ยิ้มแย้มแจ่มใส
ทำไมต้องมีอิสรภาพทางการเงินเพราะ
“ชีวิต คนเราไม่ได้มีเวลามากมายนัก ทำไมจึงต้องเสียเวลาทั้งชีวิตทำงานเพื่อเงิน ทำไมไม่เรียนรู้วิธีใช้เงินและให้คนอื่นทำงานให้เราจะได้มีเวลาไปทำอย่าง อื่นที่มีความสำคัญกว่า”
สิ่งที่สำคัญของชีวิตคือ
1. มีเวลาสำหรับครอบครัว
2. มีเงินสำหรับอุทิศเพื่อการกุศลและโครงการที่สนับสนุน
3. มีโอกาสสร้างงานและความมั่นคงให้ชุมชน
4. มีเวลาและเงินเพื่อดูแลสุขภาพ
5. มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวรอบโลกกับครอบครัว
ผู้ที่ห้ามลงทุนแบบ DSM
1. นักเก็งกำไรหรือนักพนัน
2. นักลงทุนระยะสั้น
3. ผู้ปล่อยปะละเลย ไม่ดูแลพอร์ต
4. นักลงทุนที่ไม่เข้าใจแนวคิดDSM
ไม่มีเงิน ไม่มีเวลา ลงทุนแบบ DSM ได้หรือไม่
1. เงินที่ต้องใช้ในการลงทุนแบบ DSM อาจจะเริ่มต้นด้วยเงินเพียง 10,000 บาท (ถ้ายังไม่มีเงิน 10,000 บาทในเวลานี้ ให้ตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือยให้ได้เดือนละ 1,000 บาท ครบ 1 ปีก็มีเงินลงทุนแล้ว) ระหว่างที่เก็บออมอยู่นี้ ควรทดลองเทรดหุ้นในกระดาษ (หรือใน Excel) เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะลงทุนด้วยเงินจริง
2. ไม่มีเวลาดูหุ้นทั้งวัน - ดูแค่วันละครั้งอย่างน้อย แล้วตอนเย็นวางแผนสำหรับในวันรุ่งขึ้น หรือคุณจะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเวลาที่คุณมีได้ เช่น อาจดูหุ้นเป็นช่วงเวลาโดยให้มาร์เก็ตติ้ง โทรมารายงานหุ้นตามเวลา ดังนี้เป็นต้น 10.15-10.30, 12.15-12.30, 14.30-14.45, 16.15-16.30 น. วันละ 4 ครั้ง ก็น่าจะมากเพียงพอ หรือ อาจวันละ 2 หรือ 1 ครั้งก็ได้ โดยให้คิดว่าแต่ละครั้งที่ได้เห็นเป็นราคา ณ ตอนนั้น ถ้าช่วงเวลาต่อมาราคาต่ำว่า ก็ให้ถือว่าเป็นหุ้นแดง แต่ถ้าราคาสูงกว่าถึงว่าเป็นหุ้นเขียว แนะนำถ้าให้ดีจดราคาแต่ละครั้งด้วย ถ้าราคาต่ำกว่าช่วงเวลาก่อนหน้านี้ให้เขียนด้วยปากกาแดง แต่ถ้าราคาสูงกว่าก็เขียนด้วยปากกาน้ำเงินหรือเขียวก็ยิ่งดี
3. การลงทุนในหุ้นก็เหมือนคุณร่วมลงทุนกับกิจการของบริษัท ดังนั้นคุณจึงควรมีเวลาบ้างเพื่อที่จะดูว่าบริษัทของคุณมีพัฒนาการเป็นอย่าง ไร วันนี้ยังไม่มีเวลา แต่ถ้าตั้งใจจริง ใช้เวลาวันละครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว
4. ถ้าอย่างนั้นออกจากการทำงานประจำเลยดีไหม ขอแนะนำว่าให้ทำงานประจำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น พร้อมกับนำเงินออมมาเริ่มต้นการลงทุน อย่าเบื่องานประจำ แต่ให้แบ่งเวลามาเพื่อศึกษาเรื่องการลงทุนหุ้นวิธีDSM อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการดีกว่าและอย่างน้อยก็ควรมีรายได้ที่แน่นอนจากรายได้ประจำจาก อาชีพหลักเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว เพราะถ้าทุ่มเทให้กับการเล่นหุ้นมากเกินไปจนงานหลักเสียหาย ขณะเดียวกันท่านก็ไม่สามารถสร้างรายได้จากหุ้น (กระแสเงินสดแฝง) ได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมด ท่านก็จะเสียหายถึงสองทาง
5. ถ้ามีเงิน แต่มีไม่มากพอ ขอลงทุนหุ้นด้วยเงินกู้Margin ดีหรือเปล่า ไม่ควรที่จะใช้เงินกู้ Margin เพราะต้องระวังเงื่อนไขของ Maintenance Margin ซึ่งจะถูกบังคับCall Margin เพื่อเพิ่มเงินค้ำประกันและอาจจะถูกบังคับForce Sale ได้อีกด้วย เมื่อตอนที่หุ้นตกตอนเป็นขาลง ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเองไม่มีเงินซื้อหุ้นกับที่ราคาต่ำว่าที่ขายไป ซึ่งไม่ควรเล่นเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้านักลงทุนท่านได้เป็นถึงระดับMaster แล้วสามารถบริหารเงินได้ดีและมีวิธีจัดการที่ดี ก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งเฉพาะนักลงทุนท่านนั้นเท่านั้น แต่ของเน้นย้ำว่านักลงทุนระดับ Basic ไม่ควรลงทุนหุ้นด้วยเงินกู้Margin ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตามที
6. เมื่อมั่นใจแล้วว่าจะลงทุนในวิธี DSM สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เลือกหุ้นที่จะลงทุนและต้องอยู่กับหุ้นตัวนี้อย่างน้อย 2 ปี
DSM (4) – ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปี
ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปีด้วย
เพราะ จากผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นแบบ DSM จะได้กระแสเงินสดแฝงโดยเฉลี่ยขั้นต่ำอย่างน้อย 3% อาจได้มากกว่านี้ได้ เพราะบางเดือนได้มาก บางเดือนได้น้อยกว่านี้
จากสูตรคำนวณ 72 จำกันได้หรือเปล่า ถ้าเอาเลข 72 ตั้งหารด้วยจำนวน % ต่อปีผลลัพธ์จะได้เท่ากับจำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็น 2 เท่า
ผลลัพธ์ จำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็นสอง = 72/ (3%x12) = 2 ปี ดังนี้ภายในสองปีจะได้เงินเริ่มต้นเป็นทุกสองเท่า นั้นย่อมแสดงว่า เราสามารถทำให้ได้กระแสเงินสดแฝงเท่ากับจำนวนเงินต้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมต้องอยู่กับหุ้นตัวนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี และที่สำคัญตลาดหุ้นเมืองไทยสามารถทำให้คืนเงินต้นได้เร็วยิ่งขึ้นเพราะเป็น ตลาดที่มีความผันผวนสูง
DSM (5) – ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน
บรรดาผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์แบ่งได้ 2 ประเภท
1. นักลงทุน
2. นักเก็งกำไร
ลองถามตัวเองก่อนว่า ฉันเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไร
ตลาด ทุกชนิดบนโลกต้องมีคนทั้ง 2 ประเภท ถ้ามีแต่นักลงทุน ราคาหุ้นก็จะอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับไปไหน ถ้ามีแต่นักลงทุนที่ลงทุนเพื่อรับเงินปันผล ข่าวที่เราได้ยินอาจจะบอกว่า วันนี้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลง 0.5 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติใดๆ ถ้าผมหรือคุณจะเป็นนักเก็งกำไร แต่วิธีลงทุนวิธีDSM เน้นให้เป็นนักลงทุนที่แท้จริง
ข้อแตกต่างระหว่างนักลงทุนกับนักเก็งกำไร
นัก เก็งกำไร : ต้องการกำไรเป็นเงินสดในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 นาที, 1 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน ขึ้นอยู่กับความอดทนของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน
นักลงทุน : ต้องการรายได้จากกระแสเงินสดแฝงจากหุ้นและเงินปันผล
วิธีดูแบบง่ายสุดดูแบบนี้
ถ้าคุณซื้อหุ้นเพราะหวังว่า ราคาหุ้นจะขึ้นและขายเพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง คุณเป็นนักเก็งกำไร
ถ้าคุณซื้อหุ้นแล้วรอรับเงินปันผล พร้อมกับได้กระแสเงินสดแฝงนั้นแสดงว่าคุณเป็นนักลงทุน
นักลงทุนหรือนักเก็งกำไร ใครเหมาะที่จะใช้วิธี DSM
ถ้า คุณหวั่นไหวกับราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ใครๆ ก็เป็นกัน แต่สำหรับValue Investor (VI) แล้ว เมื่อลงทุนหุ้นใดไปแล้ว จะไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมั่นใจว่าบริษัทนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะดำเนินงานต่อไปได้ไม่ดี VI จึงจะเปลี่ยนไปลงทุนในบริษัทอื่น แต่ถ้าราคาหุ้นตกลงมามากเท่าใด ตราบใดที่บริษัทนั้นยังมีผลประกอบการที่ดี VI ก็ยังคงลงทุนต่อไป และอาจจะซื้อเพิ่มอีกด้วย วิธี DSM จึงเหมาะกับนักลงทุนแบบ VI ที่ใช้เงินลงทุนก้อนเดิมที่มีอยู่มาเพิ่มจำนวนหุ้น VI หลายๆ คนที่ผมรู้จักก็ไม่อยากใช้ DSM เพราะไม่ถนัด ส่วนนักเก็งกำไรส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิธี DSM ช้า ไม่ทันใจ แถมได้กำไรน้อยอีกด้วย
ดังนั้น DSM จึงเป็นส่วนผสมระหว่างนักลงทุนที่เป็น VI ในสายเลือด แต่เพิ่มทักษะในการซื้อขายหุ้นแบบนักเก็งกำไรเข้าไป เพื่อเพิ่มจำนวนหุ้นให้มากขึ้น โดยใช้การทำงานเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน ใครที่คิดจะใช้วิธี DSM เพียงเพราะหวังว่าจะช่วยทำให้เงินที่หายไปจากการซื้อขายหุ้นได้คืนมาล่ะก็ ลองคิดดูอีกครั้งนะว่าคุณมีจิตวิญญาณของนักลงทุนแบบ VI หรือไม่ เพราะถ้าคุณเลิกกลางคัน คุณจะสูญเสียมากกว่าการเก็งกำไรก็เป็นได้ และที่สำคัญวิธี DSM นี้ใช้เวลานานอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะคุ้มต้นทุนตอนเริ่มต้น
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:01:15 น.
DSM (6) – การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธี DSM
คุณสมบัติของหุ้นที่จะเลือกลงทุนด้วยวิธี DSM
1. ต้องเป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล โดยดูจากประวัติย้อนหลังของบริษัทหลาย ๆ ปี
2. ต้องเป็นหุ้นที่มีคนนิยม และมีจำนวนหุ้นซื้อขายในตลาดมากพอสมควร เพราะเราจะสร้างหุ้นเพิ่มจากส่วนต่างของราคา จากการแกว่งตัวของราคาจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นตัวนั้นเป็นที่นิยม ให้ดูมูลค่าการซื้อขายมาก แสดงว่าหุ้นตัวนั้นได้รับความนิยมมาก
3. ต้องเป็นหุ้นเสาหลักของเศรษฐกิจของประเทศ ประเภทว่าถ้าหุ้นตัวนี้แย่หรือล้มหายจากตลาด หุ้นตัวอื่นๆก็คงโดนฝังหรือออกจากตลาดไปก่อนหน้านี้แล้ว
4. ต้องเป็นบริษัทที่คุณอยากเป็นเจ้าของ
การที่จะหาหุ้นที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ สำหรับแต่ละคน อาจจะเป็นเรื่องยาก คุณจึงต้องยอมตัดคุณสมบัติบางประการออกไปบ้าง เช่น
- สำหรับคนที่มีเวลาซื้อขายหุ้น อาจจะเลือกหุ้นที่ราคาแกว่งตัวมาก โดยที่หุ้นนั้นอาจจะจ่ายปันผลไม่ดีนัก เพื่อที่จะสร้างจำนวนหุ้นให้เพิ่มในอัตราที่มากพอ เมื่อได้หุ้นมากพอแล้วจึงเปลี่ยนตัวไปยังหุ้นที่หมายตาที่จ่ายเงินปันผลที่ ดี อย่างพวกหุ้น Warrant ต่าง ๆ ต้องมีแผนตั้งแต่เริ่มแรกในการเล่นWarrant ตัวนั้นๆ เช่นต้องการดึงกระแสเงินสดแฝงออกจาก Warrant ให้เร็วและเน้นสร้างกระแสเงินสดแฝง ไม่ต้องการเพิ่มหุ้นแต่อย่างใด หรือเล่น Warrant ต้องการเพิ่มหุ้น และเก็บกระแสเงินสดแฝงตามสัดส่วนที่ได้ เอาไว้แปลงร่างจากหุ้น Warrant เป็นหุ้นตัวแม่ ตัวอย่างเช่น CPF-W2 ต้องการแปลงเป็น CPF หรือ ZMICO-W3 ต้องการแปลงเป็น ZMICO แต่มีข้อแม้อีกอย่างนึ่งว่า ตัว Warrant นั้นต้องมีอายุอย่างน้อย 2 ปีก่อนหมดอายุ แต่ถ้าได้มากกว่า 2 ปี ยิ่งดีซึ่งจะทำให้เราได้สร้างกระแสเงินสดแฝงได้เป็นจำนวนมากตามอายุที่ยาว นานของ Warrant ตัวนั้น ๆ
- สำหรับคนที่ไม่มีเวลาซื้อขายหุ้น ถ้าเลือกหุ้นที่มีการแกว่งตัวมากอาจจะกระตุกหัวใจ แบบนี้ควรเลือกหุ้นพื้นฐานดี จ่ายปันผลสม่ำเสมอ ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมาก คุณเพียงแค่ใช้เวลาดูแลเพียงวันละครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว
5. ถ้าใครมีประสบการณ์กับหุ้นบริษัทเงินทุน ตอนที่ปิดบริษัทเงินทุน 56 แห่ง ก็ควรหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่ม Finance แต่ก็ยังสามารถลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ได้ แต่ต้องมีกฎทางออกเตรียมพร้อมไว้เสมอ
6. เมื่อใดควรไล่หุ้นตัวนั้นออกจากพอร์ต มี 2 กรณี
6.1 หุ้นนั้นไม่มีการเคลื่อนไหวเลย
6.2 หุ้นที่มีราคาไหลลงมามากกว่า 50% จากราคาที่ซื้อมาสูงสุด แต่ยกเว้นว่า หุ้นตัวนั้นคืนทุนให้เรียบร้อยแล้ว จะเก็บไว้สร้างกระแสเงินสดแฝงต่อไป
7. หุ้นเป็นเพียงหนึ่งในยานพาหนะสำหรับการลงทุน (Investment Vehicles) ซึ่งนำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน ดังนั้นก็ไม่ควรยึดติดที่ตัวหุ้นใด ๆ เช่นกันและสามารถเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นได้ตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้ เพราะการยึดติดตัวหุ้นนั้นคือความทุกข์อย่างหนึ่ง จงปล่อยวางไม่อย่างนั้นท่านจะสูญเสียทุกอย่าง แต่ให้ยึดแนวทาง DSM แทนการยึดติดที่ตัวหุ้นแทน
เริ่มต้นด้วยจำนวนหุ้นเท่าใด
จำนวน หุ้นที่เหมาะสมสำหรับวิธี DSM คือ 10,000 หุ้น ดังนั้นถ้าหุ้นที่คุณหมายตาไว้มีราคาหุ้นละ 100 บาท คุณจะต้องมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท การเลือกหุ้นในระดับราคาที่เหมาะสมจะทำให้การซื้อขายหุ้นตามแผนการลงทุนทำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าคุณรักและอยากลงทุนในหุ้นราคา 100 บาทจริงๆ มี 2 วิธี
1. หาเงินล้านจากการทำงานมาลงทุน
2. เริ่มจากหุ้นตัวละ 10 บาท ใช้เงินลงทุน 1 แสน ลงทุนด้วยวิธี DSM อย่างมีวินัย ไม่เกิน 7 ปี คุณก็จะก้าวไปลงทุนในหุ้นระดับราคา 100 บาท ได้อย่างสง่าผ่าเผย (อัตราเฉลี่ย3%ต่อเดือน)
DSM (7) – เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM
เมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนในแบบ DSM ได้แล้ว คราวนี้ก็มาถึงเวลาเข้าซื้อหุ้น
กฎการลงทุนหุ้นวิธี DSM
1. ซื้อให้ถูกกว่าขาย
2. เวลาไม่จำกัดในการซื้อคืน (มิติของเวลาเป็นInfinity)
ตอน เริ่มต้นถ้าสามารถซื้อหุ้นได้ราคาที่ต่ำ แล้วหุ้นขึ้นยอมมีกำลังใจในการลงทุนหุ้นDSMได้มาก แล้วจะทำอย่างไร โดยการเขียวซื้อ แดงขาย หรือ กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง (DenSri Indicator=DSI) ซึ่งวิธีง่ายๆ แบบนี้เมื่อซื้อหุ้นแล้วหุ้นขึ้น (กอดหุ้นวิ่ง) แต่ถ้าลงก็ทำตามวิธี DSM ที่มีวิธีรับมือกับขาลง (ทิ้งหุ้นแดง) ดังนั้นการเข้าซื้อในจังหวะที่เหมาะสมก็มีความสำคัญมากแต่ก็ไม่ได้จำเป็น ต้องซื้อได้ต่ำที่สุดของราคาเช่นกัน (เพราะไม่มีใครซื้อได้จุดต่ำสุด และขายได้จุดสูงสุดของราคาหุ้นได้)
จะรู้ได้อย่างไรว่า เวลาไหนควรซื้อ
ประสบการณ์ จะบอกคุณเองว่า ซื้อตอนนี้ ตอนนั้น ราคาหุ้นจะขึ้น ไม่มีกฎตายตัวว่าจะดูอย่างไร เพราะถ้ามีกฎแบบนี้แล้ว ทุกๆ คนคงรวยกันหมดทั้งโลกแน่ๆ
ดังนั้น เมื่อเราไม่สามารถหาจุดซื้อที่ประกันได้แน่นอนว่าหุ้นจะขึ้น เราก็อย่าไปกังวล ให้เราหาจุดซื้อในช่วงที่หุ้นมีทีท่าขยับตัวขึ้นหุ้นเขียวอ่อนเริ่มซื้อได้ (เขียวซื้อ แดงขาย หรือ กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง ) ถ้าซื้อผิดจังหวะ ก็รับมือด้วยวิธี DSM ห้ามซื้อในเวลาที่หุ้นกำลังมีราคาลดลงเด็ดขาด จำไว้ว่า ถึงแม้ราคาหุ้นจะถูกแล้ว แต่ก็ยังมีถูกกว่า และยังมีถูกที่สุดอีกด้วย (นรกยังมีนรก สวรรค์ยังมีสวรรค์) อาจจะฝืนความรู้สึกสำหรับบางคน แต่ถ้าเคยบาดเจ็บจากการซื้อหุ้นราคาถูกแล้วอีกแป๊บเดียวราคาก็ถูกกว่าที่ ซื้อมา ก็จะเข้าใจเองว่าเป็นอย่างไร
ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่จุดเริ่ม ต้นเหมือนกับการเดินทางหมื่นลี้ สำคัญที่ก้าวแรก ที่เดิน จงเดินด้วยความมุ่งมั่น แต่ละก้าวที่เดินดูรอยเท้าที่ก้าวมาและก้าวต่อไปก้าวด้วยจิตใจที่นิ่งรู้ว่า ก้าวซ้ายหรือขวา เมื่อทำไปก็จะรู้ควรก้าวทางไหน และนักลงทุนแต่ละท่านก็จะสามารถสร้าง Model trade ของแต่ละบุคคลขึ้นมาได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างอัตโนมัติเหมือนกับการฝึก ขี่จักรยาน ตอนแรกต้องมีล้ม แล้วเราก็ลุกขึ้นมาขี่จักรยานอีก จนขี่จักรยานเป็น หลังจากนั้นเราก็สามารถขี่จักรยานได้อย่างอัตโนมัติโดนที่ไม่ต้องไปเริ่มฝึก ขี่จักรยานอีก ถึงแม้นไม่ได้ขี่จักรยานมาเป็นเวลานาน เพราะว่าเป็นเป็นไปโดยอัตโนมัตินั้นเอง
DSM (8) – กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง
ซื้อหุ้นแล้ว ไม่มีใครรับประกันได้ว่าราคาหุ้นจะขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีกลยุทธ์เพื่อรับมือในเวลาหุ้นลง
สมมุติว่าคุณซื้อหุ้นราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น
บนหน้าจอจะเป็นแบบนี้
Vol. Bid Offer Vol.
100,000 9.95 10.00 50,000
จำไว้ว่า ขายที่ Bid ซื้อที่ Offer อย่าไปเสียเวลาต่อรองราคาเหมือนเดินเป็นอันขาด
วิธี คือ ถ้าราคาหุ้นต่ำกว่าที่ซื้อ 2 ช่อง ให้ขาย 10% (คงพอจะได้คำตอบแล้วนะว่า ทำไมขายครั้งแรกต้อง 2 ช่อง เพราะจะได้รู้ว่าหุ้นลงจริง ไม่ได้ลงหลอกๆ จะได้ไม่เสียหุ้นง่ายเกินไป) และอย่ากลัวการขายเมื่อหุ้นลง (แดง) อย่ากลัวว่าจะซื้อหุ้นคืนไม่ได้เพราะว่าอย่างไรก็สามารถซื้อหุ้นคืนได้ตลอด เวลาที่ต้องการ ด้วยแผนการลงทุนที่ทำเอาไว้
ถ้าราคาลงมาเป็นแบบนี้
Vol. Bid Offer Vol.
200,000 9.90 9.95 170,000
ลงมา 2 ช่องแล้ว ขายเลยดีไหม ยัง ๆ อย่าใจร้อนรออีกนิด
ก่อน อื่นต้องรู้ว่าเราจะขายกี่หุ้น กรณีนี้เราจะขาย 1,000 หุ้น ให้ดูวอลุ่มที่ช่อง Bid ว่ามีมากแค่ไหน และดูด้วยว่ามีใครขายที่ราคา 9.90 หรือยัง
อย่าขายเป็นคนแรก เพราะอาจโดน กลต. เพ่งเล็งได้ว่ามีเจตนาทุบราคา (โดยเฉพาะขาย 100 หุ้น)
ถ้าสักพัก ราคาเป็นแบบนี้
Vol. Bid Offer Vol.
50,000 9.90 9.95 120,000
ถึง ตรงนี้ต้องจับตาดู ถ้าเห็นว่ามีขายครั้งละหลายๆ หมื่นหุ้น ก็อย่ารอช้ารีบขาย 1,000 หุ้นของเราได้เลย ตรงนี้แหละสำหรับมือใหม่ที่จะทำได้ยาก มัวแต่ลังเลว่าจะขายดีหรือไม่ อย่าลังเลครับ ถ้าคุณลังเลขายช้า แทนที่จะขายได้ที่ 9.90 กลับต้องไปขายที่ 9.85 คุณทำเงินหล่นหายไปแล้ว 0.05 บาทต่อหุ้น จากความลังเลในครั้งนี้ แต่สามารถลดความเก็งและกลัวได้ เมื่อเห็นราคาที่ Bid ต่ำกว่า 2 ช่องแล้ว ให้ขายเลย จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลานั่งเฝ้าเพื่อต่อรองเล็กๆ น้อยๆ
จบการขายครั้งแรก ให้กำหนดจุดซื้อคืนไว้ที่ 3 ช่องจากราคาขาย นั่นก็คือ 9.75 ราคานี้ให้มองฝั่ง Offer ถ้ามาถึงซื้อทันทีอย่ารีรอ
ถ้าสักพัก ราคาเป็นแบบนี้
Vol. Bid Offer Vol.
60,000 9.85 9.90 50,000
วิธี DSM คือรอ ไม่ต้องทำอะไร เพราะราคายังลงมาไม่ถึง 2 ช่องจากจุดเดิมที่เราเคยขายไปแล้ว
แต่ แบบของผมถ้าเห็นแนวโน้มแล้วว่ามีแรงขายเข้ามาตลอด ผมจะขายที่ราคา 9.85 อีก 5% แล้วไปขายที่ 9.80 อีก 5% รวมแล้วก็ 10% พอดี ถึงตรงนี้แล้ว ใครที่ยังไม่เข้าใจให้ลองทำดูนะ
มีคำถามปิดท้ายนิดนึ่งว่า ผมใช้กองหลังแค่ 20% ในเวลาปกติ
เฉลย คือ ขายทุก 2 ช่อง รับคืนทุก 3 ช่อง ถ้าเป็นขาลงในขาลงจริง ต้อง ขายให้เร็ว ขายให้ % มากที่สุด บ้างครั้งอาจถึง 10%, 20%, 25%, 50%, 100% ในไม้เดียวก็ได้ แต่ขอเน้นย้ำ ว่าห้ามเดาตลาด
จากที่ผ่านมาข้างต้นจะ เห็นได้ว่าขายทุก 2 ช่องและซื้อหุ้นคืนกลับทุก 3 ช่อง แต่ก็สามารถขยายช่องเหล่านี้ได้ อาจเป็นขายทุก 3 ช่องและซื้อหุ้นคืนกลับทุก 5 ช่อง แต่ถ้าขายไม่ทันตามช่องที่กำหนดไว้ไม่เป็นไรก็ให้ขายราคาที่เห็นตอนนั้นถึง แม้ว่าจะลงมาเป็น 4 หรือ 5 ช่องก็ตามเพราะอย่างนี้แสดงว่าหุ้นลงเร็วมาก และยังไม่ควรรีบเข้าไปรับหุ้นกลับตามแผนที่วางไว้รับที่ต่ำกว่า 3 ช่องหรือ 5 ช่อง
DSM (9) – DSM วัวเนื้อหรือวัวนม
เปรียบเทียบแนวคิดของ DSM กับการขุนวัวเนื้อและรีดนมวัว
DSM ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ทำแล้วจะรวย แต่เป็นกระบวนการที่ทำให้คุณไปถึงอิสรภาพทางการเงินในระยะเวลาที่คุณกำหนด ได้ โดยในระหว่างเดินทางในเส้นทางนี้ ร่างกายและจิตใจของคุณจะสดชื่นเบิกบาน เปรียบเสมือนมีอิสรภาพทางเวลา และ จิตใจ ไปพร้อมกับการมีอิสรภาพทางการเงิน
การ ซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไร ก็เหมือนการขุนวัวเนื้อให้อ้วนแล้วก็จับไปชำแหละ ส่วนการเก็บหุ้นปันผลไว้ก็เหมือนกับการเลี้ยงวัวนมเพื่อรีดนมวัว
การขายวัวเนื้อแต่ละครั้งได้เงินมากมาย ต่างจากการรีดนมวัวแต่ละวันที่ได้เงินทีละนิด แต่ได้สม่ำเสมอทุกวัน และได้ลูกวัวเป็นของแถมด้วย ลูกวัวที่ได้นี้ ถ้าเป็นแม่วัวนมเมื่อเลี้ยงให้โตก็จะได้แม่วัวไว้รีดนมวัวเพิ่ม ถ้าเป็นวัวตัวผู้จะเก็บไว้เป็นพ่อพันธุ์หรือขายเป็นวัวเนื้อก็ได้ทั้งนั้น การที่เลี้ยงวัวนมและรีดนมทุกวันวันละนิดวันละหน่อยนั้นคือการได้กระแสเงิน สดแฝงทุกวัน และเลี้ยงวัวนมต่อมาก็จะได้ลูกวัวตามมาอีกนั้นคือได้หุ้นฟรีจากกระแสเงินสด แฝงที่จะสะสมทุก ๆวันและจากเงินปันผลอีก ไม่ว่าคุณจะใช้ DSM กับหุ้นตัวไหน ถ้ายังคงแนวคิดและเป้าหมายในการเป็นเจ้าของวัวนมล่ะก็ คุณยังอยู่ในทางของ DSM ระหว่างทางจะขายลูกวัวตัวผู้ไปบ้างก็ไม่เป็นไร เงินที่ได้ถ้ายังนำกลับมาซื้อแม่วัวก็ยังอยู่ในแนวทางของ DSM
DSM มีข้อดีคือมีกระบวนการที่จะป้องกันไม่ให้ใครมาทำร้ายรังแกหุ้นของเรา นอกจากนั้น DSM ยังช่วยให้คุณสดชื่นเบิกบานกับหุ้นของคุณได้ทุกวัน ตรงนี้ล่ะคือความสุขที่แท้จริงที่เงินซื้อไม่ได้ และอย่าลืมตั้งเป้าหมายในอนาคตของคุณด้วยว่า เมื่อมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว จะทำอะไรบางคนมีเป้าหมายชัดเจนว่า จะใช้เวลาอบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี ไม่อยากให้เป็นเหมือนพ่อแม่สมัยนี้ที่ต้องทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน๊อตโดย ไม่มีเวลาสั่งสอนและให้ความอบอุ่นกับลูก เป้าหมายที่แน่ชัดนี้จะช่วยส่งให้คุณมีวินัยที่จะทำต่อไปจนถึงจุดหมาย คิดว่าเราต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเองในอนาคต ไม่ควรซื่อสัตย์ต่อตัวเองในอดีตที่ผ่านมา
DSM (10) – Warren Buffett ลงทุนวิธี DSM ด้วยหรือไม่
“My favorite time frame for holding a stock is forever” หมายถึง“เวลาที่ผมชอบที่สุดคือเวลาที่ผมได้ถือหุ้นไว้ตลอดไป” คำประโยคนี้คือหัวใจที่ทำให้ Warren Buffett ทำกำไรจากหุ้นได้มากที่สุด นั่นคือ Warren Buffett คิดและลงทุนในแนวทางของคนรีดนมวัว และจะเลือกหุ้นที่มีอนาคตดี ชนิดที่เรียกว่า ต่อให้เขาตายไปแล้วบริษัทนั้นก็ยังคงอยู่ต่อไป เช่น โค้ก ยิลเล๊ต และกอดหุ้นเหล่านั้นไว้ตลอดไป ซึ่งเป็นแนวคิดเช่นเดียวกับ DSM ถึงแม้ว่าวิธีการจะแตกต่างกันแต่จุดมุ่งหมายเป็นไปตามแนวทางเดียวกันและที่ สำคัญวิธีDSM น่าจะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าวิธีการของ Warren Buffett ที่ทำไว้ได้หรือไม่ คงต้องรอให้ได้รับการพิสูจน์กันต่อไปในอนาคตเหมือนคำกล่าวที่ว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” ดังนั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี เป็นเครื่องพิสูจน์วิธีDSM ทำให้มีคำกล่าวโดยเฉพาะว่า “My favorite time frame for trading on DSM is forever” สำหรับชาวDSMer ทุกท่าน
จะใช้ DSM ให้ประสบความสำเร็จ ต้องลืมเรื่องเวลา ต้องลืมเรื่องกำไรขาดทุน นักเล่นหุ้นที่มีราคาหุ้นติดสูงอยู่ ลองถามตัวเองสักนิดว่า กังวลใจเพราะอะไร เพราะราคาหรือเวลา ถ้าซื้อหุ้นแล้วรีบร้อนอยากขาย ขายถูกขายแพงก็เป็นทุกข์ ดังนั้นถ้าตั้งใจจะลงทุนตามแนวทาง DSM แล้วห้ามเลิกกลางคันเป็นอันขาด และต้องลงทุนตลอดชีวิตหรือว่าลงทุนระยะยาว ๆ มาก ต้องเลือกหุ้นที่อยู่กับเราไปจนวันตายเมื่อดังที่ Warren Buffett ได้ทำการเลือกหุ้นแล้วอยู่กับหุ้นตัวไหนตลอดชีวิต
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:03:09 น.
DSM (11) – ระบบการซื้อ - ขายหุ้น DSM
ระบบการซื้อ - ขายที่ดี คือส่วนสำคัญของ DSM
เมื่อ กระโจนเข้าสู่สมรภูมิหุ้น บ่อยครั้งที่อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้บ่อยๆ หลายๆ ครั้งที่เรามักไม่กล้าขายหุ้นเมื่อหุ้นลง จนหุ้นลงมาก ก็ยิ่งตัดใจขายลำบากยิ่งขึ้น วิธี DSM ช่วยสร้างระบบป้องกันตัวไว้อย่างแยบยล การตัดขายเพียง 10% นอกจากจะช่วยสร้างกระแสเงินสดแฝงแล้ว ยังเหมือนกับการประกันเพื่อลดความเสี่ยงของหุ้นและยังมีหุ้นที่เหลืออีก 90% ที่เราถือไว้อีกด้วย ซึ่งต้องปฏิบัติไปตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้และอย่าลังเล เมื่อถึงเวลาที่ต้องขาย ถึงเวลาซื้อก็ต้องซื้อ เรื่องง่าย ๆ แค่นี้จริง ๆ
ถึง ต้องเน้นว่าต้องมีการวางแผนการก่อนเทรดหุ้น ว่าถ้าหุ้นลงจะทำอย่างไร ถ้าหุ้นขึ้นจะทำอย่างไร เพื่อที่จะได้จำกัดและลดอารมณ์ร่วมตามอารมณ์ตลาดหุ้น แล้วจะประสบความสำเร็จการลงทุนตามแนวทางนี้ได้
การลงทุนควรจะเป็นไป แบบอัตโนมัติ คือไม่ต้องใช้ความคิดเลย มันจะเป็นไปตามระบบ ตามแผน ตาม step ของมัน ถ้าสร้างแผน สร้างระบบ มันจะทำหน้าที่แทนเรา ตัดสินใจแทนเราและแทนการใช้อารมณ์
ให้จำไว้ว่า ลงทุนด้วยวิธีDSM ไม่มีทุนเดิม ซื้อมาแล้วก็ให้ลบราคาซื้อออกไป และราคาขายขึ้นอยู่กับราคาในแต่ละวัน ในแต่ละเวลา ส่วนราคาซื้อคืน คือราคาที่ซื้อแล้วได้กำไรจากราคาที่ขายไป ซึ่งเป็นไปตามแผนการที่วางเอาไว้ว่าขายกี่ช่อง รับคืนกี่ช่อง
DSM (12) – หลักการซื้อคืน 3 แบบ
หลักการซื้อคืนดังนี้ 3 แบบ ดังต่อไปนี้
1. ซื้อคืนเมื่อราคาต่ำกว่าที่ขาย ประมาณ 5 ช่อง
2. ซื้อคืนเมื่อซื้อกลับมาได้รวดเดียว 3 ราคาที่ขายไป
3. ซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดขึ้นมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้อ
สมมุติว่าคุณซื้อหุ้นราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น ทีละ 10% เท่ากับ 1,000 หุ้น
กรณีที่ 1. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปหุ้นไปที่ราคา 9.90 บาท และสามารถรับหุ้นกลับได้ที่ 9.65 บาท ให้เคาะซื้อด้าน offer
กรณี ที่ 2. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปตามแผนที่วางไว้ ขาย ทุก 2 ช่อง รับหุ้นกับคืนทุก 3 ช่อง เช่น ขายไปที่ 9.90, 9.80, 9.70, 9.60, 9.50 บาทแล้วราคาหุ้นมานิ่งที่ 9.55 บาท ซึ่งสามารถรับกลับได้ที่ 9.90, 9.80, 9.70 ซึ่งสามารถซื้อกลับได้ 3 ไม้ที่ขายไป
กรณีที่ 3. หมายถึงว่าได้ทำการขายหุ้นไปตามแผนที่วางไว้ แล้วมีแรงขายออกมาจากหุ้นอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งไม่ควรรีบไปรับหุ้นกลับต้องรอให้หุ้นลงจนสุดและนิ่งแล้วราคาเริ่มขึ้นมา ได้ 4 ช่อง แล้วค่อยซื้อคืน เช่น ขายที่ 9.90, 9.80, 9.70, 9.60, 9.50, 9.40, 9.30, 9.20, 9.10, 9.00 บาท แล้วราคาก็ไหลลงไปอีกเรื่อย ๆ หลังจากที่เราขายหมดมือไปแล้ว สมมุติว่า ราคาลงไปถึง 8.50 บาท แล้วเริ่มนิ่งๆ มีแรงซื้อกลับเข้ามาอยู่ที่ 8.70 บาท ก็สามารถซื้อคืนทั้งหมดที่เราขายไปได้ทั้งสิบไม้ ถ้าหลังจากรับกลับแล้วขึ้นวิ่งขึ้นมาที่ 9.20 บาท ก็ยิ้ม แต่ถ้าซื้อแล้วหุ้นลงต่อทำอย่างไรดี ไม่ต้องกลัวก็ขายใหม่โดยเอาจุดที่เราซื้อคืน 8.70 บาท เป็นฐาน ถ้าลงมาที่8.60 บาท ขายตามแผนการลงทุนที่วางไว้
ข้อสังเกตเพิ่มเติม ว่าถ้าหุ้นไหลลงอย่างแรงอย่างมาก อาจมีการลงต่ออีกหลายวันต้องพิจารณาแต่ละเหตุการณ์ไป หรือรอให้ราคาหุ้นตกจนสุดหรือเรียกว่าสะเด็ดน้ำหรือมีดตกถึงเขียงแล้วค่อย เข้าไปซื้อคืนตอนที่หุ้นเขียวอ่อน ๆ และขึ้นมาจากจุดสุดท้าย 4 ช่อง เพื่อรับประกันว่าขึ้นจริง แต่อย่าลืมที่บอกไปนะว่าถ้าลง ก็ขายตามแผนต่อ อยากจะบอกและเน้นย้ำว่า DSM เป็นแนวคิดไม่ใช่วิธีการใด ๆ ไม่มีวิธีการใดดีที่สุดสำหรับนักลงทุนแต่ละท่าน ต้องค้นหาวิธีการที่เหมาะสมกับตัวนักลงทุนแต่ละท่านเอง
DSM (13) – ช่องว่างและการแปลงร่างคืออะไร
ช่อง ว่างของตลาดหุ้น ต้องใช้ให้ถูกจังหวะอย่าไปเร่งพอร์ต ควบคุมการใช้ช่องว่างด้วยระบบบัญชี โดยให้หุ้นสมดุลด้วยช่องว่างและให้ช่องว่างสมดุลด้วยระบบบัญชี
การ แปลงร่าง จะแปลงไปเป็นหุ้นกลุ่มใดตัวใดก็ได้ ขอเพียงให้มีราคาต่ำกว่าและอยู่ในช่อง Spread หุ้นเดียวกัน และเงินที่เหลือจากการแปลงร่าง ให้ถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงแต่มันเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม ซึ่งไม่ควรแปลงร่างมากเกินไปโดยไม่จำเป็น
การแปลงร่างใช้กับหุ้นขา ขึ้นเท่านั้น ถ้าหุ้นขาลงจะไม่แปลงร่าง(ยกเว้นกรณีที่ต้องการเปลี่ยนตัวเพราะต้องการไล่ หุ้นตัวเดิมออกจากพอร์ต) ปกติแล้วจะใช้การแปลงร่างเมื่อ หุ้นตัวนั้นเหลือในมือแค่ 10-20%
การแปลงร่างมี 2 แบบคือ แปลงร่างเป็นตัวมันเอง (ที่เหลือน้อย) กับ แปลงร่างไปเป็นหุ้นตัวอื่นๆ และหุ้นตัวอื่นๆ แปลงร่างมาเป็นตัวมัน นั่นคือการแปลงร่างอย่างสมดุลซึ่งกันและกัน
การแปลงร่างจะไม่ใช่การ เปลี่ยนตัวหุ้น แต่การแปลงร่างเป็นเหมือนการขยายการลงทุนในจังหวะที่ต้องขยาย นั่นคือ เมื่อแปลงจากหุ้น A ไปเป็นหุ้น B แล้ว เราต้องดูแลทั้ง Aและ B เราจะไม่ทิ้ง เมื่อใดที่มีจังหวะ เก็บหุ้น A คืนได้ ก็ควรเก็บกลับคืนมามันจะทำให้พอร์ตของเราค่อยๆ ขยายตัวอย่างเหมาะสม ไม่แนะนำให้แปลงร่างบ่อยเกินไป ทุกครั้งในการแปลงร่างต้องมีเหตุมีผลรองรับเสมอ และห้ามทำตามใจ
การ จะเข้าซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาที่แพงโดยอาศัยกระแสเงินสดแฝง จะซื้อเมื่อหุ้นตัวเดิมนั้นเป็นขาขึ้น และเหลือหุ้นในมือเพียง 10-20% (จากปริมาณที่เริ่มต้นมา) เพราะหากซื้อแล้วขึ้นต่อ ทรัพย์สินเราก็มีมูลค่าสูงขึ้นไปด้วยและเหลือ 10-20% อีก ก็จะเข้าไปซื้อเพิ่มอีก แต่หากซื้อแล้วลง จะทยอยเก็บคืนที่เคยขายไป ซึ่งการทำอย่างนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อเงินสดที่เหลือในพอร์ต เพราะจะควบคุมได้ แต่เกิดการสะดุดยังมีเงินสำรองหนี้ (เงินต้นทุนที่ดึงออกมาแล้ว) ไว้รองรับ
จากนั้นทำตามขั้นตอนตามแผน การขายและซื้อ จะได้กระแสเงินสดแฝง จากทั้งหุ้นเดิม และหุ้นใหม่(ที่ซื้อเดิมและที่ซื้อใหม่) ได้เงินกระแสเงินสดแฝงมาโปะกับเงินสำรองหนี้ได้เองอย่างอัตโนมัติ
และระบบบัญชีจะต้องรัดกุมเพื่อคุมการขยายพอร์ตอย่างมีจังหวะด้วย แล้วรูปแบบหรือขบวนหุ้นจะปรับตัวเองตามจังหวะของมันอย่างอัตโนมัติ
ช่วง Spread แต่ละช่วงราคาของหุ้น
ช่วงของราคา ช่วง(บาท)
ต่ำกว่า 2 บาท 0.01
ตั้งแต่ 2 ถึง 5 บาท 0.02
ตั้งแต่ 5 ถึง 10 บาท 0.05
ตั้งแต่ 10 ถึง 25 บาท 0.10
ตั้งแต่ 25 ถึง 50 บาท 0.25
ตั้งแต่ 50 ถึง 100 บาท 0.50
ตั้งแต่ 100 ถึง 200 บาท 1.00
ตั้งแต่ 200 ถึง 600 บาท 2.00
ตั้งแต่ 600 ขึ้นไป 4.00
ตัวอย่าง การเอาหุ้นมาแปลงร่างเมื่อหุ้นที่ขายไปไม่สามารถซื้อกับได้ และราคาก็ขึ้นไปสูงมากพอสมควร และมองว่าไม่สามารถรับกับได้ในระยะเวลาอันใกล้ เช่น หุ้น A ราคา 9.20 จำนวน 1,000 หุ้น แปลงร่างมาเป็นหุ้น B ที่ราคา 8.20 บาท จำนวน 1,000 หุ้น ได้เงินกระแสเงินสดแฝง 1,000 บาท (ยังไม่ได้หักค่าคอมมิชชั่น) แต่ก็ยังถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม
แต่หลังจากได้ทำการลงทุนด้วย วิธี DSM สามารถเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี ให้ติดตามได้ในบท DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร และสามารถได้รับกระแสเงินสดแฝงที่แท้จริง ไม่เหมือนกันวิธีการแปลงร่างที่ได้กระแสเงินสดแฝงเทียม
DSM (14) – หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน
นัก ลงทุนหุ้นวิธีDSM เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ...การเล่นหุ้นทั้งขาลงและขาขึ้น...หุ้นขึ้นได้เงิน หุ้นลงได้หุ้น... เป็นคำกล่าวที่เสี่ยงอย่างมาก ๆ ที่จริงแล้วต้องเป็น “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เป็นอย่างไร
ทำไมต้องพูดว่า “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เพราะเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น เสมือนทำกิจการให้เช่าหุ้น ดังนั้นหลักการคิดคือ กิจการที่เราทำอยู่กำลังดี กำลังเติบโต เราต้องเพิ่มการลงทุน หรือ ขยายกิจการออกไป แต่ถ้า เมื่อไรที่กิจการกำลังก้ำกึ่งระหว่างจะดีหรือไม่ดีไม่ควรเพิ่มการลงทุนหรือ ขยายกิจการเป็นอันขาด
ต้องแยกคำ “ซื้อหุ้นคืน” กับ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”(เงินจากกระแสเงินสดแฝง) เมื่อเราทำตามแผนการที่วางไว้ ของการลงทุนด้วยวิธี DSM เมื่อหุ้นเป็นขาลงเริ่มแดง ขายออกทุก 2 ช่อง ช่องละ10% ไปเรื่อย ๆ จะจนกว่าหุ้นเริ่มขึ้นจะซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้ออันนี้หมายถึงการ “ซื้อหุ้นคืน” แต่เมื่อไรที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม คือการเอาเงินจากกระแสเงินสดแฝงมาซื้อหุ้นเพิ่มเติม แต่อย่าลืมนะ ต้องซื้อหุ้นตัวที่เหลือน้อย หมายความว่าหุ้นตัวนี้ขายดี หรือขึ้นมามาก เปรียบเทียบได้กับเป็นกิจการที่ดี กำลังเจริญเติบโต ต้องมีการขยายงาน ถึงจะเริ่มมีการ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”จากเงินกระแสเงินสดแฝง ถ้าให้ดีการซื้อหุ้นเพิ่มต้องซื้อหุ้นอย่างน้อย 1,000 หุ้น หรือ 200,000 บาท ซึ่งซื้อแล้วสามารถทำงานได้ทันทีจากหุ้นที่ซื้อเพิ่มขึ้นมา
แล้ว เมื่อไร ถึงจะ “ซื้อหุ้นเพิ่ม” ใช้เงินจากกระแสเงินสดแฝงซื้อ มาถึงตอนนี้ทุกท่าน ต้องสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่ม อาจเป็นหุ้นตัวเดิม หรือ หุ้นตัวใหม่ อย่างไรดี
การสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่ม นั้นนักลงทุนแต่ละท่าน อาจไม่เหมือนกันก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น หุ้น A ราคา เริ่มแรก 10.00 บาทต่อหุ้น เมื่อหุ้นเริ่มลงหรือเริ่มแดง ก็ขาย ออกตามที่วางแผนเอาไว้ นั้นคือ 9.80, 9.70, 9.60, 9.50, 9.40, 9.30, 9.20, 9.10, 9.00, 8.90…, จนลงไปเรื่อยๆ ไปถึง และเริ่มนิ่งๆ ที่ 7.00 บาท(ช่วงขาลงช่วงหนึ่ง ๆ ) แล้วมีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นเริ่มกับตัวมาที่ 7.20 ก็เริ่มซื้อหุ้นคืนทั้งหมดที่ขายไป ที่ราคา7.20 บาท อันนี้เป็นการซื้อหุ้นคืน หลังจากนี้เงินที่ได้การกระแสเงินสดแฝงจากการขายและซื้อกับหุ้นตัวนี้และ ต้องการซื้อตัวเดิมกลับด้วย จะซื้อตรงไหนดี ให้แน่ใจว่าซื้อแล้วหุ้นขึ้นจริงๆ เปรียบเสมือนกับกิจการกำลังเจริญเติบโต และจะขยายงาน ถ้าพูดถึงของแผนการเดิมต่ออีกหน่อย หลังจากนี้เราจะตั้งจุด short หุ้นใหม่อีก 15 ช่อง นั้นก็คือที่ราคา 7.95 บาท จะเป็นราคาที่เราจะ short หุ้นใหม่สำหรับกองหลัง แล้วเราจะตั้งกฎตั้งเกณฑ์อย่างไรดีกว่ามันขึ้นจริงๆ จะได้ซื้อหุ้นเพิ่มสักทีเพราะต้องการขยายกิจการ แล้วแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่นตัวอย่าง จะซื้อหุ้นเพิ่มที่ขึ้นมาจากจุดที่ซื้อกับคืนมา 5 ช่อง นั้นคือ ราคา 7.45 บาท จะเป็นราคาที่เราจะ ซื้อหุ้นเพิ่ม แล้วคิดว่าหุ้นจะขึ้นต่อไป หรืออาจตั้งที่ 10 ช่อง , 15 ช่อง หรือ 20 ช่องไปเลย ก็ยังได้ เพื่อให้แน่ใจกว่า หุ้นขึ้นจริงๆ หรือกิจการกำลังดีจริงแล้วควรขยายงานต่อไป
ในการเริ่มลงทุนหุ้นวิธี DSM ลงเงินก้อนแรกไป ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนในพอร์ตหรือในกิจการให้เช่าหุ้น แต่อันนี้สำหรับนักลงทุนผู้ที่เริ่มต้นการลงทุนด้วยวิธีนี้เพราะเหมือนกับ เราทำกิจการอะไรสักอย่างในที่นี้คือกิจการให้เช่าหุ้น ยังไม่รู้ว่ากิจการจะดีหรือเปล่า จะรอดหรือเปล่า ยังไม่ควรลงเงินเพื่อเพิ่มการลงทุนใดๆ แต่เมื่อใด ที่เราทำกิจการได้ดี มีผลตอบแทนที่ดี สามารถเพิ่มการลงทุนเพื่อขยายงานหรือกิจการได้
เพราะ การลงทุนด้วยวิธี DSM เหมือนการลงทุนทั่วไป ไม่มีข้อห้ามในการเพิ่มเงินลงทุน แต่จะเพิ่มเงินลงทุนเพราะอะไร ถ้าเพิ่มเงินลงทุนเพื่อขยายกิจการ เพราะกิจการ DSM ที่ผ่านมาทำยอดได้ตามเป้า แบบนี้เพิ่มได้เลย แต่ถ้าเพิ่มเงินลงทุนเพื่ออุดปัญหาของกิจการ แบบนี้ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุน ต้องเน้นย้ำว่าให้เพิ่มเงินลงทุนในกิจการที่กำลังเจริญเติบโตหรือเพื่อขยาย กิจการเท่านั้น
DSM (15) – สิ่งที่ควรคิดเมื่อรักจะเป็น DSMers
นักลงทุนหุ้นวิธี DSM จะเรียกตัวเองว่าเป็น DSMers
1. DSMers ต้องมีเป้าหมายชีวิต อย่างน้อยที่สุด เราควรจะรู้ว่า ความฝันของเราคืออะไร แล้วมันเกี่ยวข้องกับการลงทุนแบบไหน อย่างไร ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ ๆเข้าไว้ หาความสัมพันธ์ระหว่างความฝันกับการลงทุนให้เจอ แล้วพยายามไปให้ถึง
2. ศึกษาวิธี DSM ให้ถ่องแท้ แล้วค่อยๆทดลองปรับใช้จนลงตัว แล้วกำหนดมันเป็นแผนการอันนำไปสู่เป้าหมายชีวิตที่กำหนดไว้ หรือความฝันที่ตั้งใจ DSM เป็นเพียงวิธีการหนึ่งของการลงทุน การลงทุนที่แท้จริงคือแผนการที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม นั่นเอง
3. ใช้เงินทำงานให้เรา ไม่ใช่ใช้ตัวเราทำงานเพื่อเงิน ในDSM ตัวเงินไม่ใช่สิ่งที่เราจะมองเรามองรายได้ที่เกิดขึ้น มองจำนวนหุ้นเพิ่มมากขึ้น ควรมีหักค่าบริหารพอร์ตออกมาทุกระยะเป็นค่าใช้จ่ายด้วยเพื่อเป็นกำลังใจใน การลงทุน กำไรไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจเลย เราต้องการหารายได้จากพอร์ตการลงทุนของเรา
เงินค่าของมันเป็นเพียงสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้ามันผลิตตัวมันเองไม่ได้ สิ่งที่ผลิตเงินได้ คือ พอร์ตของเราต่างหาก กระแสเงินสดแฝงที่เกิดขึ้น ควรนำมาขยายพอร์ตการลงทุนหลังจากหักค่าบริหารพอร์ตแล้ว ใช้เงินซื้อหลักทรัพย์ที่ดี แล้ววันหนึ่งมันก็จะกลายเป็นสินทรัพย์อย่างถาวรที่ผลิตเงินให้เราเปรียบ เสมือนตู้ATM ที่กดเอาเงินจากตลาดหลักทรัพย์ไม่มีวันหมด ตราบนานเท่านานที่ตลาดหลักทรัพย์ยังไม่ปิดทำการ หรือพังทลายไปเสียก่อน
4. สิ่งที่สำคัญสำหรับDSMers คือเวลา เพราะมันเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด
ใน ชีวิตหนึ่งๆ คนเรามีเวลา24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ละคนใช้ไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ดี เรามีเวลาให้ใช้จำกัดเพียงเท่านี้ ไม่มีวันใด ที่เราจะมี 25 ชั่วโมงไปได้ เนื่องจากเวลา คือสิ่งที่เราถูกจำกัดอยู่ และในแต่ละช่วงชีวิตของเรา จะมีสิ่งที่เราทำได้ กับทำไม่ได้อยู่ ในบางช่วงชีวิต ถ้าเราไม่ได้ทำสิ่งนั้นแล้ว เราก็จะไม่ได้ทำสิ่งนั้นอีกต่อไป
แบ่ง เวลาในแต่ละช่วงชีวิตอย่างสมดุล และใช้เวลาให้มีค่าที่สุดสำหรับตัวเอง และห่วงใยคนที่คุณรักด้วย เพราะการลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต
5. ค้นหาอิสรภาพทางใจให้พบ
ใน ระหว่างทาง เราอาจจะเหนื่อยล้า สับสน กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่ในความผิดพลาดมักจะมีโอกาสแฝงเร้นอยู่ด้วยเสมอ เหมือนกับเหรียญที่มีสองด้าน มีคนซื้อก็ต้องมีคนขาย แต่สิ่งหนึ่งที่จะคอยฉุดรั้งเราให้เดินทางต่อไป ไม่ยอมแพ้ ก็คือจิตใจของเรานี่เอง เราจะต้องค้นพบให้ได้ ว่าใจของเราต้องการอะไร ถ้าทำได้ เราจะมีความสุขมากกว่าที่เคยเป็นอยู่
DSM (16) – 7 ข้อ DSM ดั่งแก้วสารพัดนึก
ดั่งแก้วสารพัดนึกแบ่งได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. DSMers ต้องเข้าใจว่า เป้าหมายของเราคือ การเก็บสะสมหุ้นให้ได้มากขึ้น โดยไม่ต้องใช้เงินเพิ่ม
2. DSMers ต้องไม่สนมูลค่าพอร์ตหุ้นไม่ว่าจะมีมูลค่าเพิ่มหรือลดลง
3. DSMers สนแต่กระแสเงินสดแฝงเพราะกระแสเงินสดแฝง คือรายได้ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการเพิ่มจำนวนหุ้น การเร่งเพิ่มกระแสเงินสดแฝง โดยยังไม่เข้าใจดีพอ เป็นอันตรายพอควร เช่น การใช้ กระแสเงินสดแฝงในอนาคตนั้น ปลอดภัยดีจริง แต่หากยังไม่ชำนาญอาจพอร์ตชอร์ตได้ จุดสำคัญที่สุดของการขยายพอร์ตคือ ต้องไม่เกิดกระแสเงินสดชอร์ต เมื่อใดก็ตามที่ท่านเพิ่มเงินเพราะภาวะเงินชอร์ต ท่านกำลังเข้าสู่การสูญเสียการควบคุมบัญชีของท่าน เหมือนกับการลงทุนขาดทุนแล้วเอาเงินลงไปอีกหรือเหมือนซื้อหุ้นเฉลี่ยขาลง ซึ่งไม่ควรทำที่สุดอย่างหนึ่ง
4. การเข้าซื้อยังคงมีความสำคัญมาก ส่วนจะเข้าซื้ออย่างไร เช่นไร ล้วนแล้วแต่การฝึกฝนในแนวทางของตน หากเข้าซื้อ แล้วหุ้นลง เช่นเดิมได้กระแสเงินสดแฝง แล้วหุ้นขึ้น มูลค่าเพิ่ม(ไว้ไปได้กระแสเงินสดแฝงที่มากขึ้น) ล้วนแล้วแต่ดีทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าไม่ได้ดูที่มูลค่าพอร์ตที่เพิ่มขึ้น
5. DSMers ยิ้มตลอดเวลา ไม่เครียด เพราะหุ้นขึ้นทำให้มูลค่าเพิ่มเพื่อได้กระแสเงินสดมากขึ้น เมื่อหุ้นลงจะเกิดรายได้จากหุ้นทันที ดังนั้น DSMers จึงยิ้มตลอด ก้าวเข้าสู่เส้นชัย อิสรภาพทางการเงินอย่างสบายอารมณ์
6. DSM ไม่มีวิธีการที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ โดยยึดหลักการและแนวคิดเหมือนเดิม
7. DSMers ต้องเตรียมการ เตรียมใจ รับมือได้ในสภาวการณ์หลัก ๆ ของหุ้นดังต่อไปนี้ คือ ขาขึ้น ขาลง และ ไซด์เวย์ คิดและปรับใช้ให้ตรงกับวิธีการบริหารพอร์ต และนิสัยหุ้นและตัวนักลงทุนเอง
อย่าง ไรก็ดี DSM ใช้ออกได้ดั่งใจนึกนั้น ไม่ได้มาจากทฤษฎี หรือการคำนวณในExcel เป็นแน่แท้ ท่านต้องลงทุนจริงตามแนวทางนี้ และเก็บข้อมูลของตัวท่าน พอร์ตของท่าน วิธีการเทรดของท่านอย่างต่อเนื่อง และปรับใช้ให้เหมาะกับนิสัยของท่านเอง
DSM (17) – Q&A DSM จากใจถึงใจ
Q. สิ่งที่สำคัญที่สุดใน DSM คืออะไร
A. แนวคิดและใจ (วิธีการมาทีหลัง พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา)
แนว คิดที่สำคัญจริงๆก็คือ เราต้องการหากระแสเงินสดแฝงจากการซื้อขายหุ้นในพอร์ตของเราเอง เพื่อมาเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ต มูลค่าของพอร์ตจะเป็นอย่างไรยังไม่ใช่ประเด็นหลัก
ถ้าใจโลเลของชาว DSMers แบบลูกครึ่งจะแสดงออกมาเวลาที่หุ้นขึ้น ๆ ลง ๆ แล้ว เราคาดเดาตลาด(สังเกตว่า เดาถูกเราดีใจ เดาผิดเราเสียดาย อะไรแบบนี้ เมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้ ให้รีบฉุกคิดว่า ตอนนี้กำลังเดาอยู่นะ ผิดวัตถุประสงค์แล้ว) โดยเฉพาะเวลาที่หุ้นขึ้น เราอยากจะขาย ตรงจุดที่คิดว่า Peak 100% เหมือนตอนเก็งกำไร ซึ่งเราก็รู้ว่า ทำไม่เคยได้ ก็เลยอยากจะหาวิธีที่ไม่ต้องเดาตลาด จึงมาเลือกวิธีนี้ พอมาเลือกแล้ว จะเดากันอีกทำไม ถ้าอย่างนั้น ก็มาเล่นเก็งกำไรกันให้สนุกสนานเหมือนเดิม แล้วก็ร้องไห้ขายหมู ซื้องูกันต่อไปดีกว่าไหม
ดังนั้น DSMer พันธุ์แท้ ต้องไม่เดาตลาดและไม่สนมูลค่าพอร์ต ถึงราคาขายต้องขายตาม step ถึงราคาซื้อ ต้องซื้อตาม step ระยะยาวแล้วเห็นผลเอง มองให้เป็นการลงทุนระยะยาว ๆ
Q. ขายไปแล้วซื้อคืนไม่ได้ทำอย่างไรดี
A. ทำไมซื้อคืนไม่ได้รู้ไหม คำตอบคือหุ้นขึ้นไปแล้วไง หุ้นขึ้นไปแล้ว ถึงจุดชอร์ตแล้ว(ต้องมีช่วงห่างของจุดชอร์ตพอควรด้วย)ก็ต้องขายไปอีกทีละ step สมมติว่าซื้อคืนไม่ได้อีก หุ้นไปต่อ ขายอีกทีละ step ซื้อคืนไม่ได้อีก หุ้นขึ้นต่อ เห็นไหมว่า เราขายหุ้นไปในขณะที่หุ้นขึ้น
การที่เราขายหุ้น ไปในขณะที่หุ้นขึ้นแสดงว่า เราได้เงินสดกลับมามากกว่ามูลค่าหุ้นตอนที่ซื้อ ภาษาเก็งกำไร เขาเรียกว่า ขายได้กำไร(เพิ่มมูลค่าหุ้น ขายไป ได้เงินสดมากกว่าเดิมกลับมา มีแต่เรื่องดี) ไม่เห็นต้องสนใจตัวที่ยังซื้อคืนไม่ได้เลย
ทีนี้มาถึงจุดที่เรา เหลือหุ้นในมืออีกสัก 10-20% ก็แสดงว่าราคาสูงขึ้นมามากแล้ว(สมมติอาจจะสูงกว่าราคาซื้อสัก50ช่องก็แล้ว กัน)แล้วถูกไหมครับ ก็แก้ไขโดยการใช้ช่องว่าง นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นของกองหลัง ซึ่งอีกนานกว่าจะซื้อคืนได้ ไปซื้อหุ้นตัวอื่น(ซึ่งเราเล็งไว้แล้วว่าราคาถูกแล้ว ตรงนี้แนะนำด้วยความเห็นส่วนตัวว่าให้หาหุ้นที่เราจับตาราคาของมันอยู่ว่า กำลังลงสู่จุดoversold จะได้ผลดีมาก)
Q. ทำไมนำเงินตรงนี้ไปซื้อหุ้นตัวอื่น
A. ก็เพราะว่า หุ้นขึ้นลง โดยเฉพาะหุ้นพื้นฐานดี จะวิ่งรวดเดียวลงมา50 ช่องนั้นเกิดค่อนข้างนาน ระหว่างนั้น ถ้าเราไม่ทำอะไรกับเงินสดในพอร์ต ก็คือการเสียโอกาสหารายได้(มีหุ้นคือใช้สร้างรายได้ รายได้คือกระแสเงินสดแฝง) ดังนั้นจึงนำเงินส่วนนี้ เข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้
Q.ทำไมการนำเงินส่วนนี้เข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้จะไม่ทำให้กระแสเงินสดเกิดการไม่สมดุล
A.เพราะ ว่า ตอนที่เราขายหุ้นตัวแรกไปนั้น เราได้เงินสดมากกว่าตอนที่เราซื้อมันเข้ามา ดังนั้นการทำบัญชีว่า กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นมีมากกว่าเดิมหรือไม่ จะทำให้เรากันเงินออกมาซื้อหุ้นตัวอื่นได้ในปริมาณที่เราสบายใจว่า กระแสเงินสดจะเกิดการชอร์ตได้น้อยมากครับ
Q. ระบบบัญชีไม่ทำได้หรือเปล่า
A. ได้ครับ แต่เจ๊งแน่นอน ดังนั้นต้องทำบัญชีเสมอ และบัญชีเป็นส่วนหนึ่งในการลงทุนแนวทางนี้ซึ่งสำคัญมาก ๆ
Q. ทำไมต้องมีการแบ่งส่วนกระแสเงินสดแฝง ก่อนการขยายพอร์ต (25%ใช้สำรอง, 25%ใช้จ่าย, 50%ใช้ขยายพอร์ต)
A. ป้องกันกระแสเงินสดชอร์ต ทำสักระยะจะรู้ว่าเมื่อเราขยายงานมากๆ และเร็วเกินไป จะทำให้กระแสเงินสดไม่พอบ่อยเลย อีกอย่าง เราต้องใช้จ่ายเงินถึงต้องมีการดึงส่วน25%ใช้จ่ายออกมา
Q. ควรซื้อเพิ่ม เวลาไหน
A. นี่สิ จุดสำคัญมากที่สุดของการเพิ่มมูลค่าและปริมาณหุ้นในพอร์ต คุณเด่นศรีบอกว่า ให้ซื้อตัวที่หุ้นในมือเหลือน้อยที่สุด ก็คือหุ้นที่แข็งกว่าตลาดนั่นเอง ถ้าทำตามวิธีของพี่เด่นก็คือว่า หุ้นที่ขึ้นมาเยอะแล้ว มีโอกาสที่จะลงมาก ถ้าลงมาแล้ว เราจะมีกระแสเงินสดแฝงมากมายเลย
แต่ผมขอเลือกทำอีกแบบหนึ่งนะ
ผมจะ เลือกซื้อตัวที่เข้าสู่จุด oversold เป็นหลัก เพราะหุ้นจะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าได้มากกว่า ซึ่งการขยายงานเพิ่มปริมาณหุ้นของพอร์ต อาจจะช้ากว่า แต่มูลค่าของหุ้นจะลดลงน้อยกว่า และเพิ่มขึ้นเข้าสู่จุดคุ้มทุนเร็วกว่า จะได้สบายใจเร็วๆ
Q. ไม่ขายขาขึ้นทีละน้อยๆดีกว่า หรือขายดีกว่ากัน
A. อันนี้แล้วแต่ความถนัด สำหรับผม ผมว่าไม่ขายดีกว่า ถ้าผมขายทีละ1% ล่ะก็ ผมแบ่งพอร์ตออกมาส่วนหนึ่ง เล่นเก็งกำไรไปเลยเต็มๆดีกว่า มันกว่าด้วย แต่ต้องเก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกันด้วย
Q. ไม่มีเวลาดูหุ้นทำอย่างไรดี
A. เปิดตลาดทั้งเช้า-บ่ายดูหนึ่งรอบ ใกล้ปิดตลาดทั้งเช้า- บ่ายดูอีกหนึ่งรอบ (เป็น 4 รอบ) ขายได้เท่าไร ขายไป ซื้อได้เท่าไรซื้อมา ถ้าระหว่างวัน ราคาปิด และเปิดห่างกันพอควร คุณได้กระแสเงินสดแฝงพอสมควร ดังนั้นต้องเลือกหุ้นราคาปิดเปิดที่วิ่งมีความห่างพอสมควร
Q. ฉันอยากรู้ว่า ฉันเหมาะเป็น DSMers หรือเปล่า
A. ก่อนทดสอบต้องทำดังต่อไปนี้ก่อน
-อ่าน หนังสือพ่อรวยเล่มต่าง ๆ เช่น พ่อรวยสอนลูก, พ่อรวยสอนลงทุน, เกษียณเร็วเกษียณรวย, และใครเอาเงินของฉันไป แล้วดูว่าเห็นด้วยกับแนวคิดอิสรภาพทางการเงินหรือไม่
-อ่านกระทู้หลักๆใน คลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินเสียก่อน และทดสอบความเข้าใจของตัวคุณเอง กับคนที่สนใจวิธีนี้อย่างจริงจัง และทดลองปรับใช้ดู
ถ้าคุณทำมาได้ถึงตอน นี้ และยังอยากทำต่อ คุณก็เป็นDSMers ในแนวคิดมาครึ่งตัวแล้ว(เพราะอ่านหนังสือมาเป็นเล่ม อ่านกระทู้มาเป็นหน้ายังอยากทำได้ แสดงว่ามีใจให้กันจริงๆ )
วิธีทดสอบคือ
แบ่ง พอร์ตของคุณเป็นสองส่วนจะด้านละกี่เปอร์เซ็นต์ก็ได้ ตามใจจะกล้าเสี่ยง หรือจะเปิดสองพอร์ตก็ได้ แล้วใช้เงินนั้น เข้าซื้อหุ้นตัวเดียวกัน ด้านหนึ่งใช้ DSM เต็มตัว(ทั้งใจ วิธีการและระบบบัญชี) อีกด้านหนึ่งเก็งกำไรเต็มตัว เก็บข้อมูลทั้งหมด ทำอย่างต่ำ 1 ปี แล้วเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าและการเติบโตของพอร์ตระหว่างกัน
ถ้า หุ้นเป็นขาขึ้นพอร์ตเล่นเก็งกำไรควรจะได้มากกว่า แต่อย่าเพิ่งได้ใจ หุ้นมีรอบของมัน เดี๋ยวก็ต้องลง ตอนนั้น เรายังสามารถทำกำไรจากมันได้อยู่หรือไม่ และวิธีDSM จะอยู่กับหุ้นตัวนั้นตลอดเวลา หุ้นขึ้นหรือลง เราอยู่กับมันตลอด มันเหมือนการเติมน้ำลงไปในแก้วหลายแก้วที่มีก้นเดียวกันครับ บางครั้งแก้วนี้เราเติมมาก(หุ้นขึ้น)หน่อย แก้วนั้นเราเติมน้อย(หุ้นลง)หน่อย พอถึงเวลามันก็จะไหลลงไปที่ก้นเดียวกัน จนปริมาณน้ำในแต่ละแก้วค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นพร้อมๆกัน ขออย่างเดียวอย่าให้แก้วแตก(หุ้นเจ๊ง) แต่ถ้าเก็งกำไร คุณเลือกแก้วมาหลายใบ น้ำแก้วนี้คุณเติมมาก แก้วนี้คุณเติมน้อย ถ้าคุณเติมน้อยมากกว่าเติมมาก สุดท้ายคุณจะมีน้ำน้อยลง(เก็งกำไร ถ้าเก่งจริง คุณรวยที่สุดอยู่แล้ว นั่นคือคุณต้องเติมน้ำได้มากกว่าเดิมตลอดเวลา)
วิธีทดสอบนี้ ระหว่างทาง อุปนิสัยของคุณ การมองโลกของคุณ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของคุณ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเทรดของคุณเอง และในไม่ช้า คุณอาจจะค้นพบวิธีที่ทำให้ทั้งสองด้าน มารวมกันเป็นเนื้อเดียวได้ก็เป็นได้
DSM (18) – DSM ความเหมือนที่แตกต่าง
เปรียบ เทียบความเหมือนที่แตกต่างกับการลงทุนชนิดอื่นๆเช่น ลงทุนระยะยาว(VI=Value Investor), ลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร (VS=Value Speculator), ลงทุนวิธี DSM โดยเปรียบเทียบกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ระยะเวลาการลงทุน
การลงทุนระยะยาว…ถือหุ้นระยะยาว
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ถือหุ้นระยะสั้น
การลงทุนวิธี DSM…ถือหุ้นตลอดชีวิต
2. การเลือกหุ้น
การลงทุนระยะยาว…ดูพื้นฐานอย่างรอบคอบ
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ดูหุ้นที่กำลังนิยมในขณะนั้นๆ
การลงทุนวิธี DSM…เลือกหุ้นที่ชอบและอยู่ได้นานในตลาดหุ้น
3. เป้าหมาย
การลงทุนระยะยาว…กำไรและเงินปันผล
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…กำไร
การลงทุนวิธี DSM…รายได้จากกระแสเงินสดแฝงและเงินปันผล
4. เมื่อหุ้นเป็นขาลง
การลงทุนระยะยาว…เพิ่มเงินลงทุน เพื่อซื้อหุ้นเพิ่ม
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ถือเงินสด แล้วรอสภาวะตลาดขาขึ้น
การลงทุนวิธี DSM…เพิ่มหุ้น โดยไม่เพิ่มเงินลงทุน
5. เมื่อหุ้นเป็นขาขึ้น
การลงทุนระยะยาว…ถือยาว รอจังหวะทำกำไรเมื่อสภาวะตลาดเปลี่ยนไป
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ทำกำไรเป็นรอบๆ
การลงทุนวิธี DSM…เพิ่มหุ้นโดยอาศัยกระแสเงินสดแฝงและช่องว่าง
6. เมื่อเกษียณ (เลิกเข้ามาซื้อขายหุ้น)
การลงทุนระยะยาว…รับเงินปันผล
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ไม่มีรายได้เพราะไม่ได้ซื้อขายหุ้น
การลงทุนวิธี DSM…รับเงินปันผล
7. หากหุ้นมีมูลค่าเหลือ เท่ากับ 0
การลงทุนระยะยาว…ขายตอนปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยนไป
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ขายหนีเอาตัวรอดไปแล้วตามปัจจัยทางเทคนิค
การลงทุนวิธี DSM…แปลงร่างหุ้นเปลี่ยนไปเป็นตัวหุ้นตัวอื่นที่ดีกว่า
8. หุ้นที่ถือ
การลงทุนระยะยาว…ยึดติดกับหุ้นที่ได้เลือกสรรแล้ว
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ไม่ยึดติดกับหุ้นตัวใดๆ
การลงทุนวิธี DSM…ไม่ยึดติดกับหุ้นตัวใดๆ
9. ค่าคอมมิชชั่น
การลงทุนระยะยาว…มาร์เก็ตติ้ง ไม่ชอบเพราะไม่ค่อยซื้อขาย
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…มาร์เก็ตติ้ง ชอบตอนตลาดกระทิง โดยเฉพาะ Daytrade เพราะซื้อ 100% ขาย 100%
การ ลงทุนวิธี DSM…มาร์เก็ตติ้งชอบตอนตลาดหมี เพราะถือซื้อขายทีละ10% แต่มาร์เก็ตติ้งชอบเพราะมีปริมาณการซื้อขาย และแนวทางนี้ยังได้บุญเพราะทำให้มาร์เก็ตติ้งมีรายได้ถึงแม้ว่าเป็นตลาดหมี ซึ่งไม่มีปริมาณการซื้อขายก็ตาม
10. จิตใจ (ความหนักแน่น)
การลงทุนระยะยาว…จิตใจต้องหนักแน่นสุดๆ ราวกับหินผา
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ใจต้องเด็ด ขาดทุนคือขาดทุน ต้อง stop loss ต้องไวและเร็ว
การลงทุนวิธี DSM…จิตใจเยือกเย็น สุขุม รู้จักยืดหยุ่น ทำใจเป็นกลาง
11. วินัย (ในการลงทุน)
การลงทุนระยะยาว…ไม่หวั่นไหว กับความผันผวนของตลาดไม่ซื้อหรือขาย ถ้าไม่ใช่ราคาที่เลือกไว้แล้ว
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…อย่าปล่อยให้กำไรเป็นขาดทุน ต้อง stop loss เมื่อถึงจุดที่กำหนด
การลงทุนวิธี DSM…เมื่อถึงราคาที่วางแผนไว้ ต้องซื้อหรือขาย อย่างเคร่งครัด อย่าโลภ อย่าเดาตลาด
12. เวลาที่ใช้ดูแลหุ้น
การลงทุนระยะยาว…เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการคัดสรรหุ้น แต่เมื่อซื้อแล้ว ไปเที่ยวรอบโลก แล้วค่อยกลับมาขายก็ยังได้
การ ลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ตอนตลาดกระทิง ถ้าปวดปัสสาวะ ต้องปัสสาวะใส่ขวดไว้ก่อน ห้ามกระพริบตาบ่อยๆ แต่ถ้าตอนหุ้นเป็นขาลง (ตลาดหมี) ต้องไปไกล ๆ ที่ไหนก็ได้ ห้ามนั่งหน้าจอเด็ดขาดไม่อย่างนั้นเสียเงินแน่นอน
การลงทุนวิธี DSM … นั่งเฝ้าหน้าจอดูหุ้นเป็นระยะ ด้วยความสม่ำเสมอ แล้วมีเวลานั่งอ่านหนังสือ ดูหนัง เล่นกับสุนัขได้
13. เวลานอน
การลงทุนระยะยาว … นอนเมื่อไรก็ได้และไม่ต้องกังวลใจเรื่องเวลาที่จะต้องตื่น หน้าตาสวย หน้าอิ่มเสมอ
การ ลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร … นอนไม่เป็นเวลา นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เพราะกังวลใจเรื่อง set วันรุ่งขึ้น ยิ่งรู้ว่าดาวตกหนัก ทำให้ตาลึกโบ๋ อารมณ์ไม่ดีได้
การลงทุนวิธี DSM … มีวินัยในการนอนและการตื่นเป็นเวลา ตอนตลาดเปิดจะได้มานั่งขายทีละ 2 ช่อง ทีละ 10% ได้ทันตอนตลาดเป็นลบ บางวันเป็น sideway ขายแล้ว นอนต่อได้เลย ท้ายตลาดค่อยตื่นมาซื้อคืน ถ้าซื้อคืนได้ เรียกได้ว่า นอนไปยิ้มไป แต่ถ้ายังเปรียบเทียบได้ไม่ถึงใจ พบกับตอนต่อไปที่ เปรียบเทียบ VI กับ DSM แบบถึงลูกถึงหุ้น
DSM (19) – เปรียบเทียบ VI กับ DSM แบบถึงลูกถึงหุ้น
บทนี้ได้เน้นการเปรียบเทียบ VI กับ DSM เจาะลึกถึงก้นขั้วหัวใจ แบบถึงลูกถึงหุ้นโดยเปรียบเทียบเป็นข้อๆไป ดังต่อไปนี้
1.การมองและวิธีคิด
VI… "ไม่เล่นหุ้น" ข่าวดีปล่อย ข่าวร้ายซื้อ เป็นการสวนกระแสแบบพิจารณารอบคอบ เพราะเข้าใจอย่างดีว่าหุ้นตก แค่เพียงราคาในตลาดตกชั่วคราว แต่ถ้าบริษัทนั้นๆ มีความสามารถในการแข่งขันเชิงยั่งยืน (ส่วนต่างกำไรดีและการหมุนเวียนสินค้าคงคลังมีสภาพคล่อง) หมายถึงเราได้ของดีราคาถูก เราหาประโยชน์จากตลาด ไม่ยอมให้อารมณ์ตลาดมาชักนำ ต่างจากคนทั่วไป ที่ดูราคาเฉพาะกราฟหุ้น เพราะราคาหุ้นที่ผันผวนส่วนใหญ่เกิดจากจินตนาการในทางผิดๆ โดยเฉพาะเน้นไปทางร้าย ไม่ใช่ปัญหาธุรกิจ
DSM… มองหุ้นที่ถือและครอบครองเสมือนเป็นทรัพย์สิน ซึ่งต้องการสร้างรายได้จากทรัพย์สินนั้นๆ โดยได้รับกระแสเงินสดแฝงเปรียบเสมือนเก็บค่าเช่าจากทรัพย์สินชิ้นนั้นๆ ต้องเริ่มจากความเข้าใจในการลงทุน จะทำให้เกิดความคิดในการลงทุนที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้การลงทุนในหุ้นตามแนวทางนี้ และก็จะได้รับผลของการลงทุนอย่างคุ้มค่า อย่างต่อเนื่องและระยะยาวตลอดไปเรื่อย ทำให้เห็นว่าหุ้นตกก็ยิ้มได้ และหุ้นขึ้นก็ยิ่งยิ้มได้ ดังนั้นยิ้มได้ทั้งสองทางไม่ว่าจะขึ้นหรือจะลง
2.ขาขึ้น
VI…ปล่อยให้ port โต ระยะยาว เก็บไปจนแก่ มีความสุขที่ทำได้
DSM…ปล่อยให้ port โต ขายตามแผนที่วางไว้ได้รับกระแสเงินสดแฝงมากขึ้น มีความสุขเช่นเดียวกัน
3. ขาลง
VI…เก็บให้เยอะที่สุด โดยเฉพาะเมื่อราคาตก รีบเข้าไปเก็บเพิ่มหุ้น เป็นโอกาสวิเศษ ที่จะรีบวิ่งไล่เก็บสะสมของดีไว้ใน port
DSM…ขาย short ทีละ step แล้วจับคู่ซื้อคืน ซื้อราคาถูกกว่าที่ขายเท่ากับได้กระแสเงินสดแฝง (Phantom cash flow) นำกลับมาซื้อสะสมจำนวนหุ้นเพิ่ม การไม่เอาเงินลงทุนมาใส่เพิ่ม แต่อาศัยเงินจากกระแสเงินสดแฝงเท่านั้น ทำให้พอร์ตโตขึ้นเรื่อยๆ แบบสะสมใจเย็น
4. การวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐาน
VI…
1.หุ้น เด่น เลือกพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เช่น P/E, P/B ต่ำ หนี้น้อย เงินสดมาก คงคลังลดลง กำไรดี ปันผลพอควร และเติบโตระยะยาว และถ้า Market Cap สูง เป็นตัวเด่นในอุตสาหกรรมนั้นๆ ถ้าผูกขาดได้ยิ่งดี
2. หุ้นที่ดูด้อย เลือกหุ้นตัวที่มีปัญหาปัจจุบัน แต่ยังมีสินทรัพย์และเงินสดเหลือเฟือ (พิจารณาจากงบการเงินและการหาข้อมูลรอบข้าง) ซึ่งหมายถึงจะได้หุ้นมีคุณภาพแต่ราคาถูก คนอื่นมองข้าม
3. ต้องเลี่ยงหุ้นที่ร้อนแรงและสินค้าเล่นราคากันหรือมีคู่แข่งมากเกินไปในตลาดรวมทั้งสินค้าฉาบฉวยอายุสั้น
DSM…แม้ ปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช่หัวใจของการสร้างกระแสเงินสดแฝง แต่ก็ต้องมองหาเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และเติบโตระยะยาว อย่างเช่น ใน SET 50 หรือ SET 100
เพราะพอหุ้นตก สุดท้ายยังไงก็ต้องดีดกลับมา และเราอยากถือยาวโดยไม่ขายทิ้งจึงควรพิจารณาหุ้นที่เด่นและแกร่งในวงการ (แต่ระวังพอควรพื้นฐานดี แต่หุ้นนิ่งเกินไปไม่สวิงเลย ก็จะทำกระแสเงินสดแฝงได้ช้ามาก) การวิเคราะห์งบการเงิน ไม่ได้เป็นประโยชน์เท่าใดนัก เพราะความเป็นจริง งบการเงินถูกตบแต่งหลอกตาชาวบ้านได้ง่าย
5. การวิเคราะห์ทางเทคนิค
VI…ไม่จำเป็น แต่ต้องการหาความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของกิจการและสินค้าของบริษัทนั้นๆ สำคัญกว่า
DSM…ไม่จำเป็น เพราะเป็นการเสียเวลา ที่เอาอดีตมาดูอนาคต
6. จุดเด่นของแต่ละวิธี
VI…ดู หุ้น ซื้อเหมือนหวังจะครอบครองกิจการ ดูอุตสาหกรรมและสินค้า รวมทั้งคู่แข่งรอบข้างด้วย และเป็นการเก็บ "ห่านทองคำ" ให้ "ออกไข่" ให้กินระยะยาว โดยเฉพาะมีเงินปันผล
สุดท้ายก็คืออิสรภาพทางการเงิน
DSM…อาจ มีหุ้นมากตัวได้ แต่การสวิงของหุ้นต้องสูง เพราะจะได้กระแสเงินสดแฝงมาก จาก step ของหุ้นที่ราคาตก ถ้ามีเงินปันผลก็ยิ่งดี และต้องมีการสะสมหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยจากกระแสเงินสดแฝงที่ได้ เป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ด้วย สุดท้ายก็คืออิสรภาพทางการเงิน
7. กระแสตลาดและความเป็นไปของสังคม กับการตัดสินใจลงทุน ซื้อขาย
VI…อย่าตื่นข่าวลือและระวังหุ้นที่ร้อนแรงเพราะปั่น แต่ก็ต้องอ่านหาความรู้รอบตัวมากพอควร
คอยตามเก็บหุ้นที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการ เมื่อราคาตก (ชั่วคราว) ไปตามตลาด
แต่ คุณค่าของหุ้นตัวนั้นๆ ยังเยี่ยมอยู่ รวมทั้งกวาดสายตามองหาหุ้นอื่นที่คนอื่นไม่สนใจ และวิเคราะห์กิจการที่ยังไปได้ไม่ค่อยดี แต่ยังเป็น "ของดี" ด้วย ระวังเรื่องอัตราดอกเบี้ย ถ้าเพิ่มมูลค่าธุรกิจจะลดลงเสมอและจะทำให้หุ้นราคาตก
DSM…ไม่ต้องใช้ความรู้รอบตัวของเหตุการณ์มาก อาจทำให้ไขว้เขวด้วยซ้ำ
เพราะอาจฉุดอารมณ์ให้ร้อนรนหรือซบเซาไปตามตลาด โดยให้ยึดทำตามแผนการอย่างสม่ำเสมอ
และการวิเคราะห์ทางการเงิน ความเชื่อถือไม่ค่อยมีประโยชน์ได้ได้มากนัก
และ พวกข่าวดีข่าวลับต่างๆ ทั้งหลาย นักลงทุนวงใน มักนำไปหาประโยชน์ก่อนหน้านี้แล้ว แต่การมุ่งใช้วินัยในการตามเก็บกระแสเงินสดแฝง และค้นหาอิสรภาพทางการเงิน แบบวิธีพอเพียง ทำให้สุขุม เยือกเย็น และเป็นสุขกว่า โดยเฉพาะช่วงหุ้นขาลงที่ผู้อื่นมักเป็นทุกข์
ยิ่งทำให้นักลงทุนโดยวิธีการนี้มีความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
8. การให้เวลา
VI…ไม่ต้องนั่งเฝ้ามากนัก แต่ก็ต้องดูแลเพื่อตัดสินใจ โดยเฉพาะสภาวะตลาดไม่น่าไว้วางใจ
ตลาดหมี มีโอกาสซื้อ ตลาดกระทิงสร้างผลกำไร
DSM…ต้อง คอยนั่งเฝ้าดูการตกของหุ้น...อย่างสบายใจ เพื่อจับคู่ “ขายเพื่อซื้อ” หรือ “ขายเพื่อสร้างโอกาสซื้อ” แต่ควรไปตามวิถีการดำเนินชีวิตปกติแต่ละคน
9. การใช้ชีวิต
VI & DSM…
เรียบ ง่าย สบายๆ แบบพระราชดำรัส อยู่แบบพอเพียง ไม่ยึดติด "รวยเพราะพอเพียง" และเหลือเฟือด้วยซ้ำ แบ่งรายได้ส่วนเกินไปทำบุญหรือช่วยเหลือสังคมบ้าง นำมาหาความสุขให้ตนเองบ้างพอควร เพราะเงินเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชี
วันนี้ พวกเราใช้ DSM กับหุ้นโดยเปรียบเหมือนว่ายังต้องการดูแลกิจการด้วยตัวเองอยู่ (ด้าน S ใน Rich Dad) จนวันนึ่งได้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ คงไม่ต้องมาคอยดูแลกิจการธุรกิจให้เช่าหุ้นด้วยตัวเอง ตอนนั้นผมก็คงเป็นนักลงทุนแบบ VI ได้เต็มตัว (B & I ใน Rich Dad)
DSM (20) – เมื่อหุ้นเป็นเทวดาตกสวรรค์จะทำอย่างไร
การ เลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธีDSM ควรที่เลือกหุ้นออกมาจาก SET50Index หรือ SET100Index ซึ่งเป็นตัวที่เป็น BIG CAPS และจะเสนอรายชื่อหุ้นที่เป็นBIG CAPS 60 ตัว มีมูลค่าตลาดหุ้นรวมกัน 81% ถ้าหุ้นพวกนี้ขึ้น SET ก็ขึ้น ถ้าหุ้นพวกนี้ตก SET ก็ลง
รายชื่อหุ้นมีดังต่อไปนี้
PTT, SCC, ADVANC, PTTEP, BBL, TOP, KBANK, SHIN, KTB, THAI, SCB, SCCC, LH, AOT, ATC, TOC, RATCH, SCIB, TMB, BANPU, ITD, EGCOMP, NPC, BAY, SSI, BEC, TRUE, PSL, BOA, TTA, CP7-11, RCL, TPIPL, DELTA, UCOM, TUF, CPF,BECL, SYNTEC, NFS, EWC, TPC, KEST, CPN, UBC, HANA, PICNI, BGH, ITV, BIGC, KK, MCOT, SATTEL, ASP, TT&T, CK, MAKRO, TISCO, TNX, AA ทั้งหมด 60 ตัว
แล้วถ้าเราไปเลือกหุ้นผิดตัวผิดจังหวะอย่างเช่น N-PARK จะทำอย่างไรดี
ถ้า ย้อนกลับไปดูเมื่อประมาณ ต.ค. 2546 ราคาสูงสุด 9.60 บาท แล้ววันที่ 17 พ.ย. 2547 ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 0.75 บาท ภายในระยะเวลาปีเศษ และราคาปัจจุบันวันที่ 25 เม.ย. 2548 ราคาปิดอยู่ที่ 0.93 บาท แล้วจะทำอย่างไร หุ้นตัวนี้จะเรียกว่า เทวดาตกสวรรค์
ดังนี้จึงมีหลักยึดง่าย ๆ คือ
1. กฎการออก
2. กฎการควบคุมหุ้น(ตัวปัญหา)ในมือ
3. กฎการเข้าซื้อหุ้น
เพราะ มันจะทำให้นักลงทุนต้องคิดและวางแผนไว้ล่วงหน้าเลยว่า ....ถ้าหุ้นตัวนั้น มันล้มหายไปจากตลาดหุ้น เราจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ควบคุมความเสี่ยงได้แค่ไหน
จึงได้มีการเน้นย้ำนักลงทุนทุกท่านว่า ...ให้ซื้อหุ้นที่ เหลือในมือน้อย ...
เพราะ หากหุ้นตัวใด ขายแล้วซื้อคืนได้ตลอด นั่นหมายความว่า หุ้นตัวนั้นราคาค่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ ซึ่งหากไม่กำหนดราคาสุดท้ายที่จะออกจากหุ้นตัวนั้น ก็ควรที่จะไม่เพิ่มจำนวนหุ้นนั้น
และมีคำกล่าวดังต่อไปนี้ฝากนักลงทุนทุกท่านว่า
“หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปสูงเท่าเดิม สร้างผลตอบแทนมากกว่า หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปต่ำเท่าเดิม”
“หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปสูงเท่าเดิม สร้างผลตอบแทนมากกว่า หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปต่ำเท่าเดิม”
“หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปสูงเท่าเดิม สร้างผลตอบแทนมากกว่า หุ้นหลายตัวที่ราคาไม่กลับไปต่ำเท่าเดิม”
ท่องสัก 3 รอบ แล้วจะค้นพบและความจริงบางอย่าง
แล้ว ถ้าลงทุนหุ้นบางตัวที่มีการเคลื่อนไหวมาก แต่เป็นกิจการที่ไม่ดีแล้วโดนขึ้นเครื่องหมาย SP จะทำอย่างไรดีก่อนอื่นต้องตอบคำถามเหล่านี้ก่อนว่า (หุ้น DTM)
คำถาม เราต้องการอยู่กับหุ้นตัวนั้นอยู่หรือเปล่า
1. ถ้าตอบว่า ยังต้องการอยู่กับหุ้นตัวนั้นต่อไปหลัง ปลดเครื่องหมาย SP ให้ทำตามแผนที่วางไว้
2. ถ้าตอบว่า ไม่ต้องการอยู่กับมันแล้ว ต้องลองตอบตัวเองก่อนว่า ไม่ได้ต้องการอยากอยู่กับหุ้นตัวนั้น ก็ไม่ต้องฝืนใจอยู่กับหุ้นตัวนั้น...เหมือนว่า ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่า ยังไงก็ต้องเลิกกับเพื่อนชายไม่หล่อคนนี้ แล้วทำไมไม่รีบเลิกซะตั้งแต่วินาทีนี้เลย แล้วเอาเวลาที่เหลือ ไปอยู่กับเพื่อนชายที่หล่อกว่านี้ ดีกว่านี้ และมั่นคงกว่านี้... (เปรียบเทียบกับหนุ่มหล่อกับไม่หล่อ)
แต่ถ้าเรารักชายหนุ่มคนนี้ก็ ต้องอดทน เค้าจะนิสัยจะเลวร้ายก็ต้องทน แล้วนอกจากต้องอดทนแล้ว ต้องพยายามทำให้เค้ากลายเป็นคนดีด้วย แล้วจะไม่เสียเวลาที่ทน...แต่ถ้าไม่รักเค้า ก็อย่าไปเสียเวลากับเค้า เอาเวลาไปใช้กับสิ่งที่เราหวังเราต้องการจะคุ้มค่าและดีกว่า สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับหุ้นได้ทุกตัว
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:07:13 น.
DSM (21) – DSM บุญหรือบาป
มี คำกล่าวว่า “คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น” หรือ “ตลาดหุ้นคืนบ่อนพนันที่ถูกต้องตามกฎหมาย” บุคคลภายในมองตลาดหุ้นเปรียบเสมือนบ่อนการพนัน ดังนั้นมีหลายคนหลายท่านบอกว่า การเล่นหุ้นมีคนได้มีคนที่เสียเงิน ดังนั้นน่าจะเป็นบาปกรรม เพราะคนที่ได้เงินบาปมีความโลภต้องการได้เพิ่มอีก ส่วนคนที่เสียเงินก็เสียใจ เศร้าใจ และอยากจะเอาคืนอีก บางคนหาเงินด้วยวิธีสุจริต หรือต้องกู้หนี้ยืมสินเพิ่มมาเล่นหุ้นเพียงเพื่อต้องการเองเงินคืนและคาด หวังว่าจะได้กำไรอีกด้วย เรื่องอย่างนี้ก็ย่อมเป็นธรรมดาสำหรับบุคคลที่จะคิดอย่างนี้ เพราะในตลาดหุ้นมีนักเก็งกำไรหรือนักพนันจำนวนมาก เหมือนคำกล่าวที่ว่า
การพนันไม่เคยทำให้ใครได้ดี
การพนันเป็นอุบายไปสู่ความยากจนอย่างแท้จริง
เมื่อชนะการพนัน ก็ลิงโลดใจ ใช้เงินอย่างไร้คุณค่า ขาดความยั้งคิด
เมื่อเสียพนัน ก็หม่นหมอง ร่างกายและจิตใจหดหู่ เกิดความแค้นที่จะเอาชนะ
ยิ่งตั้งใจจะเอาชนะ ก็ยิ่งติดการพนันลึกจนยากจะถอนตัว
แต่ ถ้าเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นด้วยวิธี DSMการลงทุนในหุ้นเพื่อสร้างรายได้จากทรัพย์สิน (หุ้น) เพื่อรับกระแสเงินสดแฝงกับเงินปันผล แล้ววิธีนี้ไม่เป็นบาปหรือนั้นเป็นคำถามที่ตามมา เราชาว DSMers มาวิเคราะห์กันซิว่าเป็นบาปหรือเปล่า หรือว่าได้บุญ ดังต่อไปนี้
1. ตอนขายหุ้นเราชาว DSMers ขายที่ Bid ทันทีโดยเฉพาะหุ้นกองหลังจะขายที่จุด Low สุดเสมอของวันของรอบเสมอ นั้นย่อมแสดงว่า คนที่ต้องการซื้อหุ้นและได้ตั้งรับซื้อหุ้น ก็ย่อมได้หุ้นในราคาที่ถูกกว่านักเก็งกำไรท่านอื่น ๆ หมายความว่ามีคนต้องการซื้อหุ้นให้ได้ราคาถูกเราชาว DSMers ยินดีให้ขายหุ้นราคาถูกกว่าให้ด้วยความเต็มใจ ดังนั้นได้บุญเพราะทำให้ผู้อื่นมีความสุขได้รับสิ่งที่เค้าต้องการคือหุ้น ราคาถูกที่สุด
2. ตอนซื้อหุ้นเราชาว DSMers ซื้อที่ Offer ทันที และจะซื้อที่ราคาจุด High สุดของวันของรอบเสมอ นั้นย่อมแสดงว่า คนที่ต้องการขายหุ้นและได้ตั้งขายหุ้น ก็ย่อมได้ขายหุ้นในราคาที่สูง ว่านักเก็งกำไรท่านอื่นๆ หมายความว่ามีคนต้องการขายหุ้นให้ได้ราคาสูงเราชาว DSMers ยินดีที่ซื้อหุ้นราคาที่สูงกว่าด้วยความเต็มใจ ดังนั้นได้บุญเพราะทำให้ผู้อื่นมีความสุขที่ได้รับสิ่งที่เค้าต้องการคือได้ ขายหุ้นราคาสูงที่สุด
จากการวิเคราะห์ทั้งตอนขายและซื้อหุ้นของชาว DSMers ได้รับผลบุญเพราะทำให้ผู้อื่นได้รับสิ่งที่เค้าต้องการมากที่สุดของนักเก็ง กำไร มันเลยส่งผลดีต่อชาว DSMers ทุกท่าน ในการลงทุนด้วยความสุข มีรอยยิ้มไม่ว่าหุ้นจะตกหรือว่าหุ้นจะขึ้น เพราะคงจากอานิสงค์ของการลงทุนวิธี DSM นั้นเองทำให้สบายอกสบายใจในการลงทุนหุ้น เราชาว DSMers ต้องช่วยกันเผยแผ่วิธีการลงทุนแบบนี้ออกไปมาก ๆ เพื่อคนอื่นที่ลงทุนด้วยวิธีนี้จะได้รับอานิสงค์ผลบุญนี้ ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ ด้วย
อันนี้เป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่ไม่ลับ คือ การขายจุด Low สุด ซื้อ High สุด หมายถึงว่าขายจุดlow สุดรอบนี้แต่เป็นราคาที่สุดกว่าอีกจุดที่จะซื้อในอนาคต ส่วนซื้อhigh สุด แต่เป็นราคาต่ำกว่าจุดที่เคยขายมาก่อนแล้ว นั้นเอง
DSM (22) – 10 คำถามที่ดี ย่อมได้คำตอบที่ดี
1.ทำอย่างไรจึงจะซื้อหุ้นคืนได้ทั้งหมด
ตอบ. ด้วยมิติของเวลาเป็นInfinity ไม่ต้องกลัวที่จะซื้อคืนไม่ได้ สามารถซื้อคืนได้เสมอและรอจนกว่าราคาจะต่ำกว่าที่ขาย ถ้าราคาไม่ขึ้นไม่ลงมาอาจรอการแตกพาร์ แล้วค่อยซื้อค่อย ขอให้ซื้อต่ำกว่าที่ขายเป็นใช้ได้
2. เมื่อซื้อคืนได้หมดแล้ว และหุ้นเปลี่ยนเป็นขาขึ้น จะทำอย่างไรกับหุ้นในมือ
ตอบ. ให้เอากระแสเงินสดแฝงเข้าซื้อเพิ่มหุ้น(หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน) แล้วก็ปล่อยเล่นเป็นกองกลาง และกองหน้าเล่นขาขึ้นตามลำดับ โดยการขึ้นของหุ้นจะมีหุ้นตกเรียกว่าขาลงในขาขึ้น แสดงว่ามีจังหวะทำเงินตลอดเวลาอยู่ที่ว่าเกณฑ์ที่ท่านตั้งไว้เป็นอะไร
3. การวัดผลของการดำเนินงาน (พอร์ตหุ้น) ใช้อะไรเป็นตัววัดบ้าง
ตอบ. ค้นหาคำตอบได้ที่DSM (26) - หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว
4. หน้าที่ของหุ้นในพอร์ต คืออะไร
ตอบ. สร้างรายได้กระแสเงินสดแฝงและเพิ่มหุ้นขึ้นเรื่อยๆเหมือนการออกลูกออกหลานของหุ้น
5. หน้าที่ของกองหลัง คืออะไร
ตอบ. ทำให้รู้ถึงจุดต่ำสุด และสิ่งที่สำคัญคือกองหลังนี้อย่ามองว่ามันเป็นหุ้นที่ปล่อยคุมพื้นที่ แต่มันเหมือน....เงินทุนสำรองสำหรับขยายงานในภาวะฉุกเฉินรวมทั้งเป็นแหล่ง เงินสำรองสำหรับรองรับความผิดพลาดจากการดำเนินงานได้ด้วย
6.หน้าที่ของกองกลางคืออะไร
ตอบ. ใช้ตอนที่ตลาด side way และไม่ทำให้เราเสียหุ้นในมือเร็วและมากเกินไป
7. หน้าที่ของกองหน้า คืออะไร
ตอบ. ใช้ตอนตลาดขาขึ้น ไว้บุกตะลุยขายในราคาที่สูง(โดยกำหนดราคาสูงกว่ากองหลังตัวบน ขึ้นไปอีก 15 ช่อง)
8. หน้าที่ของกระแสเงินสดแฝง คืออะไร
ตอบ. เพิ่มหุ้น ลดทุน สร้างรายได้ เป็นเงินสำรอง
9. หน้าที่ของเงินสำรองหนี้ 25 % คืออะไร
ตอบ. ค้นหาคำตอบได้ที่ DSM (24) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร
10. หน้าที่ของเงินลงทุนเพิ่ม (อีก 75% ที่เหลือของกระแสเงินสดแฝง) ใช้งานอย่างไร
ตอบ. ใช้เพิ่มการลงทุน ซื้อหุ้นตัวที่เหลือน้อยหรือขยายการลงทุน ซื้อหุ้นตัวที่อยากได้เพิ่มเติม
โดยที่ส่วน75% นี้ มาจากการรวมกัน 2 ส่วนของ เงินลงทุนเพิ่ม (50%) + ค่าใช้จ่ายค่าบริหารงาน (25%) (ถ้ามี)
DSM (23) – DSM รับประกันเงินต้นคืน100%
นัก ลงทุนทุกท่าน เคยได้ยินการรับประกันในแบบต่าง ๆ กันมาแล้ว อย่างพวกอสังหาริมทรัพย์ มีการประกันอัคคีภัย มีประกันแผ่นดินไหว หรือ พวกขนส่งต่าง ๆ ก็มีการประกันภัยสินค้าและอุบัติหรือ เมื่อเราไปรับประทานอาหารภัตตาคารที่มีชื่อเสียง ไม่พอใจในรสชาติของอาหารก็ยังมีประกันความพอใจ หรือไปซื้อสินค้าพวกเครื่องไฟฟ้า เสื้อผ้า ก็ยังมีการรับประกันความพอใจ แต่ทำไม นักลงทุนในหุ้นถึงไม่มีใครรับประกันคืนเงินต้น ทั้ง ๆ ที่มีแต่โบรกเกอร์ชื่อดังต่าง ๆ ออกบทวิเคราะห์ต่าง ๆ มากมายแล้ว ราคาหุ้นไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ให้ไว้กับนักลงทุนที่เป็นลูกค้าของโบรก นั้น ๆ ดังนั้นนักลงทุนหุ้นทุกท่านไม่มีโบรกไหนเลยที่จะรับประกันคืนเงินต้น แล้วอย่างนี้จะทำอย่างไรดี
ถ้าอย่างนี้ไม่มีโบรกไหนกล้ารับประกัน คืนเงิน แล้วเราซึ่งเป็นนักลงทุนเองทำไม ไม่รับประกันคืนเงินให้กันตัวของนักลงทุนเสียเอง ซึ่งจริง ๆ แล้วนักลงทุนผู้ชาญฉลาดจะรับประกันคืนเงินให้กับตัวเองเสมอ แต่ถ้านักลงทุนบางท่านไม่สามารถรับประกันคืนเงินให้กันตนเองได้ อย่างนี้ต้องเรียกว่าเป็นนักพนัน ไม่ใช่นักลงทุน แต่จริง ๆแล้วในโลกแห่งการลงทุน มีนักพนันจำนวนมากที่คิดว่าตนเองเป็นนักลงทุน แล้วอย่างนี้เราซึ่งเป็นนักลงทุนจะทำอย่างไรถึงจะรับประกันเงินให้กันตัวเอง ได้ และต้องการเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาดจะทำอย่างไร
แต่มีการลงทุนหุ้น วิธี DSM สามารถรับประกันคืนเงินต้นให้กับตัวนักลงทุนเอง และที่สำคัญรับประกันคืนเงินต้นถึง 100% ถึงแม้ว่าราคาหุ้นจะไม่สูงกว่าตอนที่เริ่มซื้อหุ้นตอนเริ่มแรกก็ตามที ดังนั้นการเล่นหุ้นด้วยวิธีDSM เป็นการสร้างรายได้ ให้ก่อเกิดกระแสเงินสดแฝง จากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น เมื่อได้กระแสเงินสดแฝงมา แบ่งเป็นตามสัดส่วนของเงิน และนำเอา25% เงินสำรองหนี้มีการดึงเงินต้นออกมาจากเงินต้นทุนที่เริ่มลงลงทุน จนครบตามจำนวนเงินเริ่มต้นทั้งหมดอย่างนี้ก็เรียกว่าได้ เป็นการรับประกันคืนเงินต้นถึง100% เลยที่เดียว
สรุปว่าการลงทุนหุ้น วิธีDSM เป็นการประกันคืนเงินต้น 100% และตัวนักลงทุนเองยังได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน (หุ้น) นั้น ๆ อยู่เหมือนเดิมแล้วยังได้ทรัพย์สิน (หุ้น) เพิ่มขึ้นมาอีกจำนวนมากเมื่อเทียบกับตอนเริ่มต้นของลงทุน ซึ่งเมื่อเปรียบวิธีการลงทุนหุ้นแบบอื่น ๆ ซึ่งไม่มีใครกล้ารับประกันคืนเงินต้นเลย สักบาท เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วทำไม ไม่เริ่มศึกษา แนวคิดการลงทุนวิธี DSM ตั้งแต่ตอนนี้ และยังทำให้เราได้เป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาด (Sophisticated Investor) อีกด้วยเช่นกัน
ที่กล้าบอกว่าเมื่อได้เงินต้นคืน 100% แล้วยังได้ทรัพย์สินเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก วิธีDSM ดึงเงิน 25% ซึ่งเป็นเงินสำรองหนี้ออกมาจากกระแสเงินสดแฝง สามารถดึงได้จนครบ 100% ซึ่งนั่นก็คือเป็นการรับประกันหุ้นของเราเอง 100% ด้วย เมื่อวันใด ที่เราได้เงินต้นครบ วันนั้นจะเป็นวันที่เรามีเงินในพอร์ตเป็น 4 เท่า จากการลงเงินทุนครั้งแรก เพราะว่า 3 เท่าจากกระแสเงินสดแฝง อีก 1 เท่าจากจำนวนเงินที่เริ่มต้น และเราได้รับเงินต้นคืนมาหมดแล้วอีกเช่นกัน และติดตาม DSM (24) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร ในตอนต่อไป
DSM (24) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร
กระแส เงินสดแฝง (Phantom cash flow) คือการลดค่าของทรัพย์สิน (หุ้น) ที่เราถือครอง และได้ กระแสเงินสดออกมาจากทรัพย์สิน (หุ้น) โดยที่ยังถือครองทรัพย์สินนั้นอยู่ เหมือนคำกล่าวว่า “กำไรเมื่อซื้อ ไม่ใช่กำไรเมื่อขาย” เพราะการรอให้ราคาหุ้นสูงขึ้นถือว่าช้ามากและเสี่ยงมาก
ถ้าเปรียบเทียบได้กับเรามีอสังหาริมทรัพย์(หุ้น)ให้เช่า แล้วเก็บค่าเช่าทุกเดือน(กระแสเงินสดแฝงเก็บค่าเช่าทุกวัน) โดยที่เรายังเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์(หุ้น)นั้นอยู่ จะเห็นได้ว่า อัตราความเร็วของหุ้นที่ให้เช่าสามารถเก็บค่าเช่าทุกวันย่อมได้เร็วกว่า อสังหาริมทรัพย์ที่เก็บได้ทุกเดือน ดังนั้นหุ้นให้ผลตอบแทนที่สูงมากว่าอสังหาริมทรัพย์ แต่อย่างไรเราก็ไม่สามารถที่จะมีแต่หุ้นได้อย่างเดียวแล้วจะทำอย่างไรดี ถ้าเราอยากได้อสังหาริมทรัพย์ อยากมีธุรกิจต่างๆ เพื่อจะได้สร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง และสิ่งของมีค่าอื่นที่เป็นทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดแฝงได้ แต่ก็มีค่าทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ดังต่อไปนี้
หลังจากได้กระแสเงินสดแฝงแล้วเอาไปทำอะไรดี แบ่งอย่างไรดี
แบ่ง ได้ เป็น % ตามสัดส่วนดังนี้
1. 50% นำไปลงทุนซื้อหุ้นตัวเดิมหรือหุ้นตัวใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มกระแสเงินสดแฝง
2. 25% นำไปเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนตัว แต่ละวัน แต่ละเดือน ถ้าได้มากพอหรือว่ามากกว่าเงินประจำเดือน ก็สามารถออกจากการทำงานประจำได้ แล้วออกมาทำธุรกิจให้เช่าหุ้น อย่างเต็มตัวได้เลย
3. 25% นำไปเป็นเงินสำรองหนี้ ส่วนนี้เรียกว่า สำคัญมาก ถึงมากที่สุดได้เลย เพราะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาล อย่างไม่มีขีดจำกัดใด ๆ จากเงินส่วนนี้ แบ่งเป็นประโยชน์ตามความสำคัญความจำเป็นดังนี้
3.1 ดึงเงินต้นที่ลงทุนออกจากพอร์ตหุ้น ถ้าได้ครบตามจำนวนเงินเริ่มต้นที่ลงทุน หมายความว่า พอร์ตหุ้นทั้งพอร์ตเป็นของฟรีทั้งหมด เน้นว่าของฟรีทั้งหมดหลังจากเอาเงินต้นออกหมดแล้ว
3.2 นำไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เช่น คอนโดให้เช่า บ้านให้เช่า อาคารพาณิชย์ให้เช่า หอพักให้เช่า เป็นต้น เพื่อสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง
3.3 นำไปลงทุนสร้างธุรกิจ เพื่อสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง
3.4 นำไปลงทุนในตราสารหนี้ เช่น ตั๋วคงคลัง พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เป็นต้น
3.5 นำไปลงทุนในตราสารทุน ในหุ้นที่มีเงินปันผลดี แต่ขาดสภาพแคล่ง และต้องการเป็นเจ้าของบริษัทนั้น เช่น ประกัน (AYUD, BKI, PHA, TIP) หรือ โรงพยาบาล (BGH, BH, AHC, KDH) เป็นต้น
3.6 นำไปลงทุนกองทุนรวมแบบต่าง ๆ เช่น RMF, LTF ซึ่งยังช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย ถ้ายังต้องเสียภาษีอยู่ แต่ถ้าไม่ต้องลดหย่อน ลงทุนกองทุนรวมแบบอื่นๆ ได้เช่นกัน
3.7 นำไปลงทุนในประกันชีวิตมี 4 ประเภท ดังนี้ แบบที่มีกำหนดระยะเวลา, ตลอดชีพ, ออมทรัพย์, รายได้ประจำ แต่ให้เน้นที่ออมทรัพย์ และยังได้ประโยชน์จากลดหย่อนภาษีเงินได้อีก ไม่เกิน 50,000 บาทต่อปี และต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป ถ้าต้องการลดหย่อนภาษีอยู่
3.8 นำไปลงทุนในสลากออมสิน ซึ่งต้องซื้ออย่างน้อย 10,000 เลข จะทำให้ได้รับรางวัล เลขท้าย 4 ตัว ทุกงวด ส่วนรางวัลอื่น ถือว่าเป็นของแถม ถ้าได้นะ
3.9 นำไปลงทุนฝากแบงก์ประจำทุก 3, 6, 12, 24 เดือนกินดอกเบี้ย (ถ้าได้ดอกเบี้ยสูงมากอัตราเงินเฟ้อ) ถ้าต่ำว่าเงินเฟ้อ ก็ให้พิจารณาฝากเท่าที่จำเป็นเพราะอย่างไรต้องมีเงินฝากธนาคารเพื่อความมั่ง คงและความสะดวกสบาย หรือ อาจเป็นเงินประกันตัวเวลาโดนตำรวจจับเวลากลางคืนหรือวันหยุดราชการ เพราะตอนนั้นคงไม่มีตำรวจที่ไหนรับใบหุ้นเป็นหลักค้ำประกันนะแน่นอน
3.10 นำไปลงทุนทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ เช่น ทองคำ อัญมณี (เพชร พลอย ฯลฯ) เครื่องประดับ ภาพเขียน พระเครื่อง โบราณวัตถุ แสตมป์ เป็นต้น ซึ่งมีคุณค่าด้านทางจิตใจและจิตวิญญาณเป็นหลักสำคัญ ถึงจะไม่ได้มีกระแสเงินสดหรือกระแสเงินสดแฝงก็ตามที
3.11 นำไปลงทุนสร้างบุญไว้ชาตินี้และชาติหน้า เช่น สร้างโรงเรียน สร้างมหาลัย สร้างห้องสมุด สร้างวัด สร้างโบสถ์ สร้างมูลนิธิเพื่อการศึกษา เพื่อเด็ก เพื่อคนชรา เพื่อคนป่วย เพื่อพระภิกษุป่วย เพื่อสัตว์ร่วมโลก เป็นต้น เพราะว่า คนเราตายไป ไม่สามารถนำทรัพย์สินติดตัวไปได้ แต่มี 2 สิ่งนี้ที่นำติดตัวไปได้คือ กรรมดี (บุญ) กรรมไม่ดี (บาป) เหมือนคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ว่า “เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ สู้เป็นคนที่มีคุณค่าไม่ได้” แต่ถ้าเราเป็นคนที่ประสบความสำเร็จและเป็นคนที่มีคุณค่าต่อตัวเอง, สังคม, ประเทศชาติ, ต่อโลก ย่อมเป็นสุดยอดปรานารถทางโลก ถ้าเราฝันให้ไกล ฝันให้กว้าง เพิ่มขนาดความฝัน ขยายกรอบความคิด ย่อมไปได้ไกลจนทำให้ฝันกลายเป็นจริง “ฝันให้สูงสุด แต่อย่าหยุดเมื่อผิดหวัง” และ “ผู้แพ้ใช้เหตุที่แพ้มาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะแพ้ต่อไป แต่ผู้ชนะใช้เหตุที่แพ้มาเป็นเหตุผลที่จะต้องชนะ” เหมือนกับ “ผู้แพ้ใช้วิกฤตเป็นข้อแก้ตัว ผู้ชนะใช้วิกฤตเป็นโอกาส” มีคำถามว่า ทำอย่างไร ถึงจะทำให้ทางราชการ ให้ชื่อถนนที่บ้านเราตั้งอยู่เป็นชื่อสกุลของเราได้อย่างไร
นักลงทุน มืออาชีพต้องรู้สามสิ่งคือ เมื่อใดที่จะเข้าสู่ตลาด เมื่อใดที่ควรออกจากตลาด และ จะเอาเงินของเขาออกไปจากตลาดได้อย่างไร มีคติของนักพนัน ว่า “อย่านับเงินของคุณเวลาที่คุณกำลังนั่งอยู่ที่โต๊ะพนัน” เป้าหมายของเกมคือนำเงินของคุณออกไปจากโต๊ะและยังคงอยู่ในเกมนักพนันและนัก ลงทุนมืออาชีพต้องการเล่นด้วยเงินของคนอื่น
ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบ กับเกมที่จะต้องเอาเงินออกจากตลาดและยังคงอยู่ในตลาดหุ้นโดยเล่นด้วยเงินของ คนอื่นหรือของตลาดหุ้น ในวิธีของ DSM นั้นคือ เงินกระแสเงินสดแฝง ส่วน 25% ของเงินสำรองหนี้ ซึ่งเป็นทางออกของการเอาเงินออกจากตลาดหุ้นแล้วยังคงอยู่ในตลาดหุ้นและยัง เล่นหุ้นด้วยเงินของคนอื่น ๆ โดยต้องอาศัยอัตราการหมุนเวียนของเงิน หรือพูดอีกอย่างว่า ยิ่งมีเงินของคุณอยู่ในการลงทุนมากเท่าไร ผลตอบแทนจากการลงทุนยิ่งต่ำลงเท่านั้น ยิ่งเงินของคุณอยู่ในการลงทุนน้อยเท่าไรและคุณใช้เงินของคนอื่นมากขึ้น ผลตอบแทนก็จะสูงตามไปด้วยเท่านั้น พวกเราชาว DSMers ขอให้เอาเงินของเราเองออกจากตลาดหุ้นให้เร็วที่สุด และยังคงเล่นหุ้นด้วยเงินคนอื่น ตอนนั้นจะเข้าใจว่าเล่นหุ้นด้วยเงินฟรีเป็นอย่างไร
DSM (25) – กระแสเงินสดแฝงในอนาคตคืออะไร
คำ ว่า “กระแสเงินสดแฝง” เกิดจากการลดค่าของทรัพย์สิน หรือขายหุ้น แล้วซื้อหุ้นให้ถูกกว่าที่ขายไป จะได้กระแสเงินสดแฝงขึ้นมาก แล้วคำว่า “กระแสเงินสดแฝงในอนาคต” นั้นคือการที่จะได้กระแสเงินสดแฝง ที่จะเกิดขึ้นภายในอนาคต หรือ ขายหุ้นตอนปัจจุบัน แล้วจะซื้อหุ้นให้ถูกกว่าที่ขายไปในอนาคต จะทำให้เกิดกระแสเงินสดแฝงภายในอนาคต จึงเป็นที่ของคำว่า “กระแสเงินแฝงในอนาคต” และเป็นการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์จากเงินที่เป็นกองหลัง ให้มากที่สุดนั้นเอง
จากตัวอย่างของหุ้น A ที่เป็นกองหลัง 3 กอง ที่ขายไว้ 9.00, 8.90, 8.80 บาท กองละ 1,000 หุ้น และ หุ้นได้ขึ้นไปอยู่ที่ราคา 9.75 บาท ซึ่งเป็นจุด short หุ้นจุดใหม่ รอบใหม่เพราะมีราคาสูงกว่าราคากองหลังตัวแรก ไป 15 ช่อง ดังนั้นราคากองหลัง 3 กอง ที่ทิ้งไว้ระวังหลัง เราจะทำประโยชน์สูงสุดจากกองหลังเหล่านี้อย่างไรดี ซึ่งทำให้เกิดการคิดคำนวณเอากระแสเงินสดแฝงในอนาคตมาใช้ ถ้าตามแผนของเรา สมมุตรับคืนที่ 5 ช่อง หรือกี่ช่องก็แล้วแต่แผนของแต่ละท่านของนักลงทุน DSM
มา คำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตกันดีกว่า ขายที่ 9.00 รับกับที่ 8.75 บาท, ขายที่ 8.90 รับกับที่ 8.65 บาท, ขายที่ 8.80 รับกับที่ 8.55 บาท จะได้กระแสเงินสดแฝงในอนาคต ทั้งหมด คือ 0.25x1000x3=750 บาท(ยังไม่ได้หักค่าคอมมิชชั่น) นี้คือกระแสเงินสดแฝงในอนาคต จากกองหลังของที่เราทิ้งระวังหลังเอาไว้และสามารถนำจำนวนเงิน 750 บาท แบ่งเป็น 50% เอาไปลงทุนต่อ, 25% เอาไว้สำรอง, 25% เอาไปใช้จ่ายได้ตามสัดส่วน แล้วส่วนเงินของกองหลังที่เหลือก็เก็บเอาไว้รับหุ้นเมื่อถึงจุดที่ต้องซื้อ คืน หรือเราสามารถกำหนดจุดซื้อคืน เป็น 10 , 20, หรือ 40 ช่อง ก็ย่อมได้ แล้ว ก็คำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตนำมาใช้เพื่อลงทุนต่อในปัจจุบันได้เลย และยังสามารถประยุกต์ได้อีกนิดคือทุก ๆ ครั้งที่เราขายหุ้นออกไป สามารถคำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตได้ทันที่ที่ขายหุ้นออกไปและนำไปใช้ ประโยชน์ได้ทันทีโดยที่ยังไม่ต้องรอรับซื้อหุ้นคืนกลับมา และไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะกองหลังเท่านั้น
แต่นักลงทุนวิธีDSM ที่เล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี หลังจากขายกองหลังแล้ว สามารถนำไปซื้อหุ้นตัวที่กำลังเขียวอ่อนได้เลย ซึ่งการเล่นแบบนี้ไม่ต้องคำนวณหากระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งการที่จะได้กระแสเงินสดในอนาคตนั้นต้องนักลงทุนวิธีDSM เล่นหุ้นแบบ BASIC และติดตามอ่านในการเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรีในตอนที่DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร
DSM (26) - หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว
เมื่อได้ ทำการลงทุนหุ้น DSM แล้วละได้ กระแสเงินสดแฝง นำมาทำการแบ่งเป็นสัดส่วนแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตัววัดผลการลงทุนในหุ้น DSM มีอะไร อย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้
1. เงินสำรองหนี้ 25% ต้องเพิ่มขึ้นทุกเดือน
2. จำนวนหุ้น ต้องเพิ่มขึ้นทุกเดือนเพิ่มทั้งปริมาณและชนิดของหุ้น
3. ปริมาณกระแสเงินสดแฝง ที่ได้รับแต่ละรอบของการซื้อคืน ต้องมากขึ้นหรืออย่างน้อยก็คงที่
4. ปริมาณกองหลังจะต้องลดลงเรื่อย ๆ เพราะสามารถซื้อคืนได้
5. ปริมาณอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
6. หนี้สินที่เลวต้องทยอยลดลงและหมดไป
7. แหล่งเงินทุนจะต้องเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ มีเงินลงทุนเสนอเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ
8. เงินปันผลเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะปริมาณหุ้นปันผลเพิ่มขึ้น
ถ้าเงินปันผลมีมากกว่าค่าใช้จ่ายต่อปี อาจไม่ต้องทำงานธุรกิจเช่าหุ้น หรืออาจขอหยุดพักร้อนปิดกิจการไปสักเดือนสองเดือนก็ย่อมได้เพื่อไปเที่ยวพัก ผ่อนในที่ๆ ต้องการได้ แต่ถ้าสามารถให้คนอื่นมาทำธุรกิจเช่าหุ้นแทนเราได้ถึงตอนนั้นอาจมีสร้าง ธุรกิจแบบเครือข่ายการทำธุรกิจเช่าหุ้นขึ้นมา ดังที่ว่าการใช้เงินคนอื่น และเวลาข้อคนอื่นทำงานให้เรา ซึ่งเราจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่มีความสำคัญกว่าสิ่งนี้
ความลับของคนรวย 2 ประการคือ
1. OPT – Other People’s Time (เวลาของคนอื่น)
2. OPM – Other People’s Money (เงินของคนอื่น)
เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรกับธุรกิจส่วนตัวให้เช่าหุ้น และสามารถใช้กฎของคนรวย 2 ข้อนี้ได้
แต่การลงทุนต้องคุมพอร์ตให้เหมาะสม มากเกินต้องรู้วิธีทำให้น้อยลง ถ้าน้อยเกินต้องรู้วิธีทำให้มากขึ้น
อย่า ลืมว่า ตัววัดทุกตัวต้องบอกผลงานไปทางเดียวกันและสอดคล้องกันจะมีตัวใดตัวหนึ่งผิด แปลกออกไป ถือว่ามีการเกิด Error ต้องหาสาเหตุและแก้ไขอย่างรีบด่วน
DSM (27) - เคล็ดลับของความสำเร็จลงทุนหุ้นวิธี DSM
แบ่งได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
1. เงินฟรี คิดว่าจะทำอย่างไรได้มันมา แต่ถ้าไม่ได้เงินฟรีก็ไม่เป็นไรทำตามวิธีการ สักวันจะรู้ว่าเงินฟรี คืออะไร
2. “เขียวซื้อ แดงขาย” หรือ “กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง” ซึ่งเป็นคือ DenSri Indicator=DSI
3. หุ้นเท่ากับหุ้น มองว่าหุ้นทุกตัวเป็นตัวเดียวกับหุ้นแต่ต่างกันที่ระดับราคาเท่านั้น
4. ระบบบัญชีซึ่งสำคัญมากในการจับคู่หุ้นที่ซื้อขาย และยังสร้างฐานข้อมูล (Data Base) ซึ่งมีประโยชน์อันมหาศาลต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้โดยระยะเริ่มในสองปีแรก เป็นเพียงระยะหว่านเมล็ดพันธุ์ หลังจากนั้น ก็จะเริ่มระยะเก็บเกี่ยว ถึงจะรู้จักคำว่า “ไม่ได้สร้างรายได้จากหุ้นในปัจจุบัน แต่เป็นการสร้างรายได้จากฐานข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา” เป็นอย่างไร
5. สูตร 3-0-2-8
6. ธรรมชาติของตลาดหุ้นนำไปสู่การเล่นหุ้นDSM แบบโน้ตดนตรี (DSM Music Theory) ซึ่งมีโน้ตเสียงสูง เสียงต่ำหรือมีราคาที่สูง ราคาที่ต่ำ และหุ้นที่เขียว หุ้นที่แดง ซึ่งจะเขียนบทต่อไป
7. การปฏิบัติตามแผน อย่างมีวินัยเท่ากับการลงทุน การมีจิตใจแน่วแน่ มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่คิดกำไรขาดทุน(ไม่นับเงินบนโต๊ะพนัน) พร้อมกับดึงเงินออกจากโต๊ะ(เงินสำรองและค่าบริหาร) และเล่นเกม(ตลาดหุ้น)ต่อ แล้วต้องลืมเรื่องเวลาด้วย จะได้สบายใจและปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ลองไปเรื่อย ๆ แล้วคุณจะพบ “วิธีการที่เหมาะสมกับตัวคุณ” คิดได้ จดไว้ ลงมือทำ ทบทวน “ความผิดพลาดไม่น่ากลัว ที่น่ากลัวคือกลัวผิดพลาด” และ “ไม่ยึดติดมูลค่า แต่สนใจการเปลี่ยนแปลงมูลค่า”
DSM (28) - สูตร 3-0-2-8 คืออะไร
เป็น วิธีที่คิดขึ้นมากเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล(ซึ่งเป็นกีฬาโปรดของพี่เด่น ศรี)ซึ่งได้แบ่งเป็นกองหลัง กองกลาง กองหน้าซึ่งแต่ละกองมีหน้าที่ต่างกันไป
3-0-2-8 คืออะไร
เดิมมี 1,000 หุ้น ทิ้งกองหลังไว้ 300
แล้วอาศัย 700 หุ้นที่เหลือ สร้าง 300 ที่ปล่อยไปให้กลับคืนมา(รวมทั้งหมด1,300 หุ้น )
อาจ มองเป็น 10,000 หุ้น ทิ้งกองหลัง 3,000 หุ้น และใช้7,000 หุ้นสร้างหุ้นขึ้นมาอีก 3,000 หุ้นเป็น 10,000 หุ้น(รวมทั้งหมด 13,000 หุ้น)แล้ว เอามาแบ่งเป็นกองกลาง 2,000 หุ้น กองหน้า 8,000 หุ้น ซึ่งวิธีนี้ต้องระดับ DSMระดับMaster ถึงจะทำได้อย่างง่ายดายก็คือพี่เด่นศรีใช้วิธีนี้อยู่
หรือ เริ่มจากมีหุ้น 1,300 หุ้น แล้วแบ่งกองหลัง 300 หุ้น กองกลาง 200 หุ้น กองหน้า 800 หุ้น หรืออาจเริ่มจากมีหุ้น 13,000 หุ้น จะได้แบ่งเป็นกองหลัง 3,000 หุ้น กองกลาง 2,000หุ้น กองหน้า 8,000 หุ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งขาย กองต่างๆ ได้อย่างละ 10% ได้ง่าย
หรือ เริ่มจากหุ้น 10,000 หุ้น แบ่งกองหลัง 3,000 หุ้น กองกลาง 1,400 หุ้น และกองหน้า5, 600 หุ้น ถ้ามองเป็น% จะได้ดังต่อไปนี้ หุ้น 100% แบ่งกองหลัง 30% แล้ว เอาที่เหลือ 70% คิดให้เป็น 100% แล้วจึงนำมาแบ่ง เป็นกองกลาง 20% (14%จากเริ่มต้น) และกองหน้า 80% (56%จากเริ่มต้น) และก่อนทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทุกรอบ ที่ห่างกองหลังไปอีก 15 ช่อง ถือว่าขึ้นรอบใหม่
หลังจากทราบว่า 3-0-2-8 แบ่งได้เป็นอย่างไรได้แล้วมาดูส่วนต่าง ๆ กองต่างๆทำงานกันอย่างไร
3 คือ กองหลัง ใช้เล่นทางลงอย่างเดียว ไม่โงหัวขึ้นมา จะไม่ซื้อกลับ
0 คือ ช่วงราคาที่หุ้นขึ้นมาจาก กองหลัง ซึ่งจะไม่ทำอะไรเลย ถ้าราคายังอยู่ในช่วงนี้ 4 ช่องขึ้นจากกองหลังตัวสุดท้ายก็หมายความว่ายังอยู่ในช่วงที่ขายกองหลังไป นั้นเอง
2 คือ กองกลาง หุ้นส่วนที่ใช้สำหรับตลาด side way จะปล่อยทีละนิดหน่อย (1%) โดยไม่สนใจอะไรทั้งนั้น และปิดตลาดจะต้องซื้อคืน เพื่อเอาไว้เล่นเกม side wayที่อาจจะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น ส่วนนี้จะเล่นก็ได้ไม่เล่นก็ได้เช่นกัน
8 คือ กองหน้า หุ้นส่วนที่จะไม่ปล่อยไป จนกว่าจะเลยช่วง side way(คือประมาณ 15 ช่อง จากหัวแถวของกองหลัง)
นั่นคือ มีทั้งเล่นหุ้นขึ้น เล่นหุ้นลง และเล่นหุ้นside way
ขยาย ความส่วนของกองกลางที่อยู่ช่วง side way อาจสร้างกระแสเงินสดแฝงได้น้อยแต่มีประโยชน์ในแง่ความสบายใจในการที่จะไม่ รีบร้อนปล่อยหุ้น ไม่ว่าจะกำลังขึ้นหรือกำลังลง
ดังนั้น1 % ที่ปล่อยไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะ เพราะมันทำให้ทุกอย่างอยู่ในแผนที่เราควบคุมได้อย่างสบายใจ และมันยังสร้างกระแสเงินสดแฝงเป็นค่าเทรดหุ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ด้วย
แต่ ถ้าต้องการแบ่งกองต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น อาจให้สูตร 3-0-2-5 หรือ 3-0-3-4 หรือ 2-0-2-6 ก็ย่อมได้ ให้เลือกเอาว่าจะใช้วิธีไหนตามสะดวก ตามแต่ที่ถนัดของแต่ละท่านไป
DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร
กฎธรรมชาติของตลาดหุ้นนำไปสู่การเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี (ซึ่งมีเสียงสูง เสียงต่ำ)
1. หุ้นตัวนึ่งไม่มีวันขึ้นตลอดไปหรือลงตลอดไป
2.ในวันที่ตลาดขึ้นหุ้นไม่ได้ขึ้นทุกตัว และวันในวันที่ตลาดลงหุ้นไม่ได้ลงทุกตัวเช่นกัน
นำไปสู่การเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี ซึ่งมีเสียงสูง เสียงต่ำหรือราคาสูง ราคาต่ำ และมีหุ้นที่เขียว หุ้นที่แดง ของแต่ละวัน
มีหลักการง่ายดังต่อไปนี้
1. เลือกหุ้นที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเป็นจำนวน 30 ตัว ตามที่เราต้องการแต่ยังไม่ต้องซื้อที่เดียวหมดนี้แต่ให้จับตามองไว้ว่าหุ้น แต่ละตัวคือโน้ตดนตรีของเรานั้นเอง
2. ให้เริ่มจากหุ้นตัวใดตัวหนึ่งก่อนหรืออาจหลายตัวก็ได้แต่เริ่มแรกควรตัว เดียวดีกว่าและควบคุมง่ายกว่าหลายตัวพร้อมกัน แต่ถ้าเก่งแล้วไม่ว่ากันที่จะเริ่มหลายตัวพร้อมกัน
3. หลังจากที่ขายหุ้นกองหลังออกไป แล้วสามารถเอาไปลงทุนหุ้นตัวใหม่ที่อยู่ในพอร์ตที่เราสนใจว่าตัวไหนกำลัง เขียวกำลังขึ้น ก็ให้เอาเงินที่ขายกองหลังไปซื้อตัวใหม่ได้เลย มีท่านอาจารย์ Coyote บอกว่าก่อนขายกองหลังหุ้นตัวนึ่งได้มองว่าจะไปซื้อหุ้นอีกตัวไว้ในใจแล้ว อย่างนี้เรียกว่าระดับ DSM ระดับ Master อีกเช่นเคย
แต่สำหรับมือใหม่หัด เริ่มต้น ควรรอว่าถ้ากองหลังซื้อคืนไม่ได้แล้วค่อยเอาซื้อเพิ่มการลงทุนหุ้นตัวใหม่ เป็นการสร้างวงดนตรีโดยการเพิ่มโน้ตที่ละตัวอย่างนี้ไปเรื่อย แต่จะบอกว่าที่ DSM ระดับMaster สามารถขายกองหลังแล้วไปลงทุนหุ้นตัวใหม่ได้เลยนะ ต้องมีการใช้ฐานข้อมูลที่เคยบอกว่าสำคัญอย่างไร แต่คงยังไม่จำเป็นต้องบอกตอนนี้รอให้นักลงทุนสร้างฐานข้อมูลไปได้ สองปีก่อน แล้วตอนนี้นักลงทุน DSM ระดับ Basic จะเปลี่ยนมาเป็นระดับ Master อย่างอัตโนมัติเลยที่เดียวแต่นักลงทุน DSM อยากรู้ต้องทำการลงทุนตามแนวทางนี้ไปสักสองปี จะรู้เองโดยไม่ต้องพูดไม่ต้องบอก แค่มองตาก็รู้ไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ DSM แล้ว
4.หุ้นเท่ากับหุ้น มองว่าหุ้นทุกตัวเป็นตัวเดียวกับหุ้นแต่ต่างกันที่ระดับราคาเท่านั้น ต้องใช้ข้อนี้ประกอบด้วย แล้วจะร้องว่า โถ โถ โถ มันเป็นอย่างนี้เอง
ทำให้เราได้สร้างวงดนตรีพอร์ตหุ้น DSM Music Theory ขึ้นมาอีกวงหนึ่ง ซึ่งรับรองได้ว่าได้รับกระแสเงินสดแฝงมากกว่าแบบระดับBasic
การ ทำตามสูตร3-0-2-8 และผสมผสานกับวิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory ทำให้นักลงทุนหลุดพ้นจากภาวะตลาดหุ้นไม่ว่าจะเป็นตอนตลาดหุ้นขาขึ้นหรือว่า ตลาดหุ้นขาลง และสามารถที่จะสร้างรายได้จากหุ้นแล้วได้รับกระแสเงินสดแฝงจากหุ้นทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี และตลอดไป ตราบใดที่วงดนตรีแห่งนี้ยังมีเสียงเพลงอยู่ตลอดเวลาและตลอดไป และถึงตอนนั้นจะเข้าใจประโยชน์ของฐานข้อมูลที่เก็บสะสมมาอย่างน้อยสองปีได้ เป็นดีที่สุด และทำให้ทราบประโยคที่ว่า “ไม่ได้สร้างรายได้จากหุ้นในปัจจุบัน แต่เป็นการสร้างรายได้จากฐานข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา” เป็นไปอย่างอัตโนมัตินั้นเอง
DSM (30) – วิธีเล่นหุ้นDSM Double Theory คืออะไร
อะไร คือ Double Theory ชาว DSMers บางท่านคงเคยได้ยินมาก่อน จากท่านอาจารย์ลำชี (หนึ่งในศิษย์เอก DSM) ได้เล่าให้ฟังว่า ได้คิดค้นวิธี Double โดยบังเอิญซึ่งตอนนั้น ท่านอาจารย์ลำชีได้พยายามคิดค้นคำว่าช่องว่างของตลาดหุ้นคืออะไร และเป็นความบังเอิญในระหว่างการเทรดหุ้น DSM เกิดขึ้นตอนซื้อหุ้นกลับหลังจากขายกองหลังไป แล้วได้ค้นพบวิธีนี้โดยบังเอิญ จะเล่าสู่กันฟังว่า เป็นอย่างไร
1. วิธีนี้เหมาะเล่นหุ้นตอน side way กับตอนหุ้นขาลงเริ่มใช้ตอนหุ้นกลับตัว (เขียวอ่อน)
2. วิธีนี้เป็นการผสมผสานระหว่างวิธี DSM กับการเก็งกำไร โดยการใช้ประโยชน์จากกองหลังที่ทิ้งเอาไว้จากวิธี DSM
3. วิธีนี้ต้องมีเงินลงทุนอีกหนึ่งก้อนเพื่อใช้เอาไว้เล่นเก็งกำไรอย่างเดียว ซึ่งไม่เกี่ยวกับบัญชีของวิธี DSM
4. วิธีนี้ทำให้เราเป็นนักเก็งกำไรหรือนักพนัน ซึ่งใช้ประโยชน์จากการเป็นนักลงทุนวิธี DSM
5. วิธีนี้สามารถประยุกต์เอามาใช้กับการเล่น Day Trade
DSM Double Theory ถือว่าเป็นการผสมผสานระหว่าง DSM กับ การเก็งกำไร ต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวประกอบในการเก็งกำไรอีกด้วย ดังนั้นเล่าให้ฟังเบื้องต้นว่ามีวิธีการเล่นหุ้นแบบนี้อยู่ แต่จะไม่ขอลงรายละเอียดในวิธีการ เพราะไม่ต้องการให้ชาว DSMers เกิดความสับสนในระหว่างการลงทุน และต้องการให้มุ่งมั่นเป็นนักลงทุนเพื่อสร้างรายได้จากกระแสเงินสดแฝงกับ เงินปันผล เพื่อร่วมกันเดินทางไปสู่อิสรภาพทางการเงิน เวลา จิตใจ พร้อมๆ กันของสมาชิกคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ของห้องสินธร จาก http://www.pantip.com
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:10:27 น.
DSM (31) – กลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XD ทำอย่างไร
การ ลงทุนหุ้นวิธี DSM เป็นไปตามแผนที่วางมา ไม่ว่าวันนี้หุ้นจะแดง หรือว่าจะเขียว ไม่ต้องคิดคาดเดาตลาด (กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง) ในภาวะตามปกติ แต่เมื่อไรเข้าช่วงเดือนมี.ค.ถึงพ.ค. ของแต่ละปี ยอมมีเงินปันผล สำหรับบริษัทที่เงินปันผล นักลงทุนสามารถทำตามแผนอย่างไม่หวั่นไหว วันที่ต้อง ขึ้น XD หลังวัน XD เราก็ทำตามแผน แต่ว่ามันเป็นแผนที่เรารู้ว่ามันต้องราคาลดลงเท่ากับที่ได้ปันผล แต่มีการตั้งคำถามว่า ถ้าไม่อยากได้เงินปันผลจะทำอย่างไรดี โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ไม่อยากรอรับเงินปันผลหลังจากวัน XD ไปอีก อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
2. เงินปันผลที่ได้รับโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ของเงินปันผล ยิ่งทุนน้อยยิ่งไม่ต้องการเสียเงินส่วนนี้
3. หุ้นบางตัวก็มีเครดิตภาษี บางตัวก็ไม่มีเครดิตภาษี ทำให้ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการขอรับเครดิตภาษีได้อย่างเต็มที
4. นักลงทุนบางคนไม่ต้องการได้เครดิตภาษี เพราะเสียภาษีที่ฐานภาษีสูงแล้วหรือไม่ต้องการโดนตรวจสอบอย่างละเอียดเมื่อ ขอรับเครดิตภาษี โดยมีเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ
5. เพราะต้องการรับเป็นกระแสเงินแฝงมากกว่ารับเงินปันผล
จึง มีที่มาของคำถามว่าการลงทุนหุ้น DSM แล้วจะขึ้น XD ทำอย่างไรดี ที่ไม่ผิดกฎ ซื้อให้ถูกกว่าขาย ไม่คาดเดาตลาด เพราะเดาอย่างไรก็ไม่ถูก ถ้าเดาตลาดถูกหรือรู้น่ารวยไปนานแล้ว จริงหรือเปล่า ท่านผู้อ่านทุกท่าน
อาจารย์ Vprewat(หนึ่งในศิษย์เอก DSM) ได้ลองทำกับหุ้น LOXLEY, LPN จึงเป็นที่มาของกลยุทธ์หุ้นDSMสู้ศึก XD ได้คาดเดาว่ามันน่าจะลงเท่าเงินปันผลหรือมากกว่า ได้ทำการขายหุ้นทั้งหมด 100% ก่อนขึ้นวัน XD แล้วผลออกมาอย่างไรกันบ้าง มันน่าจะได้รับกระแสเงินสดแฝงเท่ากับเงินปันผลหรือมากกว่า แต่อย่าลืมนะว่า ห้ามเดาตลาด คำนี้ใช้ได้ผลเสมอทั้งๆ ที่ว่ามันน่าจะลงเท่ากับเงินปันผลแต่ผลที่ตามมาไม่ใช่ แล้วอย่างไร ตัวอย่างนะ
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 48 มีหุ้น XD ทั้งหมด 45 ตัวมีหุ้นตัวใหญ่หลายตัว เช่น BANPU, SCC ซึ่งคิดเดาว่ามันน่าจะแดงทั้ง SET และทั้งตัวหุ้น ตามมาดูผลกัน
หุ้น BANPU ปันผล 3.25 บาทต่อหุ้น จ่ายเงินปันผลวันที่ 11 พ.ค. 48 และราคาหุ้นปิดวันที่ 31 มี.ค.48 อยู่ที่ราคา 162 บาท แล้ววันที่ขึ้น XD ราคาเปิด 161 บาท, สูงสุด 168 บาท, ต่ำสุด 161บาท, ราคาปิด 166 บาท ดังนี้วันนี้ ได้เงินปันผลฟรี และยังได้ผลต่างอีก 4 บาท ถ้ารวม จะได้เงินวันนี้ 7.25บาท แล้วหุ้นยังวิ่งต่อไปถึงวันที่12 เม.ย.48 ราคาปิด 170 บาท มากกว่าวันก่อนขึ้น XD ถึง 8 บาท ถ้าขายวันนี้ตอนปิดตลาดจะได้ทั้งเงินปันผลและผลต่างถึง 11.25 บาท แต่จะไม่ขอยกตัวอย่างของหุ้น LOXLEY, LPN นะให้ไปถามท่านอาจารย์ Vprewat โดยตรง
แต่มีหุ้นอีกจำนวนมากอีกหลายตัวที่ลงเท่าเงินปันผลหรือว่า มากกว่าเงินปันผล แต่ตัวอย่างนี้เป็นการบอกไม่ควรคาดเดาตลาด และจะทำให้เราเสียหุ้นที่ถืออยู่ให้มือหมดเลย ถึง 100% แล้ว แต่ถ้าเราจะคิดหลักการกลยุทธ์รับมือกับหุ้น XD โดยไม่เดาตลาดได้อย่างไร มีดังต่อไปนี้
นักลงทุนหุ้นDSM มีหุ้นในมือก่อนขึ้นวัน XD อย่างหนึ่งวัน ถ้าให้ดีควรขายทำประกันก่อน XD สัก 2-3 วันก่อนขึ้นวันเครื่องหมายจะได้ราคาที่ดี ให้ขายทำประกันเอาไว้ 30% ของพอร์ต แล้วถือรับเงินปันผล 70% ของพอร์ต
เหตุผลสนับสนุนดังนี้
1. ทำไมต้องขายทำประกัน 30% เพราะเท่ากับจำนวนหุ้นที่เรายินดีทิ้งไว้เป็นกองหลังนั้นเอง คงไม่ต้องสงสัยว่าตัวเลขนี้เอามาจากไหน
2. เงินปันผลสำหรับ DSMer ถือว่าเป็นเงินฟรี ดังนั้นจะได้มากหรือน้อย ก็ไม่สำคัญ
3. ถ้าหุ้นวิ่งขึ้นสวนแทนที่มันจะลงก็ยิ้ม เพราะเราได้รับเงินปันผล 70% ของพอร์ต แล้วหุ้นยังขึ้นต่อไปอีกด้วย
4. ถ้าหุ้นวิ่งต่ำว่าเงินปันผลก็ยิ้มเพราะได้รับปันผล 70% ของพอร์ต แล้วยังได้ขายทำประกันหุ้นตกต่ำว่าปันผลอีก 30% ซึ่งอย่างนี้ไม่ยิ้มได้อย่างไร สามารถที่จะขายตามแผนที่วางไว้ต่อได้
แต่ ถ้า DSMers ท่านใดไม่ต้องการทำตามกลยุทธ์นี้ก็ได้ครับถือหุ้นรับปันผล 100% เลยก็ได้ แต่กลยุทธ์ นี้สำหรับ DSMers บางท่านตามเหตุผลข้างบทที่ได้กล่าวมาแล้ว
ขอแนะนำและสังเกตกว่า หุ้นที่วิ่งสวนวันXD ส่วนมากจะเป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน และอีกตัวอย่างนึ่งช่วยสนับสนุนกลุ่มพลังงาน หุ้น RPC ขึ้น XD วันที่ 11 เม.ย.48 , ราคาปิดวันที่ 8 เม.ย.48 อยู่ที่ 8.20 บาท ปันผล 0.40 บาทต่อหุ้น จ่ายปันผลวันที่ 29 เม.ย.48 ตามคาดว่าวันที่ขึ้น XD วันที่ 11 เม.ย.48 ราคาน่าจะอยู่ที่ 7.80 บาท ตามดูผลกันนะ ณ วันที่ 11 เม.ย.48 ราคาเปิด อยู่ที่7.80 บาท(ตามคาด), สูงสุด 8.00 บาท, ต่ำสุด 7.8 บาท, ราคาปิด 7.95 บาท สรุปได้ว่า วันนี้ถือได้เงินปันฟรีและยังได้เพิ่มอีก 0.15 บาทรวมเป็น 0.55 บาท ดูต่ออีกวันซิ วันที่ 12 เม.ย. 48 ราคาเปิด 8.00 บาท, สูงสุด 8.10 บาท ต่ำสุด 7.90 บาท, ราคาปิด 7.95 บาท อันนี้เป็นตัวอย่างอีกตัวอย่างนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นวันที่ 1 เม.ย.48 แล้วมันก็ไม่ได้เป็นไปตามความคาดว่ามันจะลงเท่ากับหรือว่ามากกว่าปันผล ถ้า DSMers คิดจะคาดเดาตลาด ตามเหตุผลข้างบทที่ได้กล่าวมาแล้ว หรือหุ้นกลุ่มเดินเรือ อีกตัว TTA อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร หาข้อมูลแล้วจะรู้ว่าเป็นอีกตัวได้เงินปันผลฟรีพร้อมผลต่างอีกด้วย
ถ้า นึกย้อนไปประมาณ เดือนเดียวกันนี้ ปี พ.ศ. 2547 หุ้น PTTEP ก็วิ่งสวนปันผลใครถือก็ได้เงินปันผลฟรีพร้อมกับส่วนต่าง ขอจบเกร็ดกลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XD ไว้เท่านี้
หมายเหตุ
1.นัก ลงทุน DSM ควรคิดและพิจารณาพร้อมกับวางแผนการล่วงหน้ารับมือไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือว่าจะ ลง ขอให้ชาวDSMer เกาะติดคลื่นทะเลหุ้นไปตามกระแสน้ำรับรองว่าทุกท่านที่เป็นDSMer จะได้พบกับอิสรภาพทางการเงินในเร็ววันอย่างแน่นอน
2. XD = Excluding Dividend = ผู้ซื้อหุ้นในวันที่แขวนป้ายนี้ จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ตามที่บริษัทประกาศจ่ายในงวดนั้น หากต้องการรับเงินปันผลก็ต้องซื้อหุ้นก่อนหรือซื้อช่วงที่มีข่าวประกาศ XD แต่เมื่อข่าวออกมาแล้วหุ้นก็จะแพงขึ้นมารับข่าวนั้นด้วย
DSM (32) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร
การ เพิ่มทุนของหุ้นในการลงทุนหุ้น DSM จะทำอย่างไรดี หัวข้อนี้ได้แรงบันดาลใจจากท่านอาจารย์ Minibar(หนึ่งในศิษย์เอก DSM)ได้พูดคุยใน MSN ว่าได้ไปจ่ายเงินเพิ่มทุนให้กับหุ้นตัวหนึ่งในราคาหุ้นละ 1.71 บาท(รู้หรือยังว่าหุ้นอะไร ถ้ายังติดตามต่อนะ) เลยได้เกิดข้อคิดอะไรบ้างอย่างทำให้ต้องเขียนกลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XR จะทำอย่างไรดี เพราะหลักการข้อหนึ่งของการลงทุนDSM คือไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในพอร์ตอีก แล้วใช้กระแสเงินสดแฝงของหุ้นตัวเองสร้างและสะสมหุ้นให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้กระแสเงินสดแฝงมากขึ้น เหมือนเงาที่ติดตามตัว(หุ้นมากขึ้น กระแสเงินสดแฝงมากขึ้นเช่นกัน)
เดือนแห่งความรัก เช้าวันนึ่งก่อนตลาดหุ้นเปิดเวลาประมาณ 09.36 น. ของวันที่ 3 ก.พ.48 หุ้น THL ได้ขึ้นเครื่องหมาย H ห้ามการซื้อขาย และปลด H เวลา 13.36 น. ของวันเดียวกัน ราคาเปิดของหุ้น 2.78 บาทเปิดมาก็ติดลบลงไปถึง 0.14 บาท (ราคาปิดวันที่ 2 ก.พ.48 คือ 2.92 บาท) ราคาสูงสุด 2.85 บาท ต่ำสุด 2.74 บาท ราคาปิด 2.76 บาท ได้มีคำถามว่าเกิด อะไรขึ้นตั้งแต่ เห็น H ห้ามซื้อขาย ได้รู้คำตอบว่า มีการเพิ่มทุนอย่างไม่สมเหตุผล จึงเป็นที่มาของคำถามว่า เราชาว DSMers จะทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าหุ้นมีการเพิ่มทุน(XR) และหุ้นที่เราถือประวัติ หรือผลประกอบการก็ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และเราก็ไม่มีเงินจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเสียด้วย เพราะเงินมีจำกัดจะทำอย่างไรดี ยิ่งเป็นนักลงทุนหุ้น DSM เริ่มลงทุนใหม่ หรือพอร์ตเล็ก ๆ แต่ถ้ามีเงินจากกระแสเงินสดแฝงจากตัวหุ้นเองสามารถที่จะซื้อเพิ่มทุนได้ ก็ให้มองข้ามวิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ได้เลย
กลยุทธ์นี้เมื่อหุ้นประกาศเพิ่มทุน แต่ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทำได้ดังนี้
1. ทำการขายหุ้นตัวนั้นออก ให้มากและเร็วที่สุดในวันที่รู้ข่าวประกาศเพิ่มทุน โดยยังขายตามแผน อาจจะขาย 10%, 20% , 50%, 100% อย่างไรก็ได้แล้วแต่จังหวะ และรอจนกว่าหุ้นเพิ่มทุนตัวนั้น ได้เข้ามาทำการซื้อขายในตลาดแล้วหรือซื้อในราคาที่เหมาะสมหลังเพิ่มทุนตาม สัดส่วนแล้วน่าจะซื้อให้ต่ำว่าเราค่าเหมาะสมจะดีมากและรอจังหวะซื้อหุ้นคืน ตอนหุ้นกำลังเขียว ๆ เข้าสูตร กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง หรือ
2. ทำการซื้อขายหุ้นตัวนั้น ตามแผนที่วางเอาไว้อย่างไม่หวั่นไหว แต่ยังอยู่ในเงื่อนไขไม่มีเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนและก็ไม่สามารถที่จะทำการ หากระแสเงินสดแฝงจากหุ้นตัวมันเองในระยะเวลาก่อนขึ้นเครื่องหมาย XR ไม่มีเงินพอไปจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่ม แต่กรณีนี้มีความแตกต่างจากการเทรดหุ้นDSM ตามภาวะปกติ นั้นคือหลังจากที่เราได้ทำการตามแผนลงทุนหุ้น DSM แล้วได้หุ้นเพิ่มได้กระแสเงินสดแฝงเพิ่ม ให้ขายหุ้นออก 100%ของพอร์ต ก่อนวันที่ขึ้น XR เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มทุนหุ้น และไปรอรับหุ้นกลับหลังจากที่ลูกหุ้นได้เข้าทำการซื้อขายในตลาดแล้ว และซื้อตอนหุ้นเขียวจะขึ้น ให้เข้าซื้อหุ้นกลับ ก็จะได้กระเงินสดแฝง และจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น โดยที่ไม่ต้องใส่เงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ตหุ้นDSM สักบาท
ตามมาดูหุ้น THL กันนะ หลังจากประกาศเพิ่มทุนแล้วหุ้นตก ได้ข้อมูลว่า วันที่จะขึ้น XR วันที่ 9 มี.ค. 48 ในอัตราส่วน 4:1 @ 1.71 บาท หมายความว่า 4 หุ้นเดิมซื้อหุ้นใหม่ 1 หุ้นในราคา 1.71 บาท และวันจองจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่มวันที่ 24-30 มี.ค.48 ถ้าใครถือหุ้นถึงวันที่ 9 มี.ค.48 แต่ไม่จ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่ม ก็อดได้หุ้นใหม่ ตามสัดส่วนนะ
ดูราคา ปิดวันที่ 8 มี.ค.48 ราคา 2.42 บาท และราคาเปิดของวันที่ 9 มี.ค. 48 อยู่ที่ 2.44 บาท สูงสุด 2.56 บาท ต่ำสุด 2.40 บาท ราคาปิด 2.40 บาท
ลอง มาคำนวณหาราคาที่เหมาะสมหลังจากเพิ่มทุนกันดีกว่านะ 4 หุ้นต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคา 1.71 บาท จะได้ราคาเฉลี่ยเท่าไร (เอาราคาปิดของวันที่ 9 มี.ค.48 มาคิด 2.42 บาท) ได้ดังต่อไปนี้
ราคาหุ้นที่เหมาะสม= (4x2.42+1.71x1)/5=2.28 บาท ดังนั้นได้ราคาที่เหมาะสมที่ 2.28 บาท ถ้าเห็นราคาตลาดหลังขึ้นเครื่องหมาย XR แล้วราคาหุ้นได้เท่ากับ 2.28 บาทถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม แต่ถ้าได้ต่ำว่า 2.28 บาทก็ยิ่งดี
หลัง จากได้นั้นวันที่ลูกหุ้นเข้าทำการซื้อขาย เป็นจำนวน 151,387,893 หุ้น เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 48 มาดูผลของราคากันนะ ราคาเปิด 2.04 บาท สูงสุด 2.20 บาท ต่ำสุด 2.00 บาท ราคาปิด 2.10 บาท
มาลองเปรียบว่า ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.48 ราคาปิด 2.76 บาท ถึงวันที่ก่อนขึ้น XR ราคาปิดวันที่ 8 มี.ค.48 ผลต่าง 0.34 บาท (2.76 -2.42) ติดเป็น 12.31% ภายในระยะเวลาหนึ่ง เดือน (3 ก.พ.-8มี.ค.48) เราสามารถสร้างกระแสเงินสดแฝงเท่ากับ12.31 % ได้หรือไม่
มาลองเปรียบ ว่า ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.48 ราคาปิด 2.76 บาท ถึงวันที่ ลูกหุ้นใหม่เข้าเทรดในตลาดเป็นอย่างไรบ้าง ผลต่าง 0.66 บาท (2.76-2.10) ติดเป็น 23.91%
มาดูซิว่าถ้าเราทำตามวิธีการที่ 1 ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ภายใต้สมมุติฐานว่า ขายหุ้น 100% ราคาปิด 2.76 บาท และซื้อคืนวันแรกที่หุ้นเทรดในตลาด ที่ราคาปิด 2.10 บาทได้ผลต่าง 0.66 บาท คิดเป็น 23.91% จะได้กระแสเงินสดแฝงภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนครึ่งเท่านั้น
มา ดูวิธีการที่ 2 กันนะทำตามแผนจะได้กระแสเงินสดแฝงเท่าใด ไม่ทราบได้ ในระยะเวลาหนึ่งเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับการขายที่ราคาปิดของวันที่ 3 ก.พ.48 จนถึง ราคาปิด ของวันที่ 8 มี.ค. 48 ซึ่งได้ ผลต่าง 0.34 บาท ติดเป็น 12.31% ซึ่งไม่แน่ว่าการทำตามแผนการจะได้ผลตอบแทนเท่ากับหรือมากกว่า 12.31% ได้หรือไม่ และขายออกวันที่ 8 มี.ค.48 ณ ราคาปิดที่ 2.42 บาท มาซื้อหุ้นคืนที่ 20 เม.ย.48 ราคาปิด 2.10 บาท ผลต่าง 0.32 บาทคิดเป็น 13.22 % ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
ดังนี้ก็ให้ชาว DSMers ตัดสินใจว่าจะเลือกวิธีไหนดี อันนี้เป็นการยกตัวอย่างหุ้นตัวนี้นะครับ หุ้นตัวอื่นๆอาจไม่ได้เป็นแบบนี้ก็ได้
แต่ ถ้านักลงทุน DSMer มีเงินมากพอที่จะเพิ่มทุน ก็คงไม่มีปัญหาอะไรทำตามแผน แต่ก็อีก คนชั่งคิดไปเรื่อย ถ้าเราทำตามแผนการลงทุนในหุ้น DSM ไปเรื่อยๆจนวันที่ลูกหุ้นใหม่เข้าตลาด กับเมื่อเปรียบเทียบการที่เราทำตามแผนไปจะถึงวันที่ขึ้น XR วันที่ 9 มี.ค.48 แล้วขายหุ้น ณ ราคาปิด (2.40) ตลาดหมดและแล้วไปรับหุ้นกลับวันที่ลูกหุ้นเข้าเทรดอันไหนแบบไหนน่าจะได้ กระแสเงินสดแฝงมากกว่ากัน หรือ แบบไหนจะได้จำนวนหุ้นมากกว่ากัน ฝากเป็นการบ้าน
ก็ยังมีการเพิ่มทุน ทั้งลดพาร์ ของหุ้นบางตัวที่ชั่งแต่ต่างจากหุ้น THL เหลือเกิน และยังทั้งร้อนทั้งแรง ใครๆก็ต้องพูดถึง นั้นคือ หุ้น TPI นั้นเอง แต่สังเกตให้ดีถึงจะมีอะไรที่แต่ต่างกันอย่างกับสวรรค์ (TPI) กับนรก (THL), หรือมุมตกกระทบ (THL) กับมุมสะท้อน (TPI) แต่อย่างน้อยๆถ้าไม่มองข้ามไป ก็มีความเหมือนที่แตกต่างนะ ทายดูซิ ว่าคืออะไร เป็นหุ้นที่ขึ้นต้นด้วย T เหมือนกัน และเป็นหุ้นอยู่กลุ่ม Rehabilitation เหมือนกัน แต่TPI กำลังจะย้ายไปเทรดในกลุ่มพลังงานแล้วเหมือนขึ้นจากขุมนรกที่ 18 ไปสู่สวรรค์อย่างไรอย่างนั้นเลย
หุ้น TPI เพิ่มทุนพร้อมลดพาร์จาก 10 มาเป็นพาร์ 1 และ น่าจะ 1:3 ราคา 3.30 บาท คือ 1 หุ้นเดิมได้ 3 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 3.30 บาท
ตัวอย่างการคำนวณสมมุติ เอาราคาปิดวันที่ 20 เม.ย.48 ที่ 10.00 บาท
ราคา ที่เหมาะสมหลังเพิ่มทุน= (10 +3x3.5)/4=4.975 บาท แล้วอาจได้เห็น TPI กลายเป็น ATC ภาค 2 หรือ อาจได้เห็นราคายืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับ TOP ได้เช่นกัน แต่อย่าลืมว่าไม่คาดเดาตลาด
หมายเหตุ
1. หุ้น TPI ใครยังไม่มีควรหามาประดับพอร์ตได้ แต่ถ้าถามว่าไม่มีเงินเพิ่มทุนจะทำอย่างไร ก็ทำตามที่ได้นำเสนอไปตามข้างบน
2. XR = Excluding Right = ผู้ซื้อหุ้นในวันที่แขวนป้ายนี้ จะไม่มีสิทธิ์ในการจองซื้อหุ้นใหม่ ต้องซื้อก่อนหรือช่วงก่อนแขวนป้ายเช่นเดียวกัน
3. H = Halt Trade = เครื่องหมายแสดงให้นักลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ระหว่าง ห้ามซื้อขาย สำหรับช่วงเวลาซื้อขายรอบนั้น
จากคุณ : จูล่ง - สุภาพบุรุษจากเสียงสาน - [ 31 พ.ค. 48 16:28:53 ]
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:11:38 น.
ข้อความการให้อนุญาต จากพี่เด่นศรี ทางหลังไมค์ครับ
เด่นศรี [29 กรกฎาคม 2548 08:39]
ได้เลยครับคุณหมากเขียว และหากมีข้อสงสัยใด ๆ ก็ลองคุยกับพี่ coyote ได้นะครับ
( ผมไม่ค่อยได้เข้ามาล็อกอินบ่อยครับ เลยเพิ่งเห็นข้อความหลังไมค์ )
( ยิ้มแย้ม )
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:16:02 น.
ลองอ่าน กลยุทธ์อีกแบบหนึ่ง คือ FTA (Fundamentally Technical Analysis) ซึ่งถือว่าเป็น DSM อีกแขนงหนึ่ง
คือแนวคิดเดียวกัน ต่างกันที่กฎการซื้อขาย โดยการนำการวิเคราะห์ทางเทคนิค มาผสมผสามเข้ากับวิธี DSM
อ่านได้ที่ วางหมาก...กระดานหุ้น ตอน เจาะลึกกลยุทธ์ FTA ครับ
โดย: หมากเขียว วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:16:13:56 น.