Deflation หรือ เงินฝืด

อะไร คือ เงินฝืด

เงิน ฝืด คือ การที่ระดับราคาทั่วไปของสินค้าและบริการลดลง โดยเกิดขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่าศูนย์ หรือ เมื่ออัตราเงินเฟ้อติดลบ ทำให้มูลค่าของเงินเพิ่มมากขึ้น



เงินฝืดเกิดจากอะไร

1.                   ทาง เศรษฐศาสตร์หลัก เงินฝืดเกิดจากการผสมผสานระหว่างอุปทานและอุปสงค์ของสินค้าและอุปทานและอุป สงค์ของเงิน โดยเฉพาะเมื่ออุปทานของเงินลดลงและเมื่ออุปทานสินค้าเพิ่มขึ้น จากประวัติศาสตร์เกิดจากสาเหตุนี้บ่อย เมื่ออุปทานสินค้าเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มของประสิทธิภาพในการผลิต หรือ Increased Productivity และ เมื่ออุปทานของเงินไม่ได้เพิ่ม หรือเงินฝืดเกิดจากอุปสงค์ของสินค้าลดลงพร้อมทั้งการลดลงของอุปทานของเงิน ดังเช่นที่เกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ Great Depression ซึ่งจากการศึกษาโดยนายเบน เบอร์นาเก้ ที่กล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed ในเวลานั้นลดอุปทานของเงินในการรับมือกับการลดลงของอุปสงค์ซึ่งเป็นการทำให้เกิดภาวะเงินฝืด

2.                   มุมมองของกลุ่มโมเนททาริสต์ (Monetarist) เงินฝืดเกิดจากการลดลงของอัตราความเร็วของการหมุนเวียนของเงิน หรือ Velocity of  Money / หรือ จำนวนเงินต่อบุคคล

3.                   เศรษฐกิจปัจจุบันที่ใช้เครดิตอย่างกว้างขว้าง หรือ Modern credit-based economies การลดลงของอุปทานของเงินนำมาซึ่งการลดลงอย่างเห็นได้ชัดของการให้กู้  ซึ่ง จะทำให้อุปทานของเงินลดลงอีกตามมาด้วยการลดลงของอุปสงค์ของสินค้า ก่อให้เกิดการลดลงของราคาสินค้าและอุปทานส่วนเกิน ผลที่เกิดคือการไหลลงของราคาอย่างต่อเนื่อง หรือ Deflationary Spiral







การแก้เงินฝืด

1.                   ก่อนยุคปีค.ศ. 1930s นัก เศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปเชื่อว่าเงินฝืดจะหมดไปเอง เมื่อราคาลดลงอุปสงค์ก็จะเพิ่มเป็นธรรมดา และระบบเศรษฐกิจจะปรับกลับสู่สภาวะปรกติเองโดยไม่ต้องมีการแทรกแซงจากภายนอก

2.                   Great Depression ในยุคปีค.ศ. 1930s นั้นก่อกำเนิดมุมมองของกลุ่มเคนส์เซียนที่ท้าทายความเชื่อของนักเศรษฐ์ศาสตร์ก่อนยุคปีค.ศ. 1930s โดย ค้านว่าระบบเศรษฐกิจไม่สามารถแก้ปัญหาเงินฝืดโดยตัวเองได้ ดังนั้นรัฐบาลและธนาคารกลางต้องดำเนินมาตรการที่จะเพิ่มอุปสงค์อย่างแข็งขัน โดยการลดภาษีหรือการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล ถ้าเงินทุนสำรองที่ธนาคารกลางกำหนดให้รักษาไว้ หรือ Reserve Requirement อยู่ในอัตราที่สูง ธนาคารกลางสามารถเพิ่มอุปทานของเงินโดยลด Reserve Requirement และโดยการซื้อพันธบัตร ผ่านวิธีการที่เรียกว่า Open Market Operation เพื่อชดเชยการลดลงของอุปทานของเงินในภาคเอกชนจากการลดลงของเครดิต

3.                   ในมุมมองของกลุ่มโมเนททาริสต์ (Monetarist) เงินฝืดแก้ได้โดยขยายอุปสงค์โดยการลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามนโยบายผ่อนคลาย หรือ Accommodative Policies ของประเทศญี่ปุ่นในตอนแรกของยุคค.ศ. 1990s และประเทศสหรัฐในปีค.ศ. 2000-2002ไม่สามารถทำให้อุปสงค์เพิ่มหลังจากตลาดหุ้นทรุดอย่างหนัก

4.                   นักเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันมีความกังวลเกี่ยวกับความกดดันด้านเงินเฟ้อ หรือ Inflationary Pressure ของ นโยบายการเงินต่อราคาสินทรัพย์ โดยการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำระยะหนึ่งสามารถส่งผลโดยตรงต่อการปรับตัว เพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ และการสะสมของการกู้ยืมเกินความเหมาะสม ดังนั้นการลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องอาจแก้ไขปัญหาเงินฝืดได้ชั่วคราว และในที่สุดจะส่งผลให้ปัญหาเงินฝืดในอนาคตรุนแรงขึ้นอีกและอาจถึงขั้นวิกฤต



ภาวะเงินฝืดในประเทศญี่ปุ่น

ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในต้นยุคค.ศ. 1990s ธนาคาร กลางญี่ปุ่นได้พยายามขจัดปัญหาเงินเฟ้อโดยการลดดอกเบี้ยเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการเพิ่มอุปทานของเงิน หรือ ที่เรียกกันว่า Quantitative Easing Policy อย่างไรก็ตามธนาคารกลางไม่ประสบความสำเร็จนานนับสิบปี และนโยบายดอกเบี้ยที่ศูนย์ได้สิ้นสุดลงในปีค.ศ. 2006

ภาวะเงินฝืดได้กลับมาเยือนประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งในปีค.ศ. 2009 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคระดับประเทศ หรือ National Consumer Price Index ที่เริ่มลดลงครั้งแรกที่ร้อยละ -0.1 (yoy) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 และลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดลดลงที่ร้อยละ -1.7 (yoy) ใน เดือนธันวาคม 2552 ดังนั้นเราต้องติดตามการแก้ไขภาวะเงินฝืดในประเทศญี่ปุ่นว่าจะประสบผลสำเร็จ หรือไม่ และมาตรการของธนาคารญี่ปุ่นว่าจะถอนนโยบาย Quantitative Easing อย่างไรและเมื่อไรหลังจากกลับมาใช้นโยบายนี้อีกครั้ง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘