Cornering the Market

วัน ที่ 13 มิถุนายน 1996 ธนาคารซูมิโตโมได้ประกาศว่า บริษัทขาดทุนจากการเทรดทองแดงเป็นเงินถึง $1.8 billions นับเป็นการ trading loss ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ในประวัติศาสตร์โลก (ใหญ่กว่ากรณีของธนาคารแบริ่ง)
ในตอนแรก ธนาคารอ้างว่า เทรดเดอร์ของธนาคารคนหนึ่งชื่อ Hamanaka ได้ลักลอบทำธุรกรรมนี้ โดยทำมาแล้วกว่าสิบปี แต่ต่อมาพบว่า แท้จริงแล้ว  Hamanaka ได้ทำธุรกรรมภายใต้การรับรู้ของธนาคาร (aka Rogue Trading) วิธีการของ Hamanaka คือพยายามสร้างความขาดแคลนให้เกิดขึ้นในตลาดทองแดง  เพื่อทำกำไรจากราคาที่ ปรับตัวสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า Cornering the market
ปกติ แล้วราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทุกชนิดจะอ่อนไหวต่อสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานใน ช่วงเวลาหนึ่งๆ เป็นอย่างมาก เมื่อใดที่อุปทานตึงตัวแม้เพียงเล็กน้อย ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับตัวสูงขึ้นได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งเป็นสินค้า โภคภัณฑ์ชนิดที่สามารถกักตุนไว้ได้นานๆ อย่างพวกโลหะต่างๆ ด้วยแล้ว การเก็งกำไรด้วยการกักตุนยิ่งช่วยทำให้ราคาผันผวนได้มากขึ้น อีก Cornering เป็นการพยายามดึง supply ส่วนหนึ่งออกไปจากตลาดในปริมาณที่มากพอ เช่น ซื้อเอาไปเก็บไว้ เพื่อทำให้ราคาตลาดปรับตัวสูงขึ้นไปหลายๆ เท่า จากนั้นก็ค่อยๆ ขายทำกำไรออกมา แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะต้องมีสต๊อกส่วนหนึ่ง ที่จะขายออกได้ไม่ทัน ทำให้ขาดทุนอยู่ด้วยก็ตาม แต่เนื่องจากกำไรที่ขายได้ในช่วงแรกๆ สูงมาก เมื่อหักกลบกันแล้ว Cornering จึงทำกำไรสุทธิได้มหาศาล
บางคนอาจสงสัยว่า ทองแดงเป็นสินค้าระดับโลก แล้วธนาคารซูมิโตโมสามารถควบคุม supply ของทั้งโลกได้อย่างไร ที่จริงแล้ว ธนาคารซูมิโตโมเพียงแค่รวมหัวกับเอเย่นต์ทองแดงส่วนหนึ่งในตลาดลอนดอน และบรรดาบริษัททองแดงในจีนอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อซื้อทองแดงออกไปแค่เท่ากับ 5% ของทั้งตลาดเท่านั้น ก็สามารถปั่นราคาทองแดงให้ทยานขึ้นได้แล้ว เคล็ดลับของวิธีนี้ก็คือว่าจะต้องกักตุนให้เสร็จโดยไม่ให้คนอื่นรู้ก่อน เพราะถ้ามีคนรู้ก่อน คนที่รู้จะไม่ยอมขายให้ในราคาถูกๆ แต่จะกักตุนตามบ้าง ทำให้ต้องเก็บในราคาที่แพงเกินไปจนไม่สามารถทำกำไรได้ การเก็บของได้ครบตั้งแต่ข่าวยังไม่รั่วจะทำให้ได้ต้นทุนเฉลี่ยใกล้เคียงกับ ราคาพื้นฐานที่แท้จริงของทองแดง ดังนั้นแม้ราคาจะร่วงลงมามากในภายหลังก็ไม่น่ากลัวเลย
ต่อ เมื่อเก็บได้มากพอแล้ว จึงค่อยอยากให้มีคนรู้มากๆ ยิ่งมากยิ่งดี เพื่อให้คนอื่นกักตุนตาม การเก็งกำไรตามของคนอื่นจะช่วยให้ราคาทะยานขึ้นได้อีก ในช่วงที่ราคาทองแดง ทยานขึ้นมาแล้วเป็นเท่าตัว เริ่มมีข่าวลือในวงการว่า นาย Hamanaka กำลังเข้าเก็บทองแดง ช่วงนั้นเขามีฉายาที่รู้กันทั่วไปในตลาดว่า “Mr. Five Percent”
การที่ Hamanaka สามารถควบคุมราคาตลาดได้ ทำให้เขาทำกำไรได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบสิบปี แต่ราคาทองแดงที่ยืนอยู่ในระดับสูงติดต่อกันนานหลายปีก็ได้ดึงดูดให้เหมือง ทองแดงขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ในที่สุดข่าว เกี่ยวกับ supply ใหม่ๆ ที่กำลังจะทะลักออกมาจากเหมืองใหม่ก็ได้ทำให้ราคาทองแดงร่วงลงอย่าง หนักในที่สุด ในช่วงเวลานั้น Hamanaka ควรระบาย position ออกไปให้เร็วที่สุด (แม้ว่าจะทำให้ต้องขาดทุนไปบ้างก็ตาม) แต่ด้วยความลำพองที่เคยได้กำไรอย่างเดียวติดต่อกันมาเป็นเวลานานมาก ทำให้เขาทำใจไม่ได้ แทนที่เขาระบายของออกทันที เขากับซื้อเพิ่มอีก เพื่อพยายามลด suppply อีกครั้ง แต่ก็ไม่อาจต้าน supply ใหม่ได้ สุดท้ายแล้ว แทนที่เขาจะขาดทุนแค่เพียงเล็กน้อย กลับกลายเป็นการขาด ทุนอย่างมหาศาล Hamanaka ถูกตัดสินจำคุก 8 ปี
เรื่อง นี้ชี้ให้เห็นถึงกลไกการสร้างราคาในตลาดว่าทำได้อย่างไร มันทำได้แม้แต่ใน ตลาดที่มีขนาดใหญ่มากๆ เช่น ทองแดง หากเป็นหุ้นตัวเล็กๆ สภาพคล่องต่ำๆ  ฟรีโฟลตน้อยๆ การเข้าเก็บหุ้นส่วนใหญ่ไว้ในมือโดยคนกลุ่ม เดียวเพื่อควบคุมราคาให้เป็นไปตามใจนั้นยิ่งทำได้ง่ายเอามากๆ  สิ่งที่ได้ รู้อีกอย่างหนึ่งก็คือทุกวันนี้คนสร้างราคาไม่ใช่อาเสี่ย แต่กลายเป็นนักลงทุนสถาบัน นักลงทุนไม่ควรหลงระเริงกับราคาที่ทะยานขึ้น อย่างมากมาย เพราะพื้นฐานที่แท้จริงของธุรกิจโดยมากมักไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ได้อย่างรวดเร็ว เหตุผลอาจมีอยู่เพียงนิดเดียว แต่การเกิดขึ้นของภาวะขาดแคลนชั่วคราวในตลาดสามารถทำให้ราคาปรับตัวรุนแรง มากได้ แต่เมื่อถึงวันหนึ่งที่ความเป็นจริงปรากฏออกมาและภาวะเช่นนั้นหายไป ทุกอย่างก็สามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นหนังคนละม้วนได้ในเวลาแค่ชั่วพริบตา เดียว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘