ลงทุนแบบก้นบุหรี่ (Cigar Butt Investing)

เห็นคุณวิบูลย์เขียนถึงอาจารย์เกรแฮมทำให้ผมนึกถึง วิธีการลงทุนตามแบบท่านอาจารย์ผู้นี้คือแบบก้นบุหรี่ จริงๆแล้วเป็นคำเหน็บแนมของWarren Buffettต่อการลงทุนแบบถอดแบบจากท่านเกรแ
ฮม เขากล่าวว่ามันเป็นเสมือนการหยิบก้นบุหรี่ที่คนอื่นทิ้งไว้ที่พื้น แต่มันยังคงมียาสูบเหลืออยู่ แล้วเราเก็บมาสูบ แม้มันจะยังคงมีควันอยู่ แต่มันก็สูบได้อีกครั้งสองครั้งก็ต้องทิ้งแล้ว แต่มันเป็นของฟรีครับ
ผม เองใช้การลงทุนแบบนี้ก็บ่อยเหมือนกันครับ สำหรับผมแล้วการลงทุนแบบนี้ใช้ได้ผลดีทีเดียว แต่ในระยะยาวแล้วจะไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไรนัก หากไม่ขายหุ้นนั้นออกไปก่อนเมื่อราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงราคาที่ แท้จริงในระยะสั้นๆ ในแบบของเกรแฮมจะขายเมื่อราคาปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 50%ของราคาที่ซื้อ แต่สำหรับลูกศิษรุ่นต่อๆมาของเกรแฮมได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับ สถานการณ์มากขึ้นซึ่งได้ผลดีทีเดียว
สำหรับหลักการนั้นฉบับก่อนคุณ วิบูลย์กล่าวไว้แล้ว ท่านใดสนใจลองกลับไปอ่านได้ครับ มาครั้งนี้ผมจะลงรายละเอียดและยกตัวอย่างมานำเสนอพอแต่หน้ากระดาษจะอำนวย
วิธี คิดในการเลือกซื้อหุ้นตามแบบก้นบุหรี่นี้ต้องใช้งบการเงิน โดยเฉพาะงบดุลเป็นสำคัญครับ เพราะเราต้องหา NET-net Asset Value บางท่านเรียกหุ้นแบบนี้ว่า NET-NET Stock อย่าเข้าใจผิดว่าซื้อเช้าขายสาย หรือซื้อสายขายบ่าย หรือถ้าเหลือความหวังเล็กๆน้อยเข้าสนามรบตอนเช้าแล้วขอตายตอนปิดตลาดนะครับ NET-NET Stock นี้ซื้อแล้วถือรอราคาปรับตัวขึ้น ใช้เวลาพอสมควรนะครับ ไม่เสี่ยงขนาดนั้น การลดความเสี่ยงของการลงทุนแบบนี้ใช้การวิเคราะห์งบดุล และกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นแบบนี้หลายๆบริษัท
สูตรของ NET-net Asset Value เป็นดังนี้ครับ
NET-net Asset Value = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน – หนี้สินระยะยาว

จะ เห็นว่า NET-net Asset Value คือเอาสินทรัพย์หมุนเวียนมาหักเอาหนี้สินทั้งสั้นและยาวออกให้หมด สังเกตุว่าเขาไม่เอาสินทรัพย์คงที่หรือ Fixed Assets มาคิดเลย ยังไม่พอนะครับ เราจะต้องซื้อหุ้นแบบนี้ในราคา 1/3 NET-net Asset Value อีกต่างหาก
ลำพัง หาหุ้นที่ NET-net Asset Value ต่ำกว่าราคาหุ้นก็ยากอยู่แล้ว นี่ต้องหาหุ้นที่ต่ำกว่า NET-net Asset Value ถึงสามเท่าอีก ยิ่งไปกันใหญ่ ผมเคยหาตอนตลาดประมาณ 200 – 300 จุด เอาหุ้นที่กำลังซื้อขายได้ก็ยังหาไม่เจอเลยครับ ที่มีอยู่ก็กำลังจะไปไม่รอดแล้วครับ
เมื่อหาไม่ได้แล้วจะทำอย่างไร มีลูกศิษย์ของอาจารย์เกรแฮมท่านหนึ่งคือ Walter Schlosse ได้ใช้หลักการ NET-net Asset Value ก่อนแต่หลังๆใช้ไม่ได้ เขาเลยใช้ สินทรัพย์ที่จับต้องได้ทั้งหมดหรือ Total tangible Assets หักด้วยหนี้สินระยะสั้นหรือ Current Liabilities มาหักลบกัน แล้วมองหาหุ้นที่ราคาต่ำกว่าค่าที่หาได้นั้น ไม่จำเป็นต้องมีราคาต่ำกว่าค่าที่หาได้ถึงสามเท่าครับ ซึ่งก็ใช้ได้ผลดี เพราะถ้าดูแล้ว(ตามความเห็นของผม) เราควรเอาสินทรัพย์ที่มีตัวตนทั้งหมดเช่นโรงงาน เครื่องจักที่ยังใช้งานได้ สินค้าคงเหลือ และลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้สูญเพราะเห็นอยู่ว่ามันมีอยู่จริง ส่วนหนี้สินระยะสั้นหรือ Current Liabilities ต้องตัดออกแน่ๆเพราะยังไงต้องจ่ายเจ้าหนี้ภายในหนึ่งปี หากไม่มีจ่ายเราไม่ควรไปยุ่งเพราะบริษัทก็คงไม่มีเหลือจ่ายผู้ถือหุ้นเหมือน กัน ส่วนหนี้สินระยะยาวนั้นเชื่อว่าหากบริษัทยังพอไปได้เจ้าหนี้ก็ยังคงยอม ประนอมหนี้ให้ได้ ไม่น่าห่วงนักซึ่งเราก็เห็นกรณีอย่านี้มากมาย เช่นแปลงหนี้เป็นทุน ลดหนี้ ตัดดอก เป็นต้น
สำหรับตัวอย่างที่ผมจะยกมา ให้ดูกันนั้นเป็นตัวอย่างในอดีตทั้งนั้นครับ เพราะเพื่อไม่ให้เกิดการชี้นำ เป็นเพื่อการยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาจริงๆ ผมขอยกกรณีหุ้น ATC ในอดีตที่เศรษฐกิจดีราคาสูงมาก แต่เมื่อเกิดวิกฤตราคาร่วงเอาร่วงเอา จนราคามาอยู่แถวๆ 3 – 5 บาท แต่ถ้าเราไปดูสินทรัพย์แล้วพบว่ามีมากเอาการ แต่หนี้สินก็ไม่น้อย แต่อย่าลืมว่า บริษัทนี้ตั้งมาได้ไม่นานเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆก็ยังคงมีสภาพดีอยู่ แถมบริษัทนี้มีการดำเนินธุรกิจแบบเป็นรอบ ที่ราคา 3 – 5 บาทถือว่าต่ำมากๆ เอาจำนวนหุ้นคูณราคาแล้ว สร้างโรงงานขนาดนี้ไม่ได้แน่ พอราคาผ่านไปไม่นานประมาณ ปีสองปี ราคาหุ้นก็ปรับตัวขึ้นแบบไม่เคยให้เห็นเลขหลักเดียวอีกเลย ขณะนี้ราคาก็อยู่ 60 กว่าบาท(ขณะเขียนต้นฉบับ) ใครซื้อไว้แล้วใจแข็งถือมาจนทุกวันนี้รวยไม่รู้เรื่องครับ ผมเองรับสารภาพว่าซื้อแถว 3 – 5 บาทแต่จากหลักการก้นบุหรี่แล้วคาบไว้นานไม่ได้เลยคายเร็วไปหน่อยเลยอดรวยเลย และนี่คือจุดอ่อนของหลักการแบบนี้
อีกตัวอย่างหนึ่งค่อนข้างคลาสสิกมาก ครับ กรณีหุ้น APRINT เมื่อหลายปีก่อนราคาร่วงมาแถวๆ 7 – 10 กว่าบาท ในขณะที่Book Valueก็สูงกว่าราคามาก แถมบริษัทมีกำไรและจ่ายปันผลตลอดไม่เคยขาดเลย ราคาหุ้นแม้จะปรับตัวสูงขึ้นแต่ก็ยังต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีมาหลายปี แต่เนื่องจากเป็นหุ้นที่ไม่ค่อยหวือหวาจึงไม่ค่อยมีคนสนใจ ปรากฏว่าเวลาผ่านไปราคาก็สะท้อนมูลค่าจนได้ เป็นกรณีคลาสสิกอย่างไรหรือครับ ก็ตรงที่ว่าเป็นบริษัทที่ดีไม่ขาดทุนจ่ายปันผลตลอด มูลค่าตามบัญชีสูงกว่าราคาหุ้นมาก จัดว่าเป็นบริษัทที่ไม่วิกฤตเลยแต่ราคาวิกฤตมากจริงๆ ใครซื้อแล้วถือไว้สบายใจไม่ต้องระแวง ลุ้นปันผลอย่างเดียวครับ
ว่าไป แล้วถ้าขยันหาเราจะพบหุ้นก้นบุหรี่มากมายในช่วงวิกฤต และหากถือมาจนปัจจุบันเราก็แทบไม่ต้องทำอะไรเลย ราคาปรับตัวขึ้นเอง แต่ในยุคปัจจุบันต้องยอมรับว่าหายากมากครับ ถึงมีก็ถือได้สั้นๆไม่ยาวจนราคาปรับตัวขึ้นหลายเท่าตัว และเราต้องระมัดระวังมากขึ้นเพราะมีนวัตกรรมใหม่ทางการเงินและการบัญชีมาก มาย ตบแต่งบัญชีได้แนบเนียนมาก การปล่อยข่าวลือ การปั่นหุ้น สารพัดวิธีการจนผมเองก็งงไปหมด หากมีโอกาสจะเอามาคุยให้ฟังครับ
การลง ทุนแบบก้นบุหรี่นี้ค่อนข้างใช้ได้ผลดีในยามเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้หุ้นราคาตก มากเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์ที่ควรจะเป็น แต่จุดอ่อนของมันก็คือเราไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพของมัน ทำให้บางครั้งเราอาจพลาดท่าได้ หรือเราอาจขายออกเร็วเกินไปได้ หากเราตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ครับ อีกอย่างหนึ่งคือจิตใจต้องมั่นคงไม่หวั่นไหวง่ายๆแม้ซื้อแล้วราคาจะลงมาอีก เราต้องตรวจดูให้ชัดยิ่งขึ้นว่าเป็นอย่างที่เราคิดหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากที่วิเคราะห์ไว้ราคาลงมาถือเป็นการลดราคาท้า วิกฤตครับ รีบตะครุบด่วน!

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘