ให้ เงิน ทำงานแทน

หัวข้อบทความวันนี้ เปรียบไปแล้วก็เข้ากันได้กับคำว่า  “ลงทุน ลงแรง”
เพราะ
เมื่อเรา “ลงแรง”  ผลที่ได้คือ ค่าจ้าง หรือ ผลตอบแทน
การลงแรง  คือ การใช้ความสามารถของเรา ไปกับ (การทำงาน)
หากมองอย่างเข้าใจ ก็คือ  การใช้ศักยภาพที่มีอยู่
ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นนั่นเอง
บางคนลงแรง แล้วได้ค่าจ้าง เป็นเงินเดือน ๆ ละสองหมื่นสามหมื่นบาท ฯลฯ
บางคนลงแรง แล้วได้ค่าจ้าง เป็นรายวัน วันละ สามร้อย ห้าร้อย พัน สองพันบาท ฯลฯ
ค่าตอบแทนที่แตกต่างกัน อยู่กับว่า เราทำประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน
แล้วการลงทุน ต่างจากลงแรงอย่างไร ???
ต่างกันตรงที่
แทนที่เราจะใช้ตัวเราเองทำงาน  แต่เรากลับใช้ให้ เงิน ทำงานแทน
เช่น
บางกรณีเราลงทุนด้วยเงิน 1 ล้านบาท
แล้วได้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท (2% ต่อเดือน)
เปรียบไปแล้ว
ก็คล้ายกับว่า  เงิน 1 ล้านบาทนั้น
เป็นตัวแทนของเราที่จะออกไปทำงาน
และเป็นงานที่มีประโยชน์ต่อคนอื่นเท่าๆ กับการที่เราทำงานที่ควรจะได้รับค่าจ้าง เดือนละ 20,000 บาท
เขาจึงจ่ายผลตอบแทนกลับมาให้เราเดือนละ 20,000 บาท
หากต้องการให้ได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น
เราก็ต้องพยายามให้เงินทำงานที่มีประโยชน์ต่อคนอื่นมากขึ้น
จึงต้องเลือกกิจการที่จะเข้าไปร่วมลงทุนที่คุณคิดว่า
เงินของเราจะได้สร้างประโยชน์ต่อคนอื่นได้มากๆ
เมื่อเวลาผ่านไป
ผลตอบแทนที่คุณได้รับเข้ามา  จะเพิ่มขึ้น
หากนานพอ  ก็อาจเทียบเท่าได้ว่า คุณมีคนทำงานเพิ่มขึ้นเป็นสองคน สามคน … ร้อยคน พันคน
มุมมองอย่างนี้
ช่วยให้ลงทุนได้อย่างมีความสุข
เพราะเงินทุกบาทที่เราปล่อยให้มันได้ทำงานแทนเรา
ล้วนแต่สร้างประโยชน์แก่คนอื่น
มากกว่า เพียงแค่คิดที่จะได้ (ส่วนต่าง) ของราคา จากการเก็งกำไร
เพราะแบบนี้ เป็นการมอง เงิน และ การลงทุน
ว่าเป็นเพียง เกมๆ หนึ่งเท่านั้น
ซึ่งเป็นความคิดในมุมของ (กำไร ขาดทุน)
แทนที่จะเป็นการให้โอกาสที่เงินจะสร้างประโยชน์ให้คนอื่น
สุดท้าย มักลงเอยด้วยการ ขาดทุน
ธรรมชาติของการที่ (อยากได้) เข้ามา  มักจบลงด้วยการ (สูญเสีย) ออกไปมากกว่า
ธรรมชาติของการ (ให้) ออกไป  มักจบลงด้วยการ (ได้รับ) กลับคืนมามากกว่า
ดังนั้น
หากคุณคิดจะเป็น นักลงทุน
คุณก็จงคิดว่า  คุณให้เงิน เป็นตัวแทน ในการออกไปทำงาน ไปสร้างประโยชน์ต่อผู้อื่น
แล้วคุณก็จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าในภายหลัง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘