Moment Of Truth

ตลาดหุ้นใน ช่วงนี้ถ้าใช้ภาษาอังกฤษมาบรรยายถึงความรู้สึกของนักลงทุนหลายคนก็คงต้องใช้ คำว่า Moment Of Truth  มันเป็นวิกฤติกาล  เป็นเวลาที่จะต้องนั่งคิดคำนึงว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป   อนาคตอันสดใสที่เคยวาดหวังไว้อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงไปมาก   หลายคนอาจจะต้องตัดหุ้นออกจากสาระบบของเครื่องมือที่จะนำพาไปสู่ความ มั่งคั่งทางการเงิน   หุ้นอาจจะไม่ใช่หนทางสู่อิสรภาพทางการเงินอย่างรวดเร็วตามที่ฝันไว้อีกต่อ ไป  ลองมาดูความจริงที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์หุ้นรอบนี้ที่ดัชนีตกลงมาจาก 858 จุดในตอนต้นปีเหลือเพียงประมาณ 433 จุดในช่วงนี้ดูว่านักลงทุนที่อยู่ในตลาด   โดยเฉพาะ  Value Investor หรือนักลงทุนระยะยาวที่เข้าตลาดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาดู
ข้อ เท็จจริงข้อแรกก็คือ  ในช่วง 5 ปีนับจากปี 2547 เป็นต้นมา    มีนักลงทุนหน้าใหม่ซึ่งรวมถึง  Value Investor เข้ามาลงทุนในตลาดเป็นจำนวนมาก   เหตุผลก็คือ  ในปี 2546 นั้น  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นถึง  117%   ซึ่งเป็นปีที่ตลาดหุ้นบูมมากที่สุดปีหนึ่งในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย   ข่าวของความร่ำรวยของเศรษฐีหุ้นกระจายไปทั่ว  มูลค่าของหุ้นในตลาดเพิ่มขึ้นนับเป็นล้าน ๆ  บาท  คนคิดว่าการแสวงหาความร่ำรวยในตลาดนั้นทำได้ง่าย ๆ    สิ่งนี้ประกอบกับการสนับสนุนและส่งเสริมจากรัฐบาลผ่านมาตรการทางภาษีหลาก หลายและการเผยแพร่ความรู้ของหน่วยงานเกี่ยวกับตลาดทุนทำให้ตลาดหุ้นนั้น คึกคักยิ่งกว่ายุคใด ๆ  และตลาดหุ้นไม่ใช่สถานที่เฉพาะของนักเก็งกำไรและคนที่ไม่มีความรู้อีกต่อ ไป   และ  Value Investor  กลายเป็นความคิดและกลุ่มบุคคลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
โดย เฉลี่ยแล้ว   หลังจากปี 2546 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 740 จุดก่อนที่จะตกลงมาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่เดือนนี้   นั่นแปลว่าโดยเฉลี่ยแล้วนักลงทุนที่อยู่ในตลาดหุ้นตลอดเวลาจะขาดทุนประมาณ 41%    และถ้าจะกลับไปเท่าทุนได้นั้น  ดัชนีจะต้องเพิ่มขึ้นประมาณ 71%  ซึ่งถ้าหากว่าตลาดหุ้นนับจากวันนี้สามารถปรับตัวขึ้นได้ปีละประมาณ 10% ซึ่งเป็นผลตอบแทนปกติในระยะยาวของตลาดแล้ว    จะต้องใช้เวลาถึงประมาณ  5.6 ปี ดัชนีถึงจะกลับมาอยู่ที่เดิมที่นักลงทุนเข้ามาลงทุนในวันแรก    ดังนั้น   ถ้านักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงต้นปี 2547  ก็หมายความว่า  เขาลงทุนในตลาดมาแล้ว  5  ปี โดยที่ยังขาดทุนอยู่ 41%  และกว่าเขาจะได้ทุนคืน   เขาอาจจะต้องรอไปอีกกว่า 5 ปี  สรุปแล้ว  เขาอาจจะเจอกับ  10 ปีแห่งความว่างเปล่าของการลงทุน  
นัก ลงทุนบางคนนั้น    นับจากวันลงทุนครั้งแรกเมื่อ 4-5 ปีก่อนจนถึงก่อนวิกฤติตลาดหุ้นรอบนี้อาจจะประสบความสำเร็จสูง   หลายคนอาจจะเป็น  “ดารา”   ผลตอบแทนสูงลิ่วและเม็ดเงินลงทุนสูงขึ้นมากจนอาจจะใกล้ความเป็น “อิสรภาพทางการเงิน”  แต่แล้วเม็ดเงินก็กลับทรุดฮวบลงอย่างน่าตกใจ   พอร์ตหุ้นหรือผลตอบแทนที่ติดลบลงมาเกือบครึ่งหนึ่งหรือ 50% นั้น   ถ้าเอามาเฉลี่ยกับผลตอบแทนเป็นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ต่อปีเป็นเวลา 4-5 ปีนั้นอาจจะคิดว่าไม่น่าจะมาก    แต่ข้อเท็จจริงก็คือ    บางที   ตอนที่ได้ผลตอบแทนมากนั้น  เป็นช่วงที่เขาใช้เม็ดเงินลงทุนน้อย   แต่ในช่วงที่หุ้นตก 50%  นั้นอาจจะเป็นช่วงที่เขามีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มเติมเข้ามามาก   ดังนั้น  ผลรวมก็คือ  เขาอาจจะเหลือกำไรน้อยมากหรืออาจจะขาดทุนเลยก็ได้ทั้ง ๆ  ที่คำนวณผลตอบแทนระยะยาวแล้ว   ตัวเลขก็ยังเป็นบวกค่อนข้างมาก    สถานการณ์แบบนี้  ผมอยากจะเปรียบเทียบกับเรื่องของสงครามที่มักจะมีคำพูดที่ว่า   “ชนะศึกจำนวนมาก  แต่แพ้สงคราม”   เหตุผลก็คือ  ศึกที่ชนะนั้นเป็นศึกเล็ก ๆ  แต่ศึกที่แพ้กลับเป็นศึกใหญ่ที่กำหนดผลลัพธ์ของสงคราม
วิกฤติ ตลาดหุ้นนั้น   น่าจะเหมือนกับสึนามิ  นั่นคือ  มันสามารถเปลี่ยนแปลงแผนภูมิความมั่งคั่งของบริษัทต่าง ๆ  เช่นเดียวกับเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นของมัน  หุ้นหลายตัวหรือหลายกลุ่มอาจจะมีมูลค่าลดลงมากและมันอาจจะไม่กลับขึ้นมาอีก เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว   ตรงกันข้าม   หุ้นหลายตัวหรือหลายกลุ่มอาจจะมีมูลค่าลดลงเช่นกันในยามที่เกิดวิกฤติแต่อาจ จะลดลงไม่มาก   แต่เมื่อภาวะวิกฤติหมดไป   มันอาจจะฟื้นตัว   มูลค่าหุ้นกลับมาที่เดิมและเติบโตขึ้นไปอีก   ผลก็คือ  เราได้บริษัทที่ยิ่งใหญ่ตัวใหม่หรือกลุ่มใหม่ปรากฏขึ้น   ถ้ายังไม่เห็นภาพก็ลองนึกถึงบริษัทที่ยิ่งใหญ่มีมูลค่าตลาดสูงลิ่วและเป็น ที่สนใจของนักลงทุนในช่วงก่อนวิกฤติตลาดหุ้นปี 2540 ก็จะพบว่า  มันแตกต่างจากภาพในวันนี้แค่ไหน   ลองคิดถึงหุ้นไฟแน้นซ์   หุ้นที่ดินยักษ์ใหญ่  ที่เป็นพระเอกในสมัยนั้นดู! 
วิกฤติ นั้นมักจะช่วยบอกให้เรารู้ว่ากลยุทธ์หรือแนวทางการลงทุนที่เราใช้อยู่นั้น  มันมีข้อดีข้อด้อยตรงไหน   สิ่งที่เราใช้อยู่นั้น  มันถูกต้องจริงหรือไม่    ผลสำเร็จของเราเป็นเรื่องบังเอิญหรือเป็นเรื่องของฝีมือ   จุดอ่อนของ  Value Investor ในเมืองไทยนั้น  นอกจากเรื่องต่าง  ๆ  เช่นการที่มีบริษัทจดทะเบียนจำนวนน้อยที่มีคุณภาพดีแล้ว   ก็คือ  Value Investor ส่วนใหญ่ไม่เคยประสบกับภาวะตลาดหุ้นตกรุนแรงหรือภาวะวิกฤติอย่างที่เป็น อยู่   ดังนั้น  พวกเขาจึงมักจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของการลงทุนหรือกำหนด  Margin Of Safety น้อย   พวกเขาเพียงแต่  “คิด” ว่า   เขาได้เผื่อ  Margin Of Safety  สูงแล้ว  หลายคนชอบลงทุนในกิจการที่ไม่มีความแน่นอนแต่มี   “โมเมนตัม” ของกำไรหรือผลการดำเนินงานของบริษัทที่จะทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปได้มาก   คำว่าช้า ๆ  แต่ชัวร์นั้นพวกเขาอาจจะคิดว่าเหมาะกับ  Value Investor กลุ่มอื่นและคนที่สูงอายุมากกว่า  ดังนั้น  เมื่อเกิดวิกฤติขึ้น  หุ้นจึงมักจะไม่สามารถต้านทานการตกลงมาได้
ทั้ง หมดนั้นก็คือ  Moment Of Truth ที่ผมพอจะนึกได้   นักลงทุนทุกคน   ไม่ว่าจะเป็นคนที่  “เจ็บหนัก”    หรือคนที่ยัง  “พอประคองตัวเอง”  ได้  จะต้องคิดคำนึงถึงบทเรียนสำคัญในครั้งนี้   เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  ในวิกฤตินั้น   ยังมีโอกาสเสมอ  การท้อถอยเลิกลงทุนคือการพ่ายแพ้     ในตอนนี้   หลาย ๆ คนที่  “ฝันสลาย”   จะต้องทำใจให้ได้ว่า   นั่นคือความฝันจริง ๆ  เป็นเรื่องที่เราจินตนาการไปเอง    ณ. ขณะนี้   มันคือความจริงที่เราจะต้องเดินหน้าต่อไป  ด้วยความคาดหวังที่สมจริง    ผมเองเตือนอยู่เสมอว่า   การลงทุนในตลาดหุ้น  ในระยะยาวแล้วอย่าคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนเกินปีละ 10-15 %  ไม่ว่าเราจะคิดว่าเราแน่แค่ไหน  ขอให้โชคดีกับการเดินทางต่อไปครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘