เริ่มต้น 'ลงทุนหุ้น' อย่างไรดี?

เมื่อปีที่แล้วตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนสูงลิ่ว สำหรับคนที่มีเงินฝากนอนแช่อยู่ในแบงก์ รับดอกเบี้ยต่ำติดดินอย่างทุกวันนี้ อาจจะคันไม้คันมืออยากจะนำเงินมา "ซื้อหุ้น" เหมือนกัน

แต่ไม่รู้ ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี กลัว "ขาดทุน" ก็กลัว ขณะเดียวกันก็อยากได้ผลตอบแทนมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก กล้าๆ กลัวๆ เลยไม่ได้ซื้อหุ้นสักที

อีกกลุ่มหนึ่ง ก็คือ ผู้ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดหุ้นได้ไม่นานมานี้ หลายคนอยากได้ผลตอบแทนเยอะๆ เหมือนพรรคพวกบ้าง เลยขนเงินเข้าตลาดหุ้นกันยกใหญ่

โดยเฉพาะผู้ที่ มาใหม่เพิ่งเข้าตลาดหุ้นเมื่อปลายปีที่แล้วหรือต้นปีนี้ ปรากฏว่า ส่วนใหญ่จะเกิดอาการ "บาดเจ็บ" จากตลาดหุ้นกัน บางคนอาจจะ "เข็ด" ตลาดหุ้นไปเลย แต่ก็มีบางส่วนที่อยากจะกลับมา ?เอาเงินคืน? บ้างเหมือนกัน กลุ่มนี้ถ้าลองพิจารณาทบทวนการลงทุนของตนเองดู อาจจะพบว่า เราผิดพลาดตรงไหน...

การเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้น นอกเหนือจากที่จะต้องมีเงินสดส่วนหนึ่งสำหรับซื้อหุ้น และต้องไปเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์แล้ว

สิ่ง ที่ผู้ที่อยากจะเริ่มลงทุนหรือนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มต้นการลงทุนใหม่ๆ ไม่ได้คำนึงถึงมากนัก แต่เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สามารถสรุปได้คร่าวๆ ได้ดังต่อไปนี้

หนึ่ง: ต้องมีหลักการ

การ ขนเงินเข้า "ตลาดหุ้น" โดยไม่มีหลักการอะไรประจำตัว ก็เหมือนกับการ "ล่องเรือในมหาสมุทร" โดยไม่มีหางเสือเรือ โอกาสที่จะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่วางไว้ก็คงจะมีไม่มากนัก หลักการเกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง

ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นได้จาก "ประสบการณ์" ของตัวเองจากการลงทุนในตลาดมานานพอสมควร ลองผิดลองถูก แล้วค่อยๆ สั่งสมกลายเป็น ?หลักการ? ประจำตัวของตนเอง

อีกส่วนหนึ่ง อาจจะเกิดจากการค้นคว้าหา "ความรู้" โดยการอ่านหนังสือการลงทุนแล้วนำ มาทดลองปฏิบัติจนเหมาะสมกับการลงทุนของตนเอง หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการสอบถามวิธีการจากนักลงทุนที่มีประสบการณ์แล้วนำมา ประยุกต์ใช้

วิธีที่จะทดสอบตัวท่านเองว่า ท่านมี ?หลักการ?ประจำตัวหรือเปล่า ก็คือ...
ถามตัวเองว่า "ท่านจะทำอย่างไรถ้าหุ้นที่ท่านถืออยู่ ราคาตกต่ำลงอย่างรุนแรง" ถ้าท่านทำอะไรไม่ถูก วิตกกังวล กลุ้มใจ นอนไม่หลับ เวลาที่เห็นหุ้นในพอร์ตราคาตกเอาๆ แสดงว่า ท่านไม่มี ?หลักการ? ในการลงทุนประจำตัวที่เพียงพอ

สอง: ข้อมูลที่เพียงพอ

นอก เหนือไปจาก ?หลักการในการลงทุน? แล้ว สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนจะต้องมีก็คือ "ข้อมูล" ถ้าท่านมีหลักการการลงทุนเป็น "นักลงทุนตามปัจจัยพื้นฐาน"

ข้อมูลที่ท่านต้องการก็คือ งบการเงินของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งบกำไรขาดทุน งบดุล หรือ งบกระแสเงินสด รวมทั้งข้อมูลพื้นฐานของบริษัทและอุตสาหกรรมนั้นๆ
งบการเงินเหล่านี้สามารถหาได้จากเวบไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ หรือ สามารถใช้บริการจากบริษัทหลักทรัพย์ที่ท่านเปิดบัญชีอยู่ได้

งบ การเงินเป็นเสมือนลายแทงที่เราใช้ในการค้นหา "ขุมทรัพย" ของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ที่ซ่อนเอาไว้ ขณะเดียวกันเราก็สามารถค้นหา "ระเบิดเวลา" ของบริษัทเหล่านั้นได้ก่อนที่จะโผล่ออกมา การอ่านงบการเงินจำเป็นต้องมีความรู้ทางบัญชีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ขนาดดอกเตอร์ก็เข้าใจได้ ไม่ได้ยากจนเกินไป

ถ้าท่านมีหลักการการลงทุนเป็น ?นักลงทุนแบบเทคนิค? ข้อมูลที่ท่านจะต้องมีก็คือ กราฟและข้อมูลทางสถิติต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจการลงทุน

สาม: เตรียมจิตใจให้พร้อม

การเข้าตลาดหุ้นโดยไม่มีการเตรียม "จิตใจของตนเอง" ให้ดีพอ อาจจะทำให้ท่านมีโอกาส "ขาดทุน" ได้มาก

เพราะตลาดหุ้นเป็นที่ทดสอบจิตใจของนักลงทุนเป็นอย่างดี

คนส่วนใหญ่เมื่อตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะตกต่ำ ราคาหุ้นร่วงลงอย่างมาก จะเกิดอาการตกใจ และกลัวที่จะขาดทุนมากกว่าเดิม เลยขายหุ้นออกไป

บ่อย ครั้งที่พอขายหุ้นไป ราคาหุ้นตัวนั้นกลับดีดกลับไปที่ราคาสูงกว่าที่ขายไปอย่างน่าเสียดาย เป็นเพราะจิตใจที่หวั่นไหวไปตามกระแสของตลาดหุ้น ทำให้เราเกิด "ความกลัว" ขึ้นในจิตใจ เมื่อเห็นราคาหุ้นที่เราถืออยู่ลดลงอย่างน่าใจหาย

การ เตรียมจิตใจก่อนที่จะเข้าตลาดหุ้นนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะการมีจิตใจที่มั่นคงไม่หวั่นไหวต่อความผันผวนของตลาดหุ้น จะเป็นเกราะป้องกันตัวของท่านจากการ "ขาดทุน" เนื่องจาก "ความกลัว" ในจิตใจของท่านเองได้

สำหรับผู้ที่กำลังคิดจะเข้าลงทุนในตลาดหุ้น หรือผู้ที่กำลังพิจารณาการลงทุนของตัวเอง เพื่อที่จะตั้งหลักลงทุนใหม่ หัวข้อทั้งสามที่กล่าวมาแล้วคือ การมีหลักการการลงทุนประจำตัว การมีข้อมูลในการลงทุนที่เพียงพอ และการเตรียมจิตใจให้พร้อมต่อตลาดหุ้น

... คือ สิ่งที่ท่านจะต้องนำติดตัวไปด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้น และยังเป็นการช่วยหาคำตอบที่ว่า ทำไมเวลาลงทุนหุ้น เรามักจะ "ซื้อแพง" และ "ขายถูก" อยู่บ่อยๆ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘