วัดผลการลงทุน

การวัดผลการลง ทุนเป็นเรื่องสำคัญและเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น   มันคงคล้าย ๆ  กับการดูหรือติดตามการแข่งกีฬาที่เราชอบ   เราลุ้นหรือเชียร์คนหรือทีมที่เราชอบว่าเขากำลังชนะหรือไม่เมื่อเวลาผ่านไป ในแต่ละช่วงของการแข่งขัน   ในเรื่องของการลงทุนนั้น   เมื่อสัปดาห์ก่อน วอเร็น บัฟเฟตต์  เพิ่งจะ  “ชนะ”  ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บว่าเป็นคนรวยที่สุดในโลกอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความมั่งคั่ง 62 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่  “แพ้”  หรือเสียตำแหน่งให้  บิล เกต  มาสิบกว่าปี   แต่ถ้าถาม วอเร็น บัฟเฟตต์  ว่าเขาคิดอย่างไร   เขาคงบอกว่าเขา  “ไม่สนใจ”    ที่จริงเขาบอกว่าเขา  ไม่ได้วัดความก้าวหน้าของการลงทุนของเขาจากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นหรือ มูลค่าตลาดของการลงทุนของเขาในแต่ละปี    การวัดผลการลงทุนของเขานั้น   เขาจะดูสองเรื่อง   เรื่องแรกก็คือ   ดูว่ากำไรของบริษัทที่เขาลงทุนนั้นเพิ่มขึ้นหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับคู่ แข่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วย  เรื่องที่สองก็คือ   เขาจะดูว่า  “คูเมือง”  ของบริษัทกว้างขึ้นหรือไม่ในช่วงปีที่ผ่านมา
“คู เมือง”  ที่ว่าก็คือ  ความแข็งแกร่งหรือความได้เปรียบหรือความเหนือกว่าของบริษัทที่ทำให้คู่แข่ง ทำงานลำบากหรือแข่งขันยากขึ้น   สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว   การลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็เหมือนกับการที่เขาเป็นเจ้าของธุรกิจ เอง   เขาเน้นที่การทำกำไรของกิจการและการสร้างความเข้มแข็งของกิจการเพื่อที่จะทำ ให้สามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นในอนาคตมากกว่าการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นวันต่อวัน  เดือนต่อเดือน  และปีต่อปี   เขาเชื่อว่าวิธีการวัดผลแบบนี้   ในระยะยาวแล้วก็จะทำให้การลงทุนของเขาเติบโตขึ้นอย่างยั่งยืนและในอัตราที่ ดี   มากกว่าที่จะไปเน้นที่การดูหรือตามราคาหุ้น   เขาคงเชื่อและมั่นใจว่า   ในระยะยาวแล้ว   ถ้าบริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นและกำไรที่จะเพิ่มขึ้นไปอีกในอนาคตเพราะความสามารถ ทิ้งห่างคู่แข่งเพิ่มขึ้นนั้น   ในที่สุดก็จะทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นไปเอง
การ วัดผลการลงทุน “แบบบัฟเฟตต์”   โดยเฉพาะในเรื่องของการดู “คูเมือง”  นั้น  เป็นเรื่องเชิงคุณภาพที่วัดได้ยากมาก   เช่นเดียวกัน   การวัดผลกำไรของบริษัทเองนั้น   บางครั้งก็เปรียบเทียบได้ยากเพราะอาจจะหาบริษัทที่มีลักษณะเหมือนกับบริษัท ยาก   ดังนั้น   การวัดผลแบบนี้จึงมักจะไม่มีใครใช้กันโดยเฉพาะที่เป็นสถาบันการลงทุนเช่นกอง ทุนรวมต่าง  ๆ   พูดง่าย  ๆ  คุณจะอ้างอย่างไรก็ตาม   ในที่สุดแล้ว   ตัวเลขว่าพอร์ตคุณกำไรกี่เปอร์เซ็นต์ในปีที่แล้วก็มักเป็นตัวตัดสินว่าคุณทำ ผลงานได้ดีแค่ไหน   ส่วนบริษัทจะกำไรเท่าไรหรือบริษัทจะเข้มแข็งขึ้นแค่ไหนคุณก็ไม่ได้ประโยชน์ อะไรในระยะสั้น  ถ้าราคาหุ้นมันไม่เพิ่มหรือกลับลดลง
การ วัดผลการลงทุนแบบ  “มาตรฐาน”  นั้น  จะวัดโดยการเปรียบเทียบกับ  Bench Mark   หรือตัวเลขอ้างอิง   ถ้าเป็นการลงทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็คือเราจะเปรียบเทียบผลตอบแทนของเรา กับผลตอบแทนของตลาดในแต่ละช่วงเวลา   ซึ่งทั่ว ๆ  ไปมักจะมองกันเป็นปี ๆ   วิธีนี้เหมาะกับคนที่  “รับจ้าง”  บริหารเงินเช่นบริษัทจัดการกองทุนรวมต่าง  ๆ   แต่จุดอ่อนก็คือ   บางทีเราอาจจะชนะตลาดมาก  เช่น  ตลาดติดลบไป  20%  และของเราติดลบไป 10%    แบบนี้อาจจะดูว่าผู้บริหารเก่ง   แต่ข้อเท็จจริงก็คือ   เราก็ยังขาดทุนมากอยู่ดี   มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย    
โดย ส่วนตัวผมเองนั้น  ในการวัดผลการลงทุน  ผมเองก็ยังเน้นที่มูลค่าพอร์ตเป็นหลัก  แต่ผมจะเน้นว่าทุกปีผมจะพยายามทำให้พอร์ตมีมูลค่าเพิ่มขึ้น   อย่างน้อยก็มากกว่าการฝากเงินในธนาคาร    ผมจะให้ความสำคัญกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อย่างที่กอง ทุนรวมทำน้อย    ผมคิดว่าการเปรียบเทียบกับตลาดนั้น   ทำให้เราไขว้เขวจากการลงทุนแบบ  Value Investment  เพราะผลตอบแทนของตลาดหุ้นในแต่ละปีนั้น  มักจะมาจากอิทธิพลของจิตวิทยาในตลาดมากกว่าเรื่องของผลประกอบการ   ดังนั้น   ถ้าผมพยายามที่จะวิ่งแข่งกับตลาดก็เท่ากับว่าผมให้ความสำคัญกับปัจจัยทาง จิตวิทยามากเกินไป  
ผม ไม่ได้ละเลยปัจจัยทางพื้นฐานของกิจการ    ว่าที่จริง   ผมคิดว่าการลงทุนของผมนั้น   ถ้าจะประสบความสำเร็จจริง  ๆ   นอกจากราคาหุ้นหรือมูลค่าพอร์ตควรจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้ว    กำไรของบริษัทโดยรวมจะต้องเพิ่มขึ้นด้วย    นอกจากกำไรแล้ว   อีกสิ่งหนึ่งที่ผมจะดูก็คือ  ตัวเลขเม็ดเงินปันผลรวมที่ผมได้รับในแต่ละปีที่ควรจะเพิ่มขึ้นทุกปี   และสุดท้ายก็คือ  “คูเมือง”   ที่บัฟเฟตต์พูดถึง   นี่เป็นสิ่งที่ผมจะติดตามตลอดเวลา    นั่นก็คือ  ผมจะถือว่าเป็นปัจจัยบวกของบริษัทและเป็นสิ่งที่ทำให้ผมมีความมั่นใจที่จะ ถือมันไปเรื่อย ๆ  ตราบที่มันยังเข้มแข็งอยู่และเข้มแข็งเพิ่มขึ้น    ถ้าบริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นแต่คู่แข่งกลับมีความเข้มแข็งมากขึ้นและเริ่มเข้า มาคุกคามบริษัทอย่าง “น่ากลัว”  แบบนี้ผมก็อาจจะพิจารณาขายหุ้นทิ้งมากกว่าที่จะถือหุ้นไว้แม้ว่ากำไรใน วันนี้จะเพิ่มขึ้น  
สุด ท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ   ในระยะยาวแล้ว   ผมคิดว่าทุกคนรวมทั้งตัวบัฟเฟตต์เองก็ต้องวัดผลการลงทุนจากเม็ดเงินของความ มั่งคั่งที่เกิดจากการลงทุน   ความแตกต่างผมคิดว่าขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการ  “ตัดสิน”   ถ้าเราตัดสินกันโดยเอาเวลา  1  ปีเป็นที่ตั้ง  เราก็มองแบบหนึ่ง   แต่ถ้าเราตั้งเวลาไว้ 3 ปี   เราก็จะมองอีกแบบหนึ่ง    สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว   ผมคิดว่าเขาให้เวลายาวมาก  บางทีอาจจะเป็นสิบ ๆ  ปี  ดังนั้น  การวัดผลการลงทุนของเขาจึงออกมาเป็นแบบที่กล่าว   และสถิติการลงทุนของเขาก็พิสูจน์แล้วว่า  เขาคิดถูกหรือใช้วิธีการวัดผลที่ถูกต้อง    ในฐานะนักลงทุน   ผมคิดว่าทุกคนควรมีมาตรฐานของตัวเองว่าจะดูอย่างไรว่า  เราทำถูกหรือลงทุนถูกต้อง    การใช้เพียงแค่  “ผลตอบแทนรายปี”   เป็นเครื่องวัดเพียงอย่างเดียวนั้น   ผมคิดว่าไม่เพียงพอ  ถ้าเราทำไปเรื่อย ๆ   วันหนึ่งเราอาจจะพบว่ามันเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง   และเป้าหมายระยะยาวในการที่จะมี  “อิสระทางการเงิน” อาจจะไม่บรรลุผล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘