ลอร์ดเคน

ถ้าจะยกย่อง บุคคลที่เป็นผู้นำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องใหม่ไม่มีคนคิดมา ก่อน    เป็นเรื่องที่สำคัญ   และเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อมวลชนในวงกว้างว่าเป็น   “บิดา”  แล้วละก็   John Maynard Keynes หรือ ลอร์ด  เคน  ก็ถือว่าเป็น  “บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์หลังยุคภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ”    เคนเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่  “สุดโต่ง”  “รุนแรง”  และเป็นคนที่  “สวนกระแส”   ความคิดของเขานั้นเป็นประเภทที่ว่า   “ถ้าคนตกงานกันมากไม่มีงานทำ   วิธีแก้ก็ไม่เห็นยาก    รัฐบาลก็จ้างคนมาขุดหลุม  เสร็จแล้วก็จ้างคนมากลบหลุมที่ขุดไว้  คนก็มีงานทำ   มีเงินใช้   เศรษฐกิจก็เดิน”    นั่นก็พูดแบบเวอร์ ๆ   แต่จริง ๆ  แล้ว   วิธีการก็คือ  ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำนั้น  รัฐบาลควรที่จะสร้างงานขึ้นมาเช่น   สร้างถนนหนทาง   เขื่อน  และสาธารณูปโภคต่าง ๆ   เพื่อให้เกิดการจ้างงานชดเชยกับการปิดงานของเอกชน   วิธีนี้จะทำให้สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำได้   และนั่นทำให้รัฐบาลโดยเฉพาะรัฐบาลอเมริกันในยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลัง ปี 1929  สร้างงานต่าง ๆ  ขึ้น  ที่โดดเด่นก็คือ  เขื่อนฮูเวอร์    และหนังสือที่เป็นต้นตำรับสำคัญที่ทำให้เคนโด่งดังและเป็นหนังสือคลาสสิกก็ คือ  General Theory Of Employment, Interest, and Money
แน่ นอน   นักเศรษฐศาสตร์ทุกคนจะต้องรู้จัก ลอร์ด เคน    แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะไม่รู้ก็คือ   นอกจากจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ระดับปรมาจารย์แล้ว    เคนยังเป็นนักลงทุนตัวยงที่ผ่านช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในปี 1929   เคยเจ๊งและกลับมาร่ำรวยจากการลงทุนซึ่งจนถึงวันที่เขาเสียชีวิตในปี 1945  เขามีเงินถ้านับเปรียบเทียบกับปัจจุบันก็มีถึงประมาณหนึ่งพันล้านบาทไทย   ผลตอบแทนการลงทุนของเขาในช่วง 25 ปี สูงถึง  13%  ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น   ซึ่งถ้าคิดถึงว่านี่เป็นการลงทุนที่ผ่านช่วงภาวะวิกฤติแล้วก็ต้องถือว่าเป็น สถิติที่สุดยอดคนหนึ่ง    และเนื่องจากว่าเคนเป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนคนแรก ๆ  ที่มีหลักการและวิธีการที่แตกต่างกับนักลงทุนในช่วงก่อนหน้าเขา   เขาจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น  “ซือแป๋”  คนหนึ่งของวงการนักลงทุนแม้ว่าชื่อในฐานะของการเป็นนักลงทุนของเขาอาจจะ ถูกกลบโดยชื่อในฐานะที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ระดับต้น ๆ ของโลก   เรามาดูกันว่าเคนมีหลักการลงทุนอย่างไร
ข้อ แรก   และเป็นหัวใจสำคัญที่สุดก็คือ   มีความคิดสวนกระแสกับคนทั่วไป  ภายใต้พื้นฐานสำคัญก็คือ  ถ้าทุกคนเห็นด้วยกับสิ่งที่ดีหรือข้อดีของมัน   การลงทุนนั้นก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องแพง   ดังนั้นมันก็ไม่น่าสนใจ 
ข้อ สอง   เลือกการลงทุน   น้อยตัวหรือน้อยอย่าง   โดยคำนึงถึงความถูกของมันเมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงของมันในปัจจุบันและ ศักยภาพของมันในช่วงหลายปีข้างหน้า    ทั้งนี้จะต้องเปรียบเทียบกับการลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์ตัวอื่นในช่วงเวลา เดียวกันด้วย
ข้อ สาม   ให้ถือหุ้นหรือการลงทุนจำนวนน้อยตัวที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เหล่านั้นยาวนาน ผ่านภาวะที่ทั้งดีและร้าย   บางทีอาจจะหลายปี  จนกระทั่งมันบรรลุถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้หรือจนกระทั่งมันปรากฏชัดเจนว่า เราซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้นผิดตัว
ข้อ สี่   ให้ถือพอร์ตโฟลิโอการลงทุนที่สมดุล  นั่นคือ   มีความเสี่ยงที่หลากหลาย   และถ้าเป็นไปได้   ความเสี่ยงเหล่านั้นมีการหักล้างกันเอง   เช่น  ถือหุ้นบริษัททอง   เพราะมันมักจะปรับตัวตรงกันข้ามกับหุ้นทั่วไปเมื่อมีการผันผวนของราคาหุ้น หนัก ๆ     การถือหุ้นที่มีความเสี่ยงหลากหลายแบบนี้จะทำให้ความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ต ไม่สูงแม้ว่าความเสี่ยงของแต่ละตัวจะสูงมากเพราะลงทุนค่อนข้างหนักในแต่ละ ตัว
หลัก การลงทุนของเคนนั้น   หลายคนอาจจะรู้สึกว่าคล้าย ๆ  กับของวอเร็น บัฟเฟตต์  ในแง่ที่เป็นนักลงทุนแบบเน้นหุ้นน้อยตัวหรือแบบ  Focus  และถือหุ้นยาวนาน ไม่ค่อยขาย   แต่ต้องไม่ลืมว่าเคนนั้นมาก่อนบัฟเฟตต์  ดังนั้น  ถ้าจะว่าไป  ต้นตำรับของการลงทุนแบบโฟคัสนั้นมาจากเคน   ส่วนบัฟเฟตต์มาต่อยอดอีกทีหนึ่ง
การ เป็น  “ชาวสวน”  ของเคนนั้นดูเหมือนจะได้สำแดงอย่างเต็มที่ในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ   ในช่วงปี 1929 ถึง 1936   นั่นก็คือ  ในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ยอม  “โยนผ้า”  ถอนตัวจากตลาดหุ้นกันเป็นแถว   เคนกลับลงเงินถึง 65%  เข้าไปในตลาดหุ้นที่เขาดูว่ามีราคาถูกมาก    เช่นเดียวกัน    เขายังใช้เงินกู้จำนวนมากซื้อหุ้น   ในปี 1936  เขามีความมั่งคั่งคิดเป็นเงินประมาณ  500,000 ปอนด์  แต่หนี้เขามีถึง 300,000  ปอนด์    แต่ในเวลาต่อมาเขาก็ค่อย ๆ  ลดหนี้ลงจนเหลือประมาณแค่  12%  ในปี 1939   ข้อสรุปก็คือ   เขาใช้เงินกู้มากในช่วงที่เขาเห็นว่าเป็น “โอกาส”  ในขณะที่คนอื่นเห็นว่าเป็นวิกฤติ   แต่ในช่วงที่โอกาสลดลงเขาก็ไม่ได้ใช้
แม้ ว่าเคนจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ระดับปรมาจารย์   แต่เขาเองไม่เคยใช้   “ความสามารถในการคาดการณ์”  ตัวเลขทางเศรษฐกิจมาใช้ในการลงทุน   เขาเห็นว่าตลาดหุ้นนั้นคาดการณ์ไม่ได้   และนั่นเป็นสิ่งที่เขานำมาใช้ประโยชน์  เขาบอกว่า   การผันผวนของตลาดหุ้นทำให้เกิดหุ้นราคาถูกมากมาย    ในเวลาเดียวกัน  ความผันผวนก็ทำให้คนไม่กล้าเข้ามาฉวยโอกาสจากมัน   ดังนั้น  ถ้าเรามีความหนักแน่น  ใจเย็นพอ   เราก็จะสามารถฉกฉวยประโยชน์จากมันได้
ประวัติ ศาสตร์บอกเราว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จสูงในการลง ทุน   เคนเป็นข้อยกเว้น   บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าเขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ประเภทสุดโต่งและคิดไม่เหมือน นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป   เขารู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ดีมากจนอาจจะรู้ว่า   การลงทุนนั้นเป็นเรื่องระดับเล็กถึงเล็กมาก    วิธีที่จะเอาชนะในการลงทุนได้จึงอยู่ที่ความสามารถในการเลือกหุ้นมากกว่า ความสามารถในการมองภาพรวม    แต่แน่นอน  ความรู้ในเรื่องของเศรษฐศาสตร์เป็นพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้พฤติกรรม ทางเศรษฐกิจของคน  เพียงแต่เศรษฐศาสตร์ระดับสูงนั้น   ไม่มีความจำเป็นสำหรับการลงทุนนัก

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘