อย่ากลัวที่จะได้กำไรน้อย

หากต้องการกำไรสูงสุด จากตลาดหุ้น
คุณก็จะต้อง ซื้อหุ้นด้วยเงินทั้งหมด ที่ราคาต่ำที่สุด
และขายหุ้นทั้งหมด ที่ราคาสูงสุด
ซึ่งแน่นอนว่า
หากราคาหุ้นสูงขึ้น 10% คุณก็จะได้กำไร 10%
หากราคาหุ้นสูงขึ้น 700% คุณก็จะได้กำไร 700%
ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
เพราะ คุณอาจทำมันได้เพียงครั้งเดียว ที่จะฟลุ๊กได้แบบนั้น
ระบบที่ดีที่สุด
ทำได้แค่เพียง
ช่วยให้คุณซื้อหุ้นได้ที่ราคา เกือบต่ำที่สุด
และขายหุ้นได้ที่ราคา เกือบสูงที่สุด
ซึ่งผมคิดว่า ระบบเช่นที่ว่านั้น ไม่มีอยู่จริงในโลกนี้
แต่ระบบที่กำไรน้อยๆ สม่ำเสมอนั้น มีอยู่จริงครับ
และกำไรน้อยๆ นี่เอง คือ หัวใจของธุรกิจ
เพราะ กำไรน้อย ก็คือ เสี่ยงน้อย
เพราะ เสี่ยงน้อย ก็เลย กำไรมาก (เอง)
คุณจะต้องให้เวลากับเงินของคุณมากพอ
ไม่มีประโยชน์ หากคุณหอบหุ้นสูงขึ้นไปที่ราคา 1000 เท่า
แล้วก็ไม่ขายที่ราคานั้น ปล่อยมันตกมาที่ราคาเดิม
สิ่งที่ทำได้เลยก็คือ
อยู่ตรงไหนก็ซื้อได้ เพื่อมีของไว้ขาย
อยู่ตรงไหนก็ขายได้ เพื่อมีเงินหมุนเวียนซื้อใหม่
ระบบ FATS ช่วยคุณทำกำไร ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง
และปกป้องเงินและหุ้นของคุณไว้เสมอ
หากคุณต้องการผลการตอบแทนที่สูงมากพอ
อาจจะต้องหาวิธีการอื่น
แต่ถ้าต้องการผลลัพธ์ความเติบโตที่สม่ำเสมอ ปีละ 10-20% ทุกปี
ก็ขอให้ศึกษาระบบนี้ ให้เข้าใจจริงๆ
เพราะ โดยวิธีการที่ผมนำเสนอไปนั้น
มีรายละเอียดเพียง 4 บทความเท่านั้น
คือ
1. FATS Basic
2. ทำอย่างไร เมื่อราคาหุ้นตก (พูดถึงการย้ายหุ้น)
3. ทำอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ (พูดถึงการแบ่งขายครึ่งหนึ่ง แล้วซื้อคืน)
4. การวัดความเติบโตของการลงทุน ในแบบของ FATS
หลักการจริงๆ มีเพียงเท่านี้
และผมไม่มีอะไรเขียนมากไปกว่านั้น
เพราะหลักการของมันมีอยู่เท่านั้นครับ
แต่ในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นในส่วนมุมมองการลงทุนนั้น
ผมคิดว่าจำเป็นต้องเขียน ก็เพื่อที่จะเป็นอาหารสมอง เป็นความเพลิดเพลิน เป็นความรื่นรมย์ของชีวิต
ในระหว่าง รอผลของเมล็ดพันธุ์ของการลงทุนที่เราได้เริ่มต้นหว่านไปแล้ว
เท่านั้นเองครับ
เพราะฉะนั้น อย่ากลัวที่จะได้กำไรน้อย
โบราณว่า “อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา” ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘