เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อ
   ความหมายง่าย ๆ ของเงินเฟ้อคือ ภาวะที่ข้าวของเครื่องใช้โดยทั่วไปมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง การสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มูลค่าของเงินลดลง เช่น ปีที่ผ่านเราซื้อเสื้อผ้าด้วยเงินจำนวน 100 บาทต่อชิ้นมาปีนี้เราต้องซื่อเสือผ้าตัวเดิมด้วยเงิน 103 บาท แสดงว่า มูลค่าของเงินลดลง 3 % ปีต่อไปราคาสินค้าชิ้นนี้ก็เพิ่มขึ้นอีกไปเรื่อย ๆ
แต่การเพิ่มราคาของสินค้าจะหมายถึง สินค้าทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ แต่ถ้าขึ้นเพียงอย่างเดียวหรือเพียงสองสามอย่างจะไม่ถือ ว่าเป็นเงินเฟ้อ หรือ ภาวการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการ โดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อ ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
   ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ

 
   สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ

ประการแรก ต้นทุนสินค้าเพิ่ม ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
*ต้นทุนการผลิตคือสิ่งที่ใช้พิจารณา นโยบายกำหนดราคาสินค้าและบริการ ถ้าต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่ว่าจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น หรือราคา วัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าต้องเพิ่มขึ้นด้วย ราคาสินค้าสูงขึ้นผู้บริโภคต้องใช้เงินมากกว่าเดิมทำให้ปริมาณเงินที่ไหล เข้าสู่ตลาดมากขึ้น
ประการที่สอง ความต้องการสินค้าเพิ่ม (ปริมาณที่ต้องการซื้อมากขึ้นทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น) หรือที่เรียกว่า แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มี อยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ เช่นเมื่อพนักงานได้รับค่าแรงเพิ่มทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการบริโภคมากขึ้นทำ ให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นสาเหตุผลัก ดันให้เกิดเงินเฟ้อ ภาคการผลิตเมื่อสินค้าราคาดีขึ้นก็จะมีคนเร่งผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายทำให้ ต้องจ่ายค่าแรงในรูปของค่าล่วงเวลา ก็จะทำให้รายได้ ของพนักงานเพิ่มขึ้นอีก ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะหมุนเป็นวัฏจักรผลักดันทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ในที่สุด เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็สูงขึ้นจนทำให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพง

                                                        

การแบ่งชนิดของอัตราเงินเฟ้อ
ตามหลักวิชาการจะแบ่งอัตราเงินเฟ้อเป็น 3 ประเภทคือ
1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 (ทำให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุน) มักจะเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ แต่กลับจะส่งผลดีคือ ทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
2. เงินเฟ้อปานกลาง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 20 (สินค้าโดยทั่วไปราคาแพง)ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการผลิต เพราะต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าก็จะสูงตามขึ้นไป ประชาชนจะประสบปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นโดยได้รับความเดือดร้อนเรื่องราคา สินค้าแพง ดังนั้นรัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง
3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง คือ การที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยระดับราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20% ต่อปี ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งมักเกิดขึ้นในขณะเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สงคราม หรือ รัฐบาลทำการพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนมากเกินไป อย่างเช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมนี จีนและประเทศไทย ได้พิมพ์ธนบัตรออกใช้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จึงเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรงจนทำให้ธนบัตรแทบจะไม่สามารถทำหน้าที่ชำระหนี้ ตามกฎหมายได้
ผลกระทบของเงินเฟ้อ
ผลต่อความต้องการถือเงิน
ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพขึ้น เงินเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลงความต้องการถือเงินจะขึ้นอยู่กับการคาดคะเน ราคาสินค้าหรือค่าของเงินด้วย ค่าของเงินยิ่งต่ำ คนจะยิ่งพยายามถือเงินให้น้อยลง โดยจะมีการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น
 

ผลกระทบต่อรัฐบาล
รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะ เงินเฟ้อ นั้นคือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง นอกจากนี้ถ้ารัฐมีการกู้ยืมมากรัฐจะได้ประโยชน์ฐานะลูกหนี้ เพราะจำนวนเงินที่จ่ายในแต่ละส่วนจะมีค่าน้อยลง และเนื่องจากรัฐมีรายได้มากขึ้น การชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจึงทำได้โดยไม่ลำบากในการเก็บรักษามูลค่า และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้เลย
ผลที่มีต่อการกระจายรายได้
เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้ของบุคคล เช่น
1) ผู้มีรายได้เป็นจำนวนเงินคงที่ตายตัวหรือรายได้ประจำจะเสียเปรียบ เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะสูงขึ้นเนื่องจากสินค้าแพงขึ้น แต่รายได้ที่เป็นตัวเงินยังคงเดิม
หรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่นข้าราชการ , ผุ้มีรายได้จากบำนาญ ในขณะที่ผู้มีรายได้จากกำไร หรือมีรายได้เป็นตัวเงินที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
เช่น พ่อค้า, นักธุรกิจ มักจะได้ประโยชน์เพราะสามารถขึ้นราคาสินค้าให้สูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตหรือ อาจจะขึ้นราคาไปมากกว่าต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้ได้กำไรมากขึ้น

2) ลูกหนี้จะได้เปรียบในขณะที่เจ้าหนี้เสียเปรียบ เนื่องจากเงินที่นำไปชำระหนี้คืนนั้นมีอำนาจซื้อลดลง เนื่องจากค่าของเงินลดต่ำลงไปเรื่อย ๆ เพราะราคาสินค้าสูงขึ้น
3) ผู้ถือทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินแน่นอน เช่น เงินสด เงินฝากประจำ หุ้นกู้ จะเสียเปรียบ เพราะเงินลดค่าลงในขณะที่ผู้ถือทรัพย์สินที่มีราคาไม่แน่นอนมักจะได้เปรียบ
เพราะราคาของทรัพย์สินมักจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ที่ดิน อาคารบ้านเรือน เครื่องมือเครื่องจักร กักตุนสินค้า
จะ เห็นได้ว่าภาวะเงินเฟ้อจะทำให้การกระจายรายได้เป็นไปอย่างไม่ยุติธรรมมาก ขึ้น เพราะคนรวยจะยิ่งรวยขึ้น (เช่น พวกพ่อค้า ผู้ผลิต นักธุรกิจ นายทุน) ในขณะที่คนจนยิ่งจนมากขึ้น
(เช่น ลูกจ้าง, กรรมกร,ข้าราชการ) ซึ่งถ้าหากผุ้มีรายได้ประจำเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนเพราะค่าครองชีพสูง ก็อาจจะดิ้นรนเรียกร้องค่าแรงงาน, เงินเดือนให้สูงขึ้น ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จ

นายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าแรงงานเพิ่ม ขึ้น ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น ทำให้ต้องตั้งราคาสินค้าสูงขึ้นไปกว่าเดิม ภาวะเงินเฟ้อก็จะแรงยิ่งขึ้น และลูกจ้างเองก็จะไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความเดือดร้อนจากภาวะเงินเฟ้อได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘