เรื่องของหุ้น

      รวมสินทรัพย์ถาวร (Fix Assets)

      อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)

      อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover) = ขายสุทธิ (SALES) (ครั้ง)

      สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset)

      ยิ่งสูงยิ่งดี

      อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)

      อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) = ขายสุทธิ (SALES)

      (ครั้งหรือเท่า) สินทรัพย์รวม (Total Assets)

      จำนวน ครั้งสูง ดี เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด (TA) เมื่อเทียบกับยอดขาย (SALES) ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ

      4. อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Leverage Ratio or Financial Ratio)

      เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ ว่ามีมากน้อยเพียงใด

      อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) = หนี้สินรวม (Total Debt)

      (เท่า) ส่วนของเจ้าของ (Equity)

      ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในด้านเจ้าหนี้และเจ้าของกิจการ ถ้าอัตราส่วนสูง

      แสดงว่า กิจการมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ

      ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage)

      (เท่า) = กำไรสุทธิ (NP) + ภาษีเงินได้ (Tax) - ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)

      ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)

      เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง

      อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout) = เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend /share)


      กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)

      แสดงถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ

      อัตราส่วนที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เพื่อท่านจะได้พิจารณางบการเงินได้ในระดับหนึ่ง

      สัญญาณเตือนภัยจากการวิเคราะห์งบการเงิน

      1.ขาดทุนมากๆ และติดต่อกันหลายปี

      2.ระยะเวลาการเก็บหนี้นานขึ้น

      3.อัตราหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของสูงขึ้นเร็วมาก

      4.สินค้าคงคลังสูงมากผิดปกติ

      5.ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

      6.ยอดขายสูงขึ้น แต่กำไรลดลง

      7.หนี้สูญเพิ่มขึ้น

      8.รายงานผู้สอบบัญชีผิดปกติ เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่

      9.ขายสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อสร้างกำไรให้เข้าเป้าในระยะสั้น

      การประเมินมูลค่าหุ้น (Equity Valuation)

      1.ประเมินมูลค่าหุ้นจากสินทรัพย์ (Asset Value Approach)

      2.ประเมินมูลค่าหุ้นจากกำไรและเงินปันผล

      (Earnings and Dividend Approach)

      ประเมินมูลค่าหุ้นจากสินทรัพย์ (Asset Value Approach)

      1.Price per Book Value (P/BV Ratio)

      2.Net-net Asset Value per Share (Net NAV/ #share) Graham Technique

      3.Net-net working capital = Graham Technique

      4.NAV

      P/BV Ratio = Price /Book Value per Share = P/BV

      Price = ราคาที่เราเต็มใจซื้อ

      P/BV = จำนวนกี่เท่าที่เราเต็มใจจ่าย

      BV = มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น = ส่วนของผู้ถือหุ้น

      จำนวนหุ้น

      Net Net Asset Value per Share

      = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) - หนี้สินหมุนเวียน (CL) - หนี้สินระยะยาว (LL)

      จำนวนหุ้นทั้งหมด (#Shares)

      หรือ

      Net Net Asset Value per Share (Net NAV/ #share) = CA-TL (Total Liability)

      #share

      จะ มีโอกาสผิดพลาดไม่มากนัก หากนักลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่า ผลรวมของหนี้สินระยะสั้นและหนี้สินระยะยาว ถึง 1 ใน 3 และซื้อกระจายไปหลายๆ ตัว หุ้น Net-net หายากในปัจจุบัน แต่บางครั้งเราก็สามารถหามันพบได้ วิธีการนี้ ถือว่าเป็นสาระสำคัญที่สุดของเทคนิคการลงทุน แบบ เบนจามิน เกรแฮม

      ซึ่งเขาจะใช้วิธีนี้ซื้อหุ้นหลังเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้ง ใหญ่ (ประยุกต์ใช้กับช่วงปี 2540 ของไทย) โดยเกรแฮม ให้ความสนใจกับคุณภาพน้อยมาก แต่จะป้องกันความปลอดภัยโดย ซื้อหุ้นหลายๆ ตัว เพื่อกระจายความเสี่ยงไปในตัว

      การที่เราสามารถหาซื้อหุ้นที่ซื้อขาย กันในราคาต่ำกว่าตัวเลข 1 ใน 3 เปรียบแล้วก็เหมือนการได้หุ้นมาฟรีๆ ถึงแม้ว่าตอนนั้นฐานะการเงินของบริษัทอาจจะไม่แข็งแกร่งดีนักก็ตาม

      Net-net Working Capital (NNWC) เทคนิคของ เกรแฮม

      Net-net Working Capital (NNWC)

      = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) - หนี้สินรวม (TL= Total Liability)

      หลักการ คือ หา (จังหวะ) ซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า Net-net Working Capital

      สินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น (Net Assets Value per Share)

      NAV = สินทรัพย์รวม - หนี้สินรวม

      จำนวนหุ้น

      สินทรัพย์รวมที่อยู่ในรูปที่ดินอาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะซื้อมาตอนราคาต่ำมากๆ

      ข้อเสียของ NAV คือ ไม่ได้คำนึงถึงอนาคตของกิจการ และมูลค่าของเงินตามระยะเวลา (Time value Of Money)

      ประเมินมูลค่าหุ้นจากกำไรและเงินปันผล

      (Earnings and Dividend Approach)

      1. Price per Earning Ratio (P/E Ratio or PER)

      2.Dividend Yield

      3.Dividend Discount Model

      4.Enterprise Value (EV)

      P/E Ratio or PER

      P/E Ratio (เท่า) = Price

      EPS

      P/E = จำนวนกี่เท่าของกำไรที่เราเต็มใจจ่าย

      Price = ราคาที่เราเต็มใจจ่าย

      EPS = กำไรสุทธิต่อหุ้น

      EPS ที่ใช้กันแตกต่างกันไป เช่น

      1.1 EPS เมื่อ 4 ไตรมาสที่ผ่านมา (4 ไตรมาสย้อนหลัง)

      1.2 EPS เมื่อสิ้นปีที่แล้ว (ปี 2003)

      1.3 EPS อนาคตจากการคาดการณ์ (ปี 2004)

      การเลือกใช้ค่า P/E ที่เหมาะสมโดย

      1.เปรียบเทียบกับ ค่า P/E ตลาด

      2.เปรียบเทียบกับ ค่า P/E ของอุตสาหกรรม

      3.เปรียบเทียบกับ ค่า P/E ในอดีต

      ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าหรือระดับของ P/E

      1.อัตราการเติบโตของ กำไร (Net Profit) และกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) หรือ Expected growth

      2.สภาพคล่องของหุ้น (Liquidity)

      3.ระดับ การยอมรับของทีมงานบริหาร (Perceived quality of management) ถ้ามีผู้บริหารเก่งๆ สามารถทำให้ผลการดำเนินงานดีขึ้น ต้นทุนลดลง กำไรเพิ่มขึ้นได้

      เกรแฮม : เราควรจะมีการกำหนดค่า P/E ที่ไม่ควรสูงเกินไปเอาไว้ เพื่อให้การประเมินมูลค่าหุ้นจะได้เป็นไปอย่างอนุรักษนิยม แนะนำว่า ค่า P/E ที่ 20 เท่า ของผลกำไรเฉลี่ยเป็นราคาที่สูงที่สุดแล้วที่จะซื้อหุ้นสามัญ เกรแฮมพยายามหลีกเลี่ยง ค่า P/E 20-25 เท่า

      @ ค่า P/E ควรจะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่า P/E ของบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรม
      เดียวกัน @ ค่า P/E จะบ่งชี้ถึงขีดจำกัดบน ของมูลค่าที่แท้จริง

      @ บริษัทที่มีศักยภาพในการลงทุนมากที่สุด มักมีกำไรอย่างต่อเนื่อง

      @ กำไรควรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

      @ การคาดการณ์ผลกำไรและตัวเลขอื่นๆ ควรคาดการณ์ต่ำๆ ไว้ก่อน เพื่อที่จะได้มีค่าเผื่อไว้เพื่อความปลอดภัย (Margin of safety)

      Dividend Yield Approach (อัตราผลตอบแทนเงินปันผล)

      Dividend Yield (%) = Expected Dividend หรือ เงินปันผลต่อหุ้น

      Price ราคาหุ้น

      Dividend Discount Model (DDM)

      การคำนวณมูลค่าหุ้นจากแบบจำลองส่วนลดเงินปันผล (DDM)

      รู้จักแพร่หลายและมีการนำไปประยุกต์ใช้กันมาก โดยหลักการประเมินมูลค่าหุ้นมีพื้นฐานมาจาก หลักการ Discount Cash Flows ที่กล่าวว่า

      มูลค่า ของสินทรัพย์ ณ ขณะใดๆ จะมีค่าเท่ากับกระแสเงินสดที่ได้รับจากการลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ ในอนาคตทั้งหมด คิดลดมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน ด้วยอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ

      กรณี หุ้นสามัญ กระแสเงินสด ที่ผู้ถือหุ้นได้รับ คือ เงินปันผล (Dividend) ในแต่ละปี และ ราคาหุ้นที่คาดว่าจะขาย นั่นเอง

      P = D1 + D2 + ???.D?

      (1+Ks)? (1+Ks)? (1+Ks)?

      P = ราคาประเมินของหุ้นสามัญในปีปัจจุบัน

      D = เงินปันผลในปีที่ t โดยที่ t = 1, 2, 3, 4, ??.. ตั้งแต่ปีที่ 1, 2, 3, 4 ไปเรื่อยๆ

      Ks = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการของตลาด (Required rate of return) ซึ่งจะแปรผันไปตามความเสี่ยงของธุรกิจ และอาจถูกกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงผลตอบแทนจากการเลือกการลงทุนอื่น

      D1 = Do (1+g)

      g (growth) = อัตราการเติบโตของเงินปันผล

      การประเมินมูลค่าหุ้น กรณีเงินปันผลเท่ากันทุกงวด (Zero Growth Dividend)

      โดยคาดว่าเงินปันผลจะได้รับเท่ากันทุกงวด และคาดว่าจะถือหุ้นไม่มีกำหนด จะได้

      D1= D2 = D3 = ?? จะได้

      P = D
      Ks

      การประเมินมูลค่าหุ้น กรณีเงินปันผลมีอัตราเพิ่มเท่ากันทุกงวด

      (Constant Growth Dividend or Gordon Model)

      Po = D1 = Do (1+g)

      K - g k - g

      K = required rate of return ตาม CAPM (Capital Asset Pricing Model)

      K = Rf + ? (Rm - Rf)

      Rm = Return of market ผลตอบแทนของตลาดโดยรวม

      Rf = Risk free rate อัตราดอกเบี้ยที่ไม่มีความเสี่ยง

      Rm > Rf

      Rm - Rf = Risk premium

      ?=Beta = ตัววัดการแกว่งตัวของผลตอบแทนของหลักทรัพย์ เมื่อเทียบกับการแกว่งตัวของตลาด นักลงทุนสถาบัน มองว่า ถ้าค่า Beta เบี่ยงเบนมาก ก็จะมีผลต่อหุ้นมาก

      ความเสี่ยงสูง

      Beta = 1 => ตลาด + 10 % ราคาหุ้น + 10%

      Beta > 1 => ตลาด +10% ราคาหุ้น + 15%

      Beta < 1 => ตลาด +10% ราคาหุ้น + 8%

      Beta < 0 => ตลาด + 10% ราคาหุ้น - 3% เป็นต้น

      การประเมินมูลค่าของกิจการ (Enterprise Value หรือ EV)

      การประเมินมูลค่าหุ้น โดย

      สมการนี้ เหมือนกับค่า P/E ไม่มีค่าตายตัวให้เปรียบเทียบกับหุ้นใน

      อุตสาหกรรม ว่ามีการลงทุนกันกี่เท่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘