ถ้าหุ้นลงหนัก

เมื่อหุ้นลง และ ลง
1. ถ้าลงอย่างไม่มีเหตุผล  ก็แสดงว่า ถูกเจ้าทุบหุ้นเพื่อเก็บเอาของ  ก็ไม่ต้องตกใจครับ
    เพราะเดี๋ยวมันก็ขึ้นมา
    ถึงแม้จะไม่ขึ้นมาเท่ากับราคาสูงสุดที่เคยซื้อ ก็ไม่ต้องกลัวครับ เพราะมันยังอยู่ในแผน
2. ถ้าลงเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ
หุ้นในพอร์ตทุกตัว จะมีมูลค่าลดพร้อมกันหมด และลดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
แบบนี้ก็ให้เริ่มทยอยขายออกมา
(เดี๋ยวเรื่องการทยอยขายออกมา ผมจะเขียนในอีกหัวข้อหนึ่งต่างหาก)
3. แต่ถ้าลง เพราะธุรกิจกำลังจะไปไม่รอด (ดูจากข่าวสารที่ออกมาบ้าง ดูงบการเงินบ้าง ฯลฯ)
แบบนี้ต้องไม่ซื้อหุ้นเพิ่มแล้ว แต่จะต้องขายหุ้นออกให้เร็วที่สุด
แต่ก่อนจะขายหุ้น จะต้องมองหาหุ้นตัวอื่นเอาไว้
คือ เราจะรู้ว่าหลังจากที่เราขายหุ้นออกไปแล้ว จะมีเงินสดจากหุ้นตัวนี้เท่าไหร่
(ซึ่งรวมทั้งเงินสำรองที่ยังไม่ได้นำมาใช้ด้วยนะครับ)
ในการที่จะเลือกหุ้นตัวใหม่นั้น สามารถเลือกหุ้นในช่วงราคาใกล้เคียงกันก็ได้
หรือจะเลือกหุ้นที่อยู่คนละระดับราคาก็ได้
แต่สำคัญอยู่ที่การกำหนดช่วงซื้อขาย และจำนวนที่จะซื้อขายใหม่
เช่น
เราซื้อหุ้นตัวหนึ่ง ลงมาตามราคาแบบนี้
ราคา  —> จำนวน
2.00 –> 1000
1.90 –> 2000
1.80 –> 3000
1.70 –> 4000
1.60 –> 5000
1.50 –> 6000
(รวมส่วนที่ซื้อไปแล้ว เป็นเงิน 35,000 )
จำนวนหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ คือ 21,000 หุ้น
หากคุณขายไปทั้งหมด ที่ราคา 1.45 บาท
ก็จะได้เงินส่วนนี้คืน 30,450 บาท
ส่วนที่เป็นเงินสำรองที่ยังไม่ใช้ 119,000
ดังนี้
1.40 –> 7000
1.30 –> 8000
1.20 –> 9000
1.10 –> 10000
1.00 –> 11000
0.90 –> 12000
0.80 –> 13000
0.70 –> 14000
0.60 –> 15000
0.50 –> 16000
0.40 –> 17000
0.30 –> 18000
0.20 –> 19000
0.10 –> 20000
(ซึ่งนับเป็นจำนวน 14 ระดับราคา ที่ยังไม่ได้ซื้อ)
เมื่อคุณกำลังอยากจะย้ายไปหาหุ้นตัวใหม่  และได้เล็งราคาไว้ในช่วงประมาณ 3 บาท
เงินส่วนที่ได้จากการขายหุ้นเดิม 30450 บาท
ก็จะสามารถซื้อหุ้นได้ทั้งหมดประมาณ 10100 หุ้น
แต่เราต้องมีหุ้นอย่างน้อย 6 ช่วงราคาเหมือนกับหุ้นเดิมที่มีอยู่
เราต้องแจกแจงออกมาให้เหมือนกับหุ้นตัวเดิม
วิธีการคือใช้ excel ช่วยคำนวณ
เอาจำนวนหุ้นใหม่ คือ 10,100 หารด้วยหุ้นเก่า 21,000 = 0.481
เอาตัวเลขนี้ คูณกับ 1000 ถึง 6000
1000*0.481 = 481
2000*0.481 = 962
3000*0.481 = 1443
4000*0.481 = 1924
5000*0.481 = 2405
6000*0.481 = 2886
ปัดเศษให้ลงตัวเพื่อให้ซื้อขายหุ้นได้แบบไม่เหลือเศษได้ดังนี้
400
900
1400
1900
2400
2800
รวม = 9800
จะเห็นว่าแต่ละช่วงจะมีห่างกัน 400 ถึง 500 หุ้น
แต่เนื่องจากช่วง 2400 กับ 2800 ต่างกัน 400 หุ้น
เราจึงปรับช่วงให้เท่ากันทั้งหมดทุกระดับราคา คือ 500 หุ้น
ทำให้ช่วงสุดท้ายเปลี่ยนจาก 2800 ให้เป็น 2900 แทน
ช่วงใหม่จึงได้ออกมาแบบนี้
400
900
1400
1900
2400
2900
รวมทั้งหมด 9900 หุ้น
จำนวนหุ้นตัวใหม่ที่เราจะซื้อคือ 9900 หุ้น  ที่ราคา 3 บาท
การทำแบบนี้เป็นการซื้อเผื่อที่ราคาสูงกว่า 3 บาทด้วย เป็นจำนวน 6 ช่วงราคา
และสำรองเงินสำหรับซื้อที่ราคาต่ำกว่า 3 บาท เป็นจำนวน 14 ช่วงราคา
ดังนั้น การวางแผนช่วงราคา อาจเป็นแบบนี้ครับ
4.00 –> 400
3.80 –> 900
3.60 –> 1400
3.40 –> 1900
3.20 –> 2400
3.00 –> 2900
2.80 –> 3400
2.60 –> 3900
2.40 –> 4400
2.20 –> 4900
2.00 –> 5400
1.80 –> 5900
1.60 –> 6400
1.40 –> 6900
1.20 –> 7400
1.00 –> 7900
0.80 –> 8400
0.60 –> 8900
0.40 –> 9400
0.20 –> 9900
เมื่อวางแผนได้แบบนี้แล้ว
ก็ไปเขียนลงในไฟล์ Excel  โดยการกำหนดช่วงห่างตามนี้
จำนวนการวางแผนซื้อขาย ก็จะเปลี่ยนไปอัตโนมัติ
(ทดลองดูกับไฟล์ที่คุณได้ download ไปแล้ว)
ที่ราคา 3.00 โปรแกรมก็จะบอกให้คุณซื้อหุ้นเข้ามา 9900 หุ้น โดยอัตโนมัติ
คุณก็สามารถเริ่มต้นกับหุ้นตัวใหม่ได้
โดยที่ยังมีรูปแบบการสร้างรายได้เทียบเท่ากับหุ้นตัวเดิมที่คุณทิ้งไปแล้ว
ถ้าหุ้นขึ้น คุณก็มีขายได้ทันทีครับ
ถ้าหุ้นลง คุณก็มีเงินสำรองจากหุ้นตัวเดิม มาซื้อหุ้นตัวใหม่ได้เพียงพอ
คงพอเห็นแนวทางแก้ไข
ในกรณีที่หุ้นที่เราถืออยู่ กำลังจะถูกถอนออกจากตลาดกันแล้วนะครับ
การทำแบบนี้นอกจากจะเหมาะสำหรับการแก้ไขกรณีบริษัทกำลังย่ำแย่เต็มที
ก็ยังสามารถช่วยในการย้ายจากหุ้นตัวที่ลงไปแล้วนิ่ง ไม่ขยับขึ้นลงนานๆ ได้ด้วยนะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างกระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี 5