ความเหมือนที่แตกต่าง ของสุดยอดปรมาจารย์แห่งการลงทุน !

ผมขอประเดิม แมงเม่าคลับ.คอม ด้วยแนวคิดการเล่นหุ้นของ 2 สุดยอดปรมจารย์แห่งโลกการลงทุนละกันนะครับ คนหนึ่งเป็น “สุดยอดนักเก็งกำไร” อีกคนหนึ่งเป็นเหมือนผู้นำทางจิตวิญญาณของ“นักลงทุนพื้นฐานระยะยาว” ( ว่าไปโน่น *_^ ) ดู แล้วไม่น่าจะมีอะไรที่เหมือนกันได้ในหลักการลงทุนและวิธีัการเล่นหุ้นแต่คุณ เชื่อหรือไม่ว่า…. สไตล์ และวิธีการเล่นหุ้น เป็นเหมือนเพียงกับเพียงกระบวนท่าที่แตกต่างกันไป หากแต่มองให้ลึกลงไปถึง หลักปรัชญา ในการลงทุนและเก็งกำไรแล้ว กลับคล้ายกันเหลือเกิน ต่างแค่เพียงคำพูดเท่านั้น เชื่อว่าพอจะเดากันออกแล้วไช่ใหมครับ ไช่แล้วครับเขาทั้งคู่ก็คือ …..
วันนี้ผมนำบางส่วนจาก หนังสือหุ้น The Winnig investment Habit of Warren Buffet and George Soros มาย่อยให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ เรื่องอาจจะดูธรรมดาๆ แต่ความธรรมดาสามัญมักจะซ่อนไว้ด้วยปัญญาเช่นกัน
กฏข้อแรกของการลงทุนก็คือ อย่ายอมเสียเงิน
กฏข้อที่สองของการลงทุนก็คือ อย่าลืมข้อแรก ”
วอร์เรน บัฟเฟต
………………………………………………………….
อยู่ให้รอดก่อน แล้วค่อยทำกำไร ”
จอร์จ โซรอส
นี่คือหลักการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ของทั้ง Buffet และ Soros ครับ ไช่ แล้วครับผมพูดว่าหลักการลงทุน ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะไม่ได้กล่าวถึงการ เลือกหุ้น หรือทำกำไร แต่สิ่งที่ทั้งสองคน ยึดมั่นและถือมั่นเลยก็คือนี่ครับ หลักแห่งการรักษาเงินต้นเอาไว้ Preservation of Capital is always priority !!!
หากใครที่เคยได้อ่านประวัติเรื่องราวชีวิตของ Soros มา บ้างจะรู้ว่าเขาเคยติดอยู่ในค่ายนาซีถึงสองครั้งในชีวิตนะครับ ย้ำว่าสองครั้ง ผมก็ไม่ทราบได้ว่าเขารอดมาได้อย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ Soros เคย กล่าวไว้ก็คือ พ่อของเขาได้ทำให้เขาเห็นหลักในการดำเนินชีวิต ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งนั่นก็คือ การเอาตัวรอดครับ เพราะพ่อของเขาเป็นผู้ที่หาวิธีการต่างๆจนทำให้ครอบครัวของเขาอยู่รอดมาได้ และเขาเองก็ได้บอกว่านี่เป็นหลักสำคัญทั้งในการดำเนินชีวิตและการเล่นหุ้น เก็งกำไรของเขาเช่นกัน และบางทีความกลัวที่ติดอยู่ในใจของเขา อาจจะทำให้เขาเป็นคนที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยงมากกว่า Buffet ก็เป็นไปได้นะครับ
ในทางกลับกันแล้วสำรับ Buffet ที่ เติบโตขึ้นในยุค ตกต่ำของเศรษฐกิจที่อเมริกาความยากจนทำให้เขาเติบโตมาพร้อมกับ ความมัถยัด และความอยากรวยของเขา เขาเป็นคนที่มีมุมมองเกี่ยวกับการใช้เงินที่เหลือเชื่อเอาการตั้งแต่วัยเด็ก ครับ ความคิดของเขาก็คือว่า เขาจะไม่คิดว่าเงิน 5 บาทในวันนี้มีค่า 5 บาท แต่เขาจะคิดไปถึงว่า เงินในวันนี้ถ้าไม่ได้จ่ายไป ในอีก x ปีข้างหน้ามันจะมีค่าเท่าไหร่ อาจเป็น 10 ,20, 30 บาท แทนก็เป็นไปได้ และนี่แหละครับก็เป็นสิ่งที่ทำให้บัฟเฟต รู้จักกับกฏการลงทุนของเขาตั้งแต่ยังเยาว์วัย นั่นก็คือ “อย่ายอมเสียเงิน”นั่นเองเพราะจะทำให้เขา รวยช้าลง หรือจนขึ้นในวันข้างหน้านั่นเองครับ แหม่ๆคนมันเกิดมาเพื่อจะรวยจริงๆครับ ตอนเด็กๆผมยังไม่ได้คิดอะไรเลยนอกจากเตะฟุตบอลเท่านั้นเอง 55
หลัก การ รักษาเงินต้น นั้นค่อนข้างจะขัดกับความเชื่อและความเข้าใจของเหล่าแมงเม่าหรือคนทั่วไป อย่าง คุณหรือผม พวกเรามักจะเข้าใจและเชื่อว่า High risk – High Return เราคิดว่าการจะทำกำไรได้เยอะๆนั่นย่อมหมายถึงการยอมเสี่ยงที่มากขึ้น แต่ในทางกลับกันแล้วสำรับ ทั้ง Buffet และ Soros กลับเห็นว่านั่นเป็นทางที่ผิดเนื่องจาก หากเราเสี่ยงมากเมื่อผิดพลาดเท่ากับว่าเงินต้นของเราจะหายไปมากมายเช่นกัน และเมื่อ เงินต้นของเราได้หายไปอย่างมากแล้ว การจะทำกำไรก้อนใหญ่นั้นจะยากยิ่งกว่าเดิม แค่กลับมาเท่าทุนก็อ่วมแล้ว และนี่เป็นเหตุผลที่มีคนล้มหายตายจากไปจากตลาดหุ้นอย่างมากมาย ในทางกลับกันหากสามารถรักษาเงินต้นเอาไว้ได้ แม้จะไม่ได้มากเท่าเดิม แต่ก็จะทำให้เรายังมีโอกาศทำกำไร ครั้งใหม่เอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราคัดสรร เฉพาะ เทรดที่มีความชัวร์ ไม่เทรดมั่วแล้ว โอกาศเล่นหุ้นแล้วรวย( รึปล่าว )ก็คงอยู่ไม่ไกลครับ
พูด ไปพูดมาก็ชักจะยาวเกินไปแล้ว เห็นใหมครับว่าแท้จริงแล้วแม้ดูจะแตกต่าง แต่แนวคิดพื้นฐานกลับเหมือนกัน ผมจะพยายามเขียนให้กระชับในครั้งต่อๆไปนะครับ เพราะกลัวมันจะลายตาเกินไป แต่ถ้ายังอ่านกันใหว ก็ขอขอบคุณนะครับ ช่วยกันแชร์ความคิดได้นะครับ :) ก่อนไปขอฝากประโยคเตือนใจจาก พ่อมดตลาดหุ้นอีกคนหนึ่งนั่นคือ Larry Hite ซึ่งขณะนี้เป็นผู้จัดการกองทุน Hite Capital Management ไว้แล้วกันนะครับแล้วเจอกันใหม่ที่นี่ แมงเม่าคลับ.คอม ครับ
ถ้าคุณไม่กล้าเสี่ยง คุณก็ไม่มีโอกาศที่จะชนะ แต่ถ้าคุณเสี่ยงจนหมดตัว คุณก็จะไม่เหลืออะไรให้เสี่ยงอีกเลย ”
Larry Hite, The Market Wizard

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘