การวัดความเติบโตของการลงทุน
ในเรื่องของการลงทุน สิ่งที่จะบอกว่าธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นแค่ไหน
มีหลากหลายวิธีในการวัดมูลค่า
โดยส่วนใหญ่ เรามักจะวัดมูลค่าของธุรกิจ
โดยการมาตีค่าตีราคาของสิ่งที่เรามีอยู่ ณ เวลานั้น
เช่น เมื่อ 10 ปีที่แล้ว คุณซื้อที่ดินมา 1 ไร่ ไร่ละ 100,000 บาท
ณ ตอนนี้ที่ดินตรงนั้น มีคนมาเสนอราคาให้คุณไร่ละ 1,000,000 บาท
ซึ่งหากวัดมูลค่าแบบนี้ จะเห็นว่าธุรกิจของคุณโตขึ้นถึง 10 เท่า หรือ 1000 %
แต่ถ้าหากที่ดินตรงนั้น ไม่ค่อยน่าสนใจ อาจมีคนเสนอซื้อเพียงไร่ละ 50,000 บาท
หากวัดมูลค่าแบบนี้ จะเห็นว่าธุรกิจของคุณกลับลดลงครึ่งหนึ่ง
ซึ่งระบบ FATS จะไม่วัดมูลค่าธุรกิจแบบนั้น
เพราะการวัดมูลค่าแบบนี้ เป็นแต่เพียงการ ประเมินราคา เท่านั้น
ยังไม่ใช่มูลค่าที่ขายได้จริง
เราจะไม่สนใจว่า ตอนนี้ราคาที่ (อาจ) จะขายได้ เป็นเท่าไหร่
(จนกว่าเราจะได้ขายออกไปแล้วจริงๆ)
เราจะสนใจว่า ตอนนี้เรามีที่ดิน เพิ่มขึ้นจากเดิมหรือไม่ และมีเงินสดเท่าไหร่
ซึ่งหากมีที่ดินเพียง 1 ไร่ การวัดมูลค่าก็ไม่ยากนัก
เพียงแค่ดูว่าหลังจากที่คุณลงทุนซื้อในคราวแรก 100,000 บาท
เมื่อมีการซื้อๆ ขายๆ ตอนนี้คุณมีที่ดินมากกว่าหรือน้อยกว่า 1 ไร่
แต่อันที่จริง สำหรับหลายๆ ท่าน การจะประเมินความเติบโตของธุรกิจ
ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก
เช่น
คุณแบ่งขายที่ไปครึ่งไร่ ได้เงินมา 60,000 บาท เหลือที่ดินครึ่งไร่
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ธุรกิจที่คุณลงทุนไปนั้น เติบโตขึ้นหรือลดลง
เป็นที่มาของวิธีการวัดมูลค่าสินทรัพย์ ของระบบ FATS
วิธีการคิดของระบบ FATS เราจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า
ดัชนีวัดความเจริญเติบโต หรือ Growth Index (GI)
ยกตัวอย่างเรื่องที่ดิน
ที่ดิน 1 ไร่ หากคุณขายที่ไปครึ่งไร่ ได้เงินมา 60,000 บาท
ยังเหลืออยู่อีก ครึ่งไร่
วิธีการคิดค่า GI คือ
นำเงินสดที่มีอยู่ รวมกับ ต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลืออยู่
แล้วเปรียบเทียบกับเงินลงทุนตอนเริ่มต้น
แล้วนำมาคำนวณดูว่าเติบโตขึ้นหรือหดตัวลงกี่เปอร์เซ็นต์
ในที่นี้ เงินสดที่มีอยู่ = 60,000 บาท
ที่ดินเหลือ 0.5 ไร่ (ต้นทุนตอนซื้อมา ไร่ละ 100,000 บาท)
แสดงว่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลืออยู่ = 50,000 บาท
รวมแล้ว = 110,000 บาท
จะเห็นว่า GI เติบโตขึ้น 10%
ทีนี้จะลองยกตัวอย่าง กรณีที่ ขายที่ดินได้ในราคาถูกกว่าต้นทุนเดิม
เช่น
คุณขายที่ไปครึ่งไร่ ได้เงินมา 40,000 บาท
ต้นทุนของที่ดินส่วนที่เหลืออยู่ ก็ยังเท่าเดิม คือ 50,000 บาท
ผลรวม = 90,000 บาท
ดังนั้นจะเห็นว่า กิจการของคุณหดตัวลงไป 10%
ซึ่งการวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยวิธีการแบบนี้
ไม่สนใจว่า ราคาที่ (อาจ) จะขายได้ในตอนนี้เป็นเท่าใด
เพราะมันยังไม่ได้ขายจริง
(ถ้าเป็นหุ้น ก็คือ ไม่สนใจมูลค่าพอร์ต หรือ ราคาหุ้น ณ ตอนนี้ ว่าเป็นเท่าไหร่นั่นเอง)
เช่น มีคนมาขอซื้อที่ดิน 1 ไร่นี้ ในราคา 1 ล้านบาท
แต่คุณยังไม่ขาย และเงินสดในมือคุณคือ 0.00 บาท
หากคิดค่า GI ก็จะพบว่า
ต้นทุนของส่วนที่เหลืออยู่ ก็คือ
ที่ดินที่เหลืออยู่ 1 ไร่นั้น คูณกับ ต้นทุนที่ซื้อมา (คือ 100,000 บาท)
นั่นหมายความว่า
ผลรวมของเงินสด กับ ต้นทุนส่วนที่เหลืออยู่ มีค่าเท่ากับ 100,000 บาท เท่าเดิม
ซึ่งก็คือ ความเติบโต ก็เป็น 0%
(ทั้งๆ ที่น่าจะคิดว่า มูลค่าของสินทรัพย์ ควรจะเป็น 1 ล้านบาท หรือ 1000%)
แต่ถ้าคิดแบบ GI จะได้ค่าความเติบโต เป็น 0%
แต่ทันทีที่คุณตัดสินใจขายไปที่ไร่ละ 1 ล้านบาท และได้เงินสด 1 ล้านบาทกลับมา
หากนำมาคิดค่า GI
คุณก็จะมีเงินสด 1 ล้าน
รวมกับ มูลค่าที่ดินส่วนที่เหลืออยู่ (ซึ่งเป็น 0 ไร่ คูณด้วย 100,000 = 0)
ผลรวม = 1,000,000 บาท
หรือหากคิดเป็นค่า GI ก็จะพบว่า โตขึ้นเป็น 1000%
การวัดมูลค่าของหุ้นที่คุณลงทุนไป
จะมีความซับซ้อนกว่า ที่ดิน 1 ไร่ที่ผมยกตัวอย่างไปแล้ว
เพราะ
1. หุ้นมีหลายตัว
2. คุณอาจจะซื้อหุ้นที่หลายราคา ในแต่ละครั้งก็ซื้อจำนวนไม่เท่ากัน
3. คุณอาจจะทำการซื้อขายบ่อยครั้ง ในราคาที่ไม่เท่ากัน และจำนวนต่างกันไป
4. คุณอาจจะดึงเงินส่วนหนึ่งกลับคืนมาใช้จ่าย
แต่การวัดมูลค่า ด้วย Growth Index (GI) สามารถทำได้ไม่ยากนัก
คือ คุณจะต้องรู้ตัวเลข สามสี่ตัวต่อไปนี้
1. ต้นทุนทั้งหมดที่คุณเติมเข้ามา (Total Capital ; TC)
ก็คือ เงินทุกบาททุกสตางค์ที่คุณทยอยนำเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นนั่นแหละครับ
คุณจะต้องจดไว้ทั้งหมดตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มเข้ามาลงทุน
รวมทั้งรายจ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ถ้าทำได้) เช่น
ค่าธรรมเนียมที่โอนเงินจากธนาคาร เข้าบัญชีโบรกเกอร์ ,
ค่าจ้างพนักงาน , ค่าไฟ , ค่าเน็ต ฯลฯ
(ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมตอนเทรดหุ้นนะครับ
เพราะส่วนนั้นจะแสดงผลเป็นเงินสดในบัญชีซื้อขายอยู่แล้ว)
คุณควักกระเป๋าออกมาทั้งหมดเท่าไหร่ คิดว่าส่วนนี้คุณน่าจะรู้ได้ไม่ยาก
2. เงินที่คุณถอนกลับคืนออกไปใช้แล้ว (Withdrawn ; W)
ไม่ว่าคุณจะถอนออกไปแล้วกี่ครั้ง ครั้งละเท่าไหร่ คุณต้องบันทึกไว้ทั้งหมด
ตัวเลขตรงนี้คุณก็น่าจะรู้ได้ไม่ยาก
3. เงินสดคงเหลือทั้งหมด
อันนี้ไม่ยาก ดูจาก Buying Limit ในบัญชีของโบรกเกอร์ได้เลย (หากเป็นบัญชีเงินสด)
หรือในบัญชีที่คุณทำขึ้นมาเอง
4. ต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ (Capital of Stock Remain ; CSR)
ตรงนี้จะซับซ้อนหน่อย เพราะหุ้นมีหลายตัว และ ซื้อขายบ่อย หลายราคา
วิธีการคือ แยกคิดเป็นหุ้นแต่ละตัว แต่ละตัว ต้องหาต้นทุนเฉลี่ยของมันออกมา
แล้วเอาต้นทุนเฉลี่ยล่าสุด คูณด้วยจำนวนหุ้นที่เหลืออยู่
จะเป็นต้นทุนส่วนที่เหลืออยู่ของหุ้นตัวนั้นๆ
แล้วเอาต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ของหุ้นทุกตัวรวมกัน
ก็จะเป็น CSR รวมของทั้งพอร์ต
การหาต้นทุนเฉลี่ยที่ถูกต้อง
เริ่มจาก ครั้งแรกที่คุณเข้าซื้อหุ้นมา คุณต้องบันทึกราคาซื้อนั้นไว้
ตราบใดที่ยังไม่ได้ซื้อหุ้นเพิ่ม ราคาเฉลี่ยก็คือ ราคาครั้งแรกที่คุณซื้อมา
เช่น คุณซื้อหุ้นมา 100,000 หุ้น ราคา หุ้นละ 1 บาท
รวมค่าธรรมเนียมซื้อขาย 0.15% กับ vat อีก 7% ของค่าธรรมเนียม
รวมแล้วคุณต้องจ่ายเงินซื้อมา 100,160.50 บาท
นั่นก็คือ ต้นทุนเฉลี่ย = 1.0016050 บาท
เมื่อคุณซื้อขาย ซื้อขาย ซื้อขาย ซื้อๆ ขายๆ ซื้อๆ ขายๆ
แล้วจำนวนหุ้นน้อยลงกว่า 100,000 หุ้น (ที่ซื้อมาตอนแรก)
ก็สามารถ นำจำนวนหุ้นที่เหลืออยู่ คูณกับราคาต้นทุนเฉลี่ยได้เลย
ซึ่งจะได้ต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ได้ทันที
แต่ถ้ามีอยู่ครั้งใดครั้งหนึ่ง คุณซื้อหุ้นตัวนี้แล้วจำนวนเพิ่มมากกว่าจำนวนสูงสุดที่เคยมี
ก็ให้เอาจำนวนที่เพิ่มขึ้นนั้น คูณกับราคาซื้อล่าสุด
จะเป็นเงินจำนวนใหม่ที่เพิ่มเข้ามา
เอาจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนี้ รวมกับต้นทุนซื้อเดิม จะเป็นต้นทุนล่าสุด แล้วคิดค่าเฉลี่ยล่าสุดไว้
เช่น
(ตัวอย่างนี้จะไม่คิดค่าคอมฯ นะครับ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ)
คุณซื้อ 100000 หุ้น ที่ราคา 1 บาท
จำนวนสูงสุด = 100000 ; ราคาเฉลี่ยล่าสุด = 1 บาท
คุณขายไป 20000 หุ้น เหลือ 80000 ;
จำนวนสูงสุด = 100000 ; ราคาเฉลี่ยล่าสุด = 1 บาทเท่าเดิม
คุณขายไป 30000 หุ้น เหลือ 50000 ;
จำนวนสูงสุด = 100000 ; ราคาเฉลี่ยล่าสุด = 1 บาทเท่าเดิม
คุณซื้อมา 60000 หุ้น ที่ราคา 0.95 หุ้นเพิ่มเป็น 110000 ;
จำนวนสูงสุด = 110000 ;
ส่วนที่ซื้อเพิ่ม = 10000 ; เงินที่ซื้อเพิ่ม = 9500 บาท ;
เงินลงทุนรวม = 100000+9500=109500 บาท ;
ราคาเฉลี่ยล่าสุด = 109500/110000 = 0.995455
หลังจากนั้น ถ้าคุณขายหุ้นออกไป เหลือหุ้นเท่าไหร่
ก็คำนวณหาต้นทุนของหุ้นส่วนที่เหลืออยู่
โดยเอามาคูณกับราคาเฉลี่ยล่าสุดได้เลยทันที
ก็จะเป็นต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ ของหุ้นตัวนี้
หากมีหุ้นหลายตัวก็ทำแบบเดียวกัน
แล้วเอา ต้นทุนของหุ้นส่วนที่เหลืออยู่ของทุกตัวรวมกัน
ก็จะเป็นต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ทั้งหมดในพอร์ต (คือ CSR)
บางครั้งการทำตามวิธีนี้ก็อาจจะดูยุ่งยากไปหน่อย
วิธีง่ายๆ ก็คือ ให้คุณหาราคาต้นทุนเฉลี่ยออกมาให้ได้
(แม้จะไม่ถูกต้องตามวิธีการของระบบนี้ ก็พอจะใช้ได้ครับ error นิดหน่อย)
แล้วเอามาคูณกับจำนวนหุ้นที่เหลืออยู่ ก็จะเป็น CSR แบบหยาบๆ
แต่ถ้าใช้ตามบัญชีของโบรกเกอร์ อาจจะผิดพลาดไปได้ค่อนข้างมากเหมือนกันครับ
========================================
ตอนนี้เรามีตัวเลข 4 ตัวอยู่ในมือแล้ว ได้แก่
1. เงินทุนทั้งหมด ที่ลงทุนไป (Total Capital ; TC)
2. เงินที่ถอนกลับไปแล้ว (Withdrawn ; W)
3. เงินสดคงเหลือทั้งหมด (Cash ; C)
4. ต้นทุนของหุ้น ส่วนที่เหลืออยู่ (Capital of Stock Remain ; CSR)
มาดูขั้นตอนการหาค่า GI กัน
1. ศักยภาพของเงินทุน (Capital Power ; CP) = C + CSR + W
2. ดัชนีวัดความเติบโตของการลงทุน (Growth Index ; GI)=(CP-TC)*100/TC
ถ้าคุณลงทุนไปแล้ว ค่า GI เป็นบวก นั่นแสดงว่า ธุรกิจของคุณกำลังเติบโตขึ้น
แต่ตรงกันข้าม ถ้า ค่า GI เป็นลบ นั่นแสดงว่า ธุรกิจของคุณกำลังหดตัวลง
มีหลากหลายวิธีในการวัดมูลค่า
โดยส่วนใหญ่ เรามักจะวัดมูลค่าของธุรกิจ
โดยการมาตีค่าตีราคาของสิ่งที่เรามีอยู่ ณ เวลานั้น
เช่น เมื่อ 10 ปีที่แล้ว คุณซื้อที่ดินมา 1 ไร่ ไร่ละ 100,000 บาท
ณ ตอนนี้ที่ดินตรงนั้น มีคนมาเสนอราคาให้คุณไร่ละ 1,000,000 บาท
ซึ่งหากวัดมูลค่าแบบนี้ จะเห็นว่าธุรกิจของคุณโตขึ้นถึง 10 เท่า หรือ 1000 %
แต่ถ้าหากที่ดินตรงนั้น ไม่ค่อยน่าสนใจ อาจมีคนเสนอซื้อเพียงไร่ละ 50,000 บาท
หากวัดมูลค่าแบบนี้ จะเห็นว่าธุรกิจของคุณกลับลดลงครึ่งหนึ่ง
ซึ่งระบบ FATS จะไม่วัดมูลค่าธุรกิจแบบนั้น
เพราะการวัดมูลค่าแบบนี้ เป็นแต่เพียงการ ประเมินราคา เท่านั้น
ยังไม่ใช่มูลค่าที่ขายได้จริง
เราจะไม่สนใจว่า ตอนนี้ราคาที่ (อาจ) จะขายได้ เป็นเท่าไหร่
(จนกว่าเราจะได้ขายออกไปแล้วจริงๆ)
เราจะสนใจว่า ตอนนี้เรามีที่ดิน เพิ่มขึ้นจากเดิมหรือไม่ และมีเงินสดเท่าไหร่
ซึ่งหากมีที่ดินเพียง 1 ไร่ การวัดมูลค่าก็ไม่ยากนัก
เพียงแค่ดูว่าหลังจากที่คุณลงทุนซื้อในคราวแรก 100,000 บาท
เมื่อมีการซื้อๆ ขายๆ ตอนนี้คุณมีที่ดินมากกว่าหรือน้อยกว่า 1 ไร่
แต่อันที่จริง สำหรับหลายๆ ท่าน การจะประเมินความเติบโตของธุรกิจ
ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก
เช่น
คุณแบ่งขายที่ไปครึ่งไร่ ได้เงินมา 60,000 บาท เหลือที่ดินครึ่งไร่
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ธุรกิจที่คุณลงทุนไปนั้น เติบโตขึ้นหรือลดลง
เป็นที่มาของวิธีการวัดมูลค่าสินทรัพย์ ของระบบ FATS
วิธีการคิดของระบบ FATS เราจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า
ดัชนีวัดความเจริญเติบโต หรือ Growth Index (GI)
ยกตัวอย่างเรื่องที่ดิน
ที่ดิน 1 ไร่ หากคุณขายที่ไปครึ่งไร่ ได้เงินมา 60,000 บาท
ยังเหลืออยู่อีก ครึ่งไร่
วิธีการคิดค่า GI คือ
นำเงินสดที่มีอยู่ รวมกับ ต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลืออยู่
แล้วเปรียบเทียบกับเงินลงทุนตอนเริ่มต้น
แล้วนำมาคำนวณดูว่าเติบโตขึ้นหรือหดตัวลงกี่เปอร์เซ็นต์
ในที่นี้ เงินสดที่มีอยู่ = 60,000 บาท
ที่ดินเหลือ 0.5 ไร่ (ต้นทุนตอนซื้อมา ไร่ละ 100,000 บาท)
แสดงว่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลืออยู่ = 50,000 บาท
รวมแล้ว = 110,000 บาท
จะเห็นว่า GI เติบโตขึ้น 10%
ทีนี้จะลองยกตัวอย่าง กรณีที่ ขายที่ดินได้ในราคาถูกกว่าต้นทุนเดิม
เช่น
คุณขายที่ไปครึ่งไร่ ได้เงินมา 40,000 บาท
ต้นทุนของที่ดินส่วนที่เหลืออยู่ ก็ยังเท่าเดิม คือ 50,000 บาท
ผลรวม = 90,000 บาท
ดังนั้นจะเห็นว่า กิจการของคุณหดตัวลงไป 10%
ซึ่งการวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยวิธีการแบบนี้
ไม่สนใจว่า ราคาที่ (อาจ) จะขายได้ในตอนนี้เป็นเท่าใด
เพราะมันยังไม่ได้ขายจริง
(ถ้าเป็นหุ้น ก็คือ ไม่สนใจมูลค่าพอร์ต หรือ ราคาหุ้น ณ ตอนนี้ ว่าเป็นเท่าไหร่นั่นเอง)
เช่น มีคนมาขอซื้อที่ดิน 1 ไร่นี้ ในราคา 1 ล้านบาท
แต่คุณยังไม่ขาย และเงินสดในมือคุณคือ 0.00 บาท
หากคิดค่า GI ก็จะพบว่า
ต้นทุนของส่วนที่เหลืออยู่ ก็คือ
ที่ดินที่เหลืออยู่ 1 ไร่นั้น คูณกับ ต้นทุนที่ซื้อมา (คือ 100,000 บาท)
นั่นหมายความว่า
ผลรวมของเงินสด กับ ต้นทุนส่วนที่เหลืออยู่ มีค่าเท่ากับ 100,000 บาท เท่าเดิม
ซึ่งก็คือ ความเติบโต ก็เป็น 0%
(ทั้งๆ ที่น่าจะคิดว่า มูลค่าของสินทรัพย์ ควรจะเป็น 1 ล้านบาท หรือ 1000%)
แต่ถ้าคิดแบบ GI จะได้ค่าความเติบโต เป็น 0%
แต่ทันทีที่คุณตัดสินใจขายไปที่ไร่ละ 1 ล้านบาท และได้เงินสด 1 ล้านบาทกลับมา
หากนำมาคิดค่า GI
คุณก็จะมีเงินสด 1 ล้าน
รวมกับ มูลค่าที่ดินส่วนที่เหลืออยู่ (ซึ่งเป็น 0 ไร่ คูณด้วย 100,000 = 0)
ผลรวม = 1,000,000 บาท
หรือหากคิดเป็นค่า GI ก็จะพบว่า โตขึ้นเป็น 1000%
การวัดมูลค่าของหุ้นที่คุณลงทุนไป
จะมีความซับซ้อนกว่า ที่ดิน 1 ไร่ที่ผมยกตัวอย่างไปแล้ว
เพราะ
1. หุ้นมีหลายตัว
2. คุณอาจจะซื้อหุ้นที่หลายราคา ในแต่ละครั้งก็ซื้อจำนวนไม่เท่ากัน
3. คุณอาจจะทำการซื้อขายบ่อยครั้ง ในราคาที่ไม่เท่ากัน และจำนวนต่างกันไป
4. คุณอาจจะดึงเงินส่วนหนึ่งกลับคืนมาใช้จ่าย
แต่การวัดมูลค่า ด้วย Growth Index (GI) สามารถทำได้ไม่ยากนัก
คือ คุณจะต้องรู้ตัวเลข สามสี่ตัวต่อไปนี้
1. ต้นทุนทั้งหมดที่คุณเติมเข้ามา (Total Capital ; TC)
ก็คือ เงินทุกบาททุกสตางค์ที่คุณทยอยนำเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นนั่นแหละครับ
คุณจะต้องจดไว้ทั้งหมดตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มเข้ามาลงทุน
รวมทั้งรายจ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ถ้าทำได้) เช่น
ค่าธรรมเนียมที่โอนเงินจากธนาคาร เข้าบัญชีโบรกเกอร์ ,
ค่าจ้างพนักงาน , ค่าไฟ , ค่าเน็ต ฯลฯ
(ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมตอนเทรดหุ้นนะครับ
เพราะส่วนนั้นจะแสดงผลเป็นเงินสดในบัญชีซื้อขายอยู่แล้ว)
คุณควักกระเป๋าออกมาทั้งหมดเท่าไหร่ คิดว่าส่วนนี้คุณน่าจะรู้ได้ไม่ยาก
2. เงินที่คุณถอนกลับคืนออกไปใช้แล้ว (Withdrawn ; W)
ไม่ว่าคุณจะถอนออกไปแล้วกี่ครั้ง ครั้งละเท่าไหร่ คุณต้องบันทึกไว้ทั้งหมด
ตัวเลขตรงนี้คุณก็น่าจะรู้ได้ไม่ยาก
3. เงินสดคงเหลือทั้งหมด
อันนี้ไม่ยาก ดูจาก Buying Limit ในบัญชีของโบรกเกอร์ได้เลย (หากเป็นบัญชีเงินสด)
หรือในบัญชีที่คุณทำขึ้นมาเอง
4. ต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ (Capital of Stock Remain ; CSR)
ตรงนี้จะซับซ้อนหน่อย เพราะหุ้นมีหลายตัว และ ซื้อขายบ่อย หลายราคา
วิธีการคือ แยกคิดเป็นหุ้นแต่ละตัว แต่ละตัว ต้องหาต้นทุนเฉลี่ยของมันออกมา
แล้วเอาต้นทุนเฉลี่ยล่าสุด คูณด้วยจำนวนหุ้นที่เหลืออยู่
จะเป็นต้นทุนส่วนที่เหลืออยู่ของหุ้นตัวนั้นๆ
แล้วเอาต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ของหุ้นทุกตัวรวมกัน
ก็จะเป็น CSR รวมของทั้งพอร์ต
การหาต้นทุนเฉลี่ยที่ถูกต้อง
เริ่มจาก ครั้งแรกที่คุณเข้าซื้อหุ้นมา คุณต้องบันทึกราคาซื้อนั้นไว้
ตราบใดที่ยังไม่ได้ซื้อหุ้นเพิ่ม ราคาเฉลี่ยก็คือ ราคาครั้งแรกที่คุณซื้อมา
เช่น คุณซื้อหุ้นมา 100,000 หุ้น ราคา หุ้นละ 1 บาท
รวมค่าธรรมเนียมซื้อขาย 0.15% กับ vat อีก 7% ของค่าธรรมเนียม
รวมแล้วคุณต้องจ่ายเงินซื้อมา 100,160.50 บาท
นั่นก็คือ ต้นทุนเฉลี่ย = 1.0016050 บาท
เมื่อคุณซื้อขาย ซื้อขาย ซื้อขาย ซื้อๆ ขายๆ ซื้อๆ ขายๆ
แล้วจำนวนหุ้นน้อยลงกว่า 100,000 หุ้น (ที่ซื้อมาตอนแรก)
ก็สามารถ นำจำนวนหุ้นที่เหลืออยู่ คูณกับราคาต้นทุนเฉลี่ยได้เลย
ซึ่งจะได้ต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ได้ทันที
แต่ถ้ามีอยู่ครั้งใดครั้งหนึ่ง คุณซื้อหุ้นตัวนี้แล้วจำนวนเพิ่มมากกว่าจำนวนสูงสุดที่เคยมี
ก็ให้เอาจำนวนที่เพิ่มขึ้นนั้น คูณกับราคาซื้อล่าสุด
จะเป็นเงินจำนวนใหม่ที่เพิ่มเข้ามา
เอาจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนี้ รวมกับต้นทุนซื้อเดิม จะเป็นต้นทุนล่าสุด แล้วคิดค่าเฉลี่ยล่าสุดไว้
เช่น
(ตัวอย่างนี้จะไม่คิดค่าคอมฯ นะครับ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ)
คุณซื้อ 100000 หุ้น ที่ราคา 1 บาท
จำนวนสูงสุด = 100000 ; ราคาเฉลี่ยล่าสุด = 1 บาท
คุณขายไป 20000 หุ้น เหลือ 80000 ;
จำนวนสูงสุด = 100000 ; ราคาเฉลี่ยล่าสุด = 1 บาทเท่าเดิม
คุณขายไป 30000 หุ้น เหลือ 50000 ;
จำนวนสูงสุด = 100000 ; ราคาเฉลี่ยล่าสุด = 1 บาทเท่าเดิม
คุณซื้อมา 60000 หุ้น ที่ราคา 0.95 หุ้นเพิ่มเป็น 110000 ;
จำนวนสูงสุด = 110000 ;
ส่วนที่ซื้อเพิ่ม = 10000 ; เงินที่ซื้อเพิ่ม = 9500 บาท ;
เงินลงทุนรวม = 100000+9500=109500 บาท ;
ราคาเฉลี่ยล่าสุด = 109500/110000 = 0.995455
หลังจากนั้น ถ้าคุณขายหุ้นออกไป เหลือหุ้นเท่าไหร่
ก็คำนวณหาต้นทุนของหุ้นส่วนที่เหลืออยู่
โดยเอามาคูณกับราคาเฉลี่ยล่าสุดได้เลยทันที
ก็จะเป็นต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ ของหุ้นตัวนี้
หากมีหุ้นหลายตัวก็ทำแบบเดียวกัน
แล้วเอา ต้นทุนของหุ้นส่วนที่เหลืออยู่ของทุกตัวรวมกัน
ก็จะเป็นต้นทุนส่วนของหุ้นที่เหลืออยู่ทั้งหมดในพอร์ต (คือ CSR)
บางครั้งการทำตามวิธีนี้ก็อาจจะดูยุ่งยากไปหน่อย
วิธีง่ายๆ ก็คือ ให้คุณหาราคาต้นทุนเฉลี่ยออกมาให้ได้
(แม้จะไม่ถูกต้องตามวิธีการของระบบนี้ ก็พอจะใช้ได้ครับ error นิดหน่อย)
แล้วเอามาคูณกับจำนวนหุ้นที่เหลืออยู่ ก็จะเป็น CSR แบบหยาบๆ
แต่ถ้าใช้ตามบัญชีของโบรกเกอร์ อาจจะผิดพลาดไปได้ค่อนข้างมากเหมือนกันครับ
========================================
ตอนนี้เรามีตัวเลข 4 ตัวอยู่ในมือแล้ว ได้แก่
1. เงินทุนทั้งหมด ที่ลงทุนไป (Total Capital ; TC)
2. เงินที่ถอนกลับไปแล้ว (Withdrawn ; W)
3. เงินสดคงเหลือทั้งหมด (Cash ; C)
4. ต้นทุนของหุ้น ส่วนที่เหลืออยู่ (Capital of Stock Remain ; CSR)
มาดูขั้นตอนการหาค่า GI กัน
1. ศักยภาพของเงินทุน (Capital Power ; CP) = C + CSR + W
2. ดัชนีวัดความเติบโตของการลงทุน (Growth Index ; GI)=(CP-TC)*100/TC
ถ้าคุณลงทุนไปแล้ว ค่า GI เป็นบวก นั่นแสดงว่า ธุรกิจของคุณกำลังเติบโตขึ้น
แต่ตรงกันข้าม ถ้า ค่า GI เป็นลบ นั่นแสดงว่า ธุรกิจของคุณกำลังหดตัวลง
และถ้าหากทำตามวิธีการของระบบ FATS แล้ว ค่า GI ควรจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อไหร่ก็ตามที่ ค่า GI เพิ่มขึ้นเป็น 100% นั่นแสดงว่า
ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นสองเท่าแล้วครับ
เมื่อไหร่ก็ตามที่ ค่า GI เพิ่มขึ้นเป็น 100% นั่นแสดงว่า
ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นสองเท่าแล้วครับ
หวังว่าการมีตัวชี้วัดแบบนี้
จะทำให้คุณสามารถลงทุนได้อย่างมีทิศทาง มีเป้าหมาย
และการที่รู้ว่า ตอนนี้เรามายืนอยู่ตรงจุดไหนแล้ว
ทำให้มีกำลังใจในการลงทุนในระยะยาว ได้อย่างมั่นคงนะครับ
จะทำให้คุณสามารถลงทุนได้อย่างมีทิศทาง มีเป้าหมาย
และการที่รู้ว่า ตอนนี้เรามายืนอยู่ตรงจุดไหนแล้ว
ทำให้มีกำลังใจในการลงทุนในระยะยาว ได้อย่างมั่นคงนะครับ