กลไกสู่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ตอนที่ 5: บทสรุป และ The Investment Clock


ที่มา http://www.heraldsun.com.au

ภาพนี้เป็น Investment Clock ที่กล่าวถึง “วัฎจักรการลงทุน” ซึ่งเชื่อมโยงกับ “วัฎจักรเศรษฐกิจ” อันประกอบด้วยช่วงหลักๆคือ

1) ช่วงขยายตัว 6-12 (Recovery ไป Boom) และ
2) ช่วงหดตัว 12-6 (Slow down ไป Recession)


ตั้งแต่โลกของเรามีเศรษฐกิจตลาดเสรี (Free Market Economics) ที่ถูกนิยามโดย Adam Smith (1723-1790) เป็นต้นมา ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกต่างก็ผ่านวัฎจักรดังกล่าวมาตลอด โดยแต่ละวัฎจักรจะกินเวลา 5-10 ปี แต่บางประเทศอย่างเช่นญี่ปุ่นอาจใช้เวลานานกว่า 20 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและกลไกในการเกิดวัฎจักรแต่ละรอบ

จนมาถึงวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีที่ แล้ว(2008) หากเราติดตามข่าวสารตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่างๆ เช่น CNN, CNBC จะเห็นเป็นอย่างดีว่าระบบเศรษฐกิจทั่วโลกได้ผ่านช่วงหดและขยายตัวเหมือนกับ วัฎจักรก่อนๆ โดยผมนับแล้วจาก เที่ยงตรง มาถึง 5 ทุ่ม บน Investment Clock ใช้เวลาประมาณ 8 ปีกว่าๆ


มาดูว่าผมพูดถึงอะไรกันครับ…

12:00 หรือ เที่ยงตรง Investment Clock บอกว่า Rising real estate values ซึ่งก็คือการปรับขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเริ่มในสหรัฐฯ ในราวปี 2001 (โปรดอ่านตอนที่ 2 U.S. Housing Bubble) จากนั้นไปที่


1:00 Rising interest rates ซึ่งก็คือการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 2005-2007 (ตอนที่ 1 Fed Fund Rate และ ตอนที่ 2)


2:00 Falling share prices ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีที่แล้วต่อมาถึงต้นปีนี้


3:00 Falling commodities price -> ราคาน้ำมันลงจากจุดสูงสุด 140 เหรียญ ต่อ บาร์เรลในเดือนกรกฎาคม 2008 ไปที่ 30 กว่าเหรียญในเดือนธันวาคม


5:00 Tighter money ระบบเครดิตและสถาบันการเงินหยุดชะงักในปลายปี 2008 (ตอนที่ 4 ความล้มเหลวของระบบการเงินสหรัฐฯ)


6:00 Falling real estate value -> จริงๆ เริ่มลงมาตั้งแต่แถวๆ บ่าย 2-3 แล้ว


6 ชั่วโมงบน Investment Clock ที่ผ่านมาคือ สรุปกลไกสู่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ผมเล่าให้ฟังมาทั้ง 4 ตอน


จาก 6 โมง ไปถึง 5 ทุ่ม นี่สิครับ เป็นอะไรที่วงการการเงินและการลงทุนทั่วโลกต้องจดจำไปอีกนาน (ไม่ใช่ว่าช่วงก่อนหน้าที่เศรษฐกิจและตลาดทุนโลกผ่านการหดตัวที่รุนแรงและ เจ็บปวดไม่น่าจดจำนะครับ) เนื่องจากการ “ทุ่ม” ออกนโยบายการเงินการคลังของรัฐบาลและธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกเพื่อปั๊มหัวใจให้เศรษฐกิจโลก (อันนี้แทนโดย 7:00 Falling interest rates (ตอนที่ 1)) ส่งผลให้สภาพคล่องกลับมาท่วมตลาดเงินและตลาดทุนอย่างมหาศาลอีกครั้งในเวลาอันรวดเร็วทำให้เกิด...


8:00 Rising share prices -> ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับขึ้นเฉลี่ย 60-70% ตั้งแต่ต้นปี 2009 ถึงปัจจุบัน


9:00 Rising commodities prices -> น้ำมันขึ้นมาเกือบ 80 เหรียญต่อบาร์เรล ณ เวลาที่เขียนอยู่นี้


11:00 Easier money -> เงินทุนเริ่มหมุนเวียนง่ายขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีที่แล้ว


ตอนหน้าจะพูดถึงการประยุกต์ Investment Clock ในการวางกลยุทธ์ลงทุนที่เหมาะสมกับปัจจัยและเวลาต่างๆ ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘