ทฤษฎีเกมส์ ตอนที่ 4

ทฤษฎีเกม (Game Theory) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่อธิบายและกล่าวถึงปัญหาทางสังคม เกมทั่วๆไปมักจะสะท้อนหรือบอกให้ทราบถึงลักษณะที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง โดย เฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแข่งขันหรือการร่วมมือกัน เกมเหล่านี้จะแนะนำกลยุทธ์ที่ใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเราอาจ สามารถเข้าใจกลยุทธ์ของผู้เล่นเกมในแต่ละเกม เราอาจสามารถทำนายได้ว่าประชาชน กลุ่มการเมือง หรือรัฐต่างๆจะวางตัวอย่างไรในสถานการณ์ที่กำหนดให้

โดย ทั่วไปขณะที่คนเรามุ่งจะชนะเกมการแข่งขันเขาจะพยายาม “ชนะ” หรือบรรลุผลประโยชน์หรือเป้าหมายในการแข่งขัน อย่างไรก็ตามทั้งในการเล่นเกมและในความเป็นจริง เราจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎกติกาที่วางไว้เพื่อให้บรรลุสิ่งเหล่านี้ ในบางเกมก็คล้ายกับสถานการณ์จริง คือ “ผู้ชนะครอบครองหมด” โดยธรรมชาติเกมเหล่านี้มีลักษณะการแข่งขันสูง คือ มีผู้ชนะเพียงคนเดียว (หมากรุกเป็นตัวอย่างของเกมเหล่านี้) เกมอื่นๆอาจต้องการความร่วมมือเพื่อชัยชนะ ตัวอย่างเช่น เกมวีดีโอที่ออกมาใหม่จำนวนมากต้องการกลยุทธ์ความร่วม มือจากผู้เล่นหลายคนเพื่อให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งได้รับชัยชนะในโลกแห่งความ จริงแม้ในช่วง เวลาการต่อสู้ ส่วนมากคู่ต่อสู้จะมีผลประโยชน์ร่วมกัน และต้องร่วมมือกันในระดับหนึ่ง ช่วง เวลาการทำสงครามเย็น (Cold War) แม้ความตึงเครียดจะเกิดจากต่อสู้ฝ่ายของ ตะวันตก- ตะวันออก ที่ทำสงครามตัวแทน เพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันทั้งมอสโคว์และวอชิงตันต่างร่วมมือกันป้องกันมิ ให้เกิดสงครามนิวเคลียร์
ทฤษฎีเกมคืออะไร
ทฤษฎี เกมให้เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ตรวจสอบกลยุทธ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของ ผู้เล่นเกมสองฝ่ายหรือมากกว่าสองฝ่าย โดยการใช้สถานการณ์จำลองทางคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ ในการศึกษาความเกี่ยวข้องทางสังคมที่ยุ่งยากซับซ้อน

ทฤษฎี เกมจะอธิบายให้ทราบถึงศักยภาพ และความเสี่ยงที่ควบคู่มากับพฤติกรรมที่ต้องร่วมมือกันในระหว่างคู่แข่งขัน ที่ไม่ไว้วางใจกันและกัน แม้ว่าเราจะไม่คุ้นเคยเหมือนเกมที่เล่นบนแผ่นกระดานแบบอื่นๆหรือวีดีโอเกม แต่บทเรียนที่ได้รับจากทฤษฎีเกมมีลักษณะเป็นนามธรรมหรือมีสมมติฐานมากกว่า สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ทางสังคมได้อย่างกว้างขวางมากกว่า
เกมที่เล่นจำลองเหตุการณ์ในชีวิตจริง มีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่
1. ผู้เล่นหรือผู้ตัดสินใจ
2. กลยุทธ์ของผู้เล่นแต่ละคน
3. กฎกติกาที่ใช้ในการควบคุมการตัดสินใจและแสดงพฤติกรรมของผู้เล่นแต่ละคน
4. ผลคะแนน คะแนนที่ผู้เล่นแต่ละคนได้รับ เนื่องจากตัดสินใจเลือกทางเดิน
5. การมีส่วนได้ส่วนเสียที่สะสมขึ้นเรื่อยๆของผู้เล่นแต่ละคน เนื่องมาจากคะแนนสะสม

เกมนี้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า ผู้เล่นแต่ละคนจะใช้กลยุทธ์ที่ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จได้คะแนนมากที่สุดในทุกๆสถานการณ์
ใน ชีวิตจริงที่เต็มไปด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ดี ผู้คนต่างแสวงหาผลประโยชน์โดยให้คนอื่นออกค่าใช้จ่ายให้ นี่เป็นการกระทำที่นำไปสู่ความขัดแย้งหรือแข่ง ขันกัน มีการใช้เกมอธิบายความสัมพันธ์เหล่านี้ โดยการกำหนดผลประโยชน์ของผู้เล่นทั้งสองฝ่ายให้ขัดแย้งกัน เมื่อผู้เล่นคนหนึ่งเสียผลประโยชน์มาก ผู้เล่นอีกคนหนึ่งก็เสียผลประโยชน์น้อย เพื่อจะบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน ผู้เล่นหลายคนจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ร่วมมือกัน เพราะว่าถ้าหากผู้เล่นแต่ละคนต่างเสี่ยงทุ่มเทให้กับการได้ – เสียมากที่สุด คะแนนที่ได้รับจะไม่มาก แนวคิดนี้พิจารณาได้จากสถานการณ์ในเกมการตัดสินใจยากของนักโทษ (Prisoner’s Dilemma Game) เกมนี้จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เกมเหล่านี้จะเน้นให้เห็นถึงความยากลำบากของการได้รับความร่วมมือจากคู่แข่ง ขันที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะว่าผู้เล่นแต่ละคนต่างก็อยากจะได้ผลประโยชน์มากที่สุด การร่วมมือกันต้อง การให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายประนีประนอมกัน ห้ามใจตนเองมิให้มุ่งหวังจะได้รับประโยชน์สูงสุด และในการประนีประนอมกันผู้เล่นแต่ละคนต้องเสี่ยงกับการสูญเสีย ถ้าหากคู่ต่อสู้ตัดสินใจอยากได้ผลประโยชน์สูงสุด ผู้เล่นมีแนวโน้มชอบเสียน้อยมากกว่าที่จะสูญเสียจนหมดหน้าตัก
ทำไมทฤษฎีเกมจึงมีประโยชน์
สถานการณ์ จำลองเหล่านี้จะทำให้ผู้เล่นสามารถหยั่งรู้ในกลยุทธ์ที่เป็นผู้เล่นเกมคน อื่นใช้เป็นทางเลือกและคะแนนที่พวกเขาจะได้รับจากสถานการณ์นั้นๆ การหยั่งรู้นี้ ผู้ตัดสินใจจะสามารถประเมินผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของเขาได้ดี และสามารถตัดสินใจเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการโดยหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ยกตัวอย่างทฤษฎีการยับยั้งฝ่ายตรงกันข้าม ทำให้เกิดยุทธศาสตร์การป้องกันตัวของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 มีสมมติฐานว่าการตอบโต้อย่างรุนแรง แบบตาต่อตาฟันต่อฟันสามารถป้องกันยับยั้งพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้บุกรุกได้ ถ้าหากปัจเจกชนเชื่อว่าพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงอาจก่อให้เกิดการตอบโต้อย่าง รุนแรงจากผู้อื่น ปัจเจกชนผู้นั้นย่อมจะไม่ประพฤติก้าวร้าวรุนแรงต่อผู้อื่น การข่มขู่ว่าจะตอบโต้โจมตีไม่สามารถลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นโดยตรง แต่การรับรู้ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากความก้าวร้าวจะช่วยลดความ รุนแรงในสถานการณ์ที่อาจขึ้นเกิดจากการโต้ตอบโจมตีกันลงมา หากปัจเจกชนทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับว่าผลประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับเกิดจากการหลีกเลี่ยงไม่ใช้ความ รุนแรงโต้ตอบกัน ไม่มีการอาฆาตมาดร้ายกันและกัน นี่คือแนวทางหลักเบื้องหลังสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซีย แนวความคิดเกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมที่เกิดจากการยับยั้งฝ่ายตรงกันข้ามทำให้ เกิดมาตร การควบคุมอาวุธและการร่วมมือกัน การเน้นความสนใจเรื่องยุทธศาสตร์ทางเลือกและผลตอบ แทนที่จะได้รับ ทฤษฎีเกมอธิบายให้เราเห็นภาพว่าความสัมพันธ์ที่มีศักยภาพในการทำลายล้าง เราสามารถควบคุมจัดการและเปลี่ยนแปลงให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการแข่งขันการสร้างอาวุธ และการทำสงครามนิวเคลียร์

ความ สัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซียเป็นตัวอย่างที่ดี นานแล้วทั้งสองประเทศนี้ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันเลย ต่างฝ่ายต่างติดอาวุธให้ตนเองมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความหวาดกลัวที่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะติดอาวุธ และไม่ต้องการจะเสี่ยงตกเป็นฝ่ายถูกโจมตีอย่างง่ายดาย ค่าใช้จ่ายในการแข่งขันกันสร้างอาวุธสูงมากและทำให้สหภาพโซเวียตค่อยๆล้ม ละลายในที่สุด ในทางตรงกันข้ามน่าจะมีการป้องกันการแข่งขันกันสร้างอาวุธ ควรจะประหยัดเงิน ตราจำนวนมากมายมหาศาลที่ใช้จ่ายในสองประเทศนี้ และที่จริงก็เพื่อประโยชน์ของประเทศอื่นๆในโลกนี้
บท เรียนที่ได้รับจากเกมการตัดสินใจยากของนักโทษนี้ทำให้เกิดรู้สึกหวาดกลัว เกมนี้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ “แพ้-ชนะ” ซึ่งต้องมีฝ่ายหนึ่งแพ้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งชนะ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสีย ผู้เล่นเกมแต่ละคนต้องยึดถือกลยุทธ์ “ชนะ” ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดอาจจะไม่ดีนักและที่แย่ที่สุด คือ ไม่พ่ายแพ้จนหมดเนื้อหมดตัว
การสร้างสถานการณ์จำลองที่เหมือนจริงมาก ขึ้น : เกมการตัดสินใจยากของนักโทษ ภาคขยาย มีสถานการณ์บางสถานการณ์ในสังคมที่สามารถจำลองได้อย่างถูกต้องโดยอาศัยปฏิ สัมพันธ์อย่างเดียวโดดๆ แต่สถานการณ์ส่วนมากเกิดจากปฏิสัมพันธ์หลายอย่างที่สั่งสมกันมานาน เงื่อนไขที่กำหนดให้และปฏิสัมพันธ์แบบซ้ำๆ ในภาคขยายของเกมการตัดสินใจยากของนักโทษ ซึ่งเพิ่มเติมความน่าจะเป็นในการรักษาคำมั่นสัญญา ตรรกะเกมการตัดสินใจยากของนักโทษในภาคนี้แนะนำว่า กลยุทธ์ของผู้เล่นเกม (รักษา หรือผิดสัญญา) จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เขาเคยเจอมาก่อนหน้านี้ และกลยุทธ์นี้จะมีผลต่อพฤติกรรมของฝ่ายตรงกันข้ามในอนาคต ผลลัพธ์ คือ เกิดความสัมพันธ์ในลักษณะต่างฝ่ายต่างตอบแทนอย่างเท่าเทียมกัน ผู้เล่นจะรักษาสัญญาถ้าครั้งก่อนคู่ต่อสู้แสดงให้เห็นว่า เต็มใจจะรักษาสัญญา และจะไม่รักษาสัญญาถ้าหากก่อนหน้านี้ฝ่ายตรงกันข้ามไม่รักษาสัญญา การรับรู้ว่าเกมการแข่งขันสามารถเล่นใหม่ได้ ทำให้ผู้เล่นเกมพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น เนื่อง จากการกระทำของพวกเขา ครั้งหน้าคู่ต่อสู้อาจจะตอบโต้ด้วยความรุนแรงหรือไม่รักษาสัญญา ถ้าหากกลยุทธ์ของผู้เล่นมุ่งเน้นจะเอาชนะโดยให้ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งสูญเสีย มากที่สุด
ใน การทดลองสร้างสถานการณ์จำลองด้วยคอมพิวเตอร์ Robert Axelrod อธิบายกลยุทธ์ “เอาชนะ” ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในเกมการตัดสินใจยากของนักโทษด้วยการนิยามศัพท์ว่าเป็นลักษณะ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน (tit-for-tat)” กลยุทธ์นี้จะเรียกร้องความร่วมมือในการเดินหมากครั้งแรกและการเดินหมากครั้ง ต่อๆไป ผู้เล่นจะเลือกกระทำพฤติกรรมแบบเดียวกันกับพฤติกรรมของคู่ต่อสู้ที่แสดงออก มาในรอบก่อน ไม่มี “สิ่งที่ถูกต้อง” หรือวิธีการแก้ไขสถาน การณ์ที่ดีที่สุด ในสถานการณ์ที่ต่างฝ่ายต่างคิดโดยมีจุดมุ่งหมายไม่เหมือนกัน ในเกมการตัด สินใจยากของนักโทษ การแพ้หนึ่งรอบในเกมการแข่งขันที่มีผู้เล่นสองคน อาจสร้างความเสีย หายให้แก่ผู้เล่นฝ่ายแพ้ และความคิดอยากจะไม่รักษาสัญญาย่อมเกิดขึ้นเสมอ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘