"คาร์ลอส สลิม" สามารถใช้เงินนาทีละ 35,000 บาทได้ไปอีกร้อยปี

"คาร์ลอส สลิม" สามารถใช้เงินนาทีละ 35,000 บาทได้ไปอีกร้อยปี แต่เขากลับคิดแล้วคิดอีกเวลาต้องจ่ายเงิน และก็ไม่ใช่เขาคนเดียวที่คิดและทำแบบนี้

มีมหาเศรษฐีในโลกนี้อีกหลาย คนที่ไม่ได้ทำตัวฟู่ฟ่าหรือแสดงฐานะอะไรมากมาย แถมยังเก็บออมเงินอย่างแปลกๆ อีกต่างหาก ซึ่งวิธีใช้ชีวิตของบรรดามหาเศรษฐี อาจให้แง่คิดแก่ผู้ที่ไม่ได้เป็นเศรษฐีจำนวน 6,864,605,142 คน บ้างก็ได้

เริ่ม จากหลักง่ายๆ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย คือ การสร้างบ้านให้ธรรมดา เพราะแม้มหาเศรษฐีจะสามารถมีชีวิตอยู่อย่างหรูหราในแมนชั่นที่สุดแสนจะพรรณา และมหาเศรษฐีหลายคนก็ทำเช่นนั้น

ขณะที่บิล เกตส์ มีแมนชันขนาด 66,000 ตารางฟุต มูลค่า 147.5 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 4,000 ล้านบาท ในเมืองเมดินา วอชิงตัน แต่มหาเศรษฐีสุดมัธยัสถ์อย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ เลือกที่จะอยู่ในบ้านแบบเรียบง่าย โดยเขายังใช้ชีวิตอยู่ในบ้านขนาด 5 ห้องนอนหลังเดิมในเมืองโอมาฮา อันเป็นหลังที่เขาซื้อไว้ตั้งแต่ปี 2518 ในราคา 31,500 ดอลลาร์ หรือเกือบล้านบาท

และแม้ว่านิตยสารฟอร์บส์จะ ระบุว่าคาร์ลอส สลิม มีทรัพย์สินมหาศาล 60,600 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1,878,600 ล้านบาท และรวยถึงขนาดที่สามารถใช้เงินนาทีละ 1,150 ดอลลาร์หรือกว่า 35,000 บาท ไปอีก 100 ปี กว่าทรัพย์สินจำนวนที่มีในปัจจุบันจะหมด แต่มหาเศรษฐีคนนี้ ยังอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมกับที่เคยอยู่มาเป็นเวลากว่า 40 ปี

นอก จากมีบ้านธรรมดาๆ แล้ว มหาเศรษฐีผู้นิยมการประหยัด อย่างจอห์น คอดเวลล์ ชาวอังกฤษผู้ก่อตั้งบริษัทมือถือ Phones 4U, เดวิด เชอริงตัน อดีตศาสตราจารย์ภาควิชาคอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้แนะนำลาร์รี เพจแก่นายทุนจนได้หุ้นกูเกิลจำนวนหนึ่งมาเป็นรางวัล ทั้งยังทำโครงการธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์มากมาย, ชัค ฟีนีย์ นักธุรกิจอเมริกันผู้ก่อตั้งร้านค้าปลอดภาษี ล้วนเป็นคนรวยที่ชื่นชอบการเดิน ขี่จักรยาน และใช้บริการขนส่งมวลชนในการเดินทางไปตามที่ต่างๆ ในเมือง ทั้งที่บุคคลระดับมหาเศรษฐีเหล่านี้สามารถนั่งเฮลิคอปเตอร์ไปประชุมระหว่าง มื้อกลางวัน หรือนั่งรถเบนท์ลีย์พร้อมคนขับโก้หรูอย่างสบายๆ

แต่พวกเขาก็เลือกวิธีที่จะได้ออกกำลังกายนิดหน่อยและใช้ประโยชน์จากขนส่งสาธารณะ ซึ่งพฤติกรรมนี้ดีทั้งต่อเงินในบัญชีและสิ่งแวดล้อม

รายของฟีนีย์นั้น มัธยัสถ์ถึงขั้นใส่นาฬิกาเรือนละ 15 ดอลลาร์ หรือประมาณ 500 บาท นั่งรถโคช และไม่มีแม้แต่บ้านหรือรถยนต์ของตัวเอง

ชื่อ ของฟีนีย์อาจไม่เป็นที่คุ้นหูเพราะเขาไม่ชอบแสดงตัว เห็นได้จากในช่วงแรกที่เขาเริ่มบริจาคเงินเพื่อการกุศล ก็ทำแบบเงียบๆ โดยเขาบริจาคเงินไปแล้วกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ (124,000 ล้านบาท) ผ่านมูลนิธิที่เขาตั้งขึ้นด้วยหุ้นของบริษัทตัวเอง

ขณะที่เหล่าเซเล บสวมรองเท้าคู่ละ 700 ดอลลาร์และหิ้วกระเป๋าที่แพงมากกว่ารายได้ในรอบหลายปีของบางคนในประเทศโลก ที่ 3 ฟีนีย์ตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีความหมาย เพราะท้ายที่สุดแล้วทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เขาจะใช้ถุงพลาสติกเป็นที่ใส่เอกสารและใช้บริการรถไฟ ใต้ดิน

แค่ลดรายจ่าย รายรับก็เพิ่ม
สิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้อีก จากพฤติกรรมของมหาเศรษฐี คือซื้อเสื้อผ้าธรรมดาๆ เพราะขณะที่คนบางจำพวกลืมคำนึงถึงเงินในกระเป๋าและราคาของสินค้า แต่กลับทุ่มความสนใจไปกับการสวมใส่เสื้อผ้า-รองเท้ายี่ห้อดังนั้น มหาเศรษฐีผู้มัธยัสถ์บางคนมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่คุ้มค่ากับความเหนื่อยยาก หรือเงินที่ต้องเสียไป ด้วยเหตุนี้ เชอริงตันจึงแต่งตัวง่ายๆ ด้วยกางเกงยีนส์และเสื้อยืด หรืออย่างรายของ อิงค์วาร์ คัมปรัด ผู้ก่อตั้งบริษัทเฟอร์นิเจอร์ Ikea ก็เลี่ยงการสวมสูท เช่นเดียวกับคอดเวลล์ซึ่งซื้อเสื้อผ้าธรรมดาแทนที่จะหมดเงินไปกับเสื้อผ้า ยี่ห้อดัง

นอกจากนั้น มหาเศรษฐีอย่างคอดเวลล์และเชอริงตัน ยังเลือกตัดผมเองด้วย อาจเพราะไม่อยากเสียเวลาไปร้านตัดผมหรือขยาดค่าตัดผมที่สูงของร้านสมัยใหม่

ใน เรื่องการใช้รถนั้น แม้มหาเศรษฐีอย่างลาร์รี เอลลิสัน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทออราเคิล เพลิดเพลินกับการใช้เงินไปกับรถยนต์ เรือ และเครื่องบิน แต่มหาเศรษฐีคนอื่นเลือกใช้พาหนะธรรมดา อย่างจิม วอลตันแห่งตระกูลวอลมาร์ท ร้านค้าชื่อดังของสหรัฐ เลือกขับรถกระบะที่ใช้มานาน 15 ปี ส่วนอาซิม เปรมจิ มหาเศรษฐีนักธุรกิจอินเดีย ก็ขับรถโตโยต้าโคโรลลา ขณะที่คัมปรัดแห่ง Ikea ขับรถวอลโว่ที่ใช้มานาน 10 ปี

แนวคิดง่ายๆ ในเรื่องนี้คือ "ซื้อรถที่ไว้ใจได้ และใช้จนกว่าจะพัง" โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรถวันละคัน

สิ่ง ที่อาจสร้างความประหลาดใจแก่บางคน คือการที่คาร์ลอส สลิม มหาเศรษฐีผู้มั่งคั่งที่สุดในโลก ไม่มีเรือยอชต์หรือเครื่องบินส่วนตัว อาจเป็นเพราะสลิมยึดหลักที่ว่า "เพียงลดรายจ่าย รายรับก็จะเพิ่มขึ้น" ในทำนองเดียวกัน มหาเศรษฐีหลายคนก็เลือกที่จะไม่ครอบครองสิ่งหรูหรา อย่างบัฟเฟตต์ที่หลีกเลี่ยงสิ่งของฟุ่มเฟือย

สรุปแล้วสิ่งที่สามารถ เรียนรู้ได้จากพฤติกรรมของบรรดามหาเศรษฐีติดอันดับโลก คือนิสัยของการใช้จ่ายอย่างประหยัด เพราะใครเลยจะทราบว่าบางทีความเป็นคนมัธยัสถ์นี่เองที่อาจมีส่วนช่วยให้มหา เศรษฐีเหล่านี้ สร้างเสริมฐานะจนร่ำรวยขึ้นมาถึงขนาดนี้ได้ และดูไปแล้วมหาเศรษฐีบางคนก็เลือกที่จะไม่ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นจริงๆ

เมื่อ มหาเศรษฐีทำได้ คนที่ไม่ใช่เศรษฐีอีกจำนวนมากในโลกนี้ก็น่าจะทำได้เช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของการเลิกใช้จ่ายสิ่งที่เป็นส่วนเกินความจำเป็น ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้สามารถกระทำได้ ไม่ว่าคุณจะมีรายได้เท่าไรก็ตาม และเมื่อฝึกหัดจนเป็นนิสัยแล้ว ก็จะเห็นว่าหนทางสู่ความเป็นเศรษฐี หรืออย่างน้อยก็สร้างความพอเพียงให้แก่ตัวเองและครอบครัวนั้น ไม่ไกลเกินเอื้อมจริงๆ

(เรียบเรียงจากอินเวสโทปีเดีย)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘