กลไกสู่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ตอนที่ 3: Subprime Mortgage Lending

หากจะพูดว่าการคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ เป็นเพียงสาเหตุเดียวที่นำไปสู่การแตกของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในอเมริกาก็คงไม่ถูกนัก จริงๆแล้วมันควรที่จะกล่าวรวมถึงแนวคิดตลาดทุนเสรีหรือ Free Capital Market ที่ถูกสนับสนุนอย่างเด่นชัดโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงที่คุณ Alan Greenspan คุมบังเหียน (1987-2006)



ในช่วงดังกล่าวถึงแม้ว่า Fed Fund Rate จะมีการเปลี่ยนทิศทางสำคัญๆอยู่ 4 ครั้งแต่ก็อยู่ในทิศทางขาลงมาโดยตลอด ส่ง ผลให้สภาพคล่องออกมาท่วมระบบเงินทุนอย่างมหาศาล ในเวลานั้นสถาบันการเงินต่างๆไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กต่างก็เล็งเห็นโอกาสในการ ทำกำไรกับสภาพคล่องอันล้นหลามนั้น จึงนำไปสู่การออกสินค้่าทางการเงินชนิดใหม่่ๆภายใต้การสนับสนุนของธนาคาร กลาง…และหนึ่งในนี้คือ Subprime Mortgage Lending ที่เสนอเงินกู้ให้กับผู้ต้องการซื้อบ้านแต่มีเครดิตตำ่ในอัตราดอกเบี้ยที่ สูงกว่าเงินกู้ธนาคารทั่วไป จากนั้นก็นำเงินกู้ดอกเบี้ยสูงเหล่านี้ไปค้ำตราสารการเงินที่เรียกว่า Mortgage Backed Securities (MBS) เพื่อนำไปเสนอขายให้กับผู้ลงทุนต่อไป

ในช่วงที่เศรษฐกิจอเมริกายังดีอยู่ผู้กู้เงินชนิด Subprime นั้น ยังคงมีความสามารถในการผ่อนหนี้ได้ แต่เมื่อมาถึงช่วงกลางปี 2007 เศรษฐกิจส่อเค้าชะลอตัวลง Subprime Mortgage Lending เริ่มมีปัญหาส่งผลไปสู่ MBS ที่ถืออยู่โดยผู้ลงทุนทั่วโลก และนั่นก็เ็ป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ได้ส่งผลกระทบไปสู่เศรษฐกิจโลกในวงกว้างนั่นเองครับ

ในตอนหน้าจะพูดถึงแนวคิดตลาดทุนเสรีที่เปิดกว้างเสียจนนำไปถึงการล้มของยักษใหญ่อย่างเลย์แมน บราเธอร์ส (Lehman Brothers) ครับ…

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘