ทำไมคนส่วนใหญ่จึงคิดสั้นเวลาจัดพอร์ตลงทุน? (ตอนที่ 2)

กราฟแสดงสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับช่วงอายุ 20-80 ปี

เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วผมได้ไปเข้าอบรมหลักสูตร “ทบทวนความรู้ด้านกฎหมายและจรรยาบรรณผู้จัดการกองทุน” ที่ จัดขึ้นเป็นประจำโดยสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (AIMC) สำหรับผู้ที่ต้องการดำรงสถานภาพการเป็นผู้จัดการกองทุนเข้าอบรมทุกๆ 2 ปี    จึงอยากนำข้อความในสไลด์ที่อาจารย์ ดร. สันติ กีระนันท์ หนึ่งในวิทยากรผู้อบรมใช้ประกอบการสอนมาแบ่งปัน โดยคิดว่าน่าจะอธิบายหลักคิดของบทความตอนนี้ได้อย่างดี…

“1. บุคคลกับการลงทุน
1.1 คนปรกติบริหารการบริโภคของตนเองด้วยการจัดสรร wealth ของตนเองเพื่อการบริโภคในปัจจุบัน (Current Consumption) และการบริโภคในอนาคต (Future Consumption) โดยการจัดสรรนั้นมีความแตกต่างไปตามลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลเพื่อให้ บรรลุความพึงพอใจสูงสุด (Utility Maximization)
1.2 เพื่อบริโภคในอนาคตก็ต้องมีการลงทุนหรือการออมดังนั้นการลงทุน คือ การเลื่อนอำนาจการบริโภคที่มีในปัจจุบันไปเป็นอำนาจการบริโภคในอนาคต


2. ปัจจัยที่นักลงทุนใช้ในการตัดสินใจ
2.1 นักลงทุนไม่ชอบความเสี่ยง (ความไม่แน่นอน)
2.2 นักลงทุนชอบผลตอบแทน (การเติบโตขึ้นของ Wealth)
2.3 ความพึงพอใจสูงสุดที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนเมื่อระดับของความเสี่ยงต่ำสุดและคาดหวังผลตอบแทนสูงสุด
2.4 อย่างไรก็ดี ทางเลือกในการลงทุนทั่วไปนั้น ถ้าหากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นนักลงทุนก็จะเรียกร้องผลตอบแทนสูงขึ้น เพื่อชดเชยความเสี่ยง แต่ถ้าทางเลือกในการลงทุนมีความเสี่ยงน้อยลงนักลงทุนก็เรียกผลตอบแทนน้อยลง ด้วย… ”


สาเหตุที่คนเราต้องคิดยาวๆเวลาจัดพอร์ตลงทุนก็เพราะการลง ทุนเกี่ยวข้องกับการบริโภคในระยะยาว คือมนุษย์เราก็ต้องคอยจัดสรรความมั่งคั่ง (Wealth) ของเราอยู่ตลอดเวลาตราบที่ยังดำรงชีวิตอยู่ แค่การเลือกว่า 1) จะใช้เงินที่มีอยู่วันนี้ทั้งหมดไปกับการบริโภค หรือ 2) จะเก็บไว้ส่วนหนึ่งสำหรับอนาคตก็เป็น Investment Decision อันหนึ่งแล้วโดยอันนี้เห็นได้ชัดว่าทางเลือก 1) เป็นทางเลือกที่ไม่ปลอดภัยนักสำหรับผู้ที่ยังมีอนาคตรออยู่อีกไกล (อันที่จริงแล้วผมเชื่อและหวังว่าว่าคนส่วนใหญ่จะเลือกข้อ 2)

คราวนี้เมื่อเลือกว่าจะเก็บไว้ส่วนหนึ่งสำหรับอนาคตก็ ต้องมาดูว่าจะทำอะไรกับเงินที่เก็บไว้บ้าง หากจะเลือกเก็บเงินใส่ตุ่มก็ได้แต่เงินนั้นก็จะด้อยค่าลงทุกปีๆเนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อ (รบกวนย้อนกลับไปอ่านบทความ”แผนรับมือเงินเฟ้อ” หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม) ดังนั้นก็ต้องให้เงินทำงานผ่านการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆที่กล่าวไปในตอนที่ แล้ว

หากสรุปจากตอนท้ายในข้อ 1 ของอาจารย์จะสามารถกล่าวได้ว่า “การจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆจะมีความแตกต่างไปตามลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลเพื่อให้บรรลุความพึงพอใจสูงสุด” สำหรับตอนนี้ผมอยากนำ “อายุ” มาเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล…

โดยทั่วไปผู้ที่อายุน้อยจะมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นผู้ที่หวังผลตอบแทนสูงและก็รับความเสี่ยงได้สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากเนื่อง จากมีระยะเวลาการลงทุน (Investment Horizon) ที่ยาวกว่าดังนั้นผมจึงเสนอกรอบสัดส่วนการลงทุนสำหรับช่วงอายุต่างๆคร่าวๆ ดังกราฟข้างล่างนี้ จะเห็นว่าสัดส่วนของตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำสุดจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ มากขึ้น ในขณะที่สัดส่วนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆจะค่อยๆลดลง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘