ทฤษฎีเกมส์ ตอนที่ 2

การสร้างทีมด้วย ทฤษฎีเกมส์ (Games Theory)



 “ใน การแข่งขัน เกม O/X มีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 6 คน กติกามีอยู่ว่า จับคู่กัน โดยให้เวลาแข่งขัน 10 นาที ถ้าใครทำจำนวนเกมได้มากที่สุด ก็จะได้ไปรับประทานอาหารฟรี 1 มื้อ” 
 ถามว่าบรรยากาศในการแข่งขันจะเป็นอย่างไร?  คงหน้างิ่ว คิ้วขมวด กันน่าดูใช่ไหมครับ?
 เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาที ผลสรุปออกมาดังนี้
 คู่ที่ 1 คะแนนสูงสุด คือ  6  เกม ส่วนผู้ที่ได้รองมาคือ 4 เกม จากการแข่งขันทั้งหมด 10 เกม
 คู่ที่ 2 คะแนนสูงสุด คือ  8  เกม ส่วนผู้ที่ได้รองมาคือ 5 เกม   จากการแข่งขั้นทั้งหมด 13 เกม
 คู่ที่ 3 คะแนนสูงสุด คือ 15 เกม ส่วนผู้ที่ได้รองมาคือ 14 เกม  จากการแข่งขันทั้งหมด 29 เกม
  ผลการแข่งขัน ผู้ที่ได้ไปรับประทานอาหารฟรี มาจากคู่ที่ 3 ได้สูงสุด คือ 15 เกม
 จากผลการแข่งขันดังกล่าวท่านเห็นอะไรบ้าง?.................
 จากการสัมภาษณ์ ผู้ที่รับรางวัล ถึงสาเหตุที่ทำให้ได้คะแนนสูงที่สุด เขากล่าวว่า “เรา ใช้วิธีตกลงกันว่า ถ้าเราแข่งขันกันอย่างจริงจัง เราก็จะต้องเครียด และผู้ที่ชนะเท่านั้นที่จะได้รับรางวัล แต่ถ้าเราสองคนร่วมมือกัน โดยต่างคน ต่างผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ คนละหนึ่งตา ก็จะทำให้เราได้จำนวนเกมส์สูงที่สุด และสำหรับรางวัลที่ได้ เราก็ไปกินอาหารด้วยกัน เท่านี้เองครับ” และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้คู่ที่สามมีจำนวนเกมส์ สูงถึง 29 เกมส์ ซึ่งมากกว่าสองเท่าของทีมอื่น จากคำตอบดังกล่าว นำมาอธิบายตามแผนภาพได้ดังนี้

 ถ้าทั้งสองคนต่างคนต่าแข่งขันกันอย่างเอาจริงเอาจังแล้วละก็ ก็จะทำให้มีคนใดคนหนึ่งแพ้ หรือชนะ และก็จะทำให้มีคนอดได้รางวัล หรืออาจอดด้วยกันทั้งคู่ แต่ถ้าทั้งสองคนร่วมมือกัน  นั่นหมายความว่าต่างคนต่างชนะ ซึ่งทำให้ได้รับรางวัลเท่าๆกัน ซึ่งก็คือ การได้ไปรับประทานอาหารฟรี นี่คือหลักการของ ทฤษฎี เกมส์  (Games Theory ) ของ ศาสตราจาย์ แนช (ที่ผมเคยเรียนเมื่อประมาณ 15 ปีก่อน) ส่งผลให้ท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขา เศรษฐศาสตร์
 ถ้าเราย้อนกลับมาที่หน่วยงานของเราบ้างล่ะ ถ้าเปรียบเทียบแต่ละคู่ คือบริษัทคู่แข่งของเรา และคู่แข่งแต่ละคน ก็คือ พนักงานที่ทำงานกันอยู่ในบริษัทนั้น ถ้าพนักงานแต่ละคน มัวแต่ขัดแย้งกัน ทะเลาะกัน หรือไม่สามัคคีกัน แล้วละก็ เราจะชนะบริษัทคู่แข่งของเราได้อย่างไรจริงไหมครับ? เพราะถ้าคู่แข่งของเรา ทำงานเหมือนกับคู่ที่ 3 คือ ช่วยเหลือกัน สามัคคีกัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ ความสำเร็จอย่างไม่ต้องสงสัย
 สุดท้าย ก็ขึ้นอยู่กับท่านล่ะครับว่า จะเลือกเป็นแบบไหน อยากเครียด แล้วไม่ประสบความสำเร็จ หรืออยากมีความสุข แถมประสบความสำเร็จอีกต่างหาก ก็เลือกกันเอาเองแล้วกันนะครับ.................

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘