แผนรับมือเงินเฟ้อ ตอนที่2

พูดถึงการลงทุนเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ (Inflation Hedged Investments) สามารถทำได้หลายทาง

โดยหลักการคร่าวๆคือ “ผลตอบแทนของเงินลงทุนควรจะมากกว่าอัตราเงินเฟ้อคาดหวังในระยะยาว (Long Term Inflation Rate Expectations)”

ถึงแม้ว่าในปี 2552 นี้ใครๆต่างก็คาดว่าเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัวหรือ Recession หลายๆ สำนักวิจัยรวมถึงองค์กรภาครัฐฯต่างยังคงพูดถึงภาวะเงินฝืด (Deflation) ซึ่งเป็นคนละขั้วกับเงินเฟ้อแต่ทุกสำนักต่างทราบดีว่ามีการอัดฉีดเงินเข้า สู่ระบบอย่างมหาศาลผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของการคลัง (Fiscal Stimulus Policy) การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรน (Loose Monetary Policy) รวมถึงการเข้าอุ้มตราสารหนี้และทุนภาคเอกชนผ่านโปรแกรมที่เรียกว่า Quantitative Easing หรือที่เรียกสั้นๆว่า QE (นี่ก็เล่าได้อีกยาวแต่ไว้มีโอกาสจะเล่าให้ฟังครับ)

การเพิ่มสภาพคล่องดังกล่าวเป็นที่มาของความคาดหวังว่าจะเกิดเงินเฟ้อใน ระดับอ่อน (Mild Inflation) ในอนาคตอันใกล้ จะเห็นว่าในช่วงไตรมาส 2 ที่เพิ่งผ่านไปนั้นถึงแม้เศรษฐกิจโลกจะยังไม่ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities)    บางชนิดก็ได้ปรับตัวขึ้นไปตามการคาดหวังว่าจะเกิดเงินเฟ้อแล้ว

ดังนั้นการคาดหวังอัตราเงินเฟ้อจึงเป็นการมองไปข้างหน้าให้ครบวัฎจักรเศรษฐกิจ เพราะหากมองสั้นๆ ก็อาจสรุปได้ว่าเงินเฟ้อคงติดลบแต่หากมองรวมไปถึงความพยายามในการกระตุ้น เศรษฐกิจให้กลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุดโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเริ่ม สังเกตเห็นสัญญาณฟื้นตัวในเศรษฐกิจหลักๆ เช่น จีนก็พอจะคาดเดาได้ว่าเงินเฟ้อกำลังจะกลับมา

อัตราเงินเฟ้อคาดหวังในใจของแต่ละท่านจะขึ้นกับมุมมองต่อการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจ บางท่านที่มองว่าการฟื้นตัวจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ก็อาจมองว่าเงินเฟ้อ 2-3% ก็เก่งแล้ว บางท่านที่มองว่าฟื้นเร็วแบบ V-Shape recovery อาจให้ถึง 5-6% ผมยังคงไม่ลืมไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ก่อนเศรษฐกิจโลกจะล้มลงราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวขึ้นไปถึง 140 เหรียญต่อบาร์เรล ช่วงนั้นอัตราเงินเฟ้อไทยและประเทศผู้นำเข้าน้ำมันส่วนใหญ่ต่างปรับขึ้นไปยืนอยู่ระดับเลยสองหลัก!

เอาละครับ สุดแล้วแต่ว่าใครจะมองว่าอัตราเงินเฟ้อต่อไปจะเป็นเช่นไร แต่ตัวเลขนี้แหละ คือ ผลตอบแทนเงินลงทุนขั้นต่ำของคุณซึ่ง ในที่สุดจะช่วยตอบโจทย์ว่าคุณควรลงทุนในสินทรัพย์ (Asset) ชนิดใด เช่นหากมองว่าผลตอบแทนขั้นต่ำควรเป็น 5% การฝากเงินในธนาคารคงไม่ใช่คำตอบที่ดีนัก แม้แต่พันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปียังให้ดอกเบี้ยราวๆ 3.6-3.7% เท่านั้น

ดังนั้น การลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนเพิ่มมาปิดช่องโหว่ดังกล่าวจึงจำเป็นต้องไต่บันได ความเสี่ยงขึ้นไปรวมการลงทุนในหุ้น (Equity) อสังหาริมทรัพย์ (Properties) สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หรือที่เรียกรวมกันว่าสินทรัพย์เสี่ยง (Risk Assets) จึงเป็นที่มาของคอลัมน์นี้ที่จะมาพูดคุยถึงกลยุทธ์การลงทุนในสินทรัพย์ดัง กล่าวผ่านมุมมองการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและบนความเชื่อที่ว่าการบริหาร ความเสี่ยงที่เหมาะสมนำไปสู่ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีในระยะยาว

ในตอนหน้าคงจะเป็นปฐมบทของคอลัมน์ผมเสียทีหลังจากได้ปูพื้นถึงความจำ เป็นในการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ โดยอ้างเงินเฟ้อมาเป็นปัจจัยหนึ่ง ซึ่งแท้จริงแล้วมีอีกหลายปัจจัยสนับสนุนอื่นๆอีกมากมาย

ก่อนจบตอนนี้เพื่อเป็นการปิดหัวข้อแผนรับมือเงินเฟ้อ ผมอยากทิ้งท้ายว่าปัจจุบันในต่างประเทศมีเครื่องมือให้ผู้ลงทุนป้องกันเงินเฟ้อโดยตรงคือ Inflation Linked Bonds ซึ่งจะจ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่จำนวนหนึ่งบวกอีกจำนวนที่แปรผันตามอัตราเงิน เฟ้อโดยส่วนใหญ่วัดจาก Consumer Price Index (CPI) โดยบอนด์ดังกล่าวมีทั้งที่เสนอขายโดยตรงผ่านบริษัทเอกชนและองค์กรรัฐฯคล้าย กับหุ้นกู้ในบ้านเราที่เพิ่มมิติของเงินเฟ้อเข้าไปในการเสนออัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ผู้ลงทุนยังสามารถลงทุนผ่าน ETF (Exchange Traded Funds) ที่เข้าไปลงทุนในตราสารเหล่านี้ได้อีกด้วย ซึ่งขอย้ำนะครับว่านี่เป็นของนักลงทุนต่างประเทศ แต่ผมเข้าใจว่าปัจจุบันมีกองทุนไทยหลายแห่งพยายามที่จะออกกองทุนที่มีลักษณะ เหล่านี้อยู่

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘