กลไกสู่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ตอนที่ 2: U.S. Housing Bubble

ในช่วงปี 2000-2003 เป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ คง ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ    ในช่วงดังกล่าว Fed Fund Rate ถูกปรับลงจากระดับ 6-7% มาอยู่ที่จุดต่ำสุดที่ 1% ที่ทำเช่นนั้นก็เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ได้รับผลกระทบจากการล่มสลาย ของธุรกิจดอทคอมซึ่งตามมาด้วยการโจมตีของผู้ก่อการร้าย 11 กันยา (ปี 2001) การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดดอกเบี้ยดังกล่าวได้ผลดีเกินคาด! ราคาบ้านในสหรัฐฯปรับตัวขึ้นกว่า 100% ในระหว่าง 3-4 ปีนั้นเนื่องจากอเมริกันชนเห็นว่าฝากเงินไปดอกเบี้ยก็ต่ำเลยเอาไปลงใน อสังหาริมทรัพย์ดีกว่า และสำหรับผู้ที่ซื้อบ้านด้วยเงินกู้ ต้นทุนเงินกู้ก็อยู่ในระดับต่ำเสียด้วย อย่าลืมนะครับ ที่เล่าให้ฟังไปในตอนที่แล้วว่า "หนึ่งในวัตถุประสงค์ของดอกเบี้ยนโยบายก็คือการเป็นมาตรวัดสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ที่มีผลกระทบกับผู้บริโภคอย่างเราๆนี่เอง"

แต่ถ้าการโยกเม็ดเงินไปลงในบ้านและที่ดินนั้นเป็นการลง ทุนหรือเพื่ออยู่อาศัยอย่างพอเพียงก็คงไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเพราะราคาบ้านคง ไม่พุ่งกระฉูดอย่างที่กล่าว…ลองดูจากกราฟด้านล่างสิครับว่าราคาบ้านมันอยู่ นิ่งๆของมันมา 20-30 ปีซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับประเทศที่พัฒนาจนอยู่ตัวแล้ว     ทำไมอยู่ๆถึงมาขึ้นพรวดพราดในเวลาอันสั้นทั้งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสำคัญใดๆเลย… ถ้าเป็นเมืองจีนหรือประเทศเกิดใหม่มาแรงอื่นๆหรือที่เรียกรวมๆกันว่า Emerging Markets ละก็ค่อยว่าไปอย่าง

ทั้งนี้เพราะนอกเหนือจากเม็ดเงินลงทุนที่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงแล้วยังมีเม็ดเงินอีกส่วนที่มีขนาดพอๆกันและอาจจะใหญ่กว่าด้วยซ้ำที่เข้ามาเพื่อหวังเก็งกำไรเพราะเห็นว่าราคาบ้านมีโอกาสขึ้นได้อีก...      แรงเก็งกำไรนี้เองที่เป็นกลจักรสำคัญในการผลักดันราคาบ้านให้ขึ้นไปอย่างไม่ ลืมหูลืมตาอย่างที่เห็น   นอกจากนี้ระบบสถาบันการเงินและตลาดทุนที่เอื้ออำนวยต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความร้อนแรงให้กับเม็ดเงินเก็งกำไรรวมถึงเม็ดเงินที่ เข้าไปซื้อที่อยู่อาศัยชนิดที่หรูหราเกินมาตรฐานความเป็นอยู่ที่แท้จริง (ซึ่งจะเล่าให้ฟังในตอนต่อไป)

ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯที่กำลังร้อนแรงกลับต้องมา สะดุดเมื่อธนาคารกลางตัดสินใจเบนเข็มทิศทางการควบคุมเศรษฐกิจโดยเริ่มประกาศ เพิ่ม Fed Fund Rate เป็นครั้งแรกในช่วงกลางปี 2005 เพราะเริ่มเห็นสัญญาณอันน่ากลัวของอัตราเงินเฟ้อและ ก็ได้ทยอยปรับ rate ดังกล่าวขึ้นมาตลอดจนถึงราวกลางปี 2007 เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจซึ่งในขณะนั้นถูกขับเคลื่อนโดยภาคอสังหาริม ทรัพย์และการใช้จ่ายเอกชนเป็นหลัก

การขึ้นดอกเบี้ยจาก 1% ขึ้นมาเป็น 5% ในช่วง 2005-2007 ได้เพิ่มต้นทุนของผู้ซื้อบ้านอย่างมาก ในขณะที่ผู้ที่ซื้อเพื่อเก็งกำไรก็เริ่มรู้สึกว่าโอกาสที่ราคาบ้านจะปรับตัว เพิ่มขึ้นดูลดลง  ส่งผลให้ราคาบ้านเริ่มปรับตัวลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่กลางปี 2007

ในตอนหน้าจะเริ่มเข้าสู่จุดศูนย์กลางของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์แล้วครับ



ที่มา: http://mysite.verizon.net/vzeqrguz/housingbubble/

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘