ทำไมคนส่วนใหญ่จึงคิดสั้นเวลาจัดพอร์ตลงทุน? (ตอนที่ 1)

ช่วงหลังมานี้มักมีคนถามผมเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้นหลังจากที่หุ้นไทยปรับตัวขึ้นมากว่า 60% ตั้งแต่ต้นปี 2009  เช่น “ตรงนี้ยังเข้าได้มั้ย?”   “แพงไปหรือยัง?”  “มีหุ้นอยู่ควรขายไปก่อนแล้วกลับมารับดีมั้ย?”  “เข้าตอนไหนดี?” 


ก่อนจะอ่านต่อไปผมอยากให้ผู้อ่านลองถามตัวเองดูว่า “คุณลงทุนเพื่ออะไร?” หากคำตอบคือเพื่อสร้างความมั่งคั่งและผลตอบแทนที่ยั่งยืนได้ในระยะยาว ลองอ่านต่อไปครับ

การจัดพอร์ตลงทุนส่วนบุคคล (Personal Investing) ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับตราสารการลงทุนอยู่ 4 ประเภทได้แก่

ตราสารหนี้ (Fixed Income) เป็นตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดแต่ก็ให้ผลตอบแทนคาดหวังต่ำที่สุดใน บรรดา 4 ประเภท เป็นตราสารที่คุ้มครองเงินต้นส่วนใหญ่ในระดับหนึ่ง (ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของผู้ออกตราสาร) และให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยรายปีคงที่ราวๆ 1%-7% แล้วแต่อายุและความเสี่ยงของตราสารที่ถือ หลักๆตลาดตราสารหนี้ประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds) และ หุ้นกู้เอกชน (Corporate Debentures)

ตราสารทุน (Equities/Stocks) หรือหุ้นของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนและเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นตรา สารที่มีความเสี่ยงสูงกว่าตราสารหนี้ ไม่มีการคุ้มครองเงินต้น แต่การลงทุนโดยกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเช่น stock index funds หรือ ETF ก็ให้ผลตอบแทนคาดหวังที่สูงในระดับเฉลี่ยราวๆ 12%-15% ต่อปี

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เพิ่งจะเริ่มมาฮิตในหมู่ผู้ลงทุนทั่วไป (ที่ไม่ใช่นักลงทุนสถาบัน) เมื่อไม่นานมานี้เองโดย “น้ำมัน” และ “ทองคำ” เป็น 2 ปัจจัยหลักที่ปลุกกระแสให้เกิดความสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดนี้ จริงๆแล้ว ตลาด Commodities ยังประกอบด้วย Basic Materials สำคัญๆ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี ฯลฯ Precious Metals อื่นๆ นอกจากทองได้แก่ เงิน แพลทินัม พัลลาเดียม ฯลฯ รวมถึง Soft Commodities ได้แก่ ถั่วเหลือง น้ำตาล ข้าวโพด ฯลฯ การลงทุนใน Commodities สามารถทำได้หลายวิธีแต่ยังไม่ขอกล่าวถึงในตอนนี้

ตลาด Commodities โดยทั่วไปจะผันผวนและเสี่ยงกว่าตลาดหุ้นเนื่องจากผู้เล่นในตลาดจะซื้อขาย หรือ Trade บนข่าวที่เข้ามากระทบเร็วกว่า  บางสินค้าเช่น น้ำมัน หรือ ถั่วเหลือง เล่นกันเป็นรายนาทีก็มี จากการรวบรวมข้อมูลการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ให้ผลตอบแทนคาดหวังในระดับ เฉลี่ยราวๆ 15%-20% ต่อปี

การลงทุนทางเลือก (Alternative Investments) เป็นการลงทุนอื่นๆที่อยู่นอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมดโดยส่วนใหญ่มักเกีย วข้องกับตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) และวิศวกรรมการเงิน (Financial Engineering) รูปแบบการลงทุนได้แก่ Hedge Funds และ Structured Products ที่ให้ผลตอบแทนสูง นอกจากนี้การลงทุนทางเลือกยังสามารถลงทุนผ่านกองทุนที่ลงทุนในบริษัทเกิด ใหม่ (Venture Capital Fund) หรือ Private Equity Fund ที่เลือกลงทุนในบริษัทจดทะเบียนไม่กี่บริษัทแต่เข้าในสัดส่วนทีสูงถึงขั้น เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่    Alternative Investments มีความเสี่ยงสูงที่สุดแต่ก็ให้ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยสูงที่สุดเช่นกันราวๆปี ละ 20%-25%

ตอนหน้าจะกลับมาโยงว่าทำไมการจัดพอร์ตลงทุนถึงต้องคิดยาวๆ ครับ…

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘