กลไกสู่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ตอนที่ 1: Fed Fund Rate

เมื่อคืนก่อนผมดูรายการ Oprah Winfrey ที่มีแขกรับเชิญ คือ Suze Orman กูรูและที่ปรึกษาทางการเงินผู้มีรายการโชว์ของตัวเองบนสถานีการเงิน CNBC คุณ Suze พูดกับผู้ชมในห้องส่งซึ่งเป็นชาวอเมริกันเกี่ยวกับเรื่องการปลดหนี้อันเป็น ผลพวงของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่เกิดขึ้นราวๆกลางปี 2007 ก่อนที่จะบานปลายไปเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปีถัดมา (2008)
    
…เชื่อมั้ยครับว่าผู้ชมในห้องส่งประมาณ 200 กว่าคนมีหนี้สินบนบัตรเครดิตรวมกันถึงประมาณ 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเฉลี่ยคนละ 4 แสนกว่าบาท !? มีการสุ่มตัวอย่างผู้ชมท่านหนึ่งขึ้นมาพบว่ามีบัตรเครดิตอยู่ด้วยกันถึง 22 ใบ ! ฟังดูน่าแปลกใจสำหรับเราๆคนไทย (หรือไม่แปลกหว่า…?) แต่กลับเป็นเรื่องปกติสำหรับอเมริกันชนผู้รักการจับจ่ายเป็นอย่างมาก
การที่มีบัตรเครดิตหลายใบก็เพื่อนำเครดิตมาต่อเครดิต…เป็นการนำรายได้ที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า… ไม่แปลกใจเลยที่กว่า 60-70% ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือ GDP ของสหรัฐอเมริกานั้นจะมีที่มาจาก การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (Consumer Spending) และเป็นกลจักรสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯเติบโตขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่ ปี 2001


(ในขณะที่ประเทศไทยและกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น (Asia ex Japan) 60-70% ของ GDP ก็คือการส่งออกไปให้คนอเมริกันบริโภคนั่นเอง ส่วน GDP ที่มาจากการใช้จ่ายบริโภคนั้นมีสัดส่วนเพียงประมาณ 15%เท่านั้น)

กราฟแสดงสัดส่วนการบริโภคใช้จ่ายส่วนตัวของอเมริกันชนต่อ GDP ตั้งแต่ปี 1952 ถึง 2006
ที่มา:
http://immobilienblasen.blogspot.com




ปัจจัยสำคัญที่หนุนให้เกิดการใช้จ่ายอย่างมหาศาลดังกล่าว ปัจจัยหนึ่งมาจากอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ที่ถูกกำหนดโดยธนาคารกลางสหรัฐฯหรือ Federal Reserve จึงมักจะถูกเรียกว่า ‘Fed Fund Rate’ วัตถุประสงค์หลักๆของอัตราดอกเบี้ยนี้ก็คือ
1) เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางเศรษฐกิจ คือหากต้องการให้เศรษฐกิจโตเร็วก็ลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อให้การกู้ยืมไปใช้ จ่ายหรือลงทุนทำได้ง่าย แต่หากต้องการให้เศรษฐกิจชะลอตัวอาจเป็นเพราะผู้กำหนดนโยบายมองเห็นว่าโต เร็วไปอาจร้อนแรงจนเกินเหตุได้ ก็ปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อให้ต้นทุนกู้ยืมสูงขึ้น
2) นำไปใช้อ้างอิงโดยธนาคารเอกชนสำหรับกู้ยืมเงินระหว่างกัน (Interbank Borrowing and Lending)
3) นำไปใช้สำหรับเป็นมาตรวัด (Benchmark) ในการกำหนดอัตราเงินฝากและเงินกู้ที่มีผลต่อผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆ
มาว่ากันต่อในตอนหน้าครับ…

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘