0105: Making sense of an IPO (ตอนที่ 1)

บริษัท มหาชนจำกัด (บมจ.) แตกต่างจากบริษัทจำกัด (บจก.) ทั่วไปตรงที่สามารถระดมทุนจากสาธารณชนได้ กฎหมายระบุไว้มิให้บริษัทจำกัดทั่วไปเชิญชวนให้ชาวบ้านเอาเงินมาลงทุนเป็น การสาธารณะ เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการหลอกลวงเป็นอย่างมากแบบเดียวกับแชร์ลูกโซ่ทั้งหลายที่ เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ  
 
บมจ.ต้องอยู่ ภายใต้ พรบ.มหาชน ซึ่งมีกติกาในการประกอบกิจการที่ยุ่งยากกว่าบริษัทจำกัด กติกาเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความยากลำบากให้กับผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มี เจตนาจะเอารัดเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย การระดมทุนต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกของบมจ. จะเรียกว่า Initial Public Offering หรือ IPO และหุ้นที่นำมาขายก็จะเรียกว่า หุ้น IPO หรือว่า หุ้นจอง ที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง
 
อัน ที่จริง เมื่อบมจ.ขายหุ้นจองได้แล้ว บมจ.ไม่จำเป็นต้องนำหุ้นเข้าไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ ดังนั้นการเสนอขายหุ้นจองกับการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ จึงเป็นคนละเรื่องกัน  แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าหาก บมจ.ไม่นำหุ้นเข้าไปจดทะเบียนในตลาดฯ ด้วย นักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่จองซื้อหุ้นของบริษัท เพราะซื้อแล้วขายต่อเพื่อทำกำไรได้ยาก เพราะไม่ได้มีตลาดรองรับ ทำให้ไม่น่าซื้อ ฉะนั้น ส่วนใหญ่แล้ว บมจ. ที่ขายหุ้นจองจึงมักต้องนำหุ้นเข้าไปจดทะเบียนในตลาดฯ ด้วยเสมอ เพื่อช่วยให้หุ้นจองขายออก การเสนอขายหุ้นจองจึงมักตามมาด้วยการนำหุ้นเข้าไปจดทะเบียนในตลาดฯ เสมอจนคนทั่วไปนึกว่า เป็นเรื่องเดียวกันไปเสียแล้ว
นัก ลงทุนที่กล้าซื้อหุ้นจองตั้งแต่ก่อนที่บริษัทจะได้รับอนุญาตจาก กลต.ให้เข้าจดทะเบียนในตลาดฯ ได้หรือที่เรียกว่าผ่านไฟลิ่ง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกนักลงทุนสถาบัน หรือพวก private equity ซึ่ง มีศักยภาพมากพอที่จะเข้าไปตรวจสอบบริษัทเองได้เท่านั้น นักลงทุนเหล่านี้จะมักได้ซื้อหุ้นของบริษัทในราคาที่ต่ำกว่าที่คาดว่าจะเป็น ราคาจองมาก ทำให้มีโอกาสได้กำไรสูงเมื่อหุ้นเข้าตลาดฯ ได้สำเร็จ แต่นักลงทุนเหล่านี้ก็ต้องเสี่ยงกับการที่บริษัทอาจเข้าตลาดได้ช้ากว่ากำหนด หรือถ้าแย่กว่าอาจเข้าตลาดไม่สำเร็จในที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่เสี่ยงมากสำหรับนักลงทุนที่ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบบริษัท ได้ด้วยตนเอง
ปกติ แล้วการจะผ่านไฟล์ลิ่งของกลต.ได้นั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากพอสมควร ข้อกำหนดที่เข้มงวดเหล่านี้ช่วยทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นในระดับหนึ่ง ว่า กิจการของบริษัทมีความน่าเชื่อถือมากพอ (ไม่ใช่บริษัทไก่กา) ที่จะปล่อยให้นักลงทุนรายย่อย ซึ่งโดยพฤติกรรมแล้ว มีการศึกษาก่อนที่จะลงทุนน้อยมาก ซื้อหุ้นเหล่านั้นในตลาดฯ ได้ โดยมากแล้ว บมจ.ทุกแห่งจำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาทางการเงินที่เป็นบริษัทมืออาชีพทางด้าน นี้โดยเฉพาะมาช่วยเตรียมตัว (แต่งตัว) เพื่อขอไฟล์ลิ่ง ซึ่งใช้เวลาเป็นปีและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากด้วย ส่วนใหญ่แล้ว ภาระของที่ปรึกษาทางการเงินมักไม่แตกต่างกันมากนักไม่ว่าบริษัทจะมีขนาดเล็ก หรือใหญ่ ดังนั้น บริษัทขนาดเล็กที่คิดจะเข้าตลาดฯ จะเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าตลาดฯ ในสัดส่วนที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับขนาดของธุรกิจ ยัง ไม่นับเรื่องการที่ต้องเปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่ให้เป็นผู้สอบบัญชีที่รับ อนุญาต ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน แถมยังต่อเนื่องอีกต่างหาก อย่างไรก็ตาม บริษัทก็เอาเงินชาวบ้านที่จะได้จากการขายหุ้นจองนั้นแหละมาหักเป็นค่าใช้ จ่ายในส่วนนี้ ดังนั้นในแง่กลยุทธ์ เอาเข้าจริงๆ การกำหนดให้การเข้าตลาดต้องมีค่าใช้จ่ายสูงไม่ได้ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ให้กับหุ้นได้มากขึ้นเท่าไรนัก เพราะเจ้าของเดิมไม่ได้มีต้นทุนอะไร
ปกติ แล้ว เวลาบริษัทเสนอขายหุ้นจอง หุ้นจองนั้นอาจเป็นหุ้นใหม่ (หุ้นเพิ่มทุน) ทั้งหมด หรืออาจเป็นหุ้นเพิ่มทุนส่วนหนึ่งบวกกับหุ้นเก่าของผู้ถือหุ้นเดิมส่วนหนึ่ง ก็ได้ เท่าที่ยังอยู่ในสัดส่วนที่ข้อบังคับของ ตลท.อนุญาต ในกรณีที่ บริษัทเอาหุ้นเก่าของผู้ถือหุ้นเดิมมาให้จองมากๆ นักลงทุนควรตั้งคำถามให้มากๆ ก่อนที่จะตัดสินใจจอง เงินที่ได้จากการขายหุ้นเก่าจะไม่เข้าบริษัท แต่จะเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้นเดิมแทน ถ้าหากบริษัทยังมีอนาคตที่ดีอยู่ แล้วเจ้าของเดิมเอาหุ้นของตัวเองจำนวนมากออกมา cash out ทำไม? ส่วน ใหญ่แล้ว เจ้าของเดิมชอบอ้างว่า บริษัทมีฐานะการเงินที่ดีอยู่แล้ว ไม่ได้ต้องการเงินสดมาก แต่เข้าตลาดเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์เท่านั้น แต่นักลงทุนก็ควรคิดเอาเองว่าควรจะเชื่อคำพูดของเจ้าของเดิมหรือไม่
นอกจากนี้ นักลงทุนทุกรายที่จองหุ้นควรได้ซื้อหุ้นจองในราคาเดียวกันทั้งหมด แต่ในบางกรณี บริษัทอาจให้สิทธิพนักงานและ ผู้มีอุปการะคุณ จองหุ้นในราคาที่ต่ำกว่านักลงทุนทั่วไปได้ ในกรณีของพนักงานบริษัทนั้นอาจพอเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องของขวัญกำลังใจและ สวัสดิการพนักงาน แต่ในกรณีของ ผู้มีอุปการะคุณ นั้น ถ้าหากได้รับการจัดสรรหุ้นไม่เยอะมากก็ยังพอเข้าใจได้ เพราะกว่าบริษัทจะโตมาถึงขนาดที่เข้าตลาดได้ คงต้องพึ่งพาใครต่อใครมากมาย เมื่อบริษัทยังเล็กอยู่ ทุนไม่หนา การตอบแทนผู้มีอุปการคุณเป็นเงินโดยตรงอาจทำได้ไม่เต็มที่ ทำให้ต้องใช้โอกาสนี้ในการตอบแทนผู้มีอุปการคุณในรูปแบบของสิทธิ์ในการจอง หุ้นในราคาต่ำแทน แต่ถ้าผู้มีอุปการคุณได้รับจัดสรรหุ้นเป็นจำนวนมาก ก็สมควรต้องตั้งคำถามอย่างแรงถึงความโปร่งใสเหมือนกัน เพราะเท่ากับเป็นการอาศัยกำลังทรัพย์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยให้ช่วยตอบแทนผู้ มีอุปการคุณให้ทางอ้อมอย่างหนึ่ง ถือเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ต้องมีส่วนในการตอบแทนด้วย
ที่ สำคัญ เวลาจะจองหุ้น อย่ามัวแต่ดูราคาว่าถูกหรือไม่เมื่อเทียบกับพีอีปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญกว่าคือ บริษัทจะเอาเงินเพิ่มทุนที่ได้ไปทำอะไร เพราะจะส่งผลอย่างยิ่งต่อกำไรในอนาคตของบริษัทหลังจากที่ได้จองซื้อหุ้นไป แล้วครับ  
ใน เชิงกลยุทธ์แล้ว หุ้นจองเป็นหุ้นที่ไม่น่าจองเสมอ เพราะถ้าราคาจองเป็นราคาที่ถูกเกินจริงจะไม่เหลือตกมาถึงเรา ดังนั้นถ้าจองแล้วเหลือมาถึงเราได้ แสดงว่า ขายไม่ค่อยออก วันเข้าตลาดจึงมีโอกาสสูงที่จะต่ำจอง สรุปแล้ว มีแต่ทางขาดทุนมากกว่าทางได้ ถ้าหากสนใจหุ้นตัวนั้นจริงๆ เพราะชอบกิจการ การไปรอวัดดวงซื้อเอาในวันที่เข้าตลาดแล้วจะเป็นทางเลือกที่ ดีกว่า หุ้นที่เทรดในตลาดแล้ว ราคาที่เห็นเป็นราคาที่ยืนได้ด้วยแรงซื้อแรงขายที่เป็นของจริง ไม่เหมือนกับราคาจองที่เป็นราคาที่ตั้งขึ้นมาลอยๆ ไม่รู้จะยืนได้หรือเปล่า อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเป็นหุ้นจองรัฐวิสาหกิจที่กระจายหุ้นด้วยวิธีจับสลาก อันนี้ค่อยน่าซื้อตอนจองหน่อย เพราะถ้าหากเราได้รับการจัดสรร ไม่ใช่เป็นเพราะ หุ้นขายไม่ออก แต่เป็นเพราะเราบังเอิญโชคดี แบบนี้โอกาสได้กำไรในวันเปิดเทรดมีสูงครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘