0095: วิกฤตสรรพพราหมณ์ (revisited)

ณ เวลานี้แล้ว เศรษฐกิจโลกก็ยังดิ่งลงอีกอย่างต่อเนื่อง...
มี การสำรวจพบว่า Tax Rebate มูลค่า $300 ต่อหัว เมื่อกลางปีที่แล้ว ถูกผู้เสียภาษีนำไปใช้จ่ายเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ดูเหมือนคนอเมริกันทุกวันนี้มีความเป็นอยู่ที่ดีเกินกว่าที่การแจกเงินเพื่อ กระตุ้นการใช้จ่ายจะใช้ได้ผลอีกต่อไปแล้ว การลดภาษีให้ภาคเอกชนยิ่งใช้ไม่ได้ผลเข้าไปใหญ่เพราะในสถานการณ์นี้ ภาคธุรกิจได้เงินมาเท่าไรก็มีแต่ละนำไปจอดไว้เฉยๆ เพื่อตุนสภาพคล่องกันทั้งนั้น ไม่มีใครคิคจะลงทุนกันหรอก
ใน แง่ของนโยบายการคลังในเวลานี้จึงเหลือเพียงความหวังสุดท้ายเท่านั้น ได้แก่ การลงมือใช้จ่ายเองของภาครัฐฯ รัฐบาลของโอบามากำลังขอเงิน $800 billion เพื่อมาใช้ในโครงการลงทุนใน สาธารณูปโภค การศึกษา และความมั่นคง ประมาณ 75% ของเงินทั้งหมดถูกกำหนดให้จ่ายออกไปให้ได้ภายใน 18 เดือนนี้
ประเมิน กันว่า production gap ในเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เวลานี้น่าจะอยู่ที่ประมาณ $1000 billion ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ (คือช่วงนี้) ที่เงินของโอบามายังมาไม่ถึง เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะดำดิ่งลงไปเรื่อยๆ...
เดิมที เดียวนั้นรัฐบาลสหรัฐฯ ประเมินความรุนแรงของวิกฤตครั้งนี้ต่ำเกินไป เพื่อรักษาความเป็นตลาดเสรีและรบกวนเงินภาษีของประชาชนให้น้อยที่สุด พอลสันจึงเลือกปล่อยเงินกู้เสริมสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง กับคนจำนวนมากเท่านั้น และปล่อยให้วาณิชธนกิจรายใหญ่อันดับสี่ เลย์แมน บราเดอรส์ ล้มละลาย และหวังว่าการล้มของเลย์แมนจะไม่กระทบไปถึงภาคเศรษฐกิจจริง เรื่องนี้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร
ด้าน นโยบายการเงิน เฟดได้เร่งใช้นโยบายทางการเงินอย่างเต็มที่เช่นกันเพื่อลดภาระดอกเบี้ยของ ทุกภาคส่วนให้มากที่สุดด้วยการลดดอกเบี้ยลงอย่างเร็วและแรงมากแต่ก็พบว่าใน ภาวะแบบนี้ การลดดอกเบี้ยช่วยไม่ได้มาก เพราะมีสถาบันการเงินจำนวนมากที่ขาดทุนจากวิกฤตซับไพรม์ทำให้ขาดสภาพคล่อง ธนาคารจึงพากันหยุดปล่อยกู้แม้ว่าดอกเบี้ยเฟตจะต่ำก็ตาม การหยุดปล่อยสิน เชื่อของธนาคารจะทำให้ปัญหาลามเข้าสู่ภาคธุรกิจจริง เพราะธุรกิจจำนวนมากต้องอาศัยสภาพคล่องจากธนาคารหล่อเลี้ยงในภาวะปกติ ดังนั้นเมื่อปลายปี เฟดจึงต้องช่วยเหลือด้วยการออกมาซื้อ Commercial Papers ของภาคธุรกิจโดยตรง และทำสัญญา swap กับธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเพื่อให้แน่ใจว่ายังมีเงินดอลล่าร์หลงเหลือ อยู่ในตลาดมากเพียงพอ
ถ้าสถาบันการเงินไม่กลับ มาปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจตามปกติอีกครั้ง ระบบเศรษฐกิจจะไม่มีวันกลับมาทำงานเหมือนเดิมได้ง่ายๆ ปัญหานี้ไม่สามารถแก้ได้ด้วยนโยบายการเงินธรรมดา แต่จะต้องแก้ด้วยการเพิ่มทุนล้างขาดทุนสะสมเพื่อให้งบดุลของของธนาคารเหล่า นี้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง เชื่อกันว่าธนาคารจะต้องใช้เพิ่มทุนกันอย่างน้อย $1000 billion ซึ่งคงไม่สามารถหานายทุนเอกชนที่ไหนได้มากขนาดนั้นพร้อมกันในเวลานี้  ดังนั้นถ้ารัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการหยุดวิกฤตครั้งนี้โดยเร็ว รัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องลึมคำว่าตลาดเสรีไปชั่วคราวแล้วเข้าไปถือหุ้นในธนาคารเหล่านี้แทน ซึ่งก็แน่นอนว่าเป็นภาระทางการเงินที่มหาศาลแม้ว่าจะเป็นรัฐบาลที่พิมพ์ แบงก์ได้เองอย่างสหรัฐฯ ก็ตาม
ล่าสุดดูเหมือน ว่าโอบามาจะไม่เลือกทางนี้ แต่จะหลีกเลี่ยงจากเข้าไปถือหุ้นธนาคารด้วยการใช้วิธีซื้อหนี้เสียของธนาคาร เหล่านั้นออกไปแทน แบบเดียวกับที่บ้านเราเคยทำ วิกฤตต้มยำกุ้งได้ทำให้เราเรียนรู้แล้วว่า แม้ธนาคารจะขายหนี้เสียออกไปได้ แต่ธนาคารก็จะไม่กลับมาปล่อยกู้อยู่ดีเนื่องจากฐานทุนของธนาคารยังคงอ่อนแอ อยู่เช่นเดิม ธนาคารจะตั้งหน้าตั้งตาเสริมสร้างฐานทุนของตัวเองซึ่งต้องใช้เวลาสะสมกำไร นานมากกว่าจะกลับมาสนใจการปล่อยเงินกู้อีกครั้ง ดังนั้น ถ้าหากโอบามาเลือกวิธีการนี้ ก็เป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่กลับมาง่ายๆ คล้ายๆ กับกรณีวิกฤตต้มยำกุ้งของบ้านเรา ซึ่งถึงปัจจุบันผ่านมาแล้ว 10 ปี ธนาคารทั้งหลายก็ยังง่วนอยู่กับการรักษาเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงแทนที่จะ ปล่อยสินเชื่ออย่างเต็มที่

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘