0093: the Consumer Syndrome

เรา ทุกคนเป็นผู้บริโภคกันอยู่แล้วตั้งแต่เกิด เวลาที่เราเปลี่ยนมาสวมหมวกนักลงทุนเพิ่มอีกใบ เราก็เลยพลอยติดนิสัยผู้บริโภคมาด้วย นิสัยของผู้บริโภคบางอย่างถือได้ว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน
ทุก วันนี้คนเราแทบไม่ได้ซื้อสินค้าเพราะ functional ของสินค้ามากเท่ากับที่เราซื้อสินค้าเพราะสินค้านั้นตอบสนอง emotional needs ของเราได้ มนุษย์สมัยนี้หันมาอาศัยแบรนด์สินค้าที่เราใช้เป็นเครื่องมือในการบอกความเป็นตัวตนของเราให้คนรอบข้างได้รับรู้ทางอ้อม คนที่ใช้รถเบนซ์กำลังบอกคนรอบข้างว่า I am wealthy คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ตราผลไม้กำลังบอกคนรอบข้างว่า I am artistic เป็นต้น ถ้าให้คน ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตราผลไม้เดินถือคอมพิวเตอร์ตราหน้าต่างไปมาตามท้องถนน พวกเขาจะรู้สึกกล้ำกลืนอย่างมาก เพราะเท่ากับเป็นการฉายภาพลักษณ์ที่ไม่ตรงกับตัวเองให้คนรอบข้าง
พฤติกรรม อันนี้จะติดมาด้วยเวลาที่เรามาเป็นนักลงทุน เราจะเผลอเลือกหุ้นโดยดูว่าเมื่อถือหุ้นนั้นแล้วจะช่วยให้เราบอกความเป็นตัว ตนของเราได้หรือไม่ เราจะรู้สึกไม่อยากจะถือหุ้นนั้น แม้ว่าจะมีโอกาสทำกำไรก็ตาม เพราะเราไม่อยากให้คนที่ถามเราว่าเราถือหุ้น อะไรอยู่บ้างเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตนของเราโดยเชื่อมโยงสินค้าของ หุ้นที่เราถือเข้ากับความเป็นตัวเรา เรื่องนี้นับว่าอันตราย เพราะจะทำให้เรามองข้ามประเด็นเรื่องการทำกำไรขาดทุนของบริษัทไป คนที่อยาก เป็นเจ้าของสายการบินแห่งชาติซึ่งติดอันดับสายการบินดีเด่นบ่อยๆ คงรู้แล้วว่าภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์กับความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจนั้น เป็นคนละเรื่อง 
ถ้า เปรียบเทียบกันแล้ว รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้าไม่มีทางสู้รถเบนซ์ได้ เพราะรถคันละล้านต่อให้ดีแค่ไหนก็คงสู้รถคันละสิบล้านไม่ได้อยู่แล้ว แต่หุ้นโตโยต้ากลับเป็นหุ้นที่สร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างงดงามใน รอบ 20 ปีที่ผ่านมา (แม้ว่าปีนี้จะเริ่มแย่ก็ตาม) ในขณะที่หุ้นเดมเลอร์กลับเป็นหุ้นที่สร้าง ความผิดหวังให้กับผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาเดียวกัน การตัดสินใจ เลือกหุ้นโดยเปรียบเทียบตัวผลิตภัณฑ์นับว่าเป็นวิธีการที่ผิด แม้รถโตโยต้า จะสู้รถเบนซ์ไม่ได้ แต่โตโยต้าก็เป็นรถที่ตอบสนองความต้องการของชนชั้นกลางที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับรถยี่ห้ออื่นที่เจาะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียว กัน โรงงานของโตโยต้าได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากที่ สุดในโลกถึงขนาดตะวันตกยังต้องเอาวิธีการของโตโยต้าไปเขียนตำรา คุณค่าของบริษัทโตโยต้าไม่ได้อยู่ที่ตัวผลิตภัณฑ์แต่อยู่ที่การเป็นเจ้าของ นวัตกรรมในกระบวนการผลิต การคัดเลือกหุ้นโดยตัดสินจากตัวผลิตภัณฑ์จึงนับว่าหลงประเด็น การที่เราคิด ว่าสินค้าของบริษัทไม่ดี ไม่ได้หมายความว่าสินค้าจะขายไม่ได้ เพราะเราอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของบริษัท จึงไม่ควรใช้ตัวเราเองเป็นมาตร วัด 
การเลือกหุ้นไม่เหมือนกับการเลือก สินค้า การซื้อหุ้นคือการซื้อตัวธุรกิจของบริษัท ไม่ใช่การซื้อสินค้าของบริษัทนั้นๆ ดังนั้นการที่คุณไม่ชอบสินค้าของบริษัท ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องไม่ชอบธุรกิจของบริษัทด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน
เวลา ซื้อหุ้นต้องคิดแบบพ่อค้า อย่าคิดแบบผู้บริโภค พ่อค้ายังอาจได้หรือเสียเงิน แต่ผู้บริโภคเสียเงินเสมอ ถ้าอยากบอกความเป็นตัวตนของเราให้คนรอบข้างได้รับรู้ ควรทำผ่านการใช้สินค้าแบรนด์เนมต่างๆ เท่านั้นจะดีกว่า เพราะการบริโภคเป็นเรื่องของการหาความสุขใส่ตัว แต่การลงทุนเป็นเรื่องของการสร้างผลตอบแทนทางการเงิน ตลาดหุ้นเป็นสถานที่ที่ competitive ไม่เหมาะกับการใช้ความรู้สึกตัดสินครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘