0087: อย่ากลัวตกรถไฟ

ระหว่างการติดดอยกับการตกรถไฟ อะไรน่ากลัวกว่ากัน? เป็นปัญหาโลกแตกที่นักลงทุนพูดถึงกันมานานแล้ว...
ใน หนังสือ The Snowball บัฟเฟต อธิบายว่า มีอยู่เพียงสามกรณีเท่านั้นที่ภาคธุรกิจโดยรวมจะสามารถให้ผลตอบแทนกับเจ้า ของได้มากกว่า 10% ต่อปีได้อย่างยั่งยืน หนึ่งคือ อัตราดอกเบี้ยต้องลดต่ำลงอย่างมากเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง สองคือ ผลตอบแทนของธุรกิจจะต้องถูกปันส่วนให้กับผู้ถือหุ้นเมื่อเทียบกับลูกจ้างและ กรมสรรพากรเพิ่มขึ้นกว่าปกติได้อย่างต่อเนื่อง และสามคือ เศรษฐกิจจะต้องเติบโตได้สูงกว่าศักยภาพที่แท้จริงของมันเป็นเวลานานๆ 
บัฟเฟตกล่าวว่า การที่นักลงทุนจะคาดหวังกับสามสิ่งนี้ว่าจะเกิดขึ้นนั้น เป็นความคาดหวังที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย
เช่น นี้แล้ว เวลาที่ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนสูงกว่า 10% ต่อเนื่องกันหลายปี สุดท้ายแล้วความต่อเนื่องนั้นมักจะไม่ยั่งยืนในที่สุด ถึงจุดหนึ่ง ตลาดหุ้นจะต้องถอยกลับลงมาใหม่จนทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาวของมันยังคง เป็นไปตามศักยภาพที่แท้จริงที่เป็นไปได้คือ 10% ต่อปี ดังนั้น เราจึงไม่มีความจำเป็นต้องกลัวตกรถไฟ ที่สุดแล้ว รถไฟจะกลับมาเราเสมอ
แต่ บ่อยครั้งที่การเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นอย่างต่อเนื่องทั้งที่หุ้นมีราคา แพงอยู่แล้วทำให้เราหวั่นไหว ในที่สุดเราก็ซื้อแพงจนได้เพราะกลัวจะไม่มีโอกาสได้ซื้ออีก สุดท้ายเมื่อ Market Correction มาถึงโดยไม่คาดฝัน เราก็พลาดโอกาสที่จะได้ซื้อหุ้นในราคาที่ถูกกว่าเดิม เพราะเราไม่มีเงินเหลือแล้วทุกที 
สิ่ง ที่ยากคือโดยมากกว่าที่ตลาดจะเกิด Correction นั้นมักกินเวลานานมากจนยากที่ปุถุชนคนไหนจะอดทนรอได้ไหว ช่วงตลาดหุ้นฟองสบู่ยุคน้าชาติ ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงกว่า 20% ต่อปีติตต่อกันทุกปีถึง 5 ปี ใครที่ซื้อไม่ทันก็ยากที่จะอดใจไม่กระโดดเข้าไปซื้อในที่สุด เพราะราคาที่ แพงขึ้นให้เห็นอีกเรื่อยๆ ปีแล้วปีเล่านั่นเกินห้ามใจเหลือเกิน เมื่อทุกคนค่อยๆ ยอมกันกันฟันซื้อของแพงมากขึ้นเรื่อยๆ ราคาหุ้นก็ยิ่งปรับตัวขึ้นได้อีกอย่างไม่น่าเชื่อ แต่สุดท้ายแล้ว ฟองสบู่ก็ต้องแตกในที่สุด เมื่อฟองสบู่แตกแล้ว หุ้นกลับมีราคาถูกกว่าห้าปีที่แล้วอย่างมากและรอให้ทุกคนซื้ออยู่ แต่ทุกคนก็ไม่มีเงินเหลือแล้ว ใครที่ยังมีเงินเหลืออยู่ตอนนั้นก็ได้ของถูก ไปในที่สุด 
เมื่อก่อนนี้ผมคิดว่าทักษะที่นัก ลงทุนส่วนใหญ่ขาดคือความอดทนในการถือหุ้นเป็นเวลานานๆ แต่เดี๋ยวนี้ผมคิดว่าทักษะนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากมากนัก เวลาเราซื้อหุ้นแล้วขาดทุนหนัก เราจะรู้สึกอยากถือยาวๆ ได้เอง ที่จริงแล้วทักษะที่ยากกว่าการถือยาวมากคือ ทักษะในการอดทนรอที่จะไม่ซื้อหุ้นเมื่อราคายังไม่เหมาะสม คนส่วนใหญ่ในตลาด หุ้นมักไม่มีทักษะนี้ ดังนั้นใครที่สามารถฝึกฝนจิตใจของตนจนมีทักษะที่สำคัญอันนี้ถือเป็นความได้ เปรียบอย่างยิ่ง ในรอบหลายๆ ปี วอเรน บัฟเฟต ถึงจะลุกขึ้นมาช้อปปิ้งครั้งใหญ่สักครั้งหนึ่ง ในตลาดหุ้น มีน้กลงทุนจำนวนน้อยมากๆ ที่อดทนที่จะไม่ซื้ออะไรเลยเป็นปีๆ ได้ มันเป็นการรอคอยที่ทรมาน (กระเป๋าร้อน)
คิดไว้ เสมอว่าอย่ากลัวตกรถไฟ เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่ามันจะวิ่งไปไกลมากแค่ไหน มันจะกลับมารับเราอีกเสมอ ขอให้เรามีความสามารถในการรอคอย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘