0083: What are your thumbs like? (2)

คุณ ค่าของธุรกิจที่แท้จริงขึ้นอยู่กับ "กระแสเงินสดอิสระที่คาดหวังได้ในอนาคตของมัน" ดังนั้น RoT ที่ดีควรจะสะท้อนสิ่งนี้ได้บ้างไม่มากก็น้อย นักลงทุนบางท่านมี RoT ที่แปลกๆ เช่น บางคนเลือกบริษัทโดยดูว่ามีหนี้น้อยหรือไม่ จริงอยู่การมีหนี้น้อยดีกว่ามี หนี้มาก แต่หนี้เป็นเรื่องของโครงสร้างทุนของบริษัท ซึ่งไม่ได้บอกว่า ธุรกิจของบริษัทดีหรือไม่ สมมติว่าผมเอาเงินสดๆ ไปเปิดบริษัทกระดาษขึ้นมาหนึ่งบริษัทโดยไม่มีธุรกิจอะไรรองรับเลย บริษัทนี้ย่อมเป็นบริษัทที่มีหนี้น้อย (ไม่มีเลย) เพราะในงบดุลจะมีแต่เงินสดๆ เป็นทุนล้วนๆ เท่านั้น เช่นนี้จะบอกว่าบริษัทนี้น่าลงทุนเพราะหนี้น้อยได้หรือไม่? บริษัท ที่มีหนี้บ้างแต่มีธุรกิจรองรับน่าจะเป็นบริษัทที่น่าลงทุนกว่าบริษัทกระดาษ ที่ไม่มีหนี้มิใช่หรือ จะเห็นได้ว่า การเลือกบริษัทโดยดูหนี้น้อยเป็นเกณฑ์ เป็น RoT ที่หลงประเด็น เพราะโครงสร้างทุนสะท้อนคุณค่าธุรกิจยังไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ประเด็นของผมคือตรงนี้ 
ถ้า ให้เลือกเกณฑ์หยาบๆ ในการคัดเลือกบริษัท ผมคิดว่าเกณฑ์ที่ดีที่สุดซึ่งสะท้อนกระแสเงินสดอิสระในอนาคตได้ดีพอสมควร น่าจะได้แก่การมองบริษัทใน 2 ประเด็นหลักต่อไปนี้
1.Demand Trend
พิจารณาว่า สินค้า/บริการของบริษัทมี Demand Trend เป็นอย่างไร? หมาย ความว่า เราคิดว่าในอนาคตสินค้า/บริการของบริษัทจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมาก ขึ้น/เท่าเดิม/น้อยลง ธุรกิจที่น่าสนใจควรมี DT ที่ยังอยู่ในขาขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือสินค้ายังมีอนาคตที่ดีอยู่ บริษัทส่งออกสิ่งทอไม่น่าจะมี DT ที่ดี บริษัทมือถือหรือคอนโดน่าจะมี DT ที่ดีกว่า เป็นต้น ที่สำคัญคือพยายามมองไปข้างหน้าไม่ใช่มองแค่ปัจจุบัน สินค้าที่มี ความต้องการที่ดีมากในปัจจุบันอาจไม่น่าสนใจก็ได้ถ้าหาก consumption rate ของสินค้านั้นอิ่มตัวมากแล้ว เพราะโอกาสที่จะโตได้อีกในอนาคตคงมีน้อย  
2.Competitive Advantage
คือดูว่าบริษัทมีข้อได้เปรียบคู่แข่งมากแค่ไหน? ลอง หาคำตอบว่าบริษัทตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งแล้วลูกค้าจะยังซื้อหรือไม่ ถ้าซื้อๆ เพราะอะไร บริษัทมีอะไรบ้างหรือเปล่าที่คู่แข่งเลียนแบบไม่ได้และสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ ผู้ซื้อเห็นคุณค่ามากแค่ไหน นอกจากคู่แข่งแล้ว "สินค้าทดแทน" ก็เป็นภัยคุกคามอีกอย่างหนึ่งของบริษัทด้วย ลองดูว่า ถ้าสินค้าทดแทนเข้ามาแทนที่สินค้าของบริษัทในอนาคต แล้วบริษัทจะมีทางรับมือได้หรือไม่
ทั้ง DT และ CA เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคุณ ค่าของธุรกิจมากที่สุด เราควรให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ให้มากกว่าเรื่อง asset ของบริษัทหรือเรื่องราคาหุ้น ผมว่านี่คือลักษณะเฉพาะของแนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนของผมเลย ซื้อหุ้นคือซื้อธุรกิจ ฉะนั้นต้องดูที่ตัวธุรกิจเป็นสำคัญ ไม่ใช่ดูอย่างอื่น  
นอก จากนี้เราต้องดูครบทั้ง DT และ CA ด้วย ห้ามมองแค่อันเดียวจะพลาดได้ เช่น เมื่อหลายปีก่อนทุกคนมองว่าธุรกิจ ISP มีโอกาสเติบโตมหาศาลเพราะอินเตอร์เน็ตโตเร็วมาก แต่เนื่องจาก ISP เป็นธุรกิจที่ไม่มี Barrier to Entry บริการสร้างความแตกต่างได้ยากมาก ผลปรากฏว่า ISP เจ๊งกันเกือบทุกเจ้าทั้งที่ตลาดเติบโตสูงมากๆ หรือถ้าเป็นธุรกิจผูกขาดแต่อยู่ในอุตสาหกรรมตะวันตกดินก็ไม่มีประโยชน์ เพราะกำไรดี แต่ยิ่งทำยิ่งเล็กลงเรื่อยๆ
จะ ว่าไปแล้ว DT ก็คือ Top line growth (sales growth) ส่วน CA ก็คือ Bottom line (margin) นั่นเอง บริษัทจะดีได้ก็ต้องดีทั้งสองอย่างครับ  
3. ราคาหุ้นเหมาะสมหรือไม่? 
เมื่อ พิจารณาทั้งสองข้อนี้ว่าดี อันดับต่อมาก็ควรพิจารณาซื้อในราคาที่เหมาะสม ถ้าใช้ DCF ในการหาราคาที่เหมาะสมก็คงไม่เรียกว่า RoT ฉะนั้นเพราะซับซ้อนมาก ในขั้นนี้ที่จริงแล้วจะใช้ Ratio ต่างๆ ในการตัดสินใจก็ได้ โดยอาจใช้ Ratio หลายๆ ตัวดูประกอบกันเพื่อความแน่ใจก็ได้ ในความคิดของผม ผมคิดว่า Ratio ที่เหมาะสมที่สุดในการวัดมูลค่าหุ้นคือ P/E ratio เทียบกับ Earnings Growth  (PEG ratio) โดยที่ E ควรเป็นกำไรที่ตัดรายการพิเศษต่างๆ ออกไปแล้ว ส่วน Growth ก็ควรเป็น Growth เฉลี่ยในระยะยาวที่น่าจะเป็นไปได้ไม่ใช่แค่ Growth ของปีหน้าปีเดียว บางบริษัทกำไรอาจโต 100% ได้ในปีหน้าแต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะโต 100% ในปีต่อๆ ไปด้วย ดังนั้นจึงควรพิจารณา Growth ในระดับที่เหมาะสม แล้วดู P/E ของบริษัทที่น่าจะสมน้ำสมเนื้อกับ Growth ในระยะยาวที่เป็นไปได้ของมัน
ผมคิดว่า RoT ที่ใช้เกณฑ์ 3 ข้อนี้ก็นับว่าเป็น วิธีที่ง่ายและสะท้อนคุณค่าของธุรกิจโดยตรงได้ดีพอสมควรแล้ว อย่างไรก็ตาม  RoT เป็นการมองหุ้นที่หยาบเราจึงควรเผื่อความผิดพลาดไว้เสมอ ไม่ควรทุ่มสุดตัวกับบริษัทเดียว แต่เลือกลงทุนในหุ้นที่เข้าเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อนี้สัก 3-5 บริษัท แล้วคาดหวังผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ต ก็ถือได้ว่า เรามีหลักการเลือกหุ้นที่ทำด้วยตนเองได้ที่มีความปลอดภัยพอสมควรแล้ว
ดู ไปดูมา RoT ของผมกลับไปคล้ายวิธีการลงทุนที่ปีเตอร์ ลินซ์ ลินซ์เขียนไว้หนังสือของเขาว่า คนธรรมดาทั่วไปก็ลงทุนให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยการเลือกหุ้นของธุรกิจที่ ดีๆ ด้วยตัวเองไว้สัก 5 ตัวแล้วถือไว้เท่าที่ยังคิดว่าเป็นธุรกิจที่ดีอยู่ นับวันผมก็ยิ่งเห็นว่า วิธีนี้ของปีเตอร์ ลินซ์เป็นวิธีที่ถูกต้องจริงๆ แต่ถ้าจะเติมหน่อยก็คือ เวลาเข้าซื้อหุ้น ถ้าคุณวัดมูลค่าหุ้นไม่เป็นน่าจะใช้วิธีง่ายๆ แบบที่ปีเตอร์ ลินซ์เคยบอกไว้เหมือนกัน คือ รอให้ตลาดหุ้นตกหนักๆ ทีก็ค่อยเข้าไปเก็บหุ้นที่มองๆ ไว้สักที เขาบอกว่าทำแบบนี้ โอกาสได้ผลตอบแทนดีๆ ในระยะยาวมีสูงมาก แค่นี้ผมว่าก็ได้ตำรับการลงทุนแบบง่ายๆ ที่ชาวบ้านที่ไหนก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองแล้วไม่ต้องพึ่งเซียนใบ้หุ้นเลย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘