0082: What are your thumbs like?

การพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าบริษัทหนึ่งน่าลงทุนหรือไม่นั้น เป็นงานช้างเพราะมีปัจจัยหลายด้านมากที่ต้องวิเคราะห์ เช่น เศรษฐกิจ ภาวะอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ของบริษัท คู่แข่ง ฐานะการเงิน งบการเงิน ประวัติผู้บริหาร โครงการในอนาคต แผนการลงทุน โครงสร้างผู้ถือหุ้น เป็นต้น ถ้าจะพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ให้หมดอาจต้องจ้าง ทีมงานมืออาชีพนับสิบคนเพื่อทำการตรวจสอบนานนับเดือน ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด ด้วยเหตุนี้ ในทางปฏิบัติ จึงพบว่านักลงทุน 99.9% ในตลาดไม่ได้พิจารณาปัจจัยทั้งหมดอย่างถี่ถ้วนแต่จะมองปัจจัยบางตัวเป็นหลัก ในการตัดสินใจลงทุนเพื่อให้สามารถตัดสินใจลงทุนได้ง่ายขึ้น หรือที่เรียกว่า ใช้ Rule of Thumbs เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุนนั่นเอง 
ที่ จริงแล้วการละทิ้งปัจจัยบางส่วนไปไม่ใช่เรื่องเลวร้ายแต่มันกลับช่วยทำให้ สมองของเราทำงานเกี่ยวกับการลงทุนได้ดีขึ้น ปัจจัยที่นักลงทุนในตลาดแต่ละคนเลือกมาเป็น RoT นั้นก็ไม่เหมือนกันเลย จากการได้สัมผัสกับนักลงทุนหลายคน ผมพบ RoT ยอดนิยมของบ้านเราอยู่หลายอัน อาทิเช่น
RoT อันแรกที่เห็นบ่อยๆ คือ เลือกหุ้นจากชื่อเสียงของบริษัท ถ้าบริษัทมีชื่อเสียงมายาวนานมากจนกลายเป็นชื่อคุ้นหูของคนไทยก็อนุมานว่า บริษัทเหล่านั้น "พื้นฐานดี" น่าลงทุนเสมอ แล้วใช้ Dividend Yield เป็นตัวกำหนดว่าควรจะเข้าซื้อที่ราคาเท่าไร วิธีนี้ได้รับการยอมรับเป็นการทั่วไปว่าเป็นวิธีของนักลงทุนที่ลงทุนหุ้นแบบ พื้นฐาน แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมต่อต้านวิธีนี้มาตลอด ผมคิดว่าการลงทุนอะไรก็ตามที่เราไม่ได้ใส่ใจเลยว่าธุรกิจของบริษัทเป็นอย่าง ไรบ้าง ดูแค่ชื่อว่าคุ้นหูอย่างเดียวไม่น่าจะถือว่าเป็นการลงทุน น่าจะเรียกว่าเป็นการเสี่ยงโชคอย่างหนึ่งมากกว่า 
โชค ไม่ค่อยดีด้วยที่หุ้นชื่อค้นหูในบ้านเราหลายตัวอยู่ในธุรกิจที่เป็นวัฏจักร รุนแรง เช่น ปิโตรเคมี หรือ โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น นักลงทุนที่นิยมใช้วิธีนี้ก็มักใช้สไตล์การลงทุนแบบถือยาวหวังเงิน ปันผลเพราะเห็นว่าเป็นสไตล์การลงทุนแบบพื้นฐาน ลักษณะธุรกิจของหุ้นที่ขัด แย้งกับสไตล์การลงทุนที่เลือกใช้นี้มักทำให้คนที่เลือกลงทุนแนวต้องผิดหวัง อย่างมากเมื่อธุรกิจของบริษัทที่ลงทุนเข้าสู่ช่วงวัฏจักรขาลงของมัน ทั้งราคาหุ้นและเงินปันผลก็ลดลงอย่างรุนแรง   
RoT อันต่อมาที่เป็นที่นิยมไม่แพ้กันก็คือ การใช้ Ratios ต่างๆ ในการร่อนหาหุ้น เป็นต้นว่ากางตารางหุ้นในนสพ.ขึ้นมา แล้วกรองหุ้นที่มี PE<7, PB<1 ให้เจอเพื่อซื้อลงทุน จุดด้อยที่สำคัญของวิธีนี้คือ มันยืนอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ทุกบริษัทไม่ว่าดีหรือชั่วมีคุณค่าเท่ากันหมด ดังนั้นหุ้นที่มี ratio ต่ำกว่าจึงเป็นหุ้นที่มีราคาถูกกว่าเสมอ ยิ่งตกต้องยิ่งซื้อ ในความเป็นจริงแล้ว คุณค่าของแต่ละกิจการไม่มีวันเท่ากันได้ ถ้าหากทุกธุรกิจมีราคาเท่ากันหมด ทุกคนจะแย่งกันซื้อแต่ธุรกิจที่ดีกว่า จนทำให้ธุรกิจที่ดีกว่ามีราคาแพงกว่าในที่สุด หลายคนที่ใช้วิธีนี้มักรู้สึก ประหลาดใจที่หุ้นบางตัวที่มี PE ต่ำมากๆ กลับยังต่ำอยู่อย่างนั้นหลายปีหรือยิ่งต่ำลงไปอีก พวกเขาอาจบอกตัวเองว่าตลาดไร้เหตุผล แต่ที่จริงแล้ว หุ้นเหล่านั้นอาจกำลังมีราคาต่ำสมน้ำสมเนื้อกับคุณค่าของมันอยู่ก็ได้ การ ค้นพบหุ้นที่มี PE, PB ต่ำไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากขนาดที่ตลาดหุ้นควรจะให้รางวัลกับคนที่ สามารถค้นพบหุ้นเหล่านั้นได้ (too simple to succeed) ดังนั้นโดยส่วนตัวผมจึงไม่ค่อยนิยมวิธีนี้เท่าไร แต่ที่จริงแล้ววิธีนี้ก็ไม่ได้ถึงกับเลวร้ายนัก เพียงแต่ว่ามันยังขาดความสมบูรณ์อยู่ เพราะมันให้ความสำคัญแต่ราคาหุ้น แต่ไม่ได้นำคุณค่าของแต่ละธุรกิจที่ไม่เท่ากันมาคิดด้วย (focus on price, neglect value)
ผมคิดว่าการใช้ RoT ในการลงทุนนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหาย ความง่ายไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาก็คือว่า บ่อยครั้งปัจจัยที่เราเลือกมาเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาลงทุนกลับเป็น ปัจจัยที่ไม่สะท้อนคุณค่าของธุรกิจ ในทางทฤษฎี มูลค่าของธุรกิจจะเท่ากับ ผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดอิสระที่คาดหวังได้ทั้งหมดในอนาคตของ ธุรกิจนั้น ดังนั้น RoT ที่ดีจึงควรสะท้อนสิ่งนี้ได้ดี แม้จะไม่ละเอียดก็ตาม ผมลองนั่งคิดว่า ถ้าผมอยากจะสร้าง RoT ที่ง่ายๆและสะท้อนมูลค่าธุรกิจได้ดีขึ้นมาสักอันหนึ่ง RoT นั้นควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร ผมคิดเอาไว้แล้ว ไว้คราวหน้าผมจะมาเขียนให้อ่านเป็นทางเลือกสำหรับท่านนักลงทุนนะครับ (หมู่ นี้ผมขอเขียนเกี่ยวกับแนวคิดส่วนตัวมากๆ ไว้พ่นหมดเมื่อไหร่จะกลับไปเขียนเรื่องความรู้ตามเดิมนะครับ)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘