0079: ทำเช่นไรต่อไปดี?

แม้อดีตไม่อาจบอกอนาคตได้ทั้งหมด แต่การศึกษาอดีตก็ช่วยให้เราเข้าใจกลไกของเหตุและปัจจัยของสิ่งต่างๆ ได้ ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อใดก็ตามที่ระบบการปล่อยสินเชื่อของธนาคารมีปัญหา ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตาม ตลาดหุ้นมักล่มสลายไปด้วยเสมอ
ปี 1907 เมื่อการเก็งกำไรจากเข้าซื้อกิจการ United Copper ล้มเหลว ธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนเหล่านั้นล้มละลาย ทำให้มีธนาคารจำนวนมากล้มตาม สภาพคล่องถูกดึงออกจากตลาดหุ้นทำให้ตลาดหุ้นร่วงลงกว่า 50% 
ปี 1929 ทองคำที่รัฐบาลสหรัฐใช้ประกันเงินดอลล่าร์ถูกแลกออกไปจนหมด ทำให้ประชาชนแตกตื่นแห่ถอนเงินจากธนาคาร แต่เฟดไม่ได้ทำอะไรเลยเพื่อหยุดยั้งความตื่นตระหนกดังกล่าว ตลาดหุ้นร่วงลง มากถึง 89%
ปี 1986 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ฟองสบู่แตก ทำให้ S&L จำนวนมากล้มละลาย ทำให้ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะซบเซาต่อเนื่องยาวนาน
ปี 1990 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่น ฟองสบู่แตก ตลาดนิเคอิร่วงลงกว่า 50% ภายในเวลาแค่หนึ่งปี
ปี 1997 วิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ไฟแนนซ์ล้มเป็นจำนวนมาก ตลาดหุ้นไทยร่วงลง 85% ภายในเวลาแค่สองปี
สิ่ง หนึ่งที่เหมือนกันทุกครั้งก็คือ ช่วงที่ตลาดหุ้นลดลงอย่างรวดเร็วมากนั้นมักกินเวลานานที่สุดไม่เกินสองปี ทั้งๆ ที่หลายๆ ครั้ง เศรษฐกิจยังคงเข้าสู่ขาลงต่อจากนั้นไปอีกนานหลายปี อาจเป็นเพราะตลาดหุ้นสามารถโยกย้ายทุนได้เร็วกว่าภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มันจึงวิ่งลงไปรอที่จุดต่ำสุดได้ตั้งแต่ก่อนที่เศรษฐกิจจะลงไปถึงจุดต่ำสุด จริงๆ  หลังจากนั้นแม้เศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก ตลาดหุ้นก็มักไม่ค่อยตอบสนองหรือตอบสนองน้อยลง เมื่อถึงจุดนี้ เป็นช่วงที่น่าลงทุนมากที่สุด เพราะราคาหุ้นต่ำและ Downside ก็น้อยด้วย 
วิกฤต ครั้งนี้ก็ผ่านมาได้สักปีกว่าแล้ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า ถ้าจุดต่ำสุดไม่ได้ผ่านไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน มันก็คงอยู่ตรงไหนสักแห่งในอีก 9 เดือนข้างหน้านี้ ณ เวลานี้หลายท่านก็มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ตลาดหุ้นได้ซึมซับความเลวร้ายของภาคการเงินไปมากพอสมควรแล้ว ที่เหลืออยู่ข้างหน้าคงเป็นเรื่องของความเลวร้ายของเศรษฐกิจภาคจริง ที่ยังเผยตัวออกมาไม่ชัดเป็นหลัก
ใครก็ตามที่ ตั้งใจเอาไว้ว่าจะอยู่ในตลาดหุ้นตลอดชีวิต ไม่ควรพลาดที่จะมีโอกาสได้เป็น เจ้าของหุ้นหลังตลาด crash ให้ได้ ช่วงเวลาเช่นนี้ไม่ได้มีบ่อยนักในชั่วชีวิตของคนหนึ่งคน และมันก็กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้แล้วด้วย (หรือคือตอนนี้แล้วหรือเปล่า ผมก็ไม่แน่ใจ) คนส่วนใหญ่มักไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุนเพราะเมื่อเวลาเช่นนี้มาถึงกลับ ตัดสินใจออกจากตลาด แต่เวลาที่หุ้นเป็นขาขึ้นแต่แพงมากแล้วกลับอยากจะเข้ามาลงทุน
มี นักลงทุนจำนวนมากในตลาดหุ้นไทยที่เริ่มต้นลงทุนเมื่อปี 46 (รวมทั้งผมด้วย) นับว่านักลงทุนเหล่านี้โชคไม่ดีเท่าไรนัก เพราะอีกเพียงสี่ปีให้หลัง ตลาดหุ้นก็ crash สี่ปีที่ผ่านมาจึงนับว่าเป็นช่วงเวลาของบทเรียน ซึ่งมากหรือน้อยก็แล้วแต่ความ aggressive ของแต่ละคนในช่วงผ่านมา แต่ถ้าหากใครได้รับบทเรียนราคาแพงนี้ไปแล้วเกิดความขยาดถึงขั้นเลิกลงทุนไป เลยก็เท่ากับว่า ผู้นั้นได้เข้ามาในตลาดหุ้นเพื่อจ่ายค่าเทอมราคาแพง แต่เมื่อจ่ายค่าเทอมเสร็จแล้วก็กลับออกไปซะงั้น ไม่ได้นำวิชาที่ได้มาใช้งานในช่วงต่อไป นับว่าน่าเสียดายที่สุด
พวก เราจะต้องไม่พลาดที่จะซื้อหุ้นที่ต้นทุนต่ำๆ เช่นนี้ให้จงได้ ถ้าเรายังมีเงินสดเหลืออยู่แต่ไม่แน่ใจว่าจุดต่ำสุดอยู่ตรง ไหน ก็อาจใช้วิธีทยอยลงทุนทีละนิดในช่วง 9 เดือนข้างหน้า ส่วนถ้าใครไม่เหลือเงินสดแล้วก็รอเงินเดือนออกแล้วค่อยๆ ทยอยลงทุนไปเรื่อยๆ ก็ได้เหมือนกัน เรื่องสำคัญก็คือว่าไม่ใช่แค่ก็มีหุ้นเวลานี้แล้วจะได้รับประโยชน์แต่จะต้อง ซื้อหุ้นนั้นมาในต้นทุนแถวๆ นี้ด้วย คนที่มีหุ้นอยู่เต็มไปหมดเพราะติดดอยในช่วงที่ผ่านมาก็ต้องถือว่าเป็นค่า เล่าเรียน ต้องเร่งหาเม็ดเงินใหม่ๆ เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อเก็บเกี่ยวโอกาสในช่วง 9 เดือนข้างหน้านี้ให้จงได้
อย่าง ไรก็ตาม เมื่อเก็บหุ้นในช่วงเก้าเดือนข้างหน้านี้ได้แล้ว ก็อย่าเพิ่งหวังว่าหุ้นจะกลับขึ้นไปเหมือนสมัยก่อนเมื่อพ้น 9 เดือนไปแล้ว เพราะแม้ตลาดหุ้นจะไม่ร่วงลงอย่างรุนแรงเหมือนอย่างหนึ่งปีที่ผ่านมาอีกต่อ ไปแต่มันก็อาจจะไม่พุ่งขึ้นด้วยเพราะเศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะซบเซาที่ต่อ เนื่องยาวนานทำให้ไม่มีแรงจูงใจให้ตลาดหุ้นขึ้นแรงได้ อย่างวิกฤตเมื่อปี 40 ก็ต้องใช้เวลานานอีกถึง 6 ปี กว่าที่ตลาดกระทิงจะกลับมา หรือกรณีเลวร้ายสุดของญี่ปุ่นก็ต้องรอถึง 17 ปี แต่ถึงกระนั้นช่วงต่อจากนี้ไปก็เป็นช่วงเวลาที่น่าลงทุนมากที่สุดอยู่ดี เพราะหุ้นมีราคาถูกมาก ควรทยอยเก็บหุ้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อย่าได้เบื่อแล้วหนีออกจากตลาดหุ้นไปก่อนเป็นอันขาด เพราะเราไม่รู้ว่าตลาดกระทิงจะมาเมื่อไร ถ้าเราออกไปก่อนแล้วมันมาพอดี เราจะพลาดโอกาสไปเลย ที่จริงแล้วยิ่งตลาดกระทิงมาช้าเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะคนที่ไม่มีเงินสดในตอนนี้จะได้มีเวลาหาเงินใหม่มาสะสมหุ้นได้นานขึ้น ก่อนที่ตลาดกระทิงครั้งต่อไปจะมาถึง...
เวลา หุ้นร่วงมากๆ จิตใจมักหดหู่ไปด้วย ทำให้รู้สึกว่าทุกอย่างได้จบลงแล้ว แต่ในความเป็นจริง ตราบใดที่ยังมีมนุษย์ในตลาดหุ้นอยู่ ตลาดกระทิงและตลาดหมีจะไม่มีวันหมดไปจากตลาดหุ้น พวกมันจะยังคงกลับมาให้ เห็นอีกเสมอ ประเด็นสำคัญอยู่ที่เราจะสามารถเป็นหนึ่งในคนที่มีหุ้นอยู่เต็มก่อนที่ตลาด กระทิงจะมาได้หรือไม่

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘