0075: วิกฤตสรรพพราหมณ์

ก่อน จะพูดถึงวิกฤตซับไพรม์อยากใช้โอกาสนี้ชี้ว่า แท้จริงแล้ว ไม่มีใครเลยที่รู้ล่วงหน้าอย่างแท้จริงว่า ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไรในช่วงต่อไป เพราะแม้แต่วาณิชธนกรชั้นนำ (พราหมณ์ใบ้หุ้น) ที่คอยออกบทวิเคราะห์หุ้นแนะนำนักลงทุนทั่วโลกก็ยังเจ๊ง เอง (ในขณะที่นักลงทุนยังอยู่) เพราะมองไม่เห็นอันตรายของซับไพรม์ที่ตนเองไปลงทุน แสดงว่า ในตลาดหุ้นนั้น ไม่ได้มีใครที่เก่งไปกว่าใครอย่างมากมาย เพราะฉะนั้น นักลงทุนควรเลิกกลัวได้แล้วว่า ถ้าเราวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกหุ้นด้วยตนเองแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ ที่ จริงแล้ว ถ้าคุณบริหารพอร์ตอย่างปลอดภัยเพียงพอ ไม่ทุ่มสุดตัวกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง การเลือกหุ้นผิดไปบ้างนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่เป็นเรื่องปกติ ไม่มีใคร เลือกหุ้นได้ถูกต้องตลอดเวลา วินัยในการลงทุนต่างหากที่เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าการเลือกหุ้น  
ที่ นี้มาว่าเรื่องซับไพรม์กันบ้าง ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า สุดท้ายแล้วผลกระทบมันจะรุนแรงแค่ไหน แต่ถ้าคิดอย่างชาวบ้านแล้ว การที่วาณิชธนกิจชั้นนำเกือบทุกแห่งไปไม่รอดจากวิกฤตครั้งนี้ย่อมเป็นสัญญาณ ที่แสดงให้เห็นถึงระดับความรุนแรงของมันได้ในระดับหนึ่ง เพราะวาณิชธนกิจเหล่านี้ล้วนมีอายุเกินหนึ่งร้อยปี ผ่านวิกฤตปี 1929 วิกฤตการน้ำมัน 2 หน และสงครามโลกอีกสองครั้งมาได้ แต่กลับไม่สามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เห็นอย่างนี้แล้ว วิกฤตครั้งนี้ไม่น่าจะธรรมดา 
ถึง เวลานี้ รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพยายามซื้อเร่งหนี้เสียของสถาบันการเงินออกมาให้เร็วที่สุดก่อนที่ สินทรัพย์ที่แย่ลงของสถาบันการเงินจะทำให้สถาบันการเงินทั้งหลายพากันยุติ การปล่อยสินเชื่อซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลงอย่างแน่นอน เพราะปริมาณเงินระบบจะลดลงอย่างรุนแรง ทำให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายพากันขาด สภาพคล่องตามไปด้วยและกลายเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นซึ่งจะกลับมาทำร้ายฐานะทาง การเงินของสถาบันการเงินให้แย่ลงไปอีกเป็นงูกินหาง ไม่รู้เหมือนกันว่า เงิน $700 billions จะเพียงพอหรือไม่ แต่ถ้าดูจากตัวเลขความเสียหายของวิกฤตครั้งนี้ที่หลายสำนักประเมินกันออกมา จะเห็นได้ว่ามีขนาดใหญ่กว่าเงินก้อนนี้ค่อนข้างมาก อีกประการหนึ่ง แม้สถาบันการเงินจะขายหนี้เสียออกไปแล้ว ก็ยังไม่แน่ว่าสถาบันการเงินจะกล้ากลับมาปล่อยสินเชื่อเหมือนปกติ ดูจากวิกฤตต้มยำกุ้งเป็นตัวอย่าง ธนาคารไทยไม่กล้ากลับมาปล่อยสินเชื่ออีกหลายปีแม้ว่าจะขายหนี้เสียส่วนใหญ่ ออกไปแล้ว
คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากแค่ไหน เวลานี้ดูเหมือนว่า เศรษฐกิจไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบทางตรงเท่าไรนัก แต่เชื่อแน่ว่าอีกสักพักหนึ่งผลกระทบจะค่อยๆ ปรากฏให้เห็นในรูปของตัวเลขการส่งออกที่จะลดลงอย่างชัดเจน ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักเสียด้วย ส่วนเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น จะบอกว่าไม่กระทบก็คงไม่ได้ เพราะการที่ต่างชาติขนเงินออกไปเรื่อยๆ จะทำให้สภาพคล่องภายในประเทศหดตัว ซึ่งถ้าหาก ธปท.ยังเดินหน้าควบคุมเงินเฟ้ออย่างเดียว ราวกับว่าไม่เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้น เศรษฐกิจในประเทศจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนจากภาวะเงินตึงตัว 
อีก คำถามหนึ่งที่ตามมาก็คือว่าแล้วหุ้นไทยถูกหรือยัง ในความคิดของผม หุ้นไทยถูกมาตั้งนานแล้ว แต่นับวันก็มีแต่ถูกลงเรื่อยๆ ที่เป็นเช่นนี้ ในมุมมองของผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องของปัจจัยพื้นฐาน แต่เป็นเรื่องของเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่ยังอยู่ในระดับที่น้อยเกินไป ทำให้ตลาดหุ้นไม่สามารถมี Valuation ที่สูงได้ ในช่วง3-4ปีที่ผ่านมา หุ้นสามารถไปถึง 800-900 จุดได้เป็นเพราะต่างชาติมีการนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนเป็นสำคัญ แต่ถ้าลองย้อน ไปดูตลาดหุ้นไทยก่อนหน้านั้น ตลาดหุ้นจะมีพีอีแค่ไม่เกิน 6 เท่าเท่านั้น เพราะลำพังเงินของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยยังไม่ มากพอที่จะทำให้ตลาดหุ้นมี Valuation ที่สูงได้ ดังนั้นถ้าครั้งนี้ต่างชาติหนีไปแค่ชั่วคราว ราคาหุ้นนี้ก็ถือว่าถูกมาก แต่ถ้าหากครั้งนี้ต่างชาติหนีไปแล้วไม่กลับมาอีก ผมคิดว่า เราอาจจะได้เห็นพีอีตลาดกลับลงไปอยู่ที่ระดับเดิมทั้งๆ ที่กำไรของบจ.ไม่ได้ลดลงก็เป็นได้ครับ
ผมอาจ จะเขียนอะไรน่ากลัวไปหน่อยทำให้นักลงทุนใจเสีย แต่คิดดูแล้วผมอยากแสดงความคิดเห็นแบบตรงไปตรงมามากกว่าคอยปลอบใจนักลงทุน คงไม่โกรธกันนะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘