0073: นิทานเซ็น

ผม เคยได้ฟังนิทานเซ็นเรื่องหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า มีนักบวชที่ปราดเปรื่องคนหนึ่งในนิกายหนึ่งที่ไม่ใช่เซ็นเกิดความเบื่อหน่าย ในนิกายของตน เพราะเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างในนิกายจนทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว บังเอิญได้ยินมาว่า นิกายเซ็น เป็นนิกายที่ลึกซึ้งยิ่งนัก ก็เลยรีบไปสมัครเพื่อขอเป็นศิษย์กับอาจารย์เซ็นรูปหนึ่ง เพื่อหวังจะลับสมองของตนเองด้วยการเข้าถึงแก่นแท้ของนิกายเซ็นจนหมดสิ้น
เมื่อ นักบวชผู้นักได้พบกับอาจารย์เซ็น ยังไม่ทันจะได้เริ่มต้นเป็นศิษย์อาจารย์กัน นักบวชผู้นั้นก็ใจร้อนอยากเข้าถึงวิชาเร็วๆ จึงถามอาจารย์ว่า "ข้าควรรีบเอาพระสูตรบทไหนมาอ่านก่อนถึงจะเข้าใจนิกายเซ็นได้ทั้งหมด"
อาจารย์เซ็นตอบว่า "หากท่านประสงค์จะเข้าถึงเซ็น ท่านจะต้องไม่อ่านอะไรเลย"
นิทาน เซ็นเรื่องนี้ก็คล้ายๆ กันนิทานเซ็นเรื่องอื่น ที่ตอนจบมักจะนำความประหลาดใจมาให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟังเสมอ แต่นี่ไม่ใช่แค่การแต่งนิทานเพื่อให้คนฟังรู้สึกประหลาดใจในตอนท้ายเท่านั้น มันสะท้อนความเป็นเซ็นจริงๆ เวลาที่อาจารย์เซ็นจะรับลูกศิษย์ อาจารย์จะไม่สอนอะไรเลย อาจารย์เพียงแต่รอคอยให้ลูกศิษย์ค่อยๆ สลัดความเชื่อเก่าๆ ทั้งหลายที่มีมาก่อนแล้วให้ออกไปเรื่อยๆ ด้วยตนเอง ความเชื่อเหล่านั้นรวมถึงความเชื่อว่าเซ็นคืออะไรในความคิดที่ฝังใจลูกศิษย์ มาก่อนด้วย วันใดที่ลูกศิษย์สลัดความเชื่อเหล่านั้นได้หมด ลูกศิษย์ก็จะสามารถเข้าถึงเซ็นได้เอง อาจารย์ไม่สามารถสลัดความเชื่อเหล่านั้นให้ศิษย์ได้นอกจากศิษย์จะลุกขึ้น มาสลัดความเชื่อเหล่านั้นออกไปเอง
นิทานเซ็น เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงตลาดหุ้น ตลาดหุ้นเป็นสถานที่ที่รวมลัทธิความเชื่อต่างๆ นานเอาไว้มากที่สุดไม่แพ้ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลเลยทีเดียว ผู้คนในตลาดหุ้นก็ล้วนแต่มีความเชื่อต่างๆ ที่ฝังหัวตนอยู่ซึ่งแตกต่างกันออกไป แปลกแต่จริงที่การลงทุนเป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้คนต่างมีความเชื่อส่วนตัวที่ ค่อนข้างจะรุนแรงมาก
ความเชื่อต่างๆ เหล่านี้ก็มีข้อดีตรงที่มันช่วยทำให้เรามีหลักคิด ตลาดหุ้นเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ถ้าเราไม่มีหลักคิดอะไรเลย ความคิดและการตัดสินใจของเราคงสับสนน่าดู แต่ในทางตรงกันข้าม ความเชื่อเหล่านี้ก็สามารถเป็นอุปสรรคในการลงทุนของเราได้ด้วยเหมือนกัน บางครั้งเรายึดติดกับความเชื่อบางอย่างมากจนเกินไป การเป็นเรื่องของศรัทธามากกว่าเหตุผล ใครมาท้าทายความเชื่อของเรา แทนที่เราจะนำเอาประเด็นของเขาไปตรวจสอบความเชื่อของเรา เรากลับโกรธผู้ท้าทายเป็นฟืนเป็นไฟ เวลาที่ได้ยินความเชื่ออะไรที่ข้ดกับความเชื่อของเรา เราก็รีบปัดทิ้งไปทันที บางคนไม่ได้ยึดติดกับหลักการ แต่ยีดติดกับตัวบุคคล หรือหุ้นบางตัวแทน แต่ไม่ว่าจะยึดติดกับอะไรก็ไม่ต่างกัน เราพ่ายแพ้ต่อความต้องการลึกๆ ในใจของเราที่ชอบแสวงหาที่พึ่งภายนอกตัวมากกว่าที่จะต้องพึ่งพาสติสัมปชัญญะ ของตนเองอยู่ตลอดเวลา   
จริง อยู่ที่การจะพิสูจน์คุณค่าของหลักการลงทุนใดๆ อาจต้องวัดจากผลตอบแทนเฉลี่ยตลอดทั้งชีวิตของนักลงทุน แต่ชีวิตของเราก็ไม่ ได้ยาวมากนัก เราไม่มีเวลาเหลือมากพอที่จะปล่อยให้ตัวเองหลงไปในที่วิธีการลงทุนที่ผิด มากกว่าครึ่งค่อนชีวิตแล้วค่อยมารู้ทีหลังตอนที่ผมขาวหมดหัวแล้วว่า วิธีที่ใช้มาตลอดชีวิตเป็นวิธีที่ผิด บางคนลงทุนกี่ปีกี่ปี ก็ล้มเหลวตลอด แต่ก็ไม่ยอมเปลี่ยนวิธีการ กลับยิ่งโหมใช้วิธีการแบบเดิม ซ้ำๆ กันมากขึ้นไปอีก เพราะทำใจยอมรับไม่ได้ว่า สิ่งที่ตนเองยึดถือมาตลอดและบอกใครต่อใครไปทั่วทั้งหมดแล้วว่า เราเป็นสาวกของสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ผิด ศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า insanity นั้นมีหมายความว่า การทำอย่างเดิมซ้ำๆ อีกหลายครั้งโดยหวังว่าผลลัพธ์จะต่างไปจากเดิม
ผม ว่าถ้าเราลองใช้หลักการลงทุนอะไรมาแล้ว 3 ปี แต่ผลตอบแทนที่ได้แย่มาก เราก็ต้องมีความกล้าหาญแล้วที่จะลดทิฐิมานะของเราลง เพื่อจะได้ตั้งคำถามกับความเชื่อเหล่านั้นที่เรากำลังยึดถืออยู่ว่าถูกต้อง หรือไม่ ลองหยิบเรื่องที่เราเชื่อมากที่สุดนั้นแหละมาตรวจสอบดู เพราะถ้าการลงทุนของ เราไม่ประสบความสำเร็จ สิ่งที่เราเชื่อถือมากที่สุดนั้นแหละคือสิ่งที่น่าสงสัยมากที่สุด จงกล้าที่ จะเจ็บปวดจากความภาคภูมิใจของตัวเองที่โดนสั่นคลอน ถ้าตัวเราเองไม่มีกลไกที่จะท้าทายความเชื่อของตัวเองได้เลยแล้วเราดันโชค ร้ายบังเอิญไปเชื่อในสิ่งที่ผิด ชีวิตการลงทุนที่เหลือทั้งชีวิตของเราคงมี แต่ความหายนะอย่างเดียว 
ความยืดหยุ่นมากพอที่ จะตั้งคำถามกับสิ่งที่เรายึดถือมากที่สุดได้นั้น เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ด้วยครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘