0069: Thinking Probability

สิ่งหนึ่งที่ทำให้การลงทุนในหุ้นเป็นเรื่องยาก คือ หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่บ่อยครั้งมูลค่าของมันขึ้นมาในรูปของความน่าจะเป็นด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัทที่กำลังเข้าประมูลงานกับภาครัฐครั้งยิ่งใหญ่ ถ้าชนะการประมูลมูลค่าของบริษัทก็คงเพิ่มขึ้นเป็นค่าหนึ่ง แต่ถ้าแพ้การประมูลมูลค่าของบริษัทก็กลายเป็นอีกค่าหนึ่งที่แตกต่างกันมาก ที่จริงแล้ว มูลค่าของกิจการทุกอย่างจะมาในรูปของความน่าจะเป็นเสมอเมื่อบริษัทมีการลง ทุนใหม่ๆ
ถ้าบริษัทหนึ่งมีโอกาสครึ่งหนึ่งที่ จะมีค่า 1000 ล้านและมีโอกาสอีกครึ่งหนึ่งที่จะมีมูลค่า 100 ล้านในอนาคต มูลค่าที่เหมาะสมของมันควรจะเท่ากับ 1000x0.5+100x0.5=550 ล้าน แต่บอกได้เลยว่ามีนักลงทุนน้อยมากที่จะคิดแบบนี้ นักลงทุนที่ overconservative จะตีมูลค่าเหลือแถวๆ 100 ล้าน ส่วนนักลงทุนที่ overaggressive จะตีมูลค่าแถวๆ 1000 ล้าน พฤติกรรมที่คุณ overconservative หรือ overaggressive (แล้วแต่คน) อย่างต่อเนื่องซ้ำๆ กันตลอดชีวิตการลงทุนจะส่งผลโดยตรงต่อผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาวของคุณให้ต่ำ กว่าที่ควรจะเป็น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่คุณเองไม่เคยรู้ตัว เพราะการตัดสินใจของเรา suboptimal อยู่ตลอดเวลา พวกเราทุกคนได้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่เราควรจะทำได้เพราะเราไม่ได้ถูกฝึกมาให้ คิดแบบความน่าจะเป็น


รูป ข้างบนเป็นกราฟความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนคาดหวัง (Reward) กับ ระดับความเสี่ยง (Risk) จุดทุกจุดที่อยู่บนเส้นตรงเฉียง 45 องศาที่มีลูกศร เป็นจุดซึ่ง Reward กับ Risk เหมาะสมกันพอดี ถ้าให้จุดสีทั้งหลายแทนหุ้นแต่ละตัวในตลาด หุ้นที่น่าลงทุนคือหุ้นทุกตัวที่อยู่เหนือเส้น 45 องศา (จุดสีฟ้าทุกจุด) เพราะเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังสูงกว่าจุดสีแดงที่มีความเสี่ยงเท่าๆ กัน
แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทำอย่างนั้น แทนที่จะมองหาจุดสีฟ้า กลับมองหาจุดที่มีระดับของความเสี่ยงที่ตรงกับความชอบของตัวเอง (risk preference) นักลงทุนที่ conservative จะมองว่าจุดที่อยู่ทางซ้ายของเส้นประทุกจุด (ไม่ว่าจะสีแดงหรือฟ้า) เป็นหุ้นที่น่าลงทุน เพราะมีระดับความเสี่ยงน้อย ในขณะที่ นักลงทุนที่ aggressive (ชอบคำว่า "high risk, high return"/images/emoticons/mozilla_wink.gif จะเลือกจุดทุกจุดที่อยู่ทางขวาของเส้นประ (ทั้งสีแดงและสีฟ้า) เพราะมีระดับความเสี่ยงมาก ซึ่งตรงกับ risk preference ของตัวเอง
แทน ที่เราจะพยายามเลือกหุ้นที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าความเสี่ยงที่ต้อง แบกรับโดยไม่ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยง เรากลับพยายามเลือกหุ้นที่มีระดับความเสี่ยงที่เราพอใจโดยไม่สนใจว่าโอกาสใน การได้รับผลตอบแทนจะคุ้มกับระดับความเสี่ยงนั้นหรือไม่ เพราะสมองของเราไม่ได้ออกแบบมาให้คิดแบบความน่าจะเป็น ที่จริงแล้ว ที่ทุกๆ ระดับความเสี่ยงนั้นจะมีหุ้นที่น่าลงทุนและหุ้นที่ไม่น่าลงทุนอยู่ทั้งคู่ (มีทั้งจุดสีฟ้าและจุดสีแดง) ระดับความเสี่ยงของหุ้นนั้นไม่สำคัญเท่ากับว่า โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนนั้นมากพอที่จะชดเชยความเสี่ยงนั้นได้หรือเปล่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘