0067: วิธีลงทุนของผม (ตอนที่ 3)

สำหรับ Growth Investing นั้น ผมว่าการบริหารพอร์ตสำคัญกว่าการเลือกหุ้นเสียอีก การเลือกหุ้นเติบโตผิดไปบ้างนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่ นอน และมันจะไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ถ้าการบริหารพอร์ตของเราดี...
เวลา พูดถึงการบริหารพอร์ต มันมีคำถามว่า "ควรมีหุ้นกี่ตัวดี" "ควรถือเงินสดกี่เปอร์เซ็นต์" ผมว่าคำถามพวกนี้ผิดตั้งแต่การตั้งคำถามแล้ว ในสถานการณ์จริงนั้น เรากำหนดไม่ได้เลยว่าโอกาสจะมาหาเราเมื่อไร ดังนั้นถ้าเราไปยึดตายตัวว่า ต้องมีหุ้นกี่ตัวหรือต้องถือเงินสดกี่เปอร์เซ็นต์ เราจะลงเอยด้วยการซื้อหุ้นที่ไม่น่าลงทุนหรือที่น่าลงทุนแต่ราคาแพงมาจำนวน หนึ่งเสมอ ซึ่งจะทำร้ายผลตอบแทนของเราในภายหลัง 
การจัดพอร์ตของผมนั้นไม่ตายตัวแต่ขึ้นอยู่กับโอกาสที่เรามองเห็นในขณะนั้น ถ้า ผมเจอหุ้นที่มี Upside ตั้งแต่ 50% ขึ้นไป ผมจะสนใจลงทุนในหุ้นตัวนั้น แต่ส่วนใหญ่แล้ว หุ้นที่มี Upside ก็ย่อมมี Downside ด้วย เป็นต้นว่าอาจมี Downside แถมมาด้วย 25% (สมมติว่าความน่าจะเป็นของ Upside เท่ากับ Downside คือ 50:50 ; Downside จะต้องเล็กกว่า Upside เสมอ มิฉะนั้นหุ้นนั้นก็ไม่ใช่หุ้นที่น่าสนใจจริงมั้ยครับ) ถ้าในปีนั้น ผมพบหุ้นแบบนี้เต็มตลาดไปหมด ผมก็จะสบายใจที่จะลงหุ้นเต็มพอร์ตโดยเลือกหุ้นเหล่านั้นมาสัก 5 ตัว ถือไว้ตัวละ 20% ของพอร์ต เป็นต้น เพราะถ้าหากตัวใดตัวหนึ่งเลือกผิด ขาดทุน 25% โอกาสที่ 4 ตัวที่เหลือจะมีบางตัวที่ให้ผลตอบแทน 50% มาชดเชย 25
% ที่ขาดทุนไปก็มีสูง แต่ถ้าปีไหนหุ้นในตลาดดูจะแพงไปซะทุกตัว
 ผม อาจขุดเจอหุ้นแบบนั้นแค่เพียง 1-2 ตัวในตลาดเท่านั้น เช่นนั้น ผมย่อมจะกล้าถือหุ้นน้อยลง เช่นอาจจะถือหุ้นทั้งสองตัวเพียงแค่ตัวละ 30% ของพอร์ตเท่านั้น ที่เหลืออีก 40% ถือเป็นเงินสด สรุปแล้วก็คือ ผมอยากให้พอร์ตของ ผมได้รับ Upside ที่เกิดจากหุ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ในเวลาเดียวกัน ถ้าหากจะต้องฝากชีวิตไว้กับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากจนเกินไป ผมก็ไม่เอา เป้าหมายเป็นอย่างนี้ แต่แค่ไหนถือว่ามาก แค่ไหนถือว่าน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับ risk tolerance ของแต่ละบุคคลด้วย สำหรับผม ถ้ามีหุ้นเติบโตให้ลงตั้งแต่ 5 ตัวขึ้นไป ผมสบายใจที่จะถือหุ้นเต็มพอร์ต แต่ถ้าโอกาสมีน้อยกว่านั้น ผมสบายใจที่จะถือเงินสดไว้ส่วนหนึ่ง
เวลาลงทุน ไปเรื่อยๆ โอกาสใหม่ๆ จะเข้ามาแบบไม่แน่นอน แถมยังมีเงินสดใหม่ๆ ที่เราหามาได้จากทางอื่นเข้ามาให้เรานำไปลงทุนอีก ผมจะใช้วิธีว่า ถ้ายังไม่พบหุ้นตัวใหม่ที่มี Upside 50% ผมจะเก็บเงินสดใหม่ๆ เหล่านั้นไว้ก่อน เมื่อพบหุ้นตัวใหม่ที่น่าสนใจแล้ว ผมจะประเมินตัวเองว่าผมยินดีจะรับความเสี่ยงจากหุ้นตัวนี้ได้สูงสุดคิดเป็น กี่ % ของ Net Worth (เงินสด+หุ้นทั้งหมดที่มี) ของผมในขณะนั้น ผมก็จะซื้อหุ้นตัวนั้นด้วยเงินที่ไม่เกิน limit ตรงนี้ ถ้าผมซื้อจนเต็ม limit แล้ว แต่หุ้นก็ยังลงต่อไปอีก ผมจะไม่ซื้อเฉลี่ยเพิ่มอีก เพราะ risk exposure จะสูงเกินไป ถือว่าอันตราย เราอยากซื้อของถูก แต่อย่าลืมว่าเราอาจเลือกหุ้นผิดอยู่ก็ได้ อย่าโลภจนเกินไป (เว้นเสียแต่ว่า ผมจะมีเงินก้อนใหม่มาอีก ก็อาจจะพิจารณาอีกที) 
ส่วน เวลาขายหุ้นนั้น ส่วนใหญ่แล้ว ผมจะคิดว่า ถ้ากิจการของหุ้นนั้นยังเป็นกิจการที่เติบโตได้อีก ผมมักจะไม่ขาย แม้ว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปมากเกินพื้นฐานแล้วก็ตาม ผมชอบขายหุ้นเมื่อผมเห็นว่ากิจการนั้นไม่ใช่กิจการที่มีการเติบโตอีกต่อไปมากกว่า เพราะที่จริงแล้ว คำว่าราคาเกินพื้นฐานนั้น ไม่ได้หมายความว่าหุ้นจะขึ้นไม่ได้อีก แต่หมายความว่า ราคาหุ้นแพงเมื่อเทียบกับการเติบโตเท่าที่มองเห็นแล้วเท่านั้น ถ้าหุ้นยังมี ศักยภาพอยู่ วันหน้าก็สามารถสร้างการเติบโตใหม่ๆ ได้อีก ถ้าเราอุตส่าห์หามันเจอและซื้อมันมาในราคาถูกแล้วก็น่าจะลุ้นต่อไป เพราะไม่ใช่ง่ายที่เราจะซื้อหุ้นเติบโตมาด้วยต้นทุนที่ไม่สูง 
วิธี การบริหารพอร์ตของผมก็ง่ายๆ ประมาณนี้ ผมไม่ได้ใช้แนวคิดเรื่อง Beta ตามทฤษฏีการเงินสมัยใหม่เลย เพราะแม้ผมมองว่าแม้แนวคิดเรื่องการกระจายความเสี่ยงจะโอเค แต่การใช้ Volatility เป็นตัวแทนของความผันผวนนั้นมันเหมาะสำหรับเทรดเดอร์มากกว่า ผมเชื่อว่าความผันผวนไม่ใช่ความเสี่ยงของนักลงทุน ความเสี่ยงของนักลงทุนคือการซื้อกิจการที่ไม่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์แต่ไม่รู้ ซื้อแล้วกำไรของบริษัทก็มีแต่ถอยลงเรื่อยๆ ในระยะยาว
คน ทั่วไปมองว่า Growth Investing เสี่ยง เพราะคนที่ซื้อหุ้นเติบโตส่วนใหญ่มักจะซื้อตัวเดียว เต็มพอร์ต อัดมาร์จิ้นเพิ่ม นั่นเป็นวิธีการลงทุนอีกแบบหนึ่ง ซึ่งผมไม่เคยเห็นด้วยกับการลงทุนแบบนั้นเลย สำหรับผมแล้ว ผมเชื่อว่า Growth Stock เวลาเลือกหุ้นควรจะ aggressiveหน่อยแต่เวลาบริหารพอร์ตต้องอนุรักษ์นิยมเข้าไว้ ผมจึงไม่เห็นว่า Growth Investing นั้นเสี่ยงกว่าการลงทุนแบบอื่นๆ แต่ ตรงกันข้ามมันกลับให้ผลตอบแทนคาดหวังที่สูงกว่าเสมอที่ความเสี่ยงเท่าๆ กัน ถ้ากระจายความเสี่ยงไว้มากพอ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘