0066: วิธีการลงทุนของผม (ตอนที่ 2)

ในตอนที่ 1 ผมได้บอกไปแล้วว่าผมสนใจลงทุนแต่หุ้นเติบโตเท่านั้น...
คำ ว่าหุ้นเติบโตนั้นมีใช้กันอยู่ในหลายความหมาย บางคนหมายถึงหุ้นที่มีพีอีสูงกว่าตลาด ซึ่งนั่นเป็นความหมายที่ผม "ต่อต้าน" มากที่สุด สำหรับผมแล้ว หุ้นเติบโต หมายถึง หุ้นของกิจการที่สามารถรักษาอัตราการเติบโตของกำไรเฉลี่ยในระยะยาวให้สูงกว่าเศรษฐกิจได้ ส่วนพีอีเรโชนั่นเป็นเรื่องของตลาดหุ้นไม่เกี่ยวกับกิจการ จะเอามาใช้เป็นตัววัดกิจการได้อย่างไร (ขออนุญาติไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง)
ใน การมองหาหุ้นเติบโตนั้นต้องระวังให้ดี บางคนใช้วิธีย้อนไปดูการเติบโตในช่วงทีผ่านมา แล้วอนุมาน (อย่างล้มๆ แล้งๆ) ว่าการเติบโตนั้นจะดำรงต่อไปในอนาคต อันนี้นับว่าเป็นวิธีมองหาหุ้นเติบโตที่อันตรายมากเหมือนกัน การมองหุ้นเติบโตนั้นต้องมองไปข้างหน้าเสมอ ห้ามวัดผลจากอดีตโดยเด็ดขาด
อึม ถ้าอดีตใช้วัดไม่ได้ แล้วต้องทำอย่างไร?
พวก นักลงทุนสถาบันเวลามองหุ้นเติบโตนั้น พวกเขาจะใช้วิธีซักถามบริษัทว่ามีแผนการเพิ่มกำไรในอนาคตอะไรบ้าง แล้วพยายามประมาณกำไรที่จะเพิ่มขึ้นจากแผนการเหล่านั้นวิธีนี้ดีเพราะเป็น การมองไปข้างหน้า อย่างไรก็ตาม แผนธุรกิจส่วนใหญ่มักมองไปข้างหน้าไม่ไกลนัก (ส่วนมากไม่เกิน 12 เดือน) ดังนั้น สถาบันจึงมักมองกำไรในอีก 12 เดือนเป็นหลัก ไม่มองอะไรที่ไกลกว่านี้ (ด้วยเหตุนี้ตลาดหุ้นจึงมอง 12 เดือนข้างหน้าเป็นหลักด้วยเพราะตลาดหุ้นเต็มไปด้วยนักลงทุนสถาบัน)
วิธี ของสถาบันเป็นวิธีที่อาศัย "ข่าว" เป็นสำคัญ กล่าวคือ คอยติดตามข่าวล่าสุดเกี่ยวกับบริษัทตลอดเวลา เพื่อปรับประมาณการใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยจะเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุน ในหุ้นนั้นตามประมาณการที่เปลี่ยนไป วิธีนี้แม้ว่าจะไม่ถึงกับต้องเฝ้าหน้าจอตลอดวันเหมือนการเทรดหุ้นแต่ก็ยัง นับว่าต้องใช้ effort ไม่น้อยเหมือนกัน เพราะต้องหูตาไวอยู่เสมอ เพื่อมิให้ตกข่าว ผมจึงไม่ค่อยชอบวิธีนี้เท่าไร เพราะเหนื่อยเกินไปสำหรับนักลงทุนสมัครเล่นอย่างผม  
เวลาผมมองหุ้นเติบโตนั้น ผมไม่ได้เล่นตามข่าว ผมจะพยายามหาคำตอบว่า บริษัทมี "ความพร้อม" แค่ไหนที่จะสร้างการเติบโตในอนาคต วิธี นี้คล้ายๆ กับการที่เราแทงม้าโดยใช้วิธีดูว่า ม้าสุขภาพดีอยู่หรือไม่ ม้าซ้อมมากพอหรือไม่ จ๊อกกี้คุ้นเคยกับม้าหรือไม่ ถ้าประเด็นเหล่านี้ดีหมด ก็แทงเลย แทงแล้วก็ไม่ไปนั่งลุ้นที่ข้างสนามเลยก็ได้
เวลา พิจารณาความพร้อม ผมก็จะสนใจในประเด็นต่างๆ ที่มีผล เป็นต้นว่า สินค้าของบริษัทเป็นสินค้าที่ความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตหรือ ไม่ บริษัทมีจุดเด่นอะไรบ้างและจุดเด่นเหล่านั้นมีความสำคัญต่อธุรกิจนั้นๆ แค่ไหน ผู้บริหารมีแรงจูงใจที่จะทำบริษัทให้เติบโตมากแค่ไหนและผลประโยชน์ของพวกเขา ไปทางเดียวกันบริษัทมากแค่ไหน สุดท้ายก็คือราคาหุ้นแพงไปหรือยังที่จะเสี่ยง หุ้นที่ทำให้ผมมั่นใจในประเด็นเหล่านี้ได้ ก็เป็นหุ้นเติบโตที่น่าลงทุนสำหรับผมเสมอ ดูไปแล้ววิธีของผมก็คล้ายกับวิธี การลงทุนแบบ Value Investing คือมองธุรกิจให้เป็นธุรกิจจริงๆ แต่สิ่งที่ต่างกันก็คือ Value Investing คิดว่าธุรกิจที่ดีคือธุรกิจที่มีกำไรที่มั่นคง แต่ธุรกิจที่ดีสำหรับผมคือ ธุรกิจที่มีอนาคตที่น่าสนใจ
บางคนบอกว่า ถ้าเราไม่ใช่คนที่มีวิสัยทัศน์แล้วจะไปรู้ได้อย่างไรว่า หุ้นตัวไหนจะเติบโตดีในอนาคต ผมว่าคนที่คิดแบบนี้ไม่ได้มีปัญหาตรงที่ขาด วิสัยทัศน์แต่มีปัญหาตรงที่พวกเขาไม่เข้าใจคำว่า "การลงทุน" ว่าคืออะไรมากกว่า พวกนักธุรกิจเวลาลงทุนนั้น ร้อยทั้งร้อยไม่มีคนไหนรู้ล่วงหน้าหรอกว่าวันหน้าธุรกิจของพวกเขาจะเป็น อย่างไรแต่พวกเขาก็ยังลงทุนอยู่นั่นเอง คนส่วนใหญ่มักคิดว่า การจะทำอะไรนั้นจะต้องชัวร์ 100% ก่อนจึงจะลงมือทำได้ ในขณะที่นักธุรกิจทำอะไรที่ไม่ชัวร์ 100% ตลอดเวลาแต่นักธุรกิจกลับเป็นอาชีพเดียวเท่านั้นที่มีคนรวย ที่จริงแล้วก็ เป็นเพราะนักธุรกิจต้องผจญกับความไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลานี่แหละทำให้พวกเขา ต้องได้รับผลตอบแทนสูง เพื่อชดเชยความเสี่ยงเหล่านั้น ที่จริงแล้ว การ ลงทุนคือ การใช้ความพยายามของเราอย่างเต็มที่เพื่อ maximize โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ส่วนผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรนั้นไม่สำคัญเพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย ต่าง หาก ผมชอบคำพูดของนักธุรกิจชื่อดังคนหนึ่งที่บอกว่า "ธุรกิจนั้น 50% ขี้นอยู่กับโชค อีก 50% ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเราที่จะคว้าโชคนั้นเมื่อมันวิ่งผ่านเข้ามา" การเป็นนักลงทุนก็เหมือนกัน เราไม่จำเป็นต้องรู้ล่วงหน้า 100% ถึงจะซื้อหุ้นได้ ไม่ว่าในอนาคตตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร หน้าที่ของเราคือการใช้ความพยายามของเราให้เต็มที่ในการคัดเลือกหุ้นและ บริหารพอร์ตให้ maximize โอกาสของเราให้มากที่สุด ต่างหาก
อย่า กลัวที่จะคัดเลือกหุ้นด้วยตนเองแล้วคิดผิด ในเส้นทางของนักลงทุนทุกคนต้อง ค่อยๆ เรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเองทั้งนั้น วันหน้าเราจะแกร่งขึ้น ไม่มีทางลัด ที่จริงแล้ว นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมักไม่ได้มีจุดเด่นที่การเลือกหุ้น แต่เป็นคนที่มีวินัยในการลงทุนที่ดีมากกว่า
ประการสุดท้าย นักลงทุนมีข้อได้เปรียบนักธุรกิจอยู่อย่างหนึ่งคือ นักลงทุนสามารถกระจายทุนของตัวเองไปในหลายๆ โอกาสได้ในขณะที่นักธุรกิจมักต้องทุ่มสุดตัวไปกับโอกาสเพียงโอกาสเดียว นักลงทุนจึงไม่ควรพลาดที่จะใช้ความได้เปรียบตรงนี้ การกระจายโอกาสเพื่อให้ได้ผลตอบแทนคาดหวังสูงสุดเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งของ การ Growth Investing เลยทีเดียว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘