0063: วิธีการลงทุนของคุณเป็นอย่างไร?

ในการต่อสู้แข่งขันใดๆ เราต้องมีทั้งยุทธศาสตร์ (Strategy) และยุทธวิธี (Tactics) ยุทธศาสตร์คือกรอบใหญ่ของแผนการต่อสู้ของเรา ซึ่งเกิดมาจากการที่ เราได้ประเมินปัจจัยแวดล้อมแล้วปรับจุดอ่อนจุดแข็งของเราให้ต่อสู้ได้ดีที่ สุดภายใต้ปัจจัยแวดล้อมนั้น ยุทธศาสตร์เมื่อกำหนดขึ้นมาแล้วมักจะไม่เปลี่ยน แปลงไปง่ายๆ ในขณะที่ ยุทธวิธี คือ แผนการรบรายวันที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้าอีกทีโดยที่ยัง มียุทธศาสตร์เป็นกรอบอยู่ ยุทธวิธีเป็นเหมือนการ fine tune ยุทธศาสตร์อีกทีให้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น
ก่อนที่ ทีมฟุตบอลจะลงสนามแข่งขันต้องมีการวางยุทธศาสตร์ของทีมล่วงหน้า เช่น ควรจะจัดกำลังพลไว้ที่กองหน้ากองหลังเท่าไร ควรจะเน้นการทำประตูหรือว่าเดินเกมรับดีกว่า แผนการณ์เหล่านี้มักไม่เปลี่ยน แปลงตลอดการแข่งขัน แต่ในระหว่างที่ลงแข่ง ตัวผู้เล่นตลอดจนบทบาทของตัวผู้เล่นเป็นรายคนอาจมีปรับเปลี่ยนได้ตาม สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกนาทีเพื่อให้การใช้ยุทธศาสตร์ที่วางไว้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น  
ตลาดหุ้นก็เหมือนกับการ ต่อสู้อย่างอื่น แม้ว่าเราจะต้องคอยพลิกแพลงยุทธวิธีของเราไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดเวลา แต่ในเวลาเดียวกันเราก็จำเป็นจะต้องมีหลักการอะไรบางอย่างไว้เป็นหลักยึด ไม่ใช่เปลี่ยนแนวไปเรื่อยๆ แบบไร้จุดยืนโดยสิ้นเชิง ลองคิดดูว่า ถ้าทีมฟุตบอลลงสนามโดยไม่มีการกำหนดแผนการต่อสู้ใดๆ ล่วงหน้าไว้ก่อนแต่ใช้วิธีแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าไปเรื่อยๆ ผลลัพธ์ที่ออกมา คงดูไม่จืด
เมื่อลงทุนไปถึงจุดๆ หนึ่ง นักลงทุนควรจะไปถึงจุดที่สามารถตอบตัวเองได้ว่า วิธีหรือสไตล์การลงทุนเฉพาะตัวของคุณเป็นอย่างไร คนที่สามารถตอบคำถามนี้ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว ก็เปรียบเสมือนเป็นคนที่เดินป่าโดยมีเข็มทิศและแผนที่นำทาง แม้ว่าการเดินป่าจะยังคงต้องมีปัญหาเฉพาะหน้าให้ต้องแก้เป็นรายวันอยู่ แต่การเดินป่าโดยมีเข็มทิศนั้นย่อมทำให้ชีวิตง่ายขึ้นมาก 
เมื่อ เริ่มต้นลงทุนใหม่ๆ เรายังไม่จำเป็นต้องมีวิธีการลงทุนประจำตัวก็ได้ เนื่องจากประสบการณ์ในตลาดหุ้นของเรายังน้อยเกินกว่าที่จะตัดสินด้วยตัวเอง ว่าวิธีการไหนดีหรือไม่ดี อาจเริ่มต้นด้วยการทดลองยึดแนวทางมาตรฐานแนวทางใด แนวทางหนึ่งหรือวิธีการของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จแล้วบางคนมาลองปฏิบัติ ดูก็ได้ แต่อย่าเพิ่งไปยึดติดมากเกินไป เมื่อปฏิบัติไปได้สักพักก็คอยประเมินผลดูว่าวิธีนั้นๆ ใช้ได้ผลหรือไม่อย่าง ไร ถ้าหากแนวการลงทุนนั้นไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวก็ควรมอง หาแนวการลงทุนใหม่ ที่จริงแล้ว ไม่มีแนวการลงทุนมาตรฐานแบบใดที่จะเหมาะกับทุกคน เพราะแนวการลงทุนที่ดีที่ สุดคือแนวที่สอดคล้องกับจุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละบุคคลด้วย เรื่องนี้นับว่าสำคัญ บางคนเห็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จด้วยการลงทุนแบบ วิเคราะห์งบการเงินอย่างทะลุปรุโปร่ง พอลองเอาอย่างบ้างก็จะพบว่า ล้มเหลวไม่เป็นท่า ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะนักลงทุนคนที่ประสบความสำเร็จนั้น เขาเป็นคนที่มีพื้นฐานความรู้เรื่องบัญชีอย่างดี เมื่อเขาเอาสิ่งที่เขาทำได้ดีกว่าคนทั่วไปมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ย่อมทำได้ เขาเกิดความได้เปรียบคนอื่น ในขณะที่ คนทั่วไปซึ่งอ่อนหัดเรื่องบัญชี ถ้าหันมายึดการลงทุนด้วยวิธีนี้ก็ย่อมต้องล้มเหลวเป็นธรรมดา เป็นต้น นักลงทุนต้องค้นหาวิธีการลงทุนที่เหมาะกับอุปนิสัย เป้าหมายและจุดแข็งของตัวเองมากที่สุดให้เจอ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรามักพบเสมอว่า นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จแต่ละคนแนะนำไม่เหมือนกัน คำแนะนำบางอย่างตรงกันข้ามกันเสียด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ วิธีที่จะประสบความสำเร็จในตลาดหุ้นนั้นมีอยู่หลายวิธี แต่ละคนย่อมเลือกวิธีการที่เหมาะกับตนเอง
นัก ลงทุนที่ประสบความสำเร็จแล้วมักเป็นนักลงทุนที่ชัดเจนในวิธีการลงทุนของตน เองแล้ว ทั้งสิ้น โดยมากแล้ว พวกเขาอาจมีแนวทางมาตรฐานแนวทางใดแนวทางหนึ่งเป็นหลัก แต่ไม่ได้ยึดติดกับแนวทางนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะต้องมีส่วนที่เหมาะกับจุดอ่อนจุดแข็งของตัวของเขาเอง ด้วย เรามักสงสัยว่า วอเรน บัฟเฟต ลงทุนในแนว Value Investing แน่หรือเปล่า เพราะดูเหมือนจะมีอะไรหลายๆ อย่างที่แตกต่างออกไปจากวิธีการของเบนจามิน แกรม ที่จริงแล้ว วอเรน บัฟเฟต เพียงแต่ยึดแนวคิดของ Value Investing ในการมองตลาดหุ้น (ได้แก่ แนวคิดเรื่อง Mr.Market, Margin of Safety, Circle of Competency) เท่านั้น ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอย่างอื่นในวิธีการลงทุนของบัฟเฟตนั้นเป็น วิธีการเฉพาะของเขาเอง เรียกว่า เป็นแนวการลงทุนแบบวอเรน บัฟเฟต เพื่อนรักของวอเรน บัฟเฟต อย่าง ชาลี มังเจอร์ เองก็มีวิธีการหลายอย่างที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของเขาเองซึ่งไม่เหมือนกับ Value Investor คนอื่นๆ ด้วย
คุณเองก็เหมือน กัน สุดท้ายแล้วคงไม่มีแนวการลงทุนมาตรฐานแนวไหนที่จะเหมาะกับคุณร้อย เปอร์เซ็นต์ คุณยังต้องหาวิธีการลงทุนในแบบฉบับของคุณเองให้พบ เหมือนอย่างที่วอเรน บัฟเฟตใช้ Value Investing เป็นแนวคิดเริ่มต้นและพัฒนาวิธีการลงทุนในแบบฉบับของตัวเองขึ้นมา
เอาไว้วันหลังผมจะมาเล่าให้ฟังว่า ผมคิดว่าวิธีการลงทุนของผมเองนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการยกตัวอย่างนะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘