0062 : Equity Mind

ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของหลักทรัพย์ที่เรียกว่า หุ้น (ตราสารทุน: Equity) ที่แตกต่างจากสินทรัพย์อย่างอื่นก็คือ มูลค่าของมันไม่สามารถระบุออกมาได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างซึ่งมีความไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงได้ อย่างรวดเร็ว...
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไร ถ้าเราจะซีเรียสกับมูลค่าของหุ้นแบบละเอียดถี่ยิบถึงขั้นเป็นหน่วยสตางค์ เพราะสุดท้ายแล้วความไม่แน่นอนที่มีอยู่ในตัวหุ้นเองก็จะทำให้ความละเอียด เหล่านั้นกลายเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ไปอยู่ดี เมื่อพิจารณาจากระดับความไม่แน่นอนตามธรรมชาติของหุ้นแล้ว ราคาหุ้นที่แตกต่างกันไม่เกิน 5-10% นั้น ที่จริงแล้วเราไม่ควรไปถือว่าเป็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญอะไร  
ชีวิต ประจำวันของคนถูกกำหนดให้เคยชินกับการคิดถึงมูลค่าของสิ่งต่างๆ อย่างแม่นตรงตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ เช่น เวลาทอนเงิน ไม่ว่าของจะราคากี่ล้านก็ต้องทอนให้ถูกต้องถึงหน่วย 25 สตางค์เสมอ จะปัดทิ้งไปไม่ได้ เป็นต้น หรืออย่างการซื้อของ เวลาคุณไปเดินพันธ์ทิพย์เพื่อหาซื้อกล้องดิจิตอลตัวหนึ่ง คุณมักยอมเสียเวลา ตั้งหลายชั่วโมงเพื่อเทียบราคาของทุกร้านในห้าง เพื่อที่จะได้ซื้อมันได้ถูกลงอีกแค่ 50 บาท เป็นต้น เราถูกฝึกมาให้ซีเรียสกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ถึงขั้นหลักหน่วยหลักทศนิยม เวลา ที่คุณซื้อหุ้น คุณจึงรับเอาวิธีคิดแบบเดียวกันนี้มาใช้ด้วยโดยที่คุณไม่รู้ตัว วิธีคิดแบบ นี้อาจจะเหมาะกับของอย่างอื่นแต่ไม่เหมาะกับสิ่งที่ค่าของมันกำหนดให้แม่น ตรงไม่ได้อย่าง "หุ้น" มันจึงกลายเป็นอุปสรรคในการลงทุนอย่างหนึ่งของคนเรา 
วิธี คิดแบบนี้ทำให้ "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" กับหุ้น ตัวอย่างเช่น เวลาที่เราค้นพบหุ้นตัวหนึ่งที่พื้นฐานดี แถมราคาหุ้นถูก แต่ถึงเวลาที่เราจะส่งคำสั่งซื้อหุ้นเหล่านั้นจริงๆ เรากลับมานั่งต่อราคา หวังจะซื้อหุ้นนั้นได้ถูกลงอีก 10-20 สตางค์ สุดท้ายแล้วพอราคาหุ้นวิ่งหนีจุดที่เราตั้งซื้อไปทีเดียว 1.00 บาท เราถึงค่อยจะมานั่งเสียดายที่ไม่ได้ซื้อ ที่จริงแล้วถ้าเราคิดว่าหุ้นนั้นพื้นฐานดี แถมราคาหุ้นยังถูกอยู่มาก (เช่น 50%) เมื่อเทียบกับพื้นฐานตามการวิเคราะห์ของเรา เราก็ควรมีความเด็ดเดี่ยวและเคาะขวาไปทีเดียวเลย ต่อให้เคาะขวาไปแล้ววันรุ่งขึ้นหุ้นดันลงไปอีก 1-2% นั้น ที่จริงแล้ว ไม่เป็นไร เพราะสุดท้ายแล้วเวลาคุณกำไร (หรือขาดทุน) จากการลงทุนนั้น คุณมักจะกำไร(หรือขาดทุน) 30-40% เป็นอย่างน้อย การที่คุณซื้อแพงไป 1-2% นั้น ผลตอบแทนสุทธิของคุณก็เปลี่ยนไปจาก 30% กลายเป็น 28% ซึ่งมันไม่ได้มีนัยสำคัญอะไรให้ต้องมานั่งเสียดายเลย ที่จริงแล้ว คนที่ต้องซีเรียสกับราคาหุ้นที่แตกต่างกันเพียง 2% คือพวก Day Trader เท่านั้น คนทั่วไปที่เป็นนักลงทุนไม่ควรคิดเล็กคิดน้อยกับส่วนต่างเพียงแค่นี้  เพราะ จะทำให้มองข้ามเป้าหมายใหญ่ของการลงทุนซึ่งสำคัญกว่าไปอย่างน่าเสียดาย (เรื่องที่สำคัญกว่าคือสุดท้ายแล้วหุ้นตัวนั้นจะสร้างผลกำไรให้คุณแถวๆ 30% หรือว่าสร้างผลขาดทุนให้คุณ 30% มากกว่า)
เมื่อ จะมาลงทุนในหุ้นก็ควรเปลี่ยนวิธีมองราคาสิ่งของเสียใหม่ แยกแยะให้ออกระหว่างหุ้นกับสิ่งของอย่างอื่น เรื่องนี้ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนจิตใจ เพราะเราถูกฝึกให้เคยชินกับการคิดเล็กคิดน้อยเรื่องเงินมาตลอดชีวิต สมัยที่ ผมเริ่มต้นลงทุนใหม่ๆ พลังความคิดของผมในแต่ละวันหมดไปกับความรู้สีกเสียดาย เรื่องเมื่อวานซื้อหุ้นแพงไป 0.5% อยู่ไม่น้อยทีเดียว เดี๋ยวนี้ผมเปลี่ยนทัศนคติได้แล้ว ถ้าราคาหุ้นที่ซื้อมายังเปลี่ยนแปลงไปไม่ เกิน5% ผมรู้สึกว่าราคาของหุ้นที่ผมซื้อมันยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง หรืออย่างสมัยนี้เวลาที่ผมได้ยินรายงานดัชนีตลาดหุ้นในทีวีก็เหมือนกัน ถ้าดัชนีวันนี้เปลี่ยนแปลงแค่ไม่ถึง 1% ในสมองของผมรู้สึกว่าวันนั้นทั้งวันดัชนีหุ้นไม่เปลี่ยนแปลงเลย จิตใจสงบ ขึ้นไม่น้อยเพราะมองหุ้นตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ แค่เราหัดเลิกซีเรีย สกับกำไรหรือขาดทุนที่เล็กน้อยเกินไปของราคาหุ้นก็ช่วยทำให้คุณตัดสินใจ เรื่องการลงทุนในตราสารทุนได้ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘