0061: Turnarounds

ปีเตอร์ลินซ์ บอกว่า มีหุ้นแค่สองประเภทเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนอย่างน่าประทับใจแก่นักลงทุนได้ คือ หุ้นเติบโต (Growth Stocks) และหุ้นพลิกฟื้น (Turnarounds)
ใน บล็อคนี้ผมพูดถึงแต่หุ้นเติบโตอยู่ตลอดเวลาและแทบจะไม่เคยพูดถึงหุ้นแบบอื่น เลย รวมทั้งหุ้น Turnarounds ด้วย หุ้น Turnarounds เป็นหุ้นที่ผมไม่ถนัด ผมจึงไม่ค่อยให้ความสนใจพวกมันเท่าไรแม้ว่านักลงทุนมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบ แทนที่น่าประทับใจจากพวกมันได้ไม่แพ้หุ้นเติบโตเลยก็ตาม ในตลาดหุ้น เราควรอยู่ให้ห่างไกลจากสิ่งที่เราไม่มีความถนัด (อย่าโลภ) นานๆ ผมจึงจะซื้อหุ้น Turnarounds สักครั้ง และไม่เคยถือพวกมันเกิน 10% ของพอร์ต
อย่าง ไรก็ตาม หุ้น Turnaround เป็นหุ้นที่มีนักลงทุนถามผมบ่อย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผมก็ไม่รู้จะแนะนำอย่างไร เพราะผมไม่ค่อยได้ตามหุ้นพวกนี้ ผมว่าบ้านเรามีนักลงทุนที่นิยมเล่นหุ้น Turnaround มากกว่าหุ้นเติบโตมาก ซึ่งเป็นไปตามแนวความเชื่อที่มีอยู่ทั่วไปในตลาดว่า "บริษัทของไทยโตได้น้อย ถ้าไม่เล่นหุ้น Turnaround โอกาสจะได้กำไรมากๆ คงไม่มี" ก็เลยกลายเป็นว่าตลาดหุ้นไทยมีแต่คนแย่งกันซื้อบริษัทที่ไม่ดี เพราะยิ่งไม่ดีเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสเป็นหุ้น Turnaround ซึ่งโดยส่วนตัวผมรู้สึกว่ามันขัดๆ ยังไงก็ไม่รู้ที่ทำไมผู้คนจึงแย่งกันซื้อของไม่ดี จากการสังเกตพฤติกรรมของนักลงทุนที่หลงไหลหุ้น Turnaround ผมมีข้อสังเกตบางอย่างที่อยากเอามาแชร์ให้ฟังดังนี้
- สาเหตุที่ "บาง" คนหลงใหลหุ้น Turnarounds มากนั้นอาจเกิดจากพวกเขาให้ความสำคัญกับ "ขนาด" ของ Upside มากเกินไปและให้ความสำคัญกับ "โอกาส" ที่ Upside นั้นจะเกิดขึ้นน้อยเกินไปก็ได้ หุ้น Turnarounds อาจให้ผลตอบแทนได้สูงถึง 100-200% แต่โอกาสเช่นนั้นไม่ได้สูงมากนัก ในขณะที่ Downside ซึ่งต่ำกว่า Upside นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่า เหมือนอย่างที่ วอเรน บัฟเฟต เคยพูดว่า "Turnarounds seldom turn." ที่จริงแล้ว ถ้าคำนึงทั้งขนาดและโอกาส (expected value) หุ้น Turnarounds กับ หุ้นเติบโต นั้นอาจมีความน่าสนใจที่ไม่ต่างกันมากนัก เพราะแม้หุ้นเติบโตส่วนใหญ่จะมี Upside ไม่สูงนักในระยะสั้นๆ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นมีมากกว่า
- เรามัก เกิดความสนใจหุ้น Turnaround ขึ้นมาหลังจากเพิ่งเกิดเหตุการณ์ที่ราคาหุ้นของมันร่วงลงอย่างหนักใหม่ๆ และเข้าไปซื้อหุ้นเหล่านั้นด้วยตรรกที่ว่า ลงมาแรงๆ เดี๋ยวจะต้องเด้งแรงๆ หรือลงมาแล้ว 50% แปลว่าถูก แต่ความจริงแล้ว ไม่เคยมีกฏเกณฑ์พรรณนั้นอยู่ในตลาดหุ้นมาก่อน หุ้นที่ลงแรงๆ อาจนิ่งไปเลยหรือ sideway down ไปอีกหลายๆ ปีเลยก็เป็นไปได้บ่อย และเปอร์เซ็นต์ที่ร่วงลงมาจากจุดต่ำสุดมากๆ ก็ไม่สามารถบ่งบอกว่าหุ้นถูกหรือแพงได้เช่นเดียวกัน อย่างหุ้นสถานีโทรทัศน์ที่ร่วงลงมาจาก 30 บาทเหลือแค่ 6 บาทนั้น ยังสามารถลงต่อไปเหลือไม่ถึงบาทได้ หุ้นถังแก๊ส (มาจาก 17 บาท) หรือหุ้นอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร (มาจาก 12 บาท) ก็เป็นตัวอย่างที่ดีเช่นเดียวกัน
ที่จริงแล้ว ถ้าเราอยาก bet กับหุ้น Turnaround ควรทำเมื่อมีข่าวเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้นเข้ามากระทบมากกว่า การซื้อหุ้นที่ตกแรงๆ เพื่อหวังให้มันเด้งแรงๆ โดยไม่มีเหตุผลอะไรรองรับ ไม่ต่างกับการหวังล้มๆ แล้งๆ  การเก็งเมื่อมีสัญญาณฟื้นตัวแล้วแม้ว่าอาจจะต้องซื้อสูงกว่าจุดต่ำสุดไปบ้าง แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นแล้วว่า ก้นเหวอยู่ตรงไหนและยังมีโอกาสที่หุ้นจะวิ่งขึ้นได้มากกว่าหุ้นที่ยังคง ทำ new low อยู่อย่างต่อเนื่อง 
- หุ้นที่มีข่าวร้ายมากๆ บางตัวอาจจะยังไม่ถูกอย่างที่คิดก็ได้ เนื่องจากแนว Turnarounds เป็นแนวที่นักลงทุนไทยส่วนใหญ่นิยมเล่น ตลาดหุ้นไทยจึงมีนักลงทุนที่ยินดีเข้าไปรับของที่ถูกเทออกมามากกว่าปกติ ราคาหุ้นจึงไม่ลงไปมากกว่าจุด oversold ได้ง่ายๆ ถ้าต้องการตัดสินใจซื้อขายหุ้น Turnaround โดยอาศัยจิตวิทยา ไม่ควรซื้อหุ้นที่แค่มีข่าวร้ายธรรมดา หรือราคาหุ้นร่วงชั่วครั้งชั่วคราว เพราะจะยังไม่ปลอดภัยมากพอ ควรซื้อเมื่อมันเลวร้ายแล้วเลวร้ายอีกจนเหนือความคาดหมายของทุกคนจริงๆ ดังเช่นคติของ Sir John Templeton ยอดนักซื้อของถูกระดับตำนานที่บอกว่า  The only time to buy is the time of "maximum" pessimism.
-หุ้น Turnaround ที่กลับตัวได้สำเร็จแล้ว ควรขายออกไปเสีย ไม่ควรถือต่อไปในระยะยาว เพราะการที่มันเคยเกิดปัญหาถึงขั้นวิกฤตได้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะ พวกมันไม่ใช่หุ้นที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเท่าไรนัก (อันนี้ไม่เสมอไป แต่ส่วนใหญ่) นักลงทุนมักมีความรู้สึกที่ดีกับหุ้น Turnaround ที่กลับตัวได้สำเร็จมากเพราะมันทำกำไรให้อย่างมากเลยเกิดความคิด ไปว่ามันเป็นกิจการที่ยอดเยี่ยมและอยากถือมันตลอดไป ซึ่งจะนำไปสู่ความผิดหวังในอนาคต
ขอให้ทุกท่านโชคดีกับการลงทุนครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘