0060: Growth แบบไทยๆ

ประเทศไทยในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมานั้นต้องยอมรับว่าหาอุตสาหกรรมที่รักษาอัตราการเติบโตให้สูงแบบ ต่อเนื่องได้ยาก (เกิน 10% ทุกปี) การเติบโตที่เนื่องมาจาก Market Growth นั้นเป็นอะไรที่หวังได้ยากอยู่สำหรับหุ้นไทย
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ผมคิดว่าเป็นเพราะ ประเทศของเราไม่สามารถสร้างบรรยากาศที่น่าลงทุนให้เกิดขึ้นได้ การ เมืองที่ไม่นิ่งทำให้นักธุรกิจชะลอการตัดสินใจ การแทรกแซงตลาดอยู่เรื่อยๆ โดยภาครัฐทำให้ความเสี่ยงในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น การส่งสัญญาณที่คลุมเครือว่าประเทศของเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งของตลาดเสรี จริงหรือไม่ เหตุทั้งหลายเหล่านี้ทำให้ การลงทุนของภาคเอกชนซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ขับดัน Economic Growth ที่แท้จริงจึงวิ่งไม่ออก ในขณะที่ ประเทศเกิดใหม่หลายประเทศตอนนี้กำลังใช้ตลาดเสรีเป็นเครื่องมือในการทำ เศรษฐกิจให้เติบโตล้วนประสบความสำเร็จกันทั่วหน้า เราจึงได้แต่นั่งมองประเทศอื่นๆ ในโลกกอดคอกันเติบโตอย่างรวดเร็ว การเติบโตที่สูงมากของเศรษฐกิจโลกได้ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นอย่าง มาก เราต้องรับภาระจากต้นทุนที่สูงขึ้นนี้เหมือนประเทศอื่น แต่ในขณะเดียวกันเรากลับไม่ได้อานิสงส์จากการเติบโตเลย เพราะบรรยากาศการลงทุนภายในประเทศของเราเองมีปัญหาอยู่ เรื่องนี้นับว่าน่าเศร้าเป็นอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาการเติบโตของบ้านเราต้องอาศัยการส่งออกเป็นตัวพยุงเอาไว้ เพราะการส่งออกอาศัย Market Growth ที่มาจากตลาดโลกเป็นตัวช่วย
กลับ มาเข้าเรื่องหุ้นของเราต่อดีกว่า ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้ทำให้การเลือกหุ้นเติบโตโดยดูจาก Market Growth ในไทยนั้นค่อนข้างหาหุ้นได้ยาก ผมสังเกตว่า หุ้นไทยที่สามารถรักษาการเติบโตได้ต่อเนื่องนั้น ส่วนใหญ่แล้ว มักไม่ได้พึ่ง Market Growth แต่อาศัยแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในอุตสาหกรรม มากกว่า
ตัวอย่างเช่น กลุ่มค้าปลีก เป็นกลุ่มหนึ่งที่สามารถรักษาการเติบโตให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจได้ต่อ เนื่องมาแล้วหลายปี ที่จริงแล้วความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทยนั้นมีการเติบโตที่ต่ำมาก (2-3% ต่อปี) ถือได้ว่าตลาดค่อนข้างอิ่มตัว แต่ที่หุ้นค้าปลีกเติบโตได้มากทุกปีนั้นเกิดจากแนวโน้มการเปลี่ยนที่ซื้อของ ของผู้บริโภค กล่าวคือ ผู้บริโภคไม่ได้ซื้อของเหล่านี้เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก แต่ผู้บริโภคนิยมซื้อของจากร้านแบบเก่า เช่น ร้านโชห่วย หรือตลาดสด น้อยลง และหันมาซื้อสินค้าในห้องแอร์มากขึ้นเรื่อยๆ ของทุกอย่างเริ่มขึ้นห้างมาก ขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ของที่แต่ก่อนไม่เคยเห็นในห้างก็เริ่มเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ การเติบ โตจึงเกิดจากการย้ายที่ซื้อของของผู้คน ซึ่งเกิดขึ้นในอัตราที่สูงทุกปี และมีแนวโน้มจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกนาน ร้านค้าปลีกแบบใหม่จึงสามารถเติบโตได้ เกิน 10% ทุกปี แม้ว่าตลาดจะไม่โตเลยก็ตาม (อาศัยการค่อยๆ กินส่วนแบ่งตลาด ร้านแบบเดิมไปเรื่อยๆ) 
ตลาดที่อยู่อาศัยก็ เช่นเดียวกัน หลายปีที่ผ่านมาตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั้งตลาดไม่ได้เติบโตเท่าไรนัก ค่อนข้างจะแย่ลงด้วยซ้ำ แต่ตลาดซิตี้คอนโดกลับมีการเติบโตที่สูงมาก นั้นเป็นเพราะสภาพการจราจรที่ติดขัดมากขึ้นเรื่อยๆ ราคาน้ำมันที่แพงและการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้า ทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมซื้อที่อยู่อาศัยในตัวเมืองมากกว่าเดิม เพราะถูกกว่า สะดวกกว่า ทันสมัยกว่า บริษัทที่เน้นทำซิตี้คอนโดเป็นหลักจึงรักษาการเติบโตให้สูงได้อย่างต่อ เนื่องทั้งๆ ที่ตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวมอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก 
ลองสังเกตดูหุ้นไทยที่สามารถรักษาการเติบโตได้นานๆ สิครับ ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะแบบนี้ ตลาด ไม่ได้โตขึ้นเลย แต่มีอะไรบางอย่างที่ทำให้ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมไปสู่ รูปแบบใหม่ และบริษัทอยู่ในฐานะที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนั้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘